จะทำอย่างไร เมื่อถึงคราวต้องใช้การเดาข้อสอบ

เทคนิคการเดาข้อสอบ

จะทำอย่างไร เมื่อถึงคราวต้องใช้การเดาข้อสอบ

น้อง ๆ คะเราต่างผ่านการสอบกันมาหลายครั้งแล้ว มีทั้งข้อสอบที่ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง บางคนเตรียมตัวมาดี ได้คะแนนเต็มไปเลย ส่วนคนที่ทำไม่ได้แล้วไม่รู้จะทำยังไง พี่วีวี่เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะมั่วหรือเดาข้อสอบกันไปตามวิธีของแต่ละคน บางคนเสี่ยงดวงหลับตาจิ้มคำตอบกันเลยก็มี
ครั้งนี้เราจะมาเจาะกันที่ข้อสอบปรนัยหรือข้อกานั่นเอง เนื่องจากข้อสอบลักษณะนี้ใช้ในการวัดความรู้ ไม่ใช่เจตคติ จึงมีคำตอบที่ถูกต้องอยู่ในตัวเลือกอยู่แล้ว
ฉะนั้นเราจะเดาข้อสอบข้อที่ทำไม่ได้นี้ยังไง ให้มีโอกาสถูก ซึ่งก่อนอื่นเรามาดูตัวอย่างการออกข้อสอบปรนัยที่ได้มาตราฐานกันก่อนค่ะ

“การสร้างตัวเลือก”

  • สร้างตัวลวงที่มีประสิทธิภาพ
  • ใช้คำหรือข้อความที่ผู้เรียนมักเข้าใจผิดบ่อย ๆ
  • ตัวลวงไม่ควรเป็นข้อความที่ตรงข้ามกับคำตอบที่ถูกต้อง
  • คำตอบที่ถูกต้องควรจะกระจาย และควรเรียงตำแหน่งของคำตอบที่ถูกต้องอยู่ในลักษณะแบบสุ่ม เช่น B E D A C D B A E

หากอยากรู้หลักการการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบที่ได้มาตราฐานเพิ่มเติม คลิก http://cid.buu.ac.th/information/MCQ.pdf

จะเห็นได้ว่า วิธีการสร้างตัวเลือกนั้นจะเฉลี่ยตัวเลือกที่ถูกต้องอย่างละเท่า ๆ กัน เช่น ข้อสอบมีทั้งหมด 20 ข้อ 4 ตัวเลือก จะแบ่งเฉลี่ยเท่า ๆ กัน 5 ข้อ

ตัวอย่าง น้องบีทำข้อสอบในข้อที่ทำได้จนครบแล้วแบบนี้

ในข้อไหนที่ทำไม่ได้ ก็ให้จดหรือทำสัญลักษณ์ไว้ที่กระดาษทดด้วยนะคะเผื่อลืม จากนั้นนับแล้วจดไว้เลยค่ะว่า ตัวเลือกไหนตอบไปแล้วกี่ข้อ

ตัวเลือกที่ 1      3 ข้อ               ตัวเลือกที่ 2      6 ข้อ

ตัวเลือกที่ 3      3 ข้อ               ตัวเลือกที่ 4      2 ข้อ

รวมแล้วน้องบีทำไปทั้งหมด 14 ข้อ ยังเหลืออยู่อีก 6 ข้อ อ้างอิงจากการสร้างตัวเลือก คำตอบน่าจะออกโดยเฉลี่ยอย่างละเท่า ๆ กัน แต่คงไม่เท่ากันเป๊ะทุกข้อหรอกนะคะ เราก็ดูว่าข้อไหนที่เรายังตอบน้อย ก็ให้เลือกตอบในข้อนั้น ๆ ได้เลยค่ะ แล้วน้อง ๆ คิดว่าน้องบีควรจะเลือกตอบในข้อไหนกันนะ
สำหรับวิธีเดาอย่างมีหลักการ โดยอาศัยความน่าจะเป็นนี้ เป็นแค่ตัวช่วยเสริมสำหรับข้อที่เราทำไม่ได้จริง ๆ ไม่แนะนำให้เอาไปใช้กันบ่อย ๆ นะจ๊ะ อยากได้คะแนนดี อยากสอบได้สอบติดต้องขยัน อดทน หมั่นฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ กันนะทุกคน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ