เคล็ดลับเด็กเก่ง60 สู่แอดมิชชั่น “Top 5” ของประเทศ

เคล็ดลับเด็กเก่ง-แอดมิชชั่น-60

เคล็ดลับเด็กเก่ง60 สู่แอดมิชชั่น “Top 5” ของประเทศ

สวัสดีครับน้องครับ วันนี้พบกับพี่เอ๋ WE BY THE BRAIN ตอนนี้พี่อยู่กับที่ 1 และที่ 5 ของแอดมิชชั่น ปี60 เดี๋ยวให้น้อง ๆ แนะนำตัวหน่อยนะครับ

น้องเก๊ต :

นาย ครองพิภพ วิวัตินันท์ จบมากจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช สอบติดคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ

น้องแป้ม :

น.ส. ณนิฐตา ธานินทร์ปฐมรัฐ ชื่อเล่นแป้ม จบจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สอบติดที่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยค่ะ

วันนี้เราจะมาคุยกันแบบสบาย ๆ นะครับ เป็นการส่งต่อความสำเร็จให้กับรุ่นน้อง พี่เอ๋พาพี่ ๆ เด็ก60 ที่ประสบความสำเร็จมาแนะแนวทางในการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้กับเด็ก61 นั่นเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรุ่นน้องที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบการสอบ เป็นการรับแบบ TCAS เดี๋ยวเรามาดูกันเลยดีกว่าว่าพี่ ๆ เขามีการเตรียมตัวอย่างไร เขาถึงได้เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ

พี่เอ๋ WE BY THE BRAIN :

เริ่มต้นจากเก๊ตก่อนว่า เก๊ตมีการเตรียมตัวอย่างไร ตั้งแต่ ม.ไหน

น้องเก๊ต :

เริ่มต้นเตรียมตัวจริง ๆ ตั้งแต่ ม. 5 ครับ ตั้งใจเรียนในห้องเรียน ทบทวน หาความรู้เพิ่มเติม แต่ที่สำคัญคือ การทำข้อสอบย้อนหลัง วิชาภาษาอังกฤษ ผมทำย้อนหลัง 20 ปี ครับ

พี่เอ๋ WE BY THE BRAIN :

20 ปี นี่มากกว่า 20 ฉบับนะครับ เพราะว่าในวิชาคณิต หรือวิชาอะไรก็ตามในระบบเก่า หรือที่เรียกว่าแอดมิชชั่น มีสอบปีละ 2 ครั้ง อังกฤษก็ปีละ 2 ครั้ง แต่จะไม่ถึงกับ 40 เพราะว่าที่เป็นฉบับเก่า ๆ จะมีแค่ปีละหนึ่งครั้งเนอะ

น้องเก๊ต :

ครับ

พี่เอ๋ WE BY THE BRAIN :

เป็นการทำโจทย์ที่เยอะมากเลย แล้วถัดมา น้องแป้มว่าไงครับ

น้องแป้ม :

เริ่มเตรียมตัวตอนชั้น ม.6 ค่ะใช้เวลาส่วนมากทำโจทย์ ทำวิชาที่เราจะต้องใช้จริง ๆ

พี่เอ๋ WE BY THE BRAIN :

แล้วตอน ม.5 หนูไปอยู่ไหนมาครับ

น้องแป้ม :

ม. 5 ไปทำกิจกรรมกับเพื่อน ๆ มาค่ะ

พี่เอ๋ WE BY THE BRAIN :

อ๋อ เป็นเด็กกิจกรรม แล้วไม่กลัวหรอว่า เราจะอ่านหนังสือไม่ทัน หรือว่า ตอนม. 5 เรายังไม่เจอตัวเอง

น้องแป้ม :

ใช่ค่ะ ยังไม่เจอตัวเอง เลยเลือกที่จะทำอะไรหลาย ๆ อย่าง พอเรารู้ตัวเองเราจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน แล้วก็ทำรวดเดียวเลย

พี่เอ๋ WE BY THE BRAIN :

อันนี้เป็นตัวอย่างให้กับน้องที่พึ่งจะเริ่มเตรียมตัวนะ กำลังจะบอกใช่ไหมว่า ถ้ามีเวลา 1 ปี แบบนี้ ซึ่งจริง ๆ ตอนนี้ไม่ถึงแล้วนะครับ ประมาณ 8-9 เดือน ทันใช่ไหม

น้องแป้ม :

ทันค่ะ ถ้าน้องตั้งใจอ่าน

พี่เอ๋ WE BY THE BRAIN :

ต้องทุ่มเทเต็มร้อยเลยครับ เป็นอีกหนึ่งเสียงที่ยืนยันเหมือนเก๊ตเลยว่า การทำข้อสอบเก่านั้นสำคัญ เยี่ยมเลยนะครับ
คราวนี้พี่อยากรู้ว่า อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เราเลือกเรียนอย่างน้องเก๊ต เรียนนิเทศศาสตร์ แล้วน้องแป้มเรียนจิตวิทยา เริ่มจากเก๊ตก่อนเลย

น้องเก๊ต :

ผมมองว่าสื่อมีอิทธิพลต่อความคิดของคน สามารถเข้าถึงคนหมู่มากได้ หน้าที่สื่อคือ สามารถนำเสนอความจริง และสามารถสะท้อนปัญหา มุมมองของสังคมครับ ผมเห็นความสำคัญตรงนี้ของสื่อ เลยเลือกที่จะมาเรียนนิเทศศาสตร์ครับ

พี่เอ๋ WE BY THE BRAIN :

ถัดมาแรงบันดาลใจของน้องแป้มครับ

น้องแป้ม :

ตอนม.6 ไปงาน open house ของที่มหาวิทยาลัยมาค่ะ แล้วรู้จักกับคณะจิตวิทยา และได้รู้จักกับอาชีพนักจิตวิทยาปรึกษา เลยอยากจะทำอาชีพนี้ค่ะ รู้สึกชอบ และต้องเข้าแค่คณะนี้เท่านั้น เลยเลือกเรียนที่นี่

พี่เอ๋ WE BY THE BRAIN :

ดีนะครับที่ได้ไป open house ก่อน ตอนชั้น ม.6 ไม่อย่างนั้นยังหาตัวเองไม่เจอ เผลอ ๆ เตรียมตัวไม่ทันนะครับ แน่นอนถ้าเราไม่รู้ว่าจะเรียนอะไร เราจะเตรียมตัวไม่ถูก เพราะแต่ละคณะจะใช้วิชาที่ไม่เหมือนกันในการสอบเข้า
คราวนี้ถ้าอยากจะบอกกับน้องเด็ก61 เราจะแนะนำอะไรน้องบ้าง

น้องเก๊ต :

น้องต้องเริ่มจากการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนครับ พอเรามีเป้าหมายแล้ว จะรู้ว่าวิชาไหนที่ต้องใช้ วิชาไหนไม่ต้องใช้ เราก็พยายามให้มากในวิชาที่เราต้องใช้ในการสอบครับ

น้องแป้ม :

เหมือนกับที่เพื่อนบอกค่ะ คือเราต้องตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าเราต้องใช้วิชาอะไรบ้าง และสิ่งที่สำคัญกว่าคือ ถ้าเราคิดแผนได้แล้ว เราต้องทำตามแผนนั้นให้ได้ด้วย

พี่เอ๋ WE BY THE BRAIN :

คิดได้แต่ไม่ทำ มันน่าผิดหวัง มันน่าเสียใจมาก นะครับ มีผู้ใหญ่เคยพูดให้พี่ฟัง แล้วพี่ชอบมากเลย เขาบอกว่า

ตอนเราเป็นเด็ก เป็นวัยรุ่นหนุ่มสาว ถ้าเหงื่อเราออกมากแค่ไหนนะครับ

ตอนเราแก่ลง เราจะมีน้ำตาไหลออกน้อยแค่นั้น

วันนี้เราได้ประโยชน์มากมายจากรุ่นพี่สองคนของเรา ต้องขอบคุณน้องสองคนมาก ขอบคุณแทนน้อง 61 ด้วย แล้วเดี๋ยวเราไปดูกันดีกว่าว่า ในระบบ TCAS เนี่ย  เด็ก61 ควรจะเตรียมตัวอย่างไร ติดตามได้ที่นี่เลยครับ คลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ