รู้ทัน เทรนด์อาชีพกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน 20 ปี ข้างหน้า

รู้ทัน เทรนด์อาชีพกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน 20 ปี ข้างหน้า
สวัสดีค่ะน้อง ๆ ทุกคน เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สบายดีไหม เห็นพี่วีวี่เกริ่นหัวข้อมาจริงจังแบบนี้ อย่าเพิ่งรีบกดปิดหนีกันไปก่อนนะคะ เพราะว่ามีประโยชน์ต่อน้อง ๆ อย่างแน่นอน

ในยุคที่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทมาก นอกจากจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนแล้ว ยังเป็นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้วย ซึ่งการพัฒนาในกลุ่มอุตสาหกรรมต้องใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อน
พี่วีวี่เลยจะพาน้อง ๆ มาดูยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ในระยะ 20 ปี คือ พ.ศ. 2560-2579 ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้น้อง ๆ ได้ศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจเลือกคณะหรือสาขาที่จะเรียน เพราะจะเชื่อมโยงต่อการประกอบอาชีพในอนาคตของน้อง ๆ นั่นเอง
ถ้าพร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลย ในอนาคตจะมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ดังนี้

การต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ

(First S-curve)

อุตสาหกรรมอนาคต

(New S-curve)

  • อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  • อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
  • การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  • อุตสาหกรรมดิจิทัล
  • อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
  • อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
  • อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
  • อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

10 อุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ซึ่งมีเทคโนโลยีและนวัตกรรม 5 กลุ่ม เป็นตัวช่วยสนับสนุน ได้แก่

  • 1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ
    เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร เทคโนโลยีอาหาร เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากชีวภาพ หรือมีการแปรรูปวัสดุชีวภาพ เช่น การเกษตรแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
  • 2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
    การใช้เทคโนโลยีสุขภาพ เทคโนโลยีการแพทย์ในการผลิตสินค้าและบริการด้านสุขภาพ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์
  • 3. กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
    การพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ 1.หุ่นยนต์บริการ เช่น หุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ 2.หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
  • 4. กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
    เช่น การพัฒนาด้านคลังข้อมูล สมาร์ทฟาร์มที่ใช้ระบบสารสนเทศในการเก็บข้อมูลการผลิตพืชผล จนถึงการจำหน่าย
  • 5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง
    เช่น การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่สื่อถึงวัฒนธรรม การออกแบบอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จากแนวโน้มการพัฒนานี้อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาชีพในอนาคต น้อง ๆ จึงควรศึกษาข้อมูลให้หลากหลายรอบด้าน เพราะจะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ สำหรับวันนี้พี่วีวี่ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ ☺☺
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/industry_plan/thailandindustrialdevelopmentstrategy4.0.pdf

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ