1. นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับ ในสาขาวิชาที่เลือก เพื่อความเสมอภาค
3. สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ. ทุกแห่งจะเข้าระบบ Clearing house เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ ของนักเรียน
การรับสมัครมีทั้งหมด 5 รอบ คือ
- ไม่มีการสอบข้อเขียน
- นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษา
- สำหรับนักเรียนทั่วไป, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ, นักเรียนโควตา, นักเรียนเครือข่าย
- มีการสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติ
- นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษา
- เข้ารับการคัดเลือกตามเกณฑ์การสอบ
- สำหรับนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค, โควตาโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษต่าง ๆ
- สถาบันอุดมศึกษาจัดให้มีการสอบกลางร่วมกันในเวลาเดียวกัน
- แต่ละสถาบันอุดมศึกษากำหนดเกณฑ์ที่เป็นอิสระของตนเอง
- มี ทปอ. เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร
- นักเรียนเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ
- สำหรับนักเรียนในโครงการ กสพท, โครงการอื่น ๆ และนักเรียนทั่วไป
- ทปอ. เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร
- นักเรียนสมัครได้ 4 สาขาวิชา แบบมีลำดับ
(โดยใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้า 3 ปี) - สำหรับนักเรียนทั่วไป
- สถาบันอุดมศึกษารับโดยตรงด้วยวิธีการของสถาบันเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook: ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย – ทปอ.
และในวันนี้พี่วีวี่ยังมี Time Line ระบบสอบใหม่ ปีการศึกษา 2561 มาฝากกันอีกด้วย
อัพเดทข้อมูลเมื่อ วันที่ 23 เมษายน 2560
- สงสัย เอนทรานซ์ 4.0 ใครก็ได้ ช่วยที
Q: ระบบการสอบใหม่จะเริ่มใช้เมื่อใด
A: เริ่มใช้ปีการศึกษา 2561
Q: เด็กซิ่วสมัครได้หรือไม่
A: น้อง ๆ ที่จะซิ่วสามารถเข้าสู่ระบบสอบใหม่นี้ได้ แต่ต้องศึกษาเงื่อนไข และเกณฑ์คะแนนของแต่ละสาขาวิชาให้ดี
Q: ในรอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน เลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ คืออะไร
A: น้อง ๆ สามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา แบบไม่มีลำดับ คือ เมื่อประกาศผลออกมาน้อง ๆ มีโอกาสสอบติดได้ทั้ง 4 สาขาเลย แต่น้องมีเพียง 1 สิทธ์ในการเลือกยืนยัน 1 สาขา เท่านั้น