เทคนิคพิชิตเป้าหมายสู่ป้ายวิศวกรรมศาสตร์

เทคนิคพิชิตเป้าหมายวิศวะ
เทคนิคพิชิตเป้าหมายสู่ป้ายวิศวกรรมศาสตร์

พูดถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายที่น้องหลายคนใฝ่ฝันเอาไว้ว่าต้องไปให้ถึงอย่างไรก็ตามหากเราดูจากสถิติย้อนหลังที่ผ่านมาจะพบว่า การแข่งขันสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นอย่างไปอย่างดุเดือดทุกปี และติดโผคณะยอดนิยมของเด็กไทยมาโดยตลอด
เมื่อเราทราบแล้วว่าสนามที่จะลงไปแข่งขันมีความเข้มข้นมากแค่ไหน สิ่งที่ต้องทำก็คือการยกระดับและให้ความสำคัญกับการเตรียมตัวมุ่งสู่เป้าหมายนั่นเอง โดยครั้งนี้พี่วีวี่จะมาสรุปให้ดูว่า เทคนิคพิชิตเป้าหมาย สู่ป้ายวิศวกรรมศาสตร์มีอะไรบ้าง

  • อยากติดวิศวะ ต้องเริ่มใส่ใจตั้งแต่การเรียนในห้อง
    ถือเป็นปัจจัยแรกที่มีความละเอียดอ่อนอย่างมาก ไล่ตั้งแต่ การเลือกที่นั่งในห้องเรียนซึ่งส่งผลต่อความตั้งใจและสมาธิในการเรียน ระหว่างเรียนควรหมั่นจดเนื้อหา และทำความเข้าใจกับหลักสำคัญของวิชาเรียนทุกคาบ หากมีข้อสงสัยควรถามเพื่อนหรือหาเวลาสอบถามจากอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาไปเลย
    เมื่อกลับถึงบ้านควรใช้เวลาทบทวนหนังสือ หรือ อ่านจากสมุดที่จด และสรุปเนื้อหาให้เป็นเนื้อหาที่เป็นของฉบับเรา รวมทั้งการสรุปเป็น mindmap ตาราง หรือรูปภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเข้าใจได้อย่างมาก เพราะเนื้อหาสำคัญของการสอบเข้าวิศวะ คือ กลุ่มวิชาคณิต – วิทย์ ซึ่งต้องใช้ทั้งความจำและความเข้าใจ เพื่อต่อยอดไปสู่การประยุกต์ใช้อีกด้วย
  • ค้นหาตัวเองให้เจอโดยเร็ว
    หลังจากรู้ตัวว่าอยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ลำดับถัดมาน้องควรจะศึกษาเกี่ยวกับสาขาวิชาด้วยเลยว่าตัวเรามีทักษะที่เหมาะสมและความสนใจในวิศวะสาขาใด อาจเริ่มต้นจากข้อมูลออนไลน์สอบถามผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ตลอดจนเข้าร่วมงาน Open House หรือ กิจกรรมด้านการศึกษารวมทั้งการหาข้อมูลเกี่ยวกับโอกาส รายได้ และอาชีพที่รองรับ รวมทั้งความต้องการของตลาดแรงงาน
  • สำรวจสนามและเงื่อนไขการสอบ
    อย่าลืมว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีรูปแบบการเปิดรับทั้งการรับตรงผ่านโครงการมากมายก่อนจะถึงช่วงแอดมิชชั่น ดังนั้นการสำรวจสนามสอบและการวางแผนจะช่วยให้น้องรู้เส้นทางที่จะสามารถเดินสู่เป้าหมายได้มากกว่า 1 เส้นทาง และที่สำคัญช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเตรียมตัวได้อย่างดี เพราะน้องจะทราบแล้วว่าเงื่อนไขของสนามสอบที่เราสนใจต้องใช้องค์ประกอบคะแนนอะไรบ้าง
  • วางแผนการทบทวนบทเรียน
    การเตรียมตัวที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลแต่แท้จริงแล้วควรมุ่งมั่นตั้งแต่การขึ้น ม.ปลายเพราะอย่าลืมว่าการแอดมิชชั่นหรือรับตรงมักใช้ GPAX ม.ปลายเข้ามาคำนวณด้วย อีกทั้งเนื้อหาที่ยากและเยอะจะทำให้น้องต้องใช้เวลาอ่าน ทบทวน และทำโจทย์ ค่อนข้างมาก การลงมือปฏิบัติในระยะเวลาสั้นๆ ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดีอย่างแน่นอน
  • รับมือกับ PAT 3 ให้ดีที่สุด
    PAT 3 หรือความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาคัดเลือกเพื่อเข้าเรียนใคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น ในรอบที่ 3 ของ TCAS 61 วิศวะ จุฬา ใช้ PAT 3 ถึง 60 %, วิศวะ ธรรมศาสตร์ ใช้ 50 % และต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของคะแนนเต็มด้วย และวิศวะ ลาดกระบัง ก็มีสัดส่วนมากถึง 50 % เป็นต้น ขณะที่รอบ 4 การรับแบบแอดมิชชั่นก็ใช้สัดส่วน PAT 3 ถึง 20 % เลยค่ะ
    PAT 3 บางส่วนเป็นเนื้อหาที่น้องไม่สามารถทำความเข้าใจด้วยตนเองได้ หรืออาจต้องใช้เวลา ทำความเข้าใจนานจนเกินไป ดังนั้นการหาคอร์สกวดวิชาเข้ามาสนับสนุนตรงจุดนี้ถือเป็นเรื่องคุ้มค่า เพราะจะช่วยน้องประหยัดเวลาแต่เพิ่มความเข้าใจที่ถูกต้องได้เป็นอย่างดี
คอร์ส-pat3-วิศวะ
  • จากตัวอย่างจะเห็นว่าคอร์สเรียนนี้มีเนื้อหาการสอนที่ครอบคลุม แต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควรดังนั้นน้องต้องเผื่อเวลาให้กับตัวเองมาก ๆ เข้าไว้
  • เตรียมความพร้อมลุยสนามแอดมิชชั่น
    GAT เชื่อมโยง ถือเป็นตัวแจกแต้มฟรีสำหรับน้องที่มีความเข้าใจและศึกษาวิธีการรับมือมาอย่างดี ขณะเดียวกัน GAT Eng ค่อนข้างยากสังเกตจากคะแนนหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นการทำ GAT เชื่อมโยงให้เต็มจึงเป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้น ถ้าหากใครยังไม่มั่นใจก็ควรหาเรียนเพื่อศึกษาเทคนิคเด็ด ๆ คว้า 150 เต็มไว้นะ
คอร์ส-gat-เชื่อมโยง
  • PAT 2 วิทยาศาสตร์ มีทั้งวิชา ฟิสิกส์ เคมี และ ชีววิทยา ดังนั้นก็ควรเน้นไปที่การอ่านหนังสือพื้นฐานตั้งแต่ ม.4 – ม.6 และทำแบบฝึกหัดให้มาก ๆ ซึ่งน้องควรใช้เวลากับส่วนนี้พอสมควร และ PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งถ้าหากใครทำคะแนนในการสอบรอบแรกได้ไม่ดี (ซึ่งใช้ยื่นรับตรงสนามต่างๆ) ก็ควรจะเพิ่มความมุ่งมั่นในการทบทวนและทำโจทย์เพื่อทำคะแนน PAT3 ในรอบที่ 2 ให้สูงขึ้นสำหรับการยื่นแอดมิชชั่น
  • ฝึกทำโจทย์ข้อสอบเก่า พร้อมดูเฉลยที่มีคำแนะนำและเทคนิคดีๆ
    การทำข้อสอบเก่าจะช่วยให้รู้แนวทางข้อสอบ อย่างไรก็ตามการได้ทำโจทย์ข้อสอบเก่าๆพร้อมกับฟังเทคนิค และวิธีการเฉลยจากผู้เชี่ยวชาญก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี ตัวอย่างเช่น การดูสอนติวในยูทูป เป็นต้น ใส่ YOUTUBE เฉลยข้อสอบ PAT 1(คณิตศาสตร์) และ PAT 2 (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) … ตามความเหมาะสม จะกี่คลิปก็ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ