PAT3 คืออะไร? วิเคราะห์เจาะลึกรูปแบบข้อสอบ สถิติคะแนนสอบ และตัวอย่างข้อสอบพร้อมเฉลย อัปเดตล่าสุด!!

pat 3 คืออะไร

PAT3 หรือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ เป็นวิชาที่น้องว่าที่วิศวะทุกคนต้องเจอ  อย่างที่รู้กันนะคะว่า PAT3 เป็นหนึ่งในวิชาที่ขึ้นชื่อว่าหินสุด ๆ ในบรรดาวิชา PAT ทั้งหมด แต่พี่วีวี่คิดว่ามันคงไม่มีอะไรที่ยากเกินไปสำหรับเราหากเรารู้ลึก รู้จริง เหมือนสุภาษิตที่ว่ารู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ฉะนั้นวันนี้พี่วีวี่จะสร้างน้องให้เป็นนักรบสนามสอบ PAT3 ด้วย กฎ 5 ข้อ พิชิตสนามสอบ PAT3 กฎข้อแรก ของการเป็นนักรบที่แข็งแกร่งในสนาม PAT3 คือต้องรู้ว่าศัตรูคือใคร?

PAT3 หรือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ คืออะไร?

ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ หรือ PAT3 เป็นการวัดความรู้พื้นฐาน, วัดศักยภาพความพร้อมของน้อง ๆ ที่ต้องการเรียนต่อในสายวิชาชีพเฉพาะวิศวกรย้ำนะคะ สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการเรียนต่อในสายวิชาชีพวิศวะ  โดยข้อสอบที่ใช้วัดความรู้และศักยภาพความพร้อมถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. ความรู้พื้นฐานที่จะเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ ความรู้ทางคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, และเคมี
  2. ความถนัดในการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ (วัดว่าจะสามารถเรียนรอดในคณะนี้ได้ไหม) ได้แก่ วิธีการคิดแบบวิศวกร การแก้ปัญหาทางวิศวกรรม รวมถึงการเขียนแบบเชิงวิศวกรรม

โดยเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา สทศ. หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดสอบได้ประกาศเนื้อหาการสอบ (Test Blueprint) GAT/PAT รูปแบบและจำนวนข้อสอบ GAT/PAT ในวันนี้พี่วีวี่จะพาน้องมาดูว่า สทศ. ออกสอบเนื้อหาอะไรบ้างใน PAT3 ? และมีรูปแบบข้อสอบอย่างไร

เนื้อหาที่ออกสอบ, รูปแบบข้อสอบ และจำนวนข้อสอบ PAT3

ความรู้พื้นฐานข้อสอบตามที่ สทศ. ได้มีการประกาศว่าจะออกสอบดังนี้

  1. กลศาสตร์ แรง มวล และการเคลื่อนที่
  2. ไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า คลื่น แสง และเสียง
  3. เคมี สาร และสมบัติของสาร
  4. พลังงาน ความร้อน และของไหล
  5. คณิตศาสตร์ และสถิติประยุกต์เชิงวิศวกรรม

ศักยภาพข้อสอบตามที่ สทศ. ได้มีการประกาศว่าจะออกสอบดังนี้

  1. การคิดวิเคราะห์เชิงช่างและมิติสัมพันธ์
  2. ความถนัดเชิงช่าง
  3. ความคิดเชิงตรรกะเชิงช่าง
  4. สามัญสำนึกเรื่องความปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม
  5. การแก้ปัญหา
  6. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รูปแบบข้อสอบ และจำนวนข้อสอบ

รูปแบบข้อสอบ มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

  1. แบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ จำนวนทั้งหมด 60 ข้อ คิดเป็น 80% รวมเป็น 240 คะแนน
  2. แบบระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข 10 ข้อ คิดเป็น 20% รวมเป็น 60 คะแนน

หากพี่วีวี่จะนำข้อมูลตามประกาศมาฝากน้องก็คงหาอ่านได้ตามประกาศบนเว็บไซต์  อย่างพี่วีวี่จะมาแบบไม่ธรรมดาแน่นอนเพราะวันนี้พี่ได้จำแนกสัดส่วนของรายวิชาทั้งหมดที่ออกสอบทั้งฟิสิกส์, คณิตศาสตร์, เคมี, พื้นฐานทางวิศวกรรม, และการเขียนแบบ ที่จำแนกออกมาเป็นการประมาณการสัดส่วนของเนื้อหาที่ในแต่ละวิชาออกสอบรวมถึงจำนวนข้อโดยคิดเป็น % ในแต่ละวิชา บอกเลยว่าดูปุ๊บรู้ปั๊บโดยทันทีว่าหัวใจ PAT3 อยู่ตรงไหน น้อง ๆ เองจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปวางแผนได้ถูกต้อง หากเปรียบเสมือนกองทัพที่ต้องออกไปรบ คงต้องวางกำลังให้ดี หรือเรียกได้ว่าเป็น กฎข้อ 2 ของการรบ คือวางแผนให้พร้อมและรอบด้าน เพื่อพิชิตในสนามรบ PAT3
* ข้อมูลสัดส่วนที่พี่นำมาฝากวันนี้โดยคิดจากสถิติข้อสอบ 2 ปีย้อนหลัง คือ 63 และ 62 นั่นเอง
 ฟิสิกส์ ประมาณ 50% ตอนที่ 1 ประมาณ 27 ข้อ (108 คะแนน) ตอนที่ 2 ประมาณ 7 ข้อ (42 คะแนน)
คณิตศาสตร์ ประมาณ 23% ตอนที่ 1 ประมาณ 13 ข้อ (52 คะแนน) ตอนที่ 2 ประมาณ 3 ข้อ (16 คะแนน)
เคมี ประมาณ 11% ตอนที่ 1 ประมาณ 8 ข้อ (32 คะแนน)
พื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์ ประมาณ 11% ตอนที่ 1 ประมาณ 8 ข้อ (32 คะแนน)
การเขียนแบบเชิงวิศวกรรม ประมาณ 5% ตอนที่ 1 ประมาณ 4 ข้อ (16 คะแนน)

สัดส่วนสถิติข้อสอบ PAT3

อ๊ะ ๆ น้องอย่าเพิ่งตกใจไปว่าทำไมฟิสิกส์เป็นสัดส่วนคะแนนที่เยอะมาก ๆ เพราะนั่นถูกต้องแล้วค่ะ หัวใจสำคัญของ PAT3 ก็คือ ฟิสิกส์ นั่นเอง โดยคิดเป็นสัดส่วนของข้อสอบและคะแนนทั้งหมดถึง 50% กันเลยทีเดียว แต่ก็ยังไม่หมดแค่นั้นนะคะ ยังมีวิชาคณิต อีกหนึ่งวิชาที่สำคัญไม่แพ้กันคิดเป็นสัดส่วนถึง 23%  พอสัดส่วนทั้งสองมารวมกันจะได้เท่ากับ 73% ของสัดส่วนข้อสอบและคะแนนสอบ  พี่วีวี่จึงจะพาน้องไปวางแผนให้ลึกลงไปอีกขั้น โดยการเจาะหัวใจสำคัญของ PAT3 หากทำได้จะได้คะแนนไปถึง 73% หรือเรียกได้ว่าเป็น กฎข้อ 3 ในสนามรบ PAT3 คือ มุ่งมั่น ตั้งใจ เจาะหัวใจ PAT 3 ให้ถูกจุด เพื่อให้การรบนั้นครอบคลุมมากที่สุด ในสองวิชานี้ออกเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง  ไปดูกันเลยค่ะ

PAT3
เคล็ดลับสำคัญการเจาะหัวใจ PAT3
  • ให้น้อง ๆ จำไว้ว่าหัวใจของ PAT3 คือฟิสิกส์และเรื่องที่ออกเยอะที่สุดคือ กลศาสตร์ ถัดมาคือเรื่องความร้อน ของไหลจากนั้นก็เป็นเรื่องของไฟฟ้า ดังนั้นมุ่งมั่นและตั้งใจอ่านเรื่องเหล่านี้ เพื่อสร้างความเข้าใจและการจดจำ
  • คณิตศาสตร์เปรียบเหมือนขนมช่วยเก็บแต้ม ออกไม่ยาก แต่อย่าพลาด
  • เคมี ออกในเรื่องสาร สมบัติสารและการหาค่ากรด เบส
  • อย่าลืมพื้นฐานทางวิศวะ อยากเรียนวิศวะต้องเขียนแบบเป็น รู้จักเครื่องมือช่างและการคิดเชิงวิศวะก็สำคัญไม่แพ้กันห้ามทิ้ง
  • สุดท้ายแล้วควรฝึกฝนโจทย์เก่าเยอะ ๆ

น้อง ๆ พอเห็นหน้าตาและหัวใจของ PAT3 แล้วเป็นยังไงกันบ้าง? หากคำนวณเวลาหลังจากนี้ในการเตรียมตัวบอกได้เลยว่าเหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญสำหรับน้อง ๆ ทุกคนนั่นคือการโฟกัสให้ตรงจุดหากเราโฟกัสการเก็บเนื้อหาไปที่หัวใจของ PAT3 น้องมีโอกาสที่จะได้คะแนนไปครองถึง 73% กันเลยทีเดียว แต่ก็ใช่ว่าน้องจะเทวิชาอื่นนะคะ เพราะวิชาที่เหลือยังสำคัญอยู่เพียงว่าอยู่ในเนื้อหาความรู้ตามหลักสูตรเป็นวิชาที่พี่เชื่อว่าน้องทำได้อยู่แล้ว
กฎข้อ 4 ต่อไปที่พี่วีวี่อยากจะบอกน้อง ๆ นั้นคือ การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ แน่นอนหากเปรียบ PAT3 เป็นสนามรบเราเองคงต้องเป็นนักรบที่จะต้องไปรบกับข้อสอบ เราจึงควรฝึกฝนฝีมืออยู่เป็นประจำ จะเป็นสิ่งที่ทำให้น้องเกิดความเคยชินและเพิ่มประสบการณ์ของตัวเองให้มากขึ้น วันนี้พี่วีวี่จึงมีโจทย์เก่า ๆ มาให้น้องได้ฝึกสมองประลองวิชา ข้อสอบจะเป็นยังไงไปดูกันเลย!

ตัวอย่างข้อสอบ PAT 3 พร้อมเฉลย
ข้อสอบ-PAT3-ปี-63-ฟิสิกส์
ข้อสอบ-PAT3-ปี-63-คณิตศาสตร์
ข้อสอบ-PAT3-ปี-63-คณิตศาสตร์
ข้อสอบ-PAT3-ปี-63-เคมี
ข้อสอบ-PAT3-ปี-63-เขียนแบบ

ดูข้อสอบทั้ง 5 วิชาแล้วน้อง ๆ ได้ลองทำตามกันบ้างไหมและทำกันได้กี่ข้อ? ข้อสอบที่น้องได้ลองทำนี้เป็นข้อสอบจากรุ่นพี่ปีก่อน ๆ งั้นลองมาดูกันสิว่าพี่ ๆ  เขาเคยสอบมาแล้วจะได้คะแนนสูงสุด – ต่ำสุดอยู่ที่เท่าไหร่กัน โดยข้อมูลที่พี่นำมาฝากนี้เป็นข้อมูลค่าสถิติคะแนนสูงสุด – ต่ำสุด 3 ปีย้อนหลังจากประกาศของ สทศ. คะแนนจะอยู่ที่เท่าไหร่มาดูกันค่ะ

สถิติคะแนนสอบย้อนหลัง ค่าสถิติคะแนนสูง – ต่ำ PAT3 5 ปีย้อนหลัง
สถิติคะแนน PAT3

เห็นตัวอย่างและค่าสถิติคะแนนสูง – ต่ำแล้วเป็นยังไงกันบ้างคะน้อง ๆ รุ่นพี่ทำไว้สูงมาก ๆ แต่ก็ยังไม่มีใครที่สามารถทำได้ 300 เต็ม เห็นแบบนี้แล้วพอมีแรงฮึดสู้ขึ้นกันไหม  การที่เราเห็นค่าสถิติหากเรารู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์โดยนำค่าสถิตินั้นมาตั้งเป้าหมาย โฟกัสไปยังเป้าหมายสูงขึ้น หรือตั้งเป้าไว้เลยว่าน้องจะเป็นคนแรกที่สามารถทำ PAT3 ได้เต็ม 300 คะแนน ดังนั้นน้องต้องเตรียมตัวให้ฟิตเพื่อพร้อมที่จะพิชิตสนามสอบ

คราวนี้ถ้าน้องเริ่มต้นได้ถูกทางรู้จักข้อสอบอย่างแจ่มแจ้งแล้ว กฎข้อ 5 ข้อสุดท้ายในการรบในสนามนี้ คือ ปรับ mindset เชื่อมั่นว่าฉันทำได้ และลงมือทำ  หากวันนี้น้องรู้แล้วว่าน้องอยากจะเป็นวิศวะ รู้แล้วว่าหัวใจของ PAT3 อยู่ที่ฟิสิกส์และคณิต แต่ไม่ลงมือทำ ไม่ยอมอ่านหนังสือฝันนั้นก็คงไปไม่ถึงไหนแน่นอน ดังนั้นควรวางแผนจัดตารางการอ่านและการฝึกฝนให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวันของตนเอง  สร้างความเชี่ยวชาญและความคุ้นชินกับสนามสอบได้คือ การฝึกฝนทำข้อสอบเก่าบ่อย ๆ และอย่าลืม กฎ 5ข้อ พ
ิชิตสนามสอบ PAT3  ถ้าอยากเสริมความมั่นใจให้มากขึ้นด้วยการเรียนรู้เนื้อหาเข้มข้นครบทุก PART ทั้ง ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ และการเขียนแบบวิศวกรรม แถมได้ฝึกทำโจทย์หลากหลายรูปแบบเป็นโจทย์ที่พี่รุ่นก่อน ๆ เคยทำมารับรองว่า 
เสริมความมั่นใจ 100% สอนโดยทีม WE TUTORS วิศวกร เกียรตินิยม กับคอร์สเรียน คอร์ส GEAR UP FOR PAT3 คราวนี้แม้น้องจะเหลือเวลาเตรียมตัวอีกไม่มาก แต่น้องก็พร้อมรับมือสนามสอบ PAT3 ได้อย่างแน่นอน!!

banner pat3

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ