สวัสดีครับน้อง ๆ มาเจอกับพี่กอล์ฟในวิชาความถนัดแพทย์ PART เชาว์ปัญญากัน ข้อสอบใน PART นี้จะประกอบด้วย เชาว์ปัญญาทางคณิตศาสตร์ และเชาว์ปัญญาทางภาษา ซึ่งข้อสอบใน PART นี้ไม่ยาก แต่ส่วนมากน้อง ๆ จะทำไม่ทัน ดังนั้นจุดสำคัญในการทำ คือ

รีบแสกนข้อสอบให้เร็วที่สุด

ข้อไหนที่รู้สึกว่า ยาก หรือ ยาว ให้ข้ามทันที

ฝึกฝนทำโจทย์มาก ๆ จะช่วยให้ทำเร็วขึ้น
เชาว์ปัญญาทางคณิตศาสตร์
น้อง ๆ หลายคนสงสัยกันมากว่า มันเหมือนกับวิชาคณิตที่เราเรียนกันมาไหม พี่กอล์ฟเลยจะพาน้อง ๆ มาดูรายละเอียดให้หายข้องใจกัน ลักษณะข้อสอบเชาว์ปัญญาทางคณิตศาสตร์ จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

- แปลงรหัส
- อนุกรมตัวเลข
- อนุกรมตัวอักษร
- วิเคราะห์ความเพียงพอของข้อมูล
- วิเคราะห์และสรุปผลจากเงื่อนไขโจทย์
- ตัวเลข, ตัวอักษรในกรอบหรือรูปภาพ (ให้เติมตัวที่หายไป)

- หารูปที่ไม่เข้าพวก
- แผ่นคลี่ของลูกบาศก์
- หารูปถัดไป, รูปที่หายไป

- สถิติ
- ร้อยละ
- ความเร็ว
- เรขาคณิต
- การทำงาน
- ความน่าจะเป็น
- โจทย์ปัญหา, สมการ
หลาย ๆ คนจะเริ่มเห็นว่า ข้อสอบจะไม่เหมือนตอนที่เรียน ม.ปลายมา ละนี่คือปัญหาที่ทำให้รุ่นพี่ที่ไปสอบมาแล้วได้คะแนนไม่เยอะ เพราะคิดไปว่า เราเตรียมตัวสอบ PAT1 ซึ่งยากมากอยู่แล้ว น่าจะเพียงพอต่อการนำมาสอบใน PART นี้
ซึ่งจริง ๆ น้องจะเห็นเลยว่ามันไม่ใช่ เพราะว่าหลาย ๆ เรื่องไม่ได้อยู่ในหลักสูตร ม.ปลาย และหลายเรื่องใน ม.ปลายก็ดันไม่ออกอีก เดี๋ยวเราจะไปดูตัวอย่างว่า ข้อสอบใน PART นี้ เวลาออกจะออกในรูปแบบไหน เพื่อที่จะได้เตรียมตัวกันถูก มาดูเลย
1. 3 , 5 , 11 , 29 , 83 , …
245
โจทย์นี้เป็นแนวอนุกรมที่เป็นตัวเลข ซึ่งสังเกตได้ว่า จะไม่เหมือนอนุกรมเลขคณิตหรือเรขาคณิตที่เราเรียนหลักสูตร ม.ปลาย
1. W U N O
2. X U M P
3. X U M O
4. W T M O
5. X T N P
ข้อ 3.
ข้อสอบแนวนี้คือ การแปลงรหัส ที่ในหลักสูตรไม่เคยพูดหรือสอนเรามาเลย แต่จะทดสอบความถนัดเพื่อดูว่าเราสังเกตออกไหม ทริคคือเมื่อเจอโจทย์แปลงรหัส ให้ใช้การตัดตัวเลือกช่วย
คำชี้แจง : ให้ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 3-4
ตัวอักษร 7 ตัว คือ A, B, C, D, E, F และ G นำตัวอักษรมาจัดเรียงจากค่าน้อยไปหามากตามเงื่อนไข ดังนี้
- ตำแหน่งของ D น้อยกว่าตำแหน่งของ A อยู่ 3 ตำแหน่ง
- B อยู่ตำแหน่งตรงกลาง
- ระหว่าง F กับ B มีตัวอักษรอื่นคั่นอยู่ 1 ตัว
- F มีค่าน้อยกว่า B แต่มากกว่า C
- G มีค่ามากกว่า F
3. ตัวอักษรใดอยู่ที่ตำแหน่งที่ 1
1. A
2. C
3. D
4. E
5. F
ข้อ 2.
4. ถ้า A อยู่ในตำแหน่งที่ 6 ผลบวกของตำแหน่ง E และ G คือข้อใด
1. 8
2. 10
3. 12
4. 13
5. 14
ข้อ 3.
โจทย์การวิเคราะห์เงื่อนไขจะเป็นโจทย์ที่ค่อนข้างยาวและใช้เวลาในการทำค่อนข้างเยอะ ซึ่งปีหลัง ๆ ออกมากขึ้น
วิเคราะห์ความเพียงพอของข้อมูล
คำสั่ง : คำถามหรือข้อความแต่ละข้อต่อไปนี้ มีข้อมูลประกอบการพิจารณา 2 ข้อ คือ ข้อมูล (1) และข้อมูล (2) ท่านไม่จำเป็นต้องคำนวณหาคำตอบ เพียงแต่พิจารณาว่าข้อมูลที่กำหนดให้นั้นเพียงพอสำหรับตอบคำถาม หรืออธิบายข้อความที่กำหนดให้หรือไม่
เลือก 1 | ถ้าข้อมูล (1) เพียงอย่างเดียวเพียงพอ แต่ข้อมูล (2) เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ |
|
เลือก 2 | ถ้าข้อมูล (2) เพียงอย่างเดียวเพียงพอ แต่ข้อมูล (1) เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ |
|
เลือก 3 | ถ้าข้อมูล (1) เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ และข้อมูล (2) เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ถ้าใช้ข้อมูลทั้งสองร่วมกันจึงจะเพียงพอ |
|
เลือก 4 | ถ้าข้อมูล (1) เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ หรือข้อมูล (2) เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ |
|
เลือก 5 | ถ้าข้อมูล (1) และ (2) รวมกันแล้วก็ยังไม่เพียงพอ |
5. วันนี้เป็นวันที่เท่าใดของเดือนกุมภาพันธ์ ถ้า
(1) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นวันอาทิตย์
(2) วันนี้ก็เป็นวันอาทิตย์ และเป็นวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนด้วย
ข้อ 5.
ข้อ 4.
โจทย์แนวนี้น่าเก็บคะแนน เพราะใช้เวลาในการทำไม่นานจนเกินไป โดยต้องอาศัยการสังเกตรูปภาพช่วยก็จะสามารถทำโจทย์ได้
ดูเฉลยแนวข้อสอบความถนัดแพทย์ PART เชาว์ปัญญาแบบละเอียดได้ที่นี่
เรามาดูกันต่อในส่วนของเชาว์ปัญญาทางภาษา ซึ่งในส่วนนี้พี่ยู THAI EXPERT จะเป็นผู้ให้คำแนะนำน้อง ๆ กันต่อครับ
เชาว์ปัญญาทางภาษา

1. การวิเคราะห์บทความ
– การอ่านจับใจความ
– การอ่านอนุมานข้อมูล
2. การวิเคราะห์คำศัพท์
– วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางความหมายของคำศัพท์
ซึ่งพี่ยูมีแนวข้อสอบความถนัดแพทย์ PART เชาว์ปัญญาทางภาษามาให้น้อง ๆ ได้ลองทำกันดูด้วยครับ
ข้อใดเป็นสาระสำคัญของข้อความต่อไปนี้
นิสิตชั้นที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาวะปกติของมนุษย์ โดยไม่ได้เรียนกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้นมาก่อน ต่างประสบปัญหาในการทำความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชาดังกล่าวเป็นอย่างมาก ความรู้ในวิชากายวิภาคสาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้นที่สอนในชั้นปีที่ 1 จะทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาภาวะปกติของมนุษย์และติดตามบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
นิสิตที่ประสงค์จะเรียนวิชาภาวะปกติของมนุษย์ให้ได้ผลดีจึงควรเรียนกายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยาเบื้องต้นมาก่อน
- การทำความเข้าใจในเนื้อหาภาวะปกติของมนุษย์มีส่วนช่วยในการศึกษาวิชาทางการแพทย์ในระดับชั้นปีที่ 3 ต่อไป
- การเข้าใจหรือผ่านการเรียนกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้นเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำความเข้าใจในวิชาภาวะปกติของมนุษย์
- นิสิตชั้นปีที่ 2 ส่วนใหญ่ขาดความรู้ความสามารถที่จะเข้าใจเนื้อหาวิชาภาวะปกติของมนุษย์ซึ่งมีความสลับซับซ้อน
- แม้ว่านิสิตจะเคยศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์หรือสรีรวิทยาเบื้องต้นมาก่อน แต่หากไม่ชอบวิชาภาวะปกติของมนุษย์ ก็ไม่อาจเรียนวิชาดังกล่าวให้ประสบผลสำเร็จได้
- ความรู้ในวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้นที่สอนในชั้นปีที่ 1 ช่วยให้ทำความเข้าใจในวิชาต่าง ๆ ของนิสิตเมื่อขึ้นเรียนชั้นปีที่ 2 ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ข้อ 2.
เป็นอย่างไรบ้างครับน้อง ๆ สำหรับแนวข้อสอบความถนัดแพทย์ PART เชาว์ปัญญา พี่กอล์ฟหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีส่วนช่วยให้น้อง ๆ หลายคนที่กำลังเตรียมสอบในวิชาความถนัดแพทย์เห็นแนวทางกันนะครับ ขอให้น้อง ๆ ทุกคนตั้งใจและทำข้อสอบใน PART นี้ให้ได้มากที่สุด และสอบติดตามที่ตั้งใจไว้ครับ

อ.ชวลิต กุลกีรติการ (พี่กอล์ฟ)
- ปริญญาตรี : วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกียรตินิยม
- ประสบการณ์การสอน 17 ปี
ติวเข้มความถนัดแพทย์ใน PART ที่สนใจ เลือกเลย ☟
คอร์สความถนัดแพทย์ : คอร์สที่เหมาะกับน้อง ๆ ม.ปลายทุกคนที่สนใจ และกำลังเตรียมตัวสอบวิชาเฉพาะในโครงการ กสพท. ซึ่งเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในการรับเข้าคณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์
คอร์สเดียว ครบทุก PART สอนโดยติวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญ และคุณหมอผู้มีประสบการณ์ ที่จะมาแนะวิธีคิด พร้อมเผยเทคนิคให้น้อง ๆ เตรียวตัวก่อนสอบอย่างมั่นใจ คลิกเลย