สำรวจเส้นทางสู่คณะแพทยศาสตร์ในระบบ TCAS

เส้นทางสู่แพทย์-tcas
สำรวจเส้นทางสู่คณะแพทยศาสตร์ในระบบ TCAS

เมื่อพูดถึงคณะแพทยศาสตร์ พี่วีวี่เชื่อว่าคงเป็นคณะในฝันของน้อง ๆ หลายคนที่อยากเป็นหมอ ซึ่งกว่าเราจะได้เข้าไปเรียนนั้นเรียกได้ว่า ต้องใช้ทั้งความขยันอย่างสม่ำเสมอ ความพยายาม และความอดทนในการเตรียมความพร้อมมากทีเดียว
นอกจากการเตรียมตัวในด้านเนื้อหาวิชาการแล้ว การวางแผนเรื่องระบบการรับแต่ละรอบใน TCAS ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน วันนี้พี่วีวี่เลยจะพาน้อง ๆ มาสำรวจเส้นทางการเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ของระบบ TCAS เพื่อที่เราจะได้เตรียมตัวอย่างเหมาะสมนั่นเองค่ะ
ซึ่งพี่วีวี่ต้องบอกก่อนว่า การรับในแต่ละรอบของคณะแพทยศาสตร์นี้เป็นเพียงตัวอย่างจากการเปิดรับในระบบ TCAS 61 น้อง ๆ ม.ปลายสามารถดูเป็นแนวทาง แต่ก็ต้องติดตามประกาศกฎเกณฑ์ต่าง ๆ จากปีการศึกษาที่น้อง ๆ จะเข้าเรียนกันนะคะ  เอาล่ะเพื่อให้ไม่เสียเวลาเรามาเริ่มที่รอบแรกกันเลยดีกว่า

ตัวอย่างการรับในระบบ TCAS 61

ในรอบนี้จะแบ่งการรับออกเป็น 2 ครั้งย่อย คือ รอบที่ 1/1 และรอบที่ 1/2 โดยการรับสมัครและการคัดเลือกมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนด สำหรับนักเรียนทั่วไป, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ, นักเรียนโควตา, นักเรียนเครือข่าย ตัวอย่างคณะแพทยศาสตร์ที่เปิดรับในรอบนี้ เช่น

  • คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สาขาวิชาแพทยศาสตร์     ม.มหิดล
    โครงการ Portfolio
  1. วุฒิการศึกษา :  ม.6 หรือ เทียบเท่า ม.6
  2. แผนการศึกษา :  วิทย์-คณิต
  3. GPAX  :  รายละเอียดตามที่ระบุด้านล่าง

–  ระบบโรงเรียนปกติ เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ม.ปลาย หรือ กำลังเรียนในชั้นปีสุดท้ายของม.ปลาย ซึ่งคาดว่าจะจบการศึกษาในปีการศึกษา 2560  และมีผลการศึกษาที่มีคะแนนสะสมเฉลี่ยตั้งแต่ชั้น ม. 4 จนถึงวันที่สมัคร ≥ 3.50 และมีคะแนนรายวิชาเฉลี่ยในชั้น ม.ปลาย ≥ 3.50 ใน 3 รายวิชา ได้แก่ (ก) เคมี (ข) ชีววิทยา และ (ค) คณิตศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์

หรือ

–  ระบบโรงเรียนนานาชาติ เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้ายเทียบเท่าระดับชั้นม.ปลายของโรงเรียนนานาชาติทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการเทียบความรู้จากกลุ่มทะเบียนและสารสนเทศทางการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) ซึ่งคาดว่าจะจบการศึกษาในปีการศึกษา 2560

และต้องมีเกรด หรือ ผลการสอบวุฒิที่เทียบความรู้เท่า ม.ปลาย ใน 3 รายวิชา ได้แก่ (ก) Biology (ข) Chemistry และ (ค) Mathematics หรือ Physics   ตามเกณฑ์ต่อไปนี้

ผลการสอบระดับ A level ทั้ง 3 รายวิชา แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า A

หรือ

ผลการสอบ SAT II ทั้ง 3 รายวิชา (ก) Biology (ข) Chemistry และ (ค) Math level 2 หรือ Physics แต่ละวิชา ไม่ต่ำกว่า 700 คะแนน

หรือ

ผลการสอบ International Baccalaureate (IB) Higher Level ทั้ง 3 รายวิชา แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 6

  1. ค่าตรวจร่างกาย 1,500 บาท รวมค่าตรวจโรคตับอักเสบซี ภูมิคุ้มกันโรคตับอักเสบบี และโรคอีสุกอีใส (การเจาะเลือดไม่ต้องงดน้ำงดอาหารล่วงหน้า )
  2. คุณสมบัติเฉพาะ

–  ต้องไม่เป็นผู้รับทุนของโครงการอื่น ๆ ที่มีภาระผูกพันการไปศึกษาต่อหรือปฏิบัติงาน
–  เป็นผู้มีสัญชาติไทย และมีคุณสมบัติครบถ้วน  ที่ก่อนเข้าศึกษาต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว หรือสัญญาปลายเปิดกับรัฐบาลที่กำหนด ให้ผู้รับทุนต้องปฏิบัติงานในส่วนราชการ หรือ หน่วยงานต่างๆ ของรัฐหลังสำเร็จการศึกษาเป็นระยะเวลา 3 ปี ตามระเบียบและเงื่อนไขที่กำหนด
–  ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันจะเป็นอุปสรรค ต่อการศึกษาการปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ตามประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ฉบับ พ.ศ.2559 เรื่อง คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
–  ผ่านเกณฑ์การสอบภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้ TOEFL แบบ IBT (Internet based test) ≥ 80  คะแนน หรือ IELTS  (Academic modules) ≥ 6.5 ซึ่งสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปีนับถึงวันที่คณะฯ ปิดรับสมัคร

  1. เอกสารอื่น ๆ ที่ส่วนงานต้องการเพิ่มเติมนอกเหนือเอกสารประกอบการสมัคร (ต้องมีครบทุกข้อ)

–  Portfolio ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนตัว ผลงานด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านงานวิจัย หรือ กิจกรรมด้านจิตอาสา หรือ กิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
–  หนังสือ Recommendationจากครูประจำชั้น หรือ ผู้อำนวยการโรงเรียน เขียนแนะนำว่า ผู้สมัครมีความเหมาะสมที่จะเป็นแพทย์เพราะอะไร ตามแบบฟอร์มที่คณะฯ กำหนด
–  เรียงความ หัวข้อ ฉันเป็นใคร ความยาว 1 หน้ากระดาษ A4 เขียนโดยผู้สมัคร
–  ผลคะแนนการสอบภาษาอังกฤษ ได้แก่ TOEFL แบบ IBT (Internet based test) ≥ 80 คะแนน หรือ ผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS  (Academic modules) ≥ 6.5 ซึ่งสอบมาแล้วไม่เกิน 2  ปี นับถึงวันที่คณะฯ ปิดรับสมัคร
–  ผลการสอบ BMAT กรณีมีผลการสอบแล้ว ต้องเป็นผลสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่ปิดรับสมัครและให้ยื่นในช่วงที่รับสมัคร แต่สามารถยื่นผลการสอบปัจจุบัน ปี 2560 ได้ภายในเดือน พ.ย. 2561

เกณฑ์การตัดสิน

  • Portfolio
  • หนังสือ recommendation
  • เรียงความ
  • คะแนนสอบ BMAT
  • สัมภาษณ์ แบบ Multiple Mini Interview (MMI)

รอบนี้เป็นรอบสำหรับนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค, โควตาโรงเรียนในเครือข่าย ,โครงการความสามารถพิเศษต่าง ๆ โดยการรับสมัครและการคัดเลือกมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนด ตัวอย่างคณะแพทยศาสตร์ที่เปิดรับในรอบนี้ เช่น

  • คณะแพทยศาสตร์ สาขาวิชาแพทยศาสตร์     ม.ขอนแก่น
    โครงการการรับโควตาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วิชาที่ใช้

วิชาสามัญ ค่าน้ำหนัก
(09) ภาษาไทย 10
(19) สังคมศึกษา 10
(29) อังกฤษ 20
(39) คณิต 1 15
(49) ฟิสิกส์ 15
(59) เคมี 15
(69) ชีววิทยา 15
รวม 100

หมายเหตุ

คะแนนวิชา 09, 19, 29, 49,59, 69 แต่ละวิชาต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
–  คะแนนวิชา 39 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
–  คะแนนรวมทุกวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

เป็นรอบการรับสำหรับนักเรียนโครงการ กสพท, โครงการอื่น ๆ และนักเรียนทั่วไป โดย ทปอ.จะเป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร ซึ่งน้อง ๆ สามารถเลือกสาขาวิชาในรอบนี้ได้ 4 สาขา แบบไม่มีลำดับ (ติดได้มากกว่า 1 สาขา) แต่น้องมีเพียง 1 สิทธ์ในการเลือกยืนยัน 1 สาขา เท่านั้นนะคะ
และหากน้อง ๆ เลือกโครงการ กสพท ด้วย จะสามารถเลือกสาขาย่อยภายใน กสพท ได้อีก 4 สาขา แบบมีลำดับ จากนั้น กสพท จะทำการ คัดเลือกแล้วส่งผลให้ระบบกลางเพียง 1 ลำดับเท่านั้น
ซึ่งโครงการ กสพท จะนับเป็น 1 สาขา ในระบบกลาง จาก 4 สาขา นั่นเองค่ะ เรามาลองดูตัวอย่างการเลือกคณะที่มี กสพท ร่วมด้วยใน TCAS 61 รอบ 3 เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นกันดีกว่า

หมายเหตุ

สาขาวิชาที่อยู่ใน กสพท ทั้งหมดจะไม่สามารถเป็นตัวเลือกนอก กพสท
–  กสพท จะส่งสาขาวิชาที่ได้กลับคืนให้ TCAS เพียง 1 ลําดับ

ตัวอย่างคณะแพทยศาสตร์ที่เปิดรับในรอบนี้ เช่น

  • คณะแพทยศาสตร์     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    โครงการ กสพท.

เกณฑ์การคัดเลือก

น้ำหนักคะแนนที่ใช้ในการคัดเลือก กลุ่มสาระวิชาที่ต้องสอบ เงื่อนไข
วิชา น้ำหนักคะแนน
O-NET ม.6   0 % วิทยาศาสตร์ คะแนนรวมต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
คณิตศาสตร์
ภาษาอังกฤษ
ภาษาไทย
สังคมศึกษา
วิชาสามัญ   70 %
จัดสอบโดย สทศ.
วิทยาศาสตร์
(ฟิสิกส์/ เคมี / ชีวิทยา)
40 % ต้องได้เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 30 ของคะแนนเต็มในแต่ละกลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์ 1 20 %
ภาษาอังกฤษ 20 %
ภาษาไทย 10 %
สังคมศึกษา 10 %
วิชาเฉพาะ   30  %

หมายเหตุ

* กำหนดคุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติเฉพาะ

ในรอบนี้ทางทปอ. ได้มีการเพิ่มกลุ่มที่ 10 แพทยศาสตร์เข้ามาใน TCAS รอบที่ 4 โดยมีองค์ประกอบ คือ

กลุ่มที่ 10 แพทยศาสตร์
องค์ประกอบ กลุ่มวิชา
O-NET (ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณา) * คะแนนรวม O-NET 5 กลุ่มสาระวิชา ไม่น้อยกว่า   60 %
วิชาเฉพาะแพทย์   30 %
วิชาสามัญ 7 วิชา   70 %
(ต้องได้เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 30 ของคะแนนเต็ม ในแต่ละกลุ่มสาระวิชา)
  • วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา)   40 %
  • คณิตศาสตร์ 1    20 %
  • ภาษาอังกฤษ   20 %
  • ภาษาไทย   10 %
  • สังคมศึกษา   10 %

แต่ตอนนี้ยังไม่มีการยืนยันมหาวิทยาลัยที่จะเปิดรับคณะแพทยศาสตร์ในรอบ 4 นี้นะคะ คงต้องติดตามกันต่อไป และน้อง ๆ สามารถดูองค์ประกอบและค่าร้อยละของแต่ละกลุ่มสาขาอื่น ๆ ในรอบแอดมิชชั่นได้ที่นี่ คลิก

รอบนี้มหาวิทยาลัยจะเปิดรับโดยตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง ตัวอย่างคณะแพทยศาสตร์ที่เปิดรับในรอบนี้ เช่น

  • คณะแพทยศาสตร์     ม.เชียงใหม่
    โครงการรับจากกระทรวงมหาดไทยตามนโยบายของ มช.

วิชาที่ใช้

วิชาสามัญ
(09) ภาษาไทย
(19) สังคมศึกษา
(29) อังกฤษ
(39) คณิตศาสตร์ 1
(49) ฟิสิกส์
(59) เคมี
(69) ชีววิทยา

หมายเหตุ

–  วิชา 09, 19, 39, 49,59, 69 แต่ละวิชาต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
–  วิชา 29 ต้องได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 40
–  คะแนนรวมต้องไม่น้อยกว่า 300 คะแนน

* กำหนดคุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติเฉพาะ

นอกจากคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยที่พี่วีวี่ยกตัวอย่างมาแล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นที่เปิดรับในโครงการต่าง ๆ อีกมากนะคะ ซึ่งน้อง ๆ สามารถศึกษาข้อมูลการเปิดรับของคณะแพทยศาสตร์ในแต่ละรอบเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่น้อง ๆ สนใจได้เลยค่ะ
และที่สำคัญน้อง ๆ ต้องติดตามกประกาศ และอัปเดตข่าวสารในปีที่ตนเองต้องสอบอย่างสม่ำเสมอด้วย เพราะข้อมูลในบางส่วนอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ ขอให้น้อง ๆ ทุกคนโชคดีได้เข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ที่ตนเองฝันไว้นะคะ
ข้อมูลเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2561

เตรียมตัวหรือยังกับการเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ? เด็ก 62 จะวางแผนเรียนพิเศษอย่างไร ให้สู้ไหวติดตามได้ที่นี่ คลิกเลย

คอร์สเตรียมความพร้อมที่เหมาะกับน้อง ๆ ม.ปลายทุกคนที่สนใจ และกำลังเตรียมตัวสอบใน “วิชาเฉพาะ กสพท.” สอนโดยติวเตอร์ผู้เชียวชาญ และคุณหมอผู้มีประสบการณ์

คอร์สเตรียมความพร้อมที่เหมาะกับน้อง ๆ ม.ปลายทุกคนที่สนใจ และกำลังเตรียมตัวสอบใน วิชาเฉพาะ กสพท.สอนโดยติวเตอร์ผู้เชียวชาญ และคุณหมอผู้มีประสบการณ์

ติวเข้มคอร์สความถนัดแพทย์
  • คณิตศาสตร์ข้อสอบไม่ยากเท่า PAT1 แต่ส่วนมาก น้องๆ ทำข้อสอบไม่ทัน พี่กอล์ฟจึงหาแนวโจทย์ และเสริมเทคนิคที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบ PART นี้ได้รวดเร็วอย่างแน่นอน
  • แนวข้อสอบเน้นเรื่องการอ่านจับใจความ พี่ยูจึงใช้เทคนิค 6 TRANSFORMERS ที่จะมาสรุปลักษณะของข้อความ ล้วงลึกถึงความสัมพันธ์ การันตีว่าคะแนนต้องเป็นของเรา!!
  • เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดยพี่หมอปู เปิดมุมมองในการเป็นแพทย์ กระบวนการคิด และตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้น้องๆ มีความมั่นใจในการทำข้อสอบ PART นี้ได้ดียิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ