อยากเข้า "แพทย์" ม.มหิดล รอบ portfolio (1/1) ต้องดู

อยากเข้า “แพทย์” ม.มหิดล รอบ portfolio (1/1) ต้องดู

สวัสดีค่ะว่าที่คุณหมอทุกคน ในวันนี้พี่วีวี่มี 2 โครงการน่าสนใจ สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเข้าแพทย์  ม.มหิดล ที่จะเปิดรับในรอบ portfolio (1/1) มาฝาก เตรียมตัวกันไว้พร้อมหรือยังคะ ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูรายละเอียดของแต่ละโครงการด้วยกันเลยค่ะ เริ่มที่

โครงการโอลิมปิกวิชาการ–เหรียญทองระดับนานาชาติ

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

รายละเอียด

  1. วุฒิการศึกษา  :  ม.6 หรือ เทียบเท่า ม.6
  2. แผนการศึกษา  :  วิทย์ – คณิต
  3. เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX)  ไม่กำหนด
  4. เกณฑ์ขั้นต่ำคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้ (GPA)
วิทย์ คณิต อังกฤษ ไทย สังคม
≥ 3.5 ≥ 3.5 ≥ 3.5 ≥ 3.0 ≥ 3.0
  1. ค่าสอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย รวมจำนวน 3,000 บาท
  2. คุณสมบัติเฉพาะ

–  เป็นผู้ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ (ระดับนานาชาติ) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้ไปร่วมแข่งขันโดย สสวท. โดยผู้สมัครต้องผ่านการแข่งขันระดับนานาชาติขณะกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.ปลาย ณ ปีที่แข่งขัน
–  ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้

  • ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ personality disorders) ชนิด antisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • โรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • ความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • ความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 -2,000  เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discriminationscore) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาท และเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineural  hearing  loss) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • ความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบัน เห็นว่า เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน  และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
  • โรคหรือความพิการอื่นๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้  และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  1. เอกสารอื่นๆ ที่ส่วนงานต้องการเพิ่มเติมนอกเหนือเอกสารประกอบการสมัคร

–  สำเนาวุฒิบัตรหรือประกาศเกียรติคุณ การได้รับเหรียญทอง
–  บทความ 1 บทความ ความยาวไม่เกิน 2 หน้า A4 บรรยายเรื่องราวของตนเองว่าเหตุใดจึงสนใจเข้าศึกษา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โครงการโอลิมปิกวิชาการ – เหรียญทองระดับนานาชาติ
–  Portfolio ที่แสดงถึง

  • กิจกรรมที่ทำในโรงเรียน
  • ความสำเร็จด้านวิชาการหรือความสามารถพิเศษอื่นๆ เช่น การประกวดมารยาท คัดลายมือ รำไทย ดนตรีไทย เป็นต้น
  • การทำประโยชน์เพื่อสังคม

หมายเหตุ
กรณีการรับบุคคลเข้าศึกษาในโครงการโอลิมปิกวิชาการ-เหรียญทองระดับนานาชาติไม่ครบ ตามที่กำหนดคณะฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการโอนจำนวนไปรับนักศึกษาในโครงการโอลิมปิกวิชาการเพิ่มจนครบ 21 คน

รายละเอียดเพิ่มเติม     https://admission.mahidol.ac.th/si_1/

โครงการ Portfolio

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

รายละเอียด

  1. วุฒิการศึกษา  :  ม.6 หรือ เทียบเท่า ม.6
  2. แผนการศึกษา  :  วิทย์-คณิต
  3. GPAX  :  รายละเอียดตามที่ระบุด้านล่าง

–  ระบบโรงเรียนปกติ เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ม.ปลาย หรือ กำลังเรียนในชั้นปีสุดท้ายของม.ปลาย ซึ่งคาดว่าจะจบการศึกษาในปีการศึกษา 2560  และมีผลการศึกษาที่มีคะแนนสะสมเฉลี่ยตั้งแต่ชั้น ม. 4 จนถึงวันที่สมัคร ≥ 3.50 และมีคะแนนรายวิชาเฉลี่ยในชั้น ม.ปลาย ≥ 3.50 ใน 3 รายวิชา ได้แก่ (ก) เคมี (ข) ชีววิทยา และ (ค) คณิตศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์

หรือ

–  ระบบโรงเรียนนานาชาติ เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้ายเทียบเท่าระดับชั้นม.ปลายของโรงเรียนนานาชาติทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการเทียบความรู้จากกลุ่มทะเบียนและสารสนเทศทางการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) ซึ่งคาดว่าจะจบการศึกษาในปีการศึกษา 2560 และต้องมีเกรด หรือ ผลการสอบวุฒิที่เทียบความรู้เท่า ม.ปลาย ใน 3 รายวิชา ได้แก่ (ก) Biology (ข) Chemistry และ (ค) Mathematics หรือ Physics   ตามเกณฑ์ต่อไปนี้

  • ผลการสอบระดับ A level ทั้ง 3 รายวิชา แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า A

หรือ

  • ผลการสอบ SAT II ทั้ง 3 รายวิชา (ก) Biology (ข) Chemistry และ (ค) Math level 2 หรือ Physics แต่ละวิชา ไม่ต่ำกว่า 700 คะแนน

หรือ

  • ผลการสอบ International Baccalaureate (IB) Higher Level ทั้ง 3 รายวิชา แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 6
  1. ค่าตรวจร่างกาย 1,500 บาท รวมค่าตรวจโรคตับอักเสบซี ภูมิคุ้มกันโรคตับอักเสบบี และโรคอีสุกอีใส (การเจาะเลือดไม่ต้องงดน้ำงดอาหารล่วงหน้า )
  2. คุณสมบัติเฉพาะ

–  ต้องไม่เป็นผู้รับทุนของโครงการอื่น ๆ ที่มีภาระผูกพันการไปศึกษาต่อหรือปฏิบัติงาน
–  เป็นผู้มีสัญชาติไทย และมีคุณสมบัติครบถ้วน  ที่ก่อนเข้าศึกษาต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว หรือสัญญาปลายเปิดกับรัฐบาลที่กำหนด ให้ผู้รับทุนต้องปฏิบัติงานในส่วนราชการ หรือ หน่วยงานต่างๆ ของรัฐหลังสำเร็จการศึกษาเป็นระยะเวลา 3 ปี ตามระเบียบและเงื่อนไขที่กำหนด
–  ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันจะเป็นอุปสรรค ต่อการศึกษาการปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ตามประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ฉบับ พ.ศ.2559 เรื่อง คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
–  ผ่านเกณฑ์การสอบภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้ TOEFL แบบ IBT (Internet based test) ≥ 80  คะแนน หรือ IELTS  (Academic modules) ≥ 6.5 ซึ่งสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปีนับถึงวันที่คณะฯ ปิดรับสมัคร

  1. เอกสารอื่น ๆ ที่ส่วนงานต้องการเพิ่มเติมนอกเหนือเอกสารประกอบการสมัคร (ต้องมีครบทุกข้อ)

–  Portfolio ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนตัว ผลงานด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านงานวิจัย หรือ กิจกรรมด้านจิตอาสา หรือ กิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
–  หนังสือ Recommendationจากครูประจำชั้น หรือ ผู้อำนวยการโรงเรียน เขียนแนะนำว่า ผู้สมัครมีความเหมาะสมที่จะเป็นแพทย์เพราะอะไร ตามแบบฟอร์มที่คณะฯ กำหนด
–  เรียงความ หัวข้อ ฉันเป็นใคร ความยาว 1 หน้ากระดาษ A4 เขียนโดยผู้สมัคร
–  ผลคะแนนการสอบภาษาอังกฤษ ได้แก่ TOEFL แบบ IBT (Internet based test) ≥ 80 คะแนน หรือ ผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS  (Academic modules) ≥ 6.5 ซึ่งสอบมาแล้วไม่เกิน 2  ปี นับถึงวันที่คณะฯ ปิดรับสมัคร
–  ผลการสอบ BMAT กรณีมีผลการสอบแล้ว ต้องเป็นผลสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่ปิดรับสมัครและให้ยื่นในช่วงที่รับสมัคร แต่สามารถยื่นผลการสอบปัจจุบัน ปี 2560 ได้ภายในเดือน พ.ย. 2561

เกณฑ์การตัดสิน
พิจารณาจาก Portfolio, recommendation เรียงความ และคะแนนผลการสอบ BMAT รวมทั้งกระบวนการสัมภาษณ์ แบบ Multiple Mini Interview (MMI) โดยจะเรียกสัมภาษณ์ไม่เกิน 50 คน
รายละเอียดเพิ่มเติม     https://admission.mahidol.ac.th/ra_1/

ข้อมูลเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560
* โปรดติดตามการอัพเดตข้อมูลจากทางคณะ/สาขาวิชา และมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ