ระบบใหม่ “เอ็นทรานซ์ 4.0” DEK61 ควรทำยังไง

ระบบใหม่ “เอ็นทรานซ์ 4.0” DEK61 ควรทำยังไง

“เอ็นทรานซ์ 4.0” เป็นกระแสข่าวที่ทำเอาเด็ก ม.5 หรือ DEK61 ที่จะต้องวางแผนการสอบเข้ามหาวิทยาลัยช็อคตามๆ กัน จากเดิมที่กำลังจะเริ่มวางแผนเตรียมอ่านหนังสือสอบแล้ว เพราะคาดการณ์ว่าจะต้องสอบตั้งแต่ ต.ค. 60 (ถ้าระบบการสอบไม่เปลี่ยนแปลง ก็มีทั้งสนามสอบแอดมิชชั่น, ความถนัดแพทย์, วิชาสามัญ, โควตา มข.,โควตา ม.อ., โควตา มช. รวมถึงสนามสอบรับตรงอีกหลายๆ ที่)
แต่ข่าวการปรับระบบการสอบใหม่ เป็นระบบที่เรียกว่า “เอ็นทรานซ์ 4.0” หรือ “เอ็นทรานซ์ 61” เป็นระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของปี 2561 ที่ ปรับเปลี่ยนให้สอบที่มีแนวคิดว่า


ระบบสอบ (ข้อสอบ)
เดือน มี.ค.-เม.ย. (หลังเรียนจบม. 6) จะมีการจัดสอบสนามต่าง ๆ เช่น

  • 9 วิชาสามัญ
  • GAT/PAT (มีการสอบ 1 ครั้ง)
  • ข้อสอบเฉพาะของสาขาวิชา
  • ข้อสอบตามความต้องการของมหาวิทยาลัย

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศเทศไทย ได้ประชุมพิจารณาร่วมกันในการปรับกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ด้วยหลักการดังนี้

1. นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับ ในสาขาวิชาที่เลือก เพื่อความเสมอภาค
3. สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ. ทุกแห่งจะเข้าระบบ Clearing house เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ ของนักเรียน

ระบบรับ
การรับสมัครมีทั้งสิ้น 5 รอบ คือ
รอบที่ 1 รอบรับด้วย Portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนทั่วไป นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย ให้นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษา
รอบที่ 2 การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติ สำหรับนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค โควตาโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษต่าง ๆ สถาบันอุดมศึกษาประกาศเกณฑ์การสอบ ให้นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษา และเข้ารับการคัดเลือกตามเกณฑ์การสอบ
รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน สำหรับนักเรียนในโครงการ กสพท. โครงการอื่น ๆ และนักเรียนทั่วไป ทปอ.เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร นักเรียนเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ สถาบันอุดมศึกษาจัดให้มีการสอบกลางร่วมกันในเวลาเดียวกัน แต่ละสถาบันอุดมศึกษากำหนดเกณฑ์ที่เป็นอิสระของตนเอง
รอบที่ 4 การรับแบบ Admission สำหรับนักเรียนทั่วไป โดยทปอ.เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร นักเรียนสามารถเลือกสมัครได้ 4 สาขาวิชา แบบมีลำดับ โดยใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้า 3 ปี
รอบที่ 5 รับตรงอิสระ สถาบันอุดมศึกษารับโดยตรงด้วยวิธีการของสถาบันเอง
แหล่งที่มา Facebook: ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย – ทปอ.
ข้อมูลอัพเดทเมื่อ 19 ก.พ.60

แหล่งที่มา http://www.cupt.net/download/admissions61.pdf
ข้อมูลอัพเดทเมื่อ 21 ธ.ค. 59


เท่ากับว่า DEK61 จะเริ่มสอบสนามแรก คือ เดือน มี.ค. 2561 และสอบติดๆ กัน ทั้ง GAT, PAT, 9 วิชาสามัญ และ ONET และมีโอกาสสอบได้เพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น !!!

เมื่อระบบเปลี่ยน เราก็ต้องปรับตัวตามระบบ

มาสร้างกำลังใจ และแนวทางการเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองกันดีกว่า
เริ่มต้นจากการสำรวจถึง “ข้อดี” ของระบบสอบ เอ็นทรานซ์ 4.0 กันก่อนสักนิดนึง
ประการแรก “เราจะมีเวลาเตรียมความพร้อมมากขึ้น” มีโอกาสเรียนเนื้อหาจนจบครบทุกเทอม และได้วัดความรู้มัธยมปลายกันจริงๆ (จากเดิมที่เรียนมาแค่ 5 เทอม ก็ต้องสอบกันแล้ว)
ประการที่สอง “ช่วงเวลาทองของการตัดสินใจเลือกคณะที่ใช่” ใช้โอกาสนี้ เรียนรู้ หาข้อมูลคณะในฝัน ว่าเขาเรียนอะไร สอบอะไรบ้าง แนะนำน้องๆให้ลองดูว่าคณะเหล่านี้ เคยประกาศใช้เกณฑ์รับตรงยื่นคะแนนสอบอะไรบ้าง แล้วมาจัดแผนการสอบของตัวเองเบื้องต้น ก่อนที่จะทราบเกณฑ์ที่ชัดเจน ช่วง เม.ย.60
ไม่มีประโยชน์ที่เราจะกดดัน กลุ้มใจ กังวล กลัว เพราะ ทุกๆคน ก็เจอกับเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน เตรียมความพร้อมสำหรับการสอบ แม้ว่าจะสอบเพียงแค่รอบเดียว หากเราพร้อม ทุกอย่างก็ไม่ใช่ปัญหา
แนวทางที่อยากแนะนำให้น้องๆ ได้เริ่มลองวางแผนกัน โดยเฉพาะในช่วง ต.ค.59 นี้ มีบันไดแห่งความสำเร็จ 4 ขั้น มาแนะนำกัน เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จของระบบเอ็นทรานซ์ 4.0 แล้วเราจะสู้ไปด้วยกันนะ
บันไดขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้ ม.4 ม.5 ให้ดี ปิดเทอม ต.ค.นี้ หาเวลาทบทวนเนื้อหา หรือลงคอร์ส ม.5 ล่วงหน้าเพื่อความพร้อมของการทำเกรดในโรงเรียน และเป็นพื้นฐานความรู้ที่เราจะใช้สอบในทุกๆ สนามสอบ
บันไดขั้นที่ 2 ม.5 เทอม 2 เริ่มหาข้อมูลการเลือกคณะกันอย่างจริงจัง อย่างน้อยก็ให้มีคณะในใจสัก 3-4 ที่ แล้วลองหาข้อมูลว่าในระบบรับตรงปัจจุบัน คณะเท่านี้ เลือกที่จะใช้คะแนนสอบไหนยื่นคะแนน แล้วลิสต์ไว้ก่อน (รอประกาศที่ชัดเจน เม.ย.60)
บันไดขั้นที่ 3 ทดลองนำข้อสอบของสนามนั้นๆ มาลองเปิดดู เลือกทำโจทย์เตรียมความพร้อมของเนื้อหา ม.4 และ ม.5 แค่เนื้อหาสองส่วนนี้ อย่างน้อยก็ คือสัดส่วนวัดผลข้อสอบ 2 ใน 3 ของความรู้มัธยมปลายแล้วนะ
บันไดขั้นที่ 4 SUMMER เปิดเทอมขึ้น ม. 6 อ่านหนังสือ หรือเรียนเนื้อหา ม.6 เมื่อทราบเกณฑ์ชัดเจนแล้วก็ลุยเตรียมความพร้อมตะลุยโจทย์ข้อสอบสนามนั้นๆ (เก็บเนื้อหา ม.ปลาย ให้จบในเดือน ต.ค. 60 เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมพร้อมตะลุยโจทย์ข้อสอบกัน)
เริ่มตั้งแต่วันนี้ อย่าชะล่าใจ เย้ๆ ดีใจ เลื่อนสอบออกไปอีกตั้งครึ่งปี เริ่มก่อนได้เปรียบ ลองปรับวิธีบันได 4 ขั้นสู่ความสำเร็จ เอ็นทรานซ์ 4.0 กันนะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ