โปรดระวัง!! สิ้นสุดทางเรียน End of the Study Way
Hello… สวัสดีค่ะ น้องๆ ม.5 ทุกคน ตอนนี้เราได้เลื่อนชั้นเรียนมาถึง ม.5 เทอม 2 กันแล้ว สถานการณ์การเรียนวิชาฟิสิกส์ ของแต่ละคนอยู่ในระดับไหนกันบ้างเอ่ย… บางคนตอบอย่างทันควัน “ไม่ไหวจะเคลียร์ ค่ะ/ครับ พี่ลูกตาล… 55+” ใจเย็นๆ กันก่อนนะคะ วันนี้พี่ลูกตาลได้มีโอกาสมาพูดคุยกับน้องๆ พี่เอาเนื้อหาสาระ พร้อมคำแนะนำดีๆมากมายมาฝากเยอะแยะเลย แต่ก่อนอื่นเราต้องมาปรับทัศนคติให้ตรงกันสักนิดก่อนนะ
การที่เราจะแก้ไขปัญหาใดๆ ที่เราเป็นอยู่ ขั้นแรกเราทุกคนต้องเข้าใจและยอมรับกันก่อนว่า ปัญหาได้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ น้องๆ ลองถามตัวเองกันซิ๊ว่า…
- ตอนที่น้องๆ ทำการบ้านวิชาฟิสิกส์ อึดอัดใจกันไหม? เขียนถูกเขียนผิด (ตอนลอกเพื่อน 55+ ล้อเล่นๆ ) กันอยู่หรือเปล่า?
- ก่อนจะเข้าห้องเรียน เมื่อรู้ว่าคาบถัดไปเป็นฟิสิกส์ ทำแววตากันอย่างไร? สดใสตาโต หรือ ช่างหมองคล้ำพร้อมถอนหายใจเล็กๆ
- ตอนครูกำลังอธิบายบนกระดาน น้องๆ กำลังทำอะไรกันอยู่? พยายามฟังสุดความสามารถ? พยายามแปลไทยเป็นไทย กำลังปั่นจดลงสมุดอย่างเร่งรีบ หูดับมิได้ยินสิ่งใด หรือ กำลังหาวอยู่ในใจแล้วพยายามทำปากแข็ง
สำหรับใครบางคนที่อาการไม่ค่อยจะดี ไม่ว่าจะโดนไปข้อหนึ่งข้อใด แสดงว่า การเรียนวิชาฟิสิกส์อาจเป็นปัญหาสำหรับเราแล้วหล่ะ แค่แววตาของเราไม่สดใสเมื่อรับรู้ว่าต้องเรียนฟิสิกส์ นั่นก็บ่งบอกถึงความฝืนทนของพวกเรา การเรียนควรจะเป็นอะไรที่สนุก ท้าทาย และน่าสนใจ สำหรับพวกเราทุกๆ คน
หนู/ผม มีปัญหากับการเรียนวิชาฟิสิกส์ !! ทำอย่างไรดี?? ปัญหามีไว้แก้ค่ะ อย่าทนจมอยู่กับปัญหาใดๆ นานจนเกินไป เพราะมันจะบั่นทอนจิตใจ จนอาจกลายเป็นความหดหู่ ท้อแท้ เกลียดชัง และไม่อยากเรียน ปัญหาหลายๆ ปัญหาต้องการเวลาในการแก้ไข อาจไม่สามารถแก้ให้จบได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่หากเราเริ่มที่จะแก้ไขแล้ว..มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ วัน ว่าแล้ว..เราก็มาช่วยกันแก้ไขดีกว่าเนอะ ^^
เรียน หนัก..หน่วง แบบไม่ หนัก..ใจ
ตามหลักสูตรใหม่ หลักสูตร สสวท ฉบับปรับปรุง 2560 วิชาฟิสิกส์ ในระดับชั้น ม.5 เทอม 2 น้องๆ จะได้เรียนเนื้อหาบท (1) เสียง, (2) ไฟฟ้าสถิต และ (3) ไฟฟ้ากระแส ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนปลายของ กลุ่มคลื่น และเริ่มต้นเนื้อหากลุ่มใหม่ กลุ่มไฟฟ้า นั่นเอง บางโรงเรียนอาจมีการสลับเนื้อหาเมื่อเรียนจบบทเสียงแล้ว ครูอาจสอนต่อด้วยเนื้อหา กลุ่มสมบัติสาร ซึ่งประกอบด้วย ความร้อนและแก๊ส และ ของแข็งและของไหล เพื่อให้จบเนื้อหาในกลุ่มนี้ แล้วค่อยเริ่มต้น เนื้อหากลุ่มไฟฟ้า ในระดับชั้น ม.6 เทอม 1 ทีเดียวก็ได้ (กลุ่มไฟฟ้า ประกอบด้วย 3 บท : ไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้ากระแส และ แม่เหล็กและไฟฟ้า)
สำหรับในบทความนี้ พี่ลูกตาลจะพาน้องๆ ไปเรียนรู้แนวของบทเรียน ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 2 ตาม หลักสูตร สสวท ฉบับปรับปรุง 2560 นี้กัน น้องๆ จะได้รู้จุดเน้น จุดสำคัญที่น้องๆ ห้ามพลาดในการพิชิต ฟิสิกส์ ในเทอมนี้ แล้วฟิสิกส์จะกลายเป็นวิชา จิ๊บๆ สำหรับน้องๆ อย่างแน่นอน เราไปอ่านรายละเอียดพร้อมๆกันเลย
(1) เสียง
เนื้อหาบทนี้เมื่อเทียบกับบทก่อนหน้าอย่าง แสงเชิงคลื่น และแสงเชิงรังสี ถือว่า หมูน้อยไปเลย.. ดีใจด้วยคร่า เสียงเป็นหนึ่งในคลื่นรูปแบบหนึ่ง จุดแปลกและแตกต่างจากคลื่นบทอื่นๆที่ ผ่านมาก็มีอยู่เยอะ เช่น คลื่นนิ่ง ซึ่งจะเกิดจากการรวมกันของคลื่นที่เหมือนกันทุกประการ 2 คลื่นเดินทางมารวมกันแบบสวนทาง ทำให้เกิดแนวที่คลื่นเสริมกัน (ปฏิบัพ) และแนวที่คลื่นหักล้างกัน (บัพ) บีตส์ ซึ่งเป็นการรวมกันของคลื่นที่มีความถี่แตกต่างกัน การสั่นพ้องของเสียงในหลอดปลายปิดและหลอดหลายเปิด ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ ซึ่งเป็นการได้ยินเสียงที่มีความถี่ผิดเพี้ยนไปจากแหล่งกำเนิด เนื่องจากแหล่งกำเนิด และ/หรือ ผู้ฟังมีการเคลื่อนที่ รวมไปถึงการเกิดคลื่นกระแทก นอกจากนี้ อีกกลุ่มเนื้อหาที่ออกข้อสอบบ่อยมว๊ากกกก นั่นก็คือ ความเข้มเสียงและระดับความเข้มเสียง คณิตศาสตร์ไม่แข็งแรง เรื่องของลอการิทึม ทำเอาหลายๆ กุมขมับตามๆ กัน แต่สำหรับน้องๆที่เรียนกับพี่ในคอร์สฟิสิกส์ ม.5 เทอม 2 แทบไม่รู้สึกถึงผิวของความยากเรื่องลอการิทึมเลย เพราะพี่ลูกตาลได้หาวิถีทางแก้ไว้ให้น้องๆ แล้ว จุดไหนจุดอ่อน เราก็ต้องกำจัดทิ้งสิเนอะ
(2) ไฟฟ้าสถิต
เริ่มต้นเนื้อหากลุ่มไฟฟ้า ด้วยบทไฟฟ้าสถิต เลขสิบยกกำลังต่างๆมาเต็ม คำอุปสรรคก็จะกลับมาเป็นอุปสรรคของชีวิตเราอีกครั้งหนึ่ง การบวก ลบ คูณ หาร เลขสิบยกกำลัง น้องๆ ต้องรีบไปทบทวนให้คล่อง เวกเตอร์ของแรง และเวกเตอร์สนามไฟฟ้า การรวมเวกเตอร์ยังคงต้องนำมาใช้อย่างหนักหน่วง เลขต้องคิด ทิศต้องดู สูตรต้องจำ คำตอบต้องถูก น้องๆหลายคนที่เริ่มเรียนบทนี้ ถึงกับไปไม่ถูกกันเลยทีเดียว กว่าจะทำข้อหนึ่งได้คะแนนเต็ม ก็หนักเอาการ จุดผิด จุดพลาดมันเยอะเสียเหลือเกิน ข้อสอบข้อเด็ดอย่างน้อย 1 ข้อ ต้องมีแน่นวล.. ล้านเปอร์เซ็นต์!! จากทั้งสองเรื่องนี้เอามาประยุกต์ใช้รวมกันกับกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เราจะได้เรียนรู้เรื่องของสนามไฟฟ้าระหว่างแผ่นโลหะคู่ขนาน แรงทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากจุดประจุที่เคลื่อนที่ผ่านบริเวณนั้นๆ รวมไปถึงการคำนวณหาความเร่งและตำแหน่งการเคลื่อนที่ตามสไตล์การเคลื่อนที่วิถีโค้งแบบโพรเจกไทล์ด้วย มาถึงจุดนี้ หลายคนอ้าปากค้าง 555+ มาหมดเลยเหรอพี่? ถูกต้องคร๊าบบบบ ดีนะที่เรียนกับพี่ลูกตาล ไม่ต้องห่วงเลย พื้นฐานมาเป็นยังไง เราจะมาลุยไปด้วยกัน ยังไงก็ต้องรอด รอดแบบเกรดงามๆ ด้วยคร๊าบ หมดส่วนของเวกเตอร์ก็ตามมาติดๆ ด้วยกลุ่มเนื้อหาส่วนสเกลาร์ ไม่ว่าจะเป็น ศักย์ไฟฟ้า พลังงานศักย์ไฟฟ้า งานทางไฟฟ้า และความสัมพันธ์ภายในครอบครัวนี้ งานในกรเคลื่อนประจุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งสามารถหาได้จากความต่างของศักย์ไฟฟ้าระหว่างสองจุดนั้นๆคูณค่าประจุไฟฟ้า แบบบวก-ลบ ด้วย!!
(3) ไฟฟ้ากระแส
บทนี้ตัวเลขไม่เยอะ แต่การประยุกต์โจทย์มันแยะ แน่นอนขึ้นชื่อว่าบทไฟฟ้ากระแส ต้องเรียนกระแสไฟฟ้า และ วงจรไฟฟ้า องค์ประกอบของวงจรไฟฟ้ามีหลักๆ 3 ประการ คือ 1) ภาคจ่าย, 2) ภาครับ และ 3) สื่อการนำไฟฟ้า ภายในภาคจ่าย อาจประกอบด้วย เซลล์ไฟฟ้า ซึ่งอาจมีการต่อแบบอนุกรม และ/หรือ แบบขนานของเซลล์หลายเซลล์มาอยู่แล้ว รวมทั้งมีการลงลึกถึงความต้านทานภายในเซลล์ไฟฟ้า อันนี้สิ่งสำคัญ ไม่เข้าใจไม่ได้เด็ดขาด!! เมื่อนำภาคจ่ายไปเชื่อมต่อกับภาครับด้วยสื่อกลาง เช่น สายไฟฟ้า ภายในภาครับก็อาจมีการต่อแบบอนุกรม และ/หรือ แบบขนานของตัวต้านทานไฟฟ้า ซึ่งเป็นตัวแทนของภาระทางไฟฟ้า เช่น หลอดไฟ พัดลม ตู้เย็น แอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ความยากของบทนี้คือ รูปแบบการต่อวงจรไฟฟ้าเป็นไปได้หลากหลาย ทั้งในภาคจ่ายและในภาครับ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ภายในวงจร น้องๆ ต้องยึดมั่นในหลักการ และวิเคราะห์วงจรไปตามรูปแบบของโจทย์ ใจอาจจะสั่นเล็กน้อยตอนวิเคราะห์ ว่า จะถูก/ผิด กันนะ? ฝึกฝนไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็จะชิน ความมั่นใจก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับไปเอง น้องๆ ห้ามพลาด เทคนิคการวิเคราะห์วงจรขั้นสูง เช่น วงจรวีตสโตนบริดจ์ วงจรสมมาตรรูปแบบต่างๆ การประยุกต์ใช้กฎของเคอร์ชอฟในการวิเคราะห์วงจรที่ไม่สามารถยุบเป็นวงจรเทียบเคียงได้ ด้วยเทคนิคขั้นลึกในคอร์สฟิสิกส์บทไฟฟ้ากระแสที่พี่ลูกตาลสอนนี้ จะช่วยให้น้องๆ ปลดล็อกการวิเคราะห์วงจรได้ทุกรูปแบบ!!
น้องๆ อย่าลืมนะว่า เนื้อหากลุ่มไฟฟ้ายังไม่ได้หมดเพียงเท่านี้ สำหรับใครที่เรียนตามหลักสูตรใหม่ น้องจะได้เรียนเนื้อหากลุ่มไฟฟ้า อีก 1 บทในฟิสิกส์ ม.6 เทอม 1 ซึ่งก็คือ แม่เหล็กและไฟฟ้า คงต้องรอติดตามอ่านรายละเอียดในบทความฉบับต่อไปของพี่ลูกตาลแล้วหล่ะ ถ้าใครอดใจไม่ไหว อยากเรียนแบบรวดเร็วจะได้ต่อเนื่อง พี่ลูกตาลแนะนำให้เรียนคอร์สฟิสิกส์กลุ่มไฟฟ้าไปเลย จะได้เรียนล่วงหน้าของ ม.6 เทอม 1 ไปด้วยในตัว เดี๋ยวจะอัดแน่นในช่วง ม.6 แล้วเตรียมตัวสอบเข้าได้ไม่เต็มที่ละแย่เลย
Final Call จาก มหาลัยในดวงใจ
เนื้อหา ม.5 เทอม 2 นี้ น้องๆ ก็ต้องเก็บ เพื่อทำเกรดที่โรงเรียน ในขณะเดียวกันก็ใกล้เวลาสอบเข้ามหาวิทยาลัยเข้ามาทุกที การที่จะเตรียมความรู้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยหลังจากเรียนจบ ม.ปลาย แทบเป็นไปไม่ได้เลย รุ่นพี่ที่สอบติดมหาลัยในฝันต่างรู้กันดี ถึงแม้จะเจาะจงเฉพาะตัวเต็งหนึ่งอย่างวิชาฟิสิกส์ พี่ลูกตาลคิดว่า ยังลำบาก เพราะในสุดทางของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จะมีการวัดความรู้โดยรวม น้องๆจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในเนื้อหาทุกๆ ส่วนเป็นอย่างดี ต้องสามารถจดจำบทเรียน สูตรต่างๆ มีความเข้าใจในหลักการอย่างถ่องแท้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ที่มาหลากหลายรูปแบบ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้ที่สั่งสมมาตลอดทั้งช่วงการเรียนระดับชั้น ม.ปลาย
น้องๆ บางคนมีพื้นฐานความรู้ที่ดีมาโดยตลอด แต่ทว่าก็ยังต้องได้รับการสรุปประเด็นสำคัญ จัดระบบระเบียบความรู้ เพื่อให้สามารถดึงออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งต้องการการรื้อฟื้นความจำ สูตร และหลักการนำไปใช้ต่างๆ หากน้องบางคนยังไม่ทันได้ตั้งตัวสำหรับการเรียน ม.4-ม.5 ที่ผ่านมา เข้าใจบทเรียนแค่พอสอบผ่าน จะยิ่งเข้าไปใหญ่ ความเครียดและความกดดันจะถาโถมเข้ามาอย่างหนัก ฉะนั้น อย่ารอช้าจนถึงเวลาที่สายเกินไป เรามาปรับความรู้ให้เข้าที่เข้าทางกับพี่ลูกตาล เติมเทคนิคแพรวพราวเป็นอาวุธในการเข้าสอบ เสริมสร้างความมั่นใจใน คอร์ส Ultimate Physics ไม่ว่าพื้นฐานน้องจะมาระดับใด พี่ลูกตาลจะช่วยพวกเรายกระดับให้เทียบเท่า เหมาะสม เพื่อพิชิตมหาวิทยาลัยในดวงใจของแต่ละคนให้ได้!! มหาวิทยาลัยที่ใฝ่ คณะที่ฝัน ไม่ได้รับนักศึกษาเพียงแค่คนเดียว เราในฐานะนักเรียนคนหนึ่งที่มีความมุ่งมั่นทุ่มเท เราต้องทำได้ ขอแค่เพียงที่นั่งหนึ่งเดียวเท่านั้น สู้ๆ ค่ะ