ลองทำดู ข้อสอบย้อนหลัง “ชีววิทยา PAT2”

เฉลยข้อสอบ-ชีวะ-pat2

ลองทำดู ข้อสอบย้อนหลัง “ชีววิทยา PAT2”

สวัสดีครับทุกคน วันนี้พี่บิ๊ก Biology Expert จะชวนน้อง ๆ มาทดสอบความรู้ในด้านชีววิทยาว่า น้อง ๆ มีความพร้อมในการสอบสนาม PAT2 นี้แค่ไหน โดยการทำข้อสอบเก่า ชีววิทยา PAT2 ซึ่งมีทั้งหมด 10 ข้อด้วยกัน หากใครพร้อมแล้วมาเริ่มที่ข้อแรกเลย

  • 1.  พิจารณาข้อความต่อไปนี้

    ก.  เปลือกของผลเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นแดงช้ามากหรืออาจไม่เปลี่ยนสีเลย

    ข.  เนื้อของผลนิ่มอย่างรวดเร็วกว่าผลที่มีการสร้างเอทิลีนในปริมาณปกติ

    ค.  ผลมีขนาดเล็กกว่าผลที่มีการสร้างเอทิลีนในปริมาณปกติ

    ง.  ผลร่วงจากต้นช้ากว่าผลที่มีการสร้างเอทิลีนในปริมาณปกติ

    ข้อใดเป็นลักษณะของผลมะเขือเทศที่ไม่สามารถสร้างเอทิลีนได้

1.  ก.และ ค.

2.  ก.และ ง.

3.  ข.และ ง.

4.  ก. ข. และ ค.

5.  ข. ค. และ ง.

เฉลย  2.

  • 2.  ปรากฏการณ์ใดในต้นมะเขือเทศที่พบในเวลากลางคืนมากกว่าเวลากลางวัน

    1.  การเคลื่อนที่ของน้ำเข้าสู่รากแบบอโพพลาสต์

    2.  การเคลื่อนที่ของน้ำเข้าสู่รากแบบซิมพลาสต์

    3.  การคายน้ำของพืชเนื่องจากอากาศร้อน และพืชอยู่ในภาวะขาดน้ำ

    4.  การเคลื่อนที่ของน้ำเข้าสู่ไซเล็มของราก และทำให้เกิดแรงดันรากขึ้นในไซเล็ม

    5.  การลำเลียงน้ำจากแรงดึงน้ำจากดินเข้าสู่ท่อไซเล็มเนื่องจากการสูญเสียน้ำ โดยการระเหยไปในบรรยากาศ

เฉลย  4.

  • 3.  ข้อใดไม่พบในขั้นตอนของปฏิกิริยาแสง (light reaction)

    1.  การสังเคราะห์ ATP ในลูเมน

    2.  การลำเลียงโปรตอนจากลูเมนไปยังสโตรมา

    3.  ระบบแสง II ดึงอิเล็กตรอนมาจากโมเลกุลของน้ำ

    4.  การถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากระบบแสง II ไปยังระบบแสง I

    5.  ตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย คือ NADP+ ส่งผลให้มีการสังเคราะห์ NADPH

เฉลย  1.

  • 4.  พืชชนิดหนึ่ง ปากใบปิดในเวลากลางวัน และมีอัตราโฟโตเรสไพเรชันต่ำมาก การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืชชนิดนี้น่าจะตรงกับข้อใดมากที่สุด

    1.  ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางวัน ได้กรดออกซาโลแอซิติกในเซลล์มีโซฟิลล์ และลำเลียงต่อไปยังเซลล์บันเดิลชีท

    2.  ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางวัน ได้กรดออกซาโลแอซิติกซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นกรดมาลิกในเซลล์มีโวฟิลล์ และมีการตรึงครั้งที่สองที่เซลล์บันเทิลชีท

    3.  ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางคืน โดยสะสมในรูปของกรดมาลิกในแวคิลโอล และลำเลียงกรดมาลิกไปยังคลอโรพลาสต์ในเวลากลางวัน

    4.  ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางคืน โดยสะสมในรูปของกรดออกซาโลแอซิติกในแวคิวโอล และลำเลียงกรดออกซาโลแอซิติกไปยังคลอโรพลาสต์ในเวลากลางวัน

    5.  ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางคืน โดยสะสมในรูปของกรดออกซาโลแอซิติกในคลอโรพลาสต์ และเปลี่ยนเป็นกรดมาลิกและคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางวัน

เฉลย  3.

  • 5.  นิสิตคนหนึ่งทำการผสมพันธุ์ระหว่างมะเขือเทศรุ่นพ่อแม่ที่มีลักษณะผลสีแดง และผลสีเหลือง ได้รุ่นลูก F1 ที่มีลักษณะผลสีแดงทั้งหมด จากนั้นจึงปลูกรุ่น F1 แล้วเก็บเมล็ดที่เกิดจากการผสมพันธุ์ภายในดอกเดียวกันของรุ่น F1 ไปปลูก ได้รุ่น F2 เป็นรุ่นถัดไป มีอัตราส่วนของลักษณะผลสีแดงต่อสีเหลืองเป็น 3 : 1 ข้อใดไม่ถูกต้อง

    1.  ความแตกต่างของลักษณะผลสีแดงและสีเหลืองของมะเขือเทศ เรียกว่า genetic variation

    2.  ลักษณะผลสีแดงเป็น dominant trait ส่วนลักษณะผลสีเหลืองเป็น recessive trait

    3.  การผสมพันธุ์ภายในดอกของลูกรุ่น F1 เรียกว่า cross fertilization

    4.  รุ่น F1 มีจีโนไทป์เป็นแบบ heterozygous

    5.  รุ่นพ่อแม่มีจีโนไทป์เป็นแบบ homozygous

เฉลย  3.

  • 6.  ข้อใดถูกต้องที่สุดในการทำให้ระยะพักในกระบวนการสร้างเซลล์ไข่ของผู้หญิงสิ้นสุด

    1.  ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน และคอร์ปัสลูเทียม

    2.  ฮอร์โมน luteinizing hormone (LH) และ โพลาร์บอดี

    3.  ฮอร์โมน follicle stimulating hormone (FSH) และอสุจิ

    4.  ฮอร์โมนอีสโทรเจน และอสุจิ

    5.  ฮอร์โมน LH และ คอร์ปัสลูเทียม

เฉลย  3.

  • 7.  ข้อใดผิดเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของกบ

    1.  การปฏิสนธิเป็นแบบนอกลำตัว เพราะเพสผู้ไม่มีอวัยวะถ่ายอสุจิไปให้ตัวเมีย

    2.  ในคลีเวจ การแบ่งเซลล์ 2 แนวแรกเป็นแนวตั้ง โดยเป็นแนวจากด้านบนสู่ด้านล่าง

    3.  เอ็มบริโอกบไม่มีคอเรียนมาช่วยแลกเปลี่ยนแก๊ส

    4.  บลาสโทซีลเป็นช่องว่างที่มีของเหลวบรรจุอยู่เต็ม

    5.  กระดูก กระเพาะอาหาร เลือด และรังไข่ เจริญมาจากมีโซเดิร์ม

เฉลย  5.

  • 8.  ในระหว่างที่คนรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพภายหลังจากนักเรียนรับประทานอาหารข้าวผัดทะเล และลอดช่องเป็นอาหารกลางวัน จะพบการทำงานของออร์โมนหลายชนิด ยกเว้นข้อใด

    1.  Cholecystockinin จากลำไส้เล็ก กระตุ้นการบีบตัวของถุงน้ำดี

    2.  Glucagon จากตับอ่อน กระตุ้นการสลายตัวของไกลโคเจนจากตับ

    3.  Secretion จากลำไส้เล็ก กระตุ้นการหลั่งไบคาร์บอเนตจากตับอ่อน

    4.  Insulin จากตับอ่อน กระตุ้นให้เซลล์กล้ามเนื้อนำกลูโคสเข้าไปในเซลล์

    5.  Gastrin จากกระเพาะอาหาร กระตุ้นการหลั่งกรดไฮโดรคลอริกจากผนังกระเพาะอาหาร

เฉลย  2.

  • 9.  พืชชนิดหนึ่งมีจีโนไทป์ AaBb ภาพการเข้าคู่กันของ homologous chromosome ในระยะ prophase I ขณะแบ่งเซลล์แบบ meiosis ในข้อใดถูกต้อง

1.

1.

2.

2

3.

3

4.

4

5.

5

เฉลย  1.

  • 10  .จากการศึกษาทางพันธุกรรมของ 2 ลักษณะในแมลงหวี่ ได้ข้อมูลดังนี้
    ลักษณะ A : เมื่อทำการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อและแม่ที่มีลักษณะแตกต่างกันได้รุ่นลูก F1 ที่มีลักษณะกึ่งกลางระหว่างพ่อและแม่ และรุ่น F2 มีลักษณะ 5 แบบ ที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ลดหลั่นกันไปในอัตราส่วน 1 : 4 : 6 : 4 : 1
    ลักษณะ B : เมื่อทำการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อและแม่ที่มีลักษณะแตกต่างกันได้ลูกรุ่น F1 ที่มีลักษณะกึ่งกลางระหว่างพ่อและแม่ และรุ่น F2 ที่มีความแตกต่างกัน 3 แบบ ในอัตราส่วน 1 : 2 : 1
    ข้อใดสรุปการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของลักษณะทั้งสองได้ถูกต้อง

    ลักษณะ A ลักษณะ B
    1. ควบคุมด้วยพอลียีน ควบคุมด้วยมัลติเปิลแอลลีน
    2. ควบคุมด้วยยีน 2 ตำแหน่ง ควบคุมด้วยยีน 1 ตำแหน่งที่มี 2 แอลลีน
    3. ควบคุมด้วยยีน 1 ตำแหน่งที่มี 2 แอลลีน ควบคุมด้วยยีน 1 ตำแหน่งที่มี 1 แอลลีน
    4. ควบคุมด้วยยีน 1 ตำแหน่งที่มีมากกว่า 2 แอลลีน ควบคุมด้วยยีน 1 ตำแหน่งที่มี 2 แอลลีน
    5. ควบคุมด้วยยีน 1 ตำแหน่งที่มี 2 แอลลีน ที่แสดงการข่มร่วมกัน ควบคุมด้วยยีน 1 ตำแหน่งที่มี 2 แอลลีน ที่แสดงการข่มไม่สมบูรณ์

เฉลย  2.

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้อง ๆ ทำได้ไหมเอ่ย ใครที่ทำได้ถูกทุกข้อ คงต้องปรบมือให้เสียงดัง ๆ ส่วนใครที่ยังไม่แม่น หรือพลาดไปในจุดไหนก็ให้นำกลับไปแก้ไขและทบทวนกันให้ดีนะครับ จะได้สอบ ชีววิทยา PAT2 ในครั้งนี้ได้อย่างมั่นใจ สู้ สู้  ʕ•ᴥ•ʔ

ดร.ณัฐชัย เก่งพิพัฒน์ (พี่บิ๊ก)

พี่บิ๊ก

✤  ปริญญาเอก : วิทยาศาสตร์ (Biotechnology) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ทุน คปก.)
✤  ปริญญาโท : วิทยาศาสตร์ (Biotechnology) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
✤  ปริญญาตรี : วิทยาศาสตร์ (Microbiology) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
✤  อดีตผู้ช่วยสอน วิชาจุลชีววิทยาทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
✤  อดีตอาจารย์พิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
✤  ผู้เขียนหนังสือเฉลยข้อสอบโควตา มข. โควตา มช. และ โควตา ม.อ.
✤  ประสบการณ์การสอน 14 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ