รวมทุกเรื่องที่น้อง ๆ DEK68 อยากรู้เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์

รวมทุกเรื่องคณะเภสัชศาสตร์

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

      สำหรับน้อง ๆ DEK68 ที่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ มีความสนใจเกี่ยวกับนวัตกรรมยาใหม่ ๆ อยากวิเคราะห์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา หรืออยากทำงานเป็นเภสัชกร “คณะเภสัชศาสตร์” เป็นคณะที่ตอบโจทย์ที่สุด แล้วคณะสายวิทย์สุขภาพคณะนี้ เรียนอะไรบ้าง? ต้องเรียนกี่ปี? ใช้คะแนนสอบอะไรบ้าง? พี่วีวี่ได้สรุปข้อมูลมาให้แล้วค่ะ

 

คณะเภสัชศาสตร์ เรียนกี่ปี 

      คณะเภสัชศาสตร์ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี เหมือนกับคณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์เลยค่ะ แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่น้อง ๆ จะต้องเรียนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเภสัชศาสตร์ในช่วง 4 ปีแรก แล้วค่อยไปฝึกงานที่โรงพยาบาล ร้านยา หรือโรงงานผลิตยาในช่วง 2 ปีหลัง ในขณะที่อีก 3 คณะจะต้องเริ่มฝึกปฏิบัติงานตั้งแต่ปี 4 แล้ว

 

คณะเภสัชศาสตร์มีกี่สาขา เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

คณะเภสัชศาสตร์มีกี่สาขา เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

      คณะเภสัชศาสตร์ จะแบ่งเป็น 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม และสาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ โดยทั้ง 2 สาขาวิชา น้อง ๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐานเพื่อการเป็นเภสัชกรเหมือนกัน แต่จะมีวิชาเอกที่แตกต่างกัน 

1. สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม

      การบริบาลทางเภสัชกรรมคือการดูแลผู้ป่วยในกระบวนการใช้ยา น้อง ๆ ที่เรียนในหลักสูตรนี้จะได้เรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานดูแลประชาชนและผู้ป่วยด้านการใช้ยาอย่างรอบด้าน เมื่อเรียนจบแล้ว จึงสามารถประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่ต้องการความเชี่ยวชาญด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมได้ เช่น เป็นเภสัชกรในโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือเภสัชกรร้านยา เป็นต้น

ตัวอย่างวิชาเอกของสาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม

  • ระบบบริการเภสัชกรรมขั้นสูง
  • ทักษะทางคลินิกในการบริบาลทางเภสัชกรรม
  • เภสัชกรรมปฏิบัติในการบริบาลผู้ป่วยโรคไต
  • การบริบาลทางเภสัชกรรมในโรคระบบเลือดและมะเร็ง
  • เภสัชบำบัดขั้นสูงในโรคระบบประสาท
  • โภสชเภสัชภณฑ์และอาหารฟังก์ชัน
  • โภชณศาสตร์คลินิกขั้นสูง
 

2. สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหกรรม

      เป็นหลักสูตรที่เน้นในด้านเภสัชกรรมเทคโนโลยี การค้นพบและพัฒนายาต่าง ๆ รวมถึงงานในด้านเภสัชศาสตร์สังคม และการบริหารงานเภสัชกรรม เพื่อให้น้อง ๆ มีความชำนาญในการเภสัชภัณฑ์อย่างรอบด้าน เมื่อเรียนจบแล้ว สามารถประกอบอาชีพเภสัชกรรมได้ทั้งในหน่วยงานราชการและภาคเอกชน

ตัวอย่างวิชาเอกของสาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหกรรม

  • หลักการของกระบวนการทางเภสัชอุตสาหกรรม
  • หลักการทางวิศวเภสัชกรรม
  • ข้อกำหนดทางเทคนิคสำหรับการขึ้นทะเบียนตำรับยา
  • การควบคุมคุณภาพยา
  • การบูรณาการเภสัชบำบัด
  • บูรณการอภิบาลระบบยาและสุขภาพ
  • วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
  • การคัดกรองของสารสำคัญในสมุนไพร
 

 คณะเภสัชศาสตร์ ใช้คะแนนอะไรบ้าง

คณะเภสัชศาสตร์ ใช้คะแนนอะไรบ้าง

      น้อง ๆ DEK68 คนไหนที่ต้องการสมัครสอบเข้าคณะเภสัชศาสตร์ TCAS รอบ 3 รอบ Admission จะต้องใช้คะแนนจากข้อสอบกลาง 2 ส่วน ดังนี้

 1. TPAT1 กสพท (30%)

      TPAT1 กสพท คือ ข้อสอบวัดความถนัดทางการแพทย์ เป็นข้อสอบวิชาเฉพาะของ กสพท โดยจะแบ่งเป็น 3 พาร์ต ได้แก่ เชาว์ปัญญา 100 คะแนน, จริยธรรมทางการแพทย์ 100 คะแนน และความคิดเชื่อมโยง 100 คะแนน ซึ่งน้อง ๆ จะต้องสอบพร้อมกันในวันเดียวเลย

2. A-Level (70%)

      A-Level (Applied Knowledge Level) คือ การสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ ที่ทาง ทปอ. กำหนดขอบเขตข้อสอบไว้แล้วว่าเนื้อหาจะอ้างอิงหลักสูตรแกนกลางของ สพฐ. ไม่ออกเกินจากหลักสูตรที่เรียนมาตั้งแต่ชั้น ม.4 – ม.6 โดยจะมีทั้งหมด 10 วิชา 

      แต่วิชาที่น้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะเภสัชศาสตร์ต้องสอบ จะมีอยู่ 7 วิชา ดังนี้

      อย่างไรก็ตาม แต่ละมหาวิทยาลัยอาจมีการกำหนดเกณฑ์คัดเลือกและสัดส่วนคะแนนที่แตกต่างกัน พี่วีวี่แนะนำให้น้อง ๆ ศึกษาข้อมูลรายละเอียดการรับสมัครล่าสุดอีกครั้ง เพื่อที่จะได้วางแผนการติวหนังสือสอบได้เหมาะสมกับคณะและมหาวิทยาลัยที่ตนเองอยากเข้ามากที่สุด

 

คณะเภสัชศาสตร์ มีที่ไหนบ้าง

      สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะเภสัชศาสตร์ แต่ไม่รู้จะเข้าที่ไหนดี? พี่วีวี่ได้รวมรายชื่อหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ของคณะเภสัชศาสตร์ที่ได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรม ประจำปีการศึกษา 2567 มาให้แล้ว

  • คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
 

คณะเภสัชศาสตร์ จบมาทํางานอะไร เงินเดือนเท่าไหร่

คณะเภสัชศาสตร์ จบมาทํางานอะไร เงินเดือนเท่าไหร่

      หลังจากที่น้อง ๆ เรียนจบหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตแล้ว น้อง ๆ จะต้องไปสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมก่อน หลังจากสอบผ่านแล้ว ถึงจะสามารถทำอาชีพเภสัชกรได้ โดยสามารถเลือกทำได้หลายตำแหน่ง ทั้งในภาครัฐและเอกชนเลยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น

  • เภสัชกรโรงพยาบาลรัฐ : เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 23,000 – 28,000 บาท
  • เภสัชกรโรงพยาบาลเอกชน : เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000 – 40,000 บาท
  • เภสัชกรร้านยา : เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 – 35,000 บาท
  • เภสัชกรอุตสาหกรรม : เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 28,000 – 38,000 บาท
  • นักวิจัยและพัฒนายา : เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000 – 45,000 บาท
  • อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ : เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 28,000 – 35,000 บาท
 

ติวเข้าคณะเภสัชศาสตร์กับ กับ WE BY THE BRAIN

      จบกันไปแล้วกับการแนะนำคณะเภสัชศาสตร์ พี่วีวี่หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจความแตกต่างของคณะเภสัชศาสตร์ ทั้ง 2 สาขาวิชามากขึ้น สามารถเลือกสาขาวิชาที่เหมาะกับตนเองได้ รวมถึงรู้ว่าจะต้องสอบวิชาอะไรบ้าง สัดส่วนคะแนนเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้ติวหนังสือสอบเข้าคณะเภสัชศาสตร์ได้อย่างตรงจุด อ่านครบทุกวิชา เก็บคะแนนได้มากขึ้น และพิชิตมหาวิทยาลัยในฝันได้สำเร็จ!

      สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากได้เทคนิคทริกลัดเพิ่มเติม ต้องการติวเข้มก่อนสอบ TGAT และ A-Level สามารถสมัครคอร์สติวเข้ามหาวิทยาลัย 68 กับ WE BY THE BRAIN ได้เลย พี่ ๆ ติวเตอร์ของเราพร้อมพาน้อง ๆ ไปตะลุยโจทย์ข้อสอบหลากหลายรูปแบบ เน้นสอนด้วยความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ได้จริง เรียนจบแล้วจะช่วยให้น้อง ๆ เก็บคะแนนสอบได้มากขึ้นอย่างแน่นอน!

อัปเดตข่าวสารและสอบถามรายละเอียดติวเข้ามหาวิทยาลัย 68 จาก WE BY THE BRAIN ได้ที่ 

โรงเรียนกวดวิชา วี บาย เดอะเบรน เรียนสนุก เข้าใจง่าย ทำโจทย์ได้จริง!

บทความแนะนำ

Top
ทดลองเรียนทดลองเรียนโปรโมชันโปรโมชันรับคำแนะนำรับคำแนะนำ