รวมมาให้แล้ว ทำพอร์ตมหาลัยต้องใส่ข้อมูลอะไรบ้าง มีจุดไหนที่ต้องเช็กให้เรียบร้อย

รวมมาให้แล้ว ทำพอร์ตมหาลัยต้องใส่ข้อมูลอะไรบ้าง มีจุดไหนที่ต้องเช็กให้เรียบร้อย

น้อง ๆ รู้กันไหมว่าการทำพอร์ตมหาลัย หรือ Portfolio ในการยื่นเข้ามหาลัยนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ยิ่งเรารวบรวมแฟ้มผลงานไว้ดีเท่าไหร่ โอกาสในการผ่านการคัดเลือก TCAS รอบที่ 1 ก็มีมากขึ้นเท่านั้น ใครที่กำลังเตรียมตัวจะทำพอร์ตมหาลัย แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นที่ตรงไหน วันนี้พี่วีวี่จะมาแชร์เคล็ดลับเล็ก ๆ ที่น้อง ๆ ทุกคนสามารถเอาไปปรับใช้กันได้เลย

ควรทำพอร์ตมหาลัยกี่หน้าถึงจะเหมาะสม

การทำพอร์ตมหาลัย (Portfolio) ในการยื่นคัดเลือก TCAS รอบที่ 1 ไม่ควรจะทำเกิน 10 หน้า (ไม่รวมหน้าปก) และต้องใช้ขนาดตัวอักษร และฟอนต์ที่อ่านง่าย รวมไปถึงโทนสีที่ใช้จะต้องเป็นธีมเดียวกันหมด เพื่อความสบายตาในการอ่าน โดยมีเนื้อหาที่กระชับ ไม่มากไปหรือน้อยไปนั่นเอง

ทำพอร์ตมหาลัยต้องใส่ข้อมูลอะไรบ้าง

ทำพอร์ตมหาลัยต้องใส่ข้อมูลอะไรบ้าง

ในส่วนของข้อมูลพอร์ตมหาลัย น้อง ๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจะต้องใส่อะไรลงไปบ้าง แบบไหนถึงจะพอดี ไม่ดูน้อยหรือมากจนเกินไป พี่วีวี่จะมาแนะนำให้เอง ว่าแต่ละหน้าควรจะมีข้อมูลที่จำเป็นอะไรบ้างที่ควรใส่ลงไป

หน้าปก

หน้าปกเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากในการทำพอร์ตมหาลัย (Portfolio) เพราะจุดนี้เปรียบเสมือนหน้าร้านในการดึงดูดคนเข้ามา แม้ว่าเนื้อหาภายในที่น้อง ๆ เตรียมมาจะดีสักแค่ไหน แต่หากทำหน้าปกไม่ดึงดูด ก็อาจจะโดดปัดตกได้ง่าย ๆ เหมือนกัน ดังนั้น การออกแบบหน้าปกให้ดูดี เรียบง่าย แต่น่าสนใจ บวกกับการใส่ความคิดสร้างสรรค์แบบพอดี ๆ ตรงกับคณะที่สนใจ จะเป็นอีกคะแนนบวกที่ช่วยได้เหมือนกัน 

ข้อมูลที่ควรมี

  • ใส่ “ชื่อ-นามสกุล” ให้ชัดเจน
  • ระบุ “คณะ” และ “สาขา” ที่ต้องการสมัคร
  • ใส่ “ปีการศึกษา” ที่สมัคร
  • ใส่ “โลโก้” ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการสมัคร
  • ใส่ “รูปภาพ” เพิ่มเติม (ถ้าต้องการ)

ทริกน่ารู้

  • ออกแบบหน้าปกให้ตรงกับธีมสาขาที่อยากเรียน เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ เช่นใส่โลโก้หรือตาม มหาวิทยาลัยหรือสีของหน้าปกให้ตรงตามสีของคณะนั้นๆ 
  • เลือกใช้รูปที่สวมใส่ชุดนักเรียน และเห็นใบหน้าชัดเจน

ข้อควรระวัง

  • หลีกเลี่ยงการใช้สีสันที่ฉูดฉาด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ฟอนต์ที่อ่านยาก
  • หลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลที่ไม่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงการใช้รูปภาพที่ไม่ชัดเจน

ตัวอย่างหน้าปก

คณะแพทยศาสตร์: 

  • ธีม: สุขภาพ 
  • สี: เขียว ขาว 
  • รูปภาพ: ถ่ายรูปตัวเองใส่เสื้อกาวน์ หรือเสื้อนักเรียนเพื่อความสุภาพ
  • ฟอนต์: Lato เพื่อความสวยงาม

คำนำ

คำนำ เป็นอีกจุดที่สำคัญที่น้อง ๆ ต้องห้ามมองข้ามกันเด็ดขาดเลย เพราะจุดนี้จะเป็นเหมือนการเปิดประเด็น ที่จะบอกเหตุผล และความต้องการในการเข้าคณะที่เลือก เป็นจุดแรกที่กรรมการจะได้สัมผัสกับตัวตน ความคิด และความตั้งใจของน้อง การเขียนคำนำที่ดี จะช่วยสร้าง “ความประทับใจแรกพบ” ดึงดูดความสนใจ และโน้มน้าวให้กรรมการอยากอ่านเนื้อหาด้านในต่อไป

ข้อมูลที่ควรมี

  • เขียน “ชื่อ-นามสกุล” ให้ชัดเจน
  • เขียน “โรงเรียน” ที่จบการศึกษา
  • เขียน “คณะ” และ “สาขา” ที่สมัคร
  • อธิบาย “เหตุผล” ที่อยากเข้าคณะนี้
  • อธิบาย “แรงจูงใจ” และ “เป้าหมาย” ของตัวเอง

ทริกน่ารู้

  • ความยาวไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ A4
  • เขียนให้ “กระชับ” อ่านง่าย ได้ใจความ
  • เน้น “ประเด็นสำคัญ” ที่ต้องการจะสื่อสารเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
  • หลีกเลี่ยงการเขียนวกวน

ประวัติส่วนตัว

ตรงส่วนประวัติส่วนตัว จะเป็นการเขียนข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล น้อง ๆ ควรกรอกให้ละเอียดครบถ้วน และอย่าลืมตรวจเช็กความถูกต้องให้ดี เพราะหน้านี้จะเป็นข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดเลย 

องค์ประกอบสำคัญของ Personal Statement:

  • แนะนำตัว: บอกชื่อ ความสนใจ และเป้าหมายของน้องในการเรียนคณะที่ต้องการ
  • ประสบการณ์: เล่าประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการศึกษา กิจกรรมอาสาสมัคร งานอดิเรก หรือประสบการณ์อื่นๆ ที่แสดงความสามารถ และความสนใจของน้องที่มีต่อการเข้าเรียน
  • แรงจูงใจ: ให้น้องอธิบายว่าทำไมถึงเลือกสมัครสาขาวิชานี้ และทำไมถึงเลือกที่นี่
  • บทสรุป: สรุปใจความสำคัญ ย้ำถึงความสนใจของน้อง ๆ และแสดงความมุ่งมั่น

เทคนิคการเขียน Personal Statement:

  • ความจริงใจ: เขียนด้วยความจริงใจ ตรงไปตรงมา และแสดงเอกลักษณ์ที่มีออกมา
  • เฉพาะเจาะจง: เลือกประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่สมัครเท่านั้นเพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อมากเกินไป
  • กระชับ: เขียนให้กระชับ ชัดเจน ใจความสำคัญครบถ้วน เห็นสิ่งที่น้องจะสื่อสารได้ชัดเจน
  • ตรวจทาน: ตรวจทานงานเขียนอย่างละเอียดเพื่อไม่ให้มีคำผิดตกหล่น โดยเฉพาะกับชื่อคณะหรือชื่อมหาวิทยาลัย

ตัวอย่างประเด็นที่ควรเขียน:

  • จุดอ่อน – จุดแข็งของน้อง ๆ คืออะไร?
  • อะไรคือแรงบันดาลใจในการสมัครเรียนที่นี่?
  • อะไรคือความท้าทายที่เคยพบเจอมา และได้เรียนรู้อะไร? (หากเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคณะที่ต้องการสมัครได้จะยิ่งดี)
  • เป้าหมายในอนาคตไม่ว่าจะเป็นหลังเรียนจบ หรือการทำงานในสายวิชานั้น ๆ คืออะไร?

ประวัติการศึกษา

ประวัติการศึกษา จะเป็นข้อมูลที่บ่งบอกว่าผลการเรียนที่ผ่านมาของน้อง ๆ นั้นเป็นอย่างไรบ้าง มีการพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงเกรดเฉลี่ยสะสมทั้งหมด (GPAX) อยู่ในเกณฑ์ผ่านการคัดเลือกหรือไม่ และยังต้องมีประวัติการเข้าศึกษาในโรงเรียนต่าง ๆ ที่แสดงให้กรรมการพิจารณาอีกด้วย

ข้อมูลที่ควรมี 

  • ข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล
  • การศึกษาระดับมัธยมศึกษา: ชื่อโรงเรียน ปีการศึกษา วุฒิการศึกษา
  • การศึกษาเพิ่มเติม: หลักสูตรระยะสั้น การฝึกอบรม
  • เกียรตินิยม รางวัลหรือทุนการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา (ควรระบุที่มาของทุนหรือผู้ให้ทุนด้วย)

กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม

กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม เป็นอีกส่วนสำคัญที่น้อง ๆ ควรเลือกแต่กิจกรรมเด่น ๆ ที่ผ่านมา หรือผลงานที่น้อง ๆ รู้สึกภาคภูมิใจ และมีความเกี่ยวข้องกับคณะที่เลือก โดยให้เลือกจากกิจกรรมที่เคยผ่านเข้ารอบ หรือรับรางวัลมาจะดีที่สุด แต่หากไม่มี ก็ขอแค่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่ยื่นเท่านั้น ไม่ควรใส่เยอะจนเกินไป 

ข้อมูลที่ควรมี

  • ชื่อกิจกรรม
  • ประเภทของกิจกรรม เช่น กิจกรรมในโรงเรียน / มหาวิทยาลัย กิจกรรมอาสาสมัคร หรือกิจกรรมอื่นๆ
  • บทบาท / หน้าที่ในการทำกิจกรรม เพื่อแสดงความสามารถด้านอื่น ๆ 
  • ระยะเวลาในการร่วมกิจกรรม
  • ผลลัพธ์ / ความสำเร็จ ที่ได้จากการทำกิจกรรม
  • ทักษะที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมดังกล่าว

ผลงานและเกียรติบัตร

นอกเหนือจากกิจกรรม ผลงานและเกียรติบัตร ก็เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญ ที่น้อง ๆ จำเป็นจะต้องใส่ลงไป เพื่อแสดงให้เห็นถึงรางวัลที่เคยได้รับ หรือเกียรติบัตรต่าง ๆ ที่ผ่านมาตลอดปีการศึกษา เพราะจุดนี้จะเป็นการแสดงถึงความสามารถพิเศษ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการพิจารณาจากกรรมการ และยังบ่งบอกว่าเป็นเด็กกิจกรรม ที่มีทัศนคติที่ดีในการช่วยเหลือผู้อื่น 

ข้อมูลที่ควรมี

  • ชื่อผลงาน / รางวัล และประเภทของผลงาน / รางวัล เช่น วิชาการ กิจกรรมการประกวด กิจกรรมการกีฬา หรือกิจกรรมอื่น ๆ
  • ควรระบุที่มาของผลงานและช่วงระยะเวลาในการทำผลงานให้ชัดเจน
  • แนะนำให้ดึงผลงานเด่นระดับประเทศมาแสดงก่อน (หากมี) จากนั้นจึงเป็นระดับภาคหรือระดับจังหวัดรองลงมา
  • หากสามารถเพิ่มเติมได้ว่ารางวัลดังกล่าวนำไปประยุกต์ใช้ด้านใดต่อได้จะยิ่งทำให้ได้คะแนนมากขึ้น

3 เช็กลิสต์ จุดที่ต้องเช็กให้เรียบร้อยก่อนยื่นพอร์ตโฟลิโอ

3 เช็กลิสต์ จุดที่ต้องเช็กให้เรียบร้อยก่อนยื่นพอร์ตโฟลิโอ

เมื่อน้อง ๆ ทำพอร์ตมหาลัยเสร็จแล้ว พี่วีวี่มีเช็กลิสต์ที่อยากจะมาย้ำเตือนให้ได้ทราบกันอีกครั้ง อย่างที่บอกกันไปว่า พอร์ตมหาลัยจะต้องเป็นอะไรที่อ่านเข้าใจง่าย กระชับ และมีความสวยงามในการนำเสนอ รีบมาดูเช็กลิสต์ด้านล่างนี้ พร้อมตรวจเช็กอีกรอบไปพร้อม ๆ กันดีกว่า

1. ตรวจเช็กความเรียบร้อยของเนื้อหา

สิ่งแรกที่ไม่ควรพลาดเลย ก็คือในส่วนของเนื้อหา จะต้องไม่มีตัวสะกดที่ผิด เพราะจุดนี้แสดงถึงความรอบคอบในการทำพอร์ตมหาลัย น้อง ๆ จึงควรตรวจทานอีกรอบให้มั่นใจว่าไม่มีจุดผิดเด็ดขาด

2. ฟอนต์และสีที่เลือกใช้ต้องอ่านง่าย

ฟอนต์กับสีที่เลือกใช้ จะเป็นต้องอ่านง่าย ไม่ลายตา และควรเลือกเป็นอักษรที่มีหัวจะดีที่สุด เพื่อป้องกันการอ่านผิดในบางจุด

3. การจัดวางที่เป็นระเบียบ

การจัดเรียงข้อมูลควรเป็นระเบียบ เว้นบรรทัดเท่ากัน เพื่อง่ายต้องการไล่อ่านข้อมูลได้อย่างครบถ้วน ไม่สลับไปมาจนเกิดความสับสน ซึ่งอาจส่งผลต่อการพิจารณาของกรรมการได้

สรุป ก่อนทำพอร์ตมหาลัย อย่าลืมหาคอร์สติวก่อนสอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลที่พี่วีวี่นำมาแชร์กันในวันนี้ การทำพอร์ตมหาลัยก็ไม่ได้ยาก หรือน่ากลัวอย่างที่คิดเลยใช่ไหมล่ะ แต่สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ยังอยากเตรียมพร้อมให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในเรื่องความรู้ด้านวิชาการ อย่าลืมหาคอร์สติวเข้ามหาลัย 68 ไว้เสริมความรู้ให้แน่น ๆ กันด้วยนะ ใครยังไม่รู้จะเลือกที่ไหน มาเรียนกับ WE BY THE BRAIN ได้เลย ที่นี่เรามีความรู้ให้แบบอัดแน่น เข้าใจง่าย เรียนแล้วสนุก ไม่มีปวดหัว

อัปเดตข่าวสารและสอบถามรายละเอียด เซต จาก WE BY THE BRAIN ได้ที่ 

โรงเรียนกวดวิชา วี บาย เดอะเบรน เรียนสนุก เข้าใจง่าย ทำโจทย์ได้จริง!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ