คะแนน GAT สร้างฝัน สำคัญกว่าที่คิด

ช่วงเวลาฤดูกาลสำหรับสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยกระชั้นเข้ามาทุกวัน ทุกนาที

ม.6 ขณะนี้ ต่างคงกำลังวางแผนสอบในระบบต่างๆ ส่วนใหญ่ก็มุ่งที่ระบบกลาง Admissions และระบบรับตรง หรือการสอบในระบบโควตาภูมิภาค
แอดมิชชั่น เป็นสนามสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ที่น้องๆ ม.6 ส่วนใหญ่สนใจกันมากที่สุด แต่ก็มีหลายคณะที่ให้ความสำคัญกับระบบการรับตรง
เมื่อมีจำนวนผู้สอบแข่งขันมาก จึงเป็นธรรมดาที่ผู้เข้าสอบย่อมต้องแข่งขันกันอย่างเข้มข้น

โดยเฉพาะวิชาที่ต้องใช้ยื่นเพื่อคัดเลือกเข้าทุกระบบ ทุกคณะ อย่าง “GAT”

“GAT” มีความสำคัญในการยื่นคะแนนในระบบ Admissions มากถึง 10 – 50 %

(ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละคณะวิชา โดยองค์ประกอบของการยื่นคะแนนในระบบ Admissions แบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย O-NET ,เกรดเฉลี่ยที่โรงเรียน (GPAX) , GAT, PAT)
ข้อสังเกต !! บางคณะใช้คะแนน GAT ในการพิจารณามากกว่า GPAX และอาจมากกว่าคะแนนจากการสอบ O – NET อีกด้วย

ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนนจากการสอบ GAT สูงมากๆ เช่น

  • การสอบ ADMISSIONS คณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ มีรูปแบบที่ยื่นคะแนน GAT สัดส่วนสูงถึง 50 %
  • ระบบรับตรง ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2559) ยื่นคะแนน GAT สัดส่วนสูงถึง 70 %
  • ระบบรับตรง คณะโบราณคดี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ม.ศิลปากร (ปี 2559) ยื่นคะแนน GAT เต็มพิกัดถึง 100 %

และ บางมหาวิทยาลัยต้องใช้คะแนน GAT ยื่นระบบรับตรงทุกคณะ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น

สรุปได้ว่า คะแนน GAT สำคัญในประเด็นหลักดังต่อไปนี้

  1. ทุกระบบ (Admissions และ รับตรง) ใช้คะแนน GAT ยื่นเป็นองค์ประกอบ
  2. ทุกคณะวิชาในระบบ Admissions ใช้คะแนน GAT ยื่นเป็นองค์ประกอบ
  3. หลายคณะวิชา (จำนวนมาก) ของหลายมหาวิทยาลัย ใช้คะแนน GAT ยื่นเป็นองค์ประกอบ

การสอบ GAT ปีหนึ่งมีการจัดสอบอย่างไร

เมื่อพิจารณาความสำคัญของครั้งที่ต้องสอบ GAT เราก็จะพบว่า ถึงแม้จะเปิดสอบ GAT ปีละ 2
ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ช่วงประมาณเดือนตุลาคม (บางปีเลื่อนไปเป็นพฤศจิกายนหรือธันวาคม) ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียนที่ 1 ของน้องๆ ชั้น ม.6 และครั้งที่ 2 ช่วงประมาณเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงสอบปลายภาคในภาคเรียนที่ 2 หรือใกล้ช่วงปัจฉิมนิเทศของน้องๆ ม.6

การสอบ GAT ครั้งที่ 1 มีความสำคัญมาก และอาจสำคัญกว่าครั้งที่ 2

เพราะระบบรับตรงหลายคณะของหลายมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเงื่อนไขพิเศษที่จะพิจารณาคะแนนเฉพาะจากการสอบ GAT ครั้งที่ 1 เท่านั้น หมายความว่า น้องๆ ควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบ GAT ในครั้งแรกให้ดีที่สุด เพื่อให้พร้อมหากต้องยื่นคะแนนรับตรงตามเงื่อนไขพิเศษดังกล่าว ดังนั้น ช่วงที่ควรเตรียมพร้อมเรียนรู้ GAT ก็คือ ก่อนถึงเดือนตุลาคม ที่สอบครั้งแรกนั่นเอง

“ปี 2559 รับตรงปกติจุฬาฯ ทุกคณะ ใช้คะแนน GAT/PAT 1/2559 และ
คะแนน วิชาสามัญ ปี 2559 เท่านั้น คะแนนเก่าใช้ไม่ได้”

คนที่พร้อมก่อน ย่อมเป็นคนที่พร้อมกว่า และมีโอกาสมากกว่า ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนนะครับ..
ด้วยรักจากใจ พี่ยู WE TUTOR

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ