เชื่อว่าน้องหลายคนคงรู้สึกสงสัยไม่น้อยเกี่ยวกับสนามสอบแพทย์ ดังนั้นในครั้งนี้เราจะมาให้คำตอบเกี่ยวกับรูปแบบการสอบแพทย์ และ จัดกรุ๊ปคร่าวๆ เพื่อเป็นประโยชน์ ในการข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับน้องที่มุ่งสนามสอบแพทย์ในอนาคต
เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน พี่ขอแบ่งภาพรวมของการเข้าคณะแพทยศาสตร์มีอยู่ด้วยกัน 3 เส้นทางเราทำมาความรู้ข้อมูลเบื้องต้นของแต่ละสนามสอบไปพร้อมๆกันเลยนะ
- รับตรง/โควตา/โครงการพิเศษ … กลุ่มนี้ค่อนข้างมีความหลากหลาย ต้องใช้วิธีการติดตามประกาศจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ อย่างใกล้ชิด โดยเส้นทางนี้จะเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม เช่น MDX และ MD02 ของ มข. หรือ รับตรงโควต้าภาคเหนือ/ODOD/CPIRD ของ มช. เป็นต้น
1.1 โควตาภูมิภาค เช่น แพทย์ มช./มข./มอ. เป็นต้น ส่วนนี้จะเน้นส่งเสริมให้กับน้องที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ เป็นหลัก เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมนั่นเอง
1.2 แพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบท (CPIRD) และ โครงการกระจ่ายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOD) ซึ่งเป็นการจับมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยหรือสถาบันกับกระทรวงสาธารณสุข
1.3 โครงการคัดเลือกผู้มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและชุมชน แพทย์ มช. หรือ โครงการโอลิมปิกวิชาการ ของ แพทย์ มหิดล เป็นต้น
ข้อสำคัญที่น้องต้องให้ความสนใจสำหรับเส้นทางนี้ คือ เกณฑ์ของการรับสมัคร เช่น GPAX ว่าใช้กี่เทอมและขั้นต่ำต้องเท่าไหร่ ภูมิลำเนาของตัวเอง และ เงื่อนไขปลีกย่อยที่อยู่ในประกาศฉบับต่างๆดังนั้นการหมั่นเช็คข้อมูลที่เป็นประโยชน์จึงเป็นการแง้มประตูสู่การเป็นแพทย์ได้เหมือนกันนะคะ แต่ถ้าใครไม่มีเวลาก็ติดตามอ่านบทความของ We by the Brain นี่แหละ
- ระบบรับตรงโดย กสพท. … ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของคณะแพทยศาสตร์ 13 สถาบัน คณะทันตแพทยศาสตร์ 7 สถาบัน และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ 6 สถาบัน โดยมี กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ กสพท. ที่ได้รับมอบอำนาจในการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลหรือ เปรียบเสมือนตัวแทนการจัดสอบของคณะ/สถาบัน ต่างๆ นั่นเอง
สนาม กสพท. มีจำนวนที่นั่งคณะแพทย์รอน้องๆเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น การสอบปีที่ผ่านมามีจำนวนรับสูงถึง 1,592 คน แบ่งออกเป็นแพทย์ 1198 คน ทันตแพทย์ 274 คน และ สัตวแพทย์ 120 คน ซึ่งก็มีรายชื่อของมหาวิทยาลัยระดับชั้นนำเข้าร่วมระบบนี้เป็นจำนวนมากเช่นกัน
นอกจากนั้นการสอบแพทย์โดย กสพท. ถือเป็นระบบที่เปิดกว้างสำหรับน้อง ม.6 ทั่วประเทศ เด็กแผนศิลป์ เด็กซิ่ว ก็สามารถร่วมสอบได้ และวัดผลกันที่คะแนนสอบเพียวๆ โดยไม่มีการพิจารณาเกรดหรือมีสิทธิพิเศษใดทั้งสิ้น ส่งผลให้การแข่งขันก็มีความเข้มข้นเช่นกัน
โดยปกติแล้วการสอบแพทย์โดยกสพท. จะเปิดรับสมัครช่วงเดือนสิงหาคม และ ใช้องค์ประกอบของคะแนนในสัดส่วน 2+1 คือ คะแนนวิชาความถนัดแพทย์ 30 % + คะแนนจาก 7 วิชาสามัญ 70 % รวมถึงต้องทำคะแนน O-NET ม.6 ทั้ง 5 วิชาให้ได้สูงกว่า 60 % อีกด้วย ดังนั้นแล้วใครที่มุ่งมั่นจะสอบสนาม กสพท. ต้องเตรียมตัวกันแบบเน้นๆ หน่อยน้า (รู้จัก รับตรง กสพท.ให้มากขึ้น คลิก)
- ระบบแอดมิชชั่น … ไม่ต้องรอถึงแอดมิชชั่น เพราะคณะแพทยศาสตร์จะไม่มีการเปิดรับในระบบแอดมิชชั่น ดังนั้นถ้าใครอยากสอบติดแพทย์ ต้องทำให้สำเร็จในการรับตรง หรือ การสอบ กสพท. อย่างไรก็ตามน้องบางคนอาจจะเคยเห็นข้อมูลเกี่ยวกับคณะที่เปิดรับผ่านแอดมิชชั่นแล้วพบว่าบางสถาบันมีการเปิดรับคณะแพทยศาสตร์ ขอเคลียร์ตรงนี้นะคะว่า นั่นเป็นแค่ชื่อสังกัดคณะ แต่สาขาที่เรียนจริงๆไม่ใช่แพทย์ นั่นหมายความว่าเมื่อน้องเรียนจบมาก็จะไม่ได้วุฒิ พ.บ. นั่นเองจ้า
สรุป ข้อสงสัยเกี่ยวกับสนามสอบแพทย์ว่ามีที่ไหนบ้างได้ดังนี้
สรุป 1 … สอบแพทย์ผ่านระบบรับตรง/โควตา/โครงการพิเศษ ซึ่งจัดขึ้นตลอดทั้งปี ประมาณช่วง ส.ค. – ช่วงกลางปีถัดไป โดยหน้าที่หลักของน้องคือติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด
สรุป 2 … ระบบรับตรงโดยกสพท. สนามใหญ่ที่เปิดกว้างและมีการแข่งขันที่เข้มข้น เพราะใช้คะแนนสอบล้วนๆ ไม่มีสิทธิเศษใดๆ ดังนั้นหน้าที่หลักคือการเตรียมให้แน่นปึกๆๆ กันไปเลย
สรุป 3 … ถ้าจัดตารางการสอบแพทย์ได้ลงตัวและบริหารเวลาเตรียมตัวได้ดี ก็จะมีโอกาสสอบหลายสนามโอกาสสอบติดแพทย์ก็จะมากขึ้น