จากน้อง ม.4 ที่มีโอกาสได้มาเข้าค่ายลานเกียร์เพื่อค้นหาตัวเองในวันนั้นของ พี่นนท์-วรพจน์ อุตรพงศ์ ได้พบว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือเป้าหมายในฝัน ทำให้พี่นนท์ต้องตั้งใจเตรียมตัวอย่างหนัก เพื่อพิชิตมหาวิทยาลัยในฝันให้ได้ และแน่นอนว่าเมื่อมีการประกาศผลพี่นนท์ก็ได้เข้าเป็นนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจริง ๆ เส้นทางการเตรียมตัวของพี่นนท์เป็นอย่างไร มีเคล็ดลับอะไรเป็นพิเศษ ตามพี่วีวี่มาคุยกับพี่นนท์ไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
ทำไมถึงต้องเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอน ม.4 ผมเคยมาเข้าค่ายลานเกียร์ ที่จุฬาฯ ได้เห็นการเรียนการสอนของอาจารย์ ได้พบเจอรุ่นพี่ ได้เห็นบรรยากาศการเรียนที่ดีมาก ๆ ผมก็คิดเลยว่าต้องเข้ามาเรียนที่นี่ให้ได้ครับ การได้เข้าค่ายถือเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เราค้นหาตัวเองเจอ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ น้อง ๆ ที่ยังหาตัวเองไม่เจอก็ลองมาเข้าค่ายลานเกียร์ดูครับ
เคล็ดลับในการเตรียมตัวให้สอบติดของพี่นนท์คืออะไร
ช่วงม.4 ผมยังสนุก ๆ อยู่ มาเริ่มเตรียมตัวจริง ๆ คือตอน ม.5 ผมก็เริ่มเก็บเนื้อหา ตั้งใจเรียนในห้องด้วย อ่านเองด้วยหลาย ๆ อย่าง พอ ม.6 ก็เริ่มเก็บเนื้อหา PAT1, PAT3, GAT
ตอนเริ่มหาข้อมูล PAT1 ก็เห็นว่าคอร์ส PAT1 The Last Battle น่าสนใจมาก ก็เลยลองถามรุ่นพี่ที่เคยเรียน แล้วก็ขอข้อมูลจากพี่ที่สาขาเพิ่มเติม ขอดูหนังสือต่าง ๆ พี่ที่สาขาเชียงใหม่ก็เอาให้ดู ผมก็รู้สึกว่าเนื้อหาโจทย์ต่าง ๆ คือครบจริง ๆ มีตั้งแต่ง่าย ไปจนถึงยาก คือหลากหลายมาก
จุดเริ่มต้นในการเรียนกับ We By The Brain
เริ่มจากตอน ม.ต้น ครับ เพื่อนผมมาเล่าให้ฟังว่าเรียนพิเศษที่หนึ่ง สอนคณิตดีมาก ทั้งเนื้อหา ทั้งโจทย์ คือครบครันมาก ๆ ผมก็เลยถามว่าคือที่ไหน เพื่อนก็บอกว่า We By The Brain ผมเลยคิดว่าต้องลองไปเรียนแล้วแหละ
ผมทดลองเรียนฟรีวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งพี่ ๆ ก็สอนดีจริง หนังสือสวยงามมาก คือแค่เป็นการทดลองเรียนก็ขนาดนี้แล้วเรียนจริงจะขนาดไหน ผมเลยตัดสินใจสมัครเรียนดูแล้วก็เรียนยาวมาเลยครับ การทดลองเรียนถือว่าเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจที่ดีมาก ๆ อยากให้น้อง ๆ ที่สนใจมาทดลองเรียนกันดู
พี่นนท์ทำอย่างไรให้มั่นใจในการสอบครั้งสำคัญ
ผมว่าเราต้องประเมินตัวเองว่าเราอยู่ในระดับไหน ถ้าอยู่ในระดับที่ไม่โอเคก็ต้องหาเรียนเพิ่มเติมจนกว่าจะมีพื้นฐานเท่ากับคนที่เก่ง ถ้าวิชาไหนเรามีพื้นฐานแล้วก็อ่านทบทวนนิดหน่อยแล้วเริ่มต้นทำโจทย์เลย ซึ่งการทำโจทย์เป็นสิ่งสำคัญมากของวิชาคำนวณ
อย่างการสอบเข้าวิศวะ ก็จะต้องสอบ GAT PAT1 PAT3 ผมชอบคณิตศาสตร์ กับฟิสิกส์อยู่แล้วก็ถือว่าโชคดี ส่วน GAT ไทย ก็ฝึกทำไปเรื่อย ๆ แต่ GAT ภาษาอังกฤษ ผมต้องอ่านจริงจังเลย เพราะผมไม่ค่อยเก่งภาษาอังกฤษ
เวลาทำข้อสอบก็ต้องเผื่อเวลา ถ้าข้อไหนทำไม่ได้ ผมก็จะข้ามไปเลย ซึ่งข้อที่ยาก ๆ ก็ข้าม ถ้าข้อไหนง่ายเราก็จะให้เวลากับตรงนั้น คือถ้าทำไม่ได้เราก็จะเก็บข้อที่ง่ายไว้ก่อน เพราะทุกข้อมันคะแนนเท่ากันเราก็ควรเก็บข้อที่ง่ายให้ได้มากที่สุด ข้อยากที่ทำไม่ได้ก็สุ่มเอาแล้วกันว่าจะถูกหรือผิด (หัวเราะ)
ช่วงเตรียมตัวสอบเครียดมากไหม
ถ้าคะแนนเต็ม 10 ก็จะประมาณ 8 คือพอมีพื้นฐานอยู่แล้วด้วยก็เลยอาจจะไม่ค่อยเครียดเท่าไหร่ จะเครียดตอนสอบมากกว่าถ้าทำได้ไม่ดีตามมาตรฐานที่เราตั้งไว้ ก็จะพยายามหาคำตอบ ตอนเรียนที่ WE ก็ไม่ค่อยเครียดครับ อย่างที่บอกว่า WE มีโจทย์เยอะมาก ตั้งแต่ง่ายไปถึงยาก ข้อที่ง่าย ๆ หรือกลาง ๆ ก็โอเค แต่ถ้าเจอข้อยากก็จะตกใจเล็กน้อย แล้วไปฟังพี่ติวเตอร์สอนว่าเป็นยังไง เพราะพี่ ๆ ทีม WE MATHS ก็มีเทคนิคเยอะ
ประทับใจพี่ติวเตอร์คนไหนเป็นพิเศษไหม
ผมชอบพี่เอ๋ครับ พี่เอ๋มีอารมณ์ขันและเทคนิคเยอะ คือต้องบอกก่อนว่าผมเข้าใจที่พี่ ๆ ติวเตอร์ทุกคนสอนนะ แต่พี่เอ๋เป็นสไตล์ที่ผมชอบ จุดที่ผมชอบมากคือพี่เอ๋สามารถทำเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายได้
แนะนำน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยหน่อย ว่าเตรียมตัวอย่างไรดี
อย่างแรกเลยคือต้องประเมินตัวเองก่อนว่าเราชอบ หรือ ไม่ชอบ ถนัดหรือไม่ถนัดอะไร อยากเข้าคณะอะไรเป็นพิเศษ แล้วก็มุ่งเป้าไปที่ตรงนั้นและค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ ทบทวนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ก็อยากให้น้อง ๆ ทุกคนสู้ ๆ ครับ ถึงมันจะเปลี่ยนแนวแต่อย่างน้อยเบสิกต้องแน่นก่อน แล้วเราไปประยุกต์เอาในห้องสอบ ถ้าเราเตรียมเนื้อหาไปดี ๆ ยังไงมันก็ออกอยู่แล้วแหละ ถ้ามันไม่ตรงก็ยังได้ทำดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย
ถ้าน้อง ๆ อ่านมาถึงตรงนี้ พี่วีวี่ก็มั่นใจว่าน้อง ๆ จะได้เคล็ดลับจากพี่นนท์ไปปรับใช้กันแน่นอน ถ้าน้อง ๆ รู้แล้วว่าเป้าหมายของตัวเองคืออะไร ก็ลุยกันไปให้เต็มที่เลยพี่วีวี่จะเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ จนกว่าจะถึงจุดหมายเอง ครั้งหน้าพี่วีวี่ จะพารุ่นพี่ WE คณะไหนมาให้รู้จักอีก รอติดตามกันด้วยน้า