สำรวจอาชีพ กับการพัฒนาอุตสาหกรรม ตอน 1

สำรวจอาชีพ กับการพัฒนาอุตสาหกรรม ตอน 1

สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน วันนี้เรายังคงอยู่ที่เรื่องอาชีพกันนะคะ จากบทความ รู้ทัน เทรนด์อาชีพกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน 20 ปี ข้างหน้า ที่จะมีการสนับสนุน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น จะทำให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย พี่วีวี่จึงได้หาตัวอย่างอาชีพในแต่ละอุตสาหกรรมมาให้น้อง ๆ ได้ดูกันค่ะ เริ่มแรกที่

กลุ่มอุตสาหกรรมต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S- Curve) คือ อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญในการผลิต และต้องการการพัฒนาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ  ประกอบด้วยอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังนี้

1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive)
ตัวอย่างอาชีพ

ภาพจาก http://eng.sut.ac.th/me/2014/program_automotive-blue.php

นักวิจัยยานยนต์
ลักษณะงาน          คิดค้น วิจัย และพัฒนายานยนต์  เช่น  พัฒนาอุปกรณ์ที่นำมาใช้ควบคุมการทำงานของยานยนต์ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานอัตโนมัติของเครื่องยนต์
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ผู้ออกแบบเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ผู้ผลิตหุ่นยนต์

ภาพจาก http://eng.sut.ac.th/me/2014/program_automotive-blue.php

วิศวกรโลหการ
ลักษณะงาน          ควบคุมการแปรรูปและปรับปรุงคุณสมบัติของโลหะและโลหะผสม ออกแบบชิ้นส่วน กำหนดวิธีการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพ วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ของชิ้นงานโลหะ
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น วิศวกรอุตสาหการ นักวัสดุศาสตร์

2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
ตัวอย่างอาชีพ

วิศวกรโทรคมนาคม
ลักษณะงาน          ออกแบบระบบอุปกรณ์และส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโทรคมนาคม วางแผน ควบคุม และบำรุงรักษาระบบ อุปกรณ์โทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรไฟฟ้ากร(อุปกรณ์)

ภาพจาก http://www.mut.ac.th/news-detail-133

นักปัญญาประดิษฐ์
ลักษณะงาน          เขียนและใส่โปรแกรมที่มีความซับซ้อนให้เครื่องจักรกลทำงานได้เทียบเท่ากับระดับสติปัญญาของมนุษย์ มองได้ 2 มิติ คือ งานที่เน้นระบบเลียนแบบมนุษย์ กับงานที่เน้นระบบเหตุผล (แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนมนุษย์)
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น วิศวกรเกี่ยวกับซอฟแวร์ วิศวกรควบคุมการใช้และดูแลรักษาเทคโนโลยีในระบบอัตโนมัติที่ใช้ในโรงงาน

ภาพจาก http://www.autospinn.com/2017/02/elon-musk-on-ai-in-the-future/

3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
ตัวอย่างอาชีพ

ภาพจาก http://www.merlininterpreter.com/15928252/บริการล่ามแปลภาษา

ล่าม
ลักษณะงาน          แปลความหมายของคำพูดหรือคำบรรยายจากภาษาหนึ่งไปเป็นภาษาอื่น ในระหว่างการสนทนาหรือการบรรยาย
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ นักแปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศ

4. การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
ตัวอย่างอาชีพ

นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม
ลักษณะงาน          สำรวจ เก็บข้อมูล ตรวจสอบ วิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับปรุงและป้องกัน ให้เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น วิศวกรสิ่งแวดล้อม นักวิจัย ที่ปรึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ภาพจาก http://www.careercast.com/page/environmental-analyst

5. อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)
ตัวอย่างอาชีพ

ภาพจาก https://blog.eduzones.com/mjup2015/144609

นักวิทยาศาสตร์การอาหาร
ลักษณะงาน          วางแผนกระบวนการแปรรูปอาหารอย่างเป็นระบบ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารให้มีมาตรฐาน
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาด้านการผลิตอาหาร

และนี่ก็คือ ตัวอย่างอาชีพใน 5 อุตสาหกรรมแรกนะคะ น้อง ๆ ติดตามการสำรวจอาชีพ ตอน 2 กันต่อ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ได้เร็ว ๆ นี้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/vgnew_th/c045afa055e4df89fb93644b3823d911.pdf

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ