สรุปชีวะ ม.ต้น (ชีววิทยา ม.1, ม.2, ม.3) ตามหลักสูตร สสวท. เรียนอะไร?

สรุปชีวะ ม.ต้น (ชีววิทยา ม.1, ม.2, ม.3) ตามหลักสูตร สสวท. เรียนอะไร?

      สวัสดีน้อง ๆ ม.ต้น ทุกคน 🖐 วันนี้ พี่บิ๊ก จะมาชวนพูดคุยเกี่ยวกับ ชีวะ ม.ต้น กันครับ

      น้อง ๆ ที่กำลังเรียนอยู่ในชั้น ม.ต้น ไม่ว่าจะเป็น ม.1, ม.2 หรือ ม.3 อาจยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า “ชีววิทยา” สักเท่าไร เพราะในระดับชั้น ม.ต้น นั้นยังไม่มีเรียนวิชาชีวะ ม.ต้น มีแต่วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

      โดยใน วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น จะมีเนื้อหาย่อยที่เราสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ (1) ฟิสิกส์ ม.ต้น, (2) เคมี ม.ต้น, (3) ชีววิทยา ม.ต้น, (4) โลกและอวกาศ ม.ต้น แต่ละเนื้อหาก็จะกระจายแยกเรียนไปในระดับชั้น ม.ต้น แต่ละเทอม ดังนี้

หัวข้อน่าสนใจ คลิกอ่านเลย!

สรุปเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น (ม.1, ม.2, ม.3) แยกแต่ละเทอม

▶ เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.1 เทอม 1 และเทอม 2

สรุปเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.1 เทอม 1 และเทอม 2

▶ เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.2 เทอม 1 และเทอม 2

สรุปเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.2 เทอม 1 และเทอม 2

▶ เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.3 เทอม 1 และเทอม 2

สรุปเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.3 เทอม 1 และเทอม 2

      ถ้าสังเกตดูดี ๆ ก็จะพบว่า ในส่วนที่เป็นเนื้อหาชีวะ ม.ต้น นั้น น้อง ๆ จะได้เรียนเนื้อหาที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “เซลล์” การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ การถ่ายทอดพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูก รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดเป็นระบบนิเวศ

      เมื่อเรียนเนื้อหาชีวะ ม.ต้น ไปแล้วก็จะพอเข้าใจตัวเองได้ว่า ทำไมเราถึงป่วยได้ / ทำไมลูกจึงมีลักษณะบางอย่างคล้ายพ่อแม่ แต่ไม่เหมือนกันเป๊ะ / ทำไมเมื่อโลกร้อนขึ้นถึงส่งผลกระทบรุนแรงกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมถึงคนเราด้วย

      น้อง ๆ คนไหนที่ได้เรียนและรู้สึกชอบวิชาชีวะ ม.ต้น และ ม.ปลาย เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเลือกคณะเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ก็มีแววที่จะชอบคณะสายแพทย์ด้วย เพราะคนที่เรียนคณะแพทยศาสตร์ เหมือนกับต้องเรียนชีววิทยาในระดับลึกตลอดทั้งหลักสูตรเลยนั่นเองครับ

เนื้อหาชีวะ ม.ต้น ตามหลักสูตร สสวท. เรียนอะไรบ้าง?

      ก่อนที่จะไปเจาะลึกเนื้อหาชีวะ ม.ต้น ตามหลักสูตร สสวท. ว่าเรียนบทไหน? เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร?

      พี่บิ๊กขออธิบายให้น้อง ๆ ฟังสักนิดว่า สสวท. คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่จัดทำตำราเรียนวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้น เนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบตามโรงเรียนส่วนใหญ่ รวมถึงข้อสอบกลาง เช่น O-NET ก็จะยึดตามเนื้อหาในตำราเรียนนี้ครับ

      คราวนี้เรามาดูกันต่อเลยดีกว่าว่า เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ส่วนที่เป็นสาระชีววิทยา ตามหลักสูตร สสวท. นี้มีอะไรบ้าง

เนื้อหาชีวะ ม.ต้น ตามหลักสูตร สสวท. เรียนอะไรบ้าง?

▶ ชีวะ ม.ต้น : หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

  • การศึกษาเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • โครงสร้าง และหน้าที่ของเซลล์
  • การแพร่
  • การออสโมซิส

▶ ชีวะ ม.ต้น : การดำรงชีวิตของพืช

  • การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศของพืชดอก
  • การขยายพันธุ์พืชดอก
  • ปัจจัยและผลผลิตของการสังเคราะห์ด้วยแสง
  • ธาตุอาหารของพืช
  • การลำเลียงในพืช

▶ ชีวะ ม.ต้น : ร่างกายมนุษย์

  • ระบบหมุนเวียนเลือด
  • ระบบหายใจ
  • ระบบขับถ่าย
  • ระบบประสาท
  • ระบบสืบพันธุ์

▶ ชีวะ ม.ต้น : พันธุศาสตร์

  • โครโมโซม และการค้นพบของเมนเดล
  • โครโมโซมของมนุษย์ และความผิดปกติของพันธุกรรม
  • สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม

▶ ชีวะ ม.ต้น : ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

  • องค์ประกอบของระบบนิเวศ
  • ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
  • ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต

      หากนำเนื้อหาชีวะ ม.ต้น ไปเปรียบเทียบกับ วิชาชีววิทยาของ ม.ปลาย สายวิทย์ ภาพรวมก็จะคล้าย ๆ กัน แต่สำหรับในระดับชั้น ม.ปลาย จะเรียนลึกขึ้น และอาจมีบางบทที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากของหลักสูตรชีวะ ม.ต้น

      เช่น เรื่องการลำเลียงสารของเซลล์ ในชีวะ ม.ต้น จะเรียนแค่ 2 เรื่อง คือ การแพร่กับการออสโมซิส แต่ในชีววิทยาระดับชั้น ม.ปลาย จะกล่าวถึงกระบวนการ Active transport และ Bulk transport ด้วย

      ดังนั้นการเรียนชีวะ ม.ต้น ให้เก่งก็จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการเรียนต่อตอน ม.ปลาย ในรายวิชาชีววิทยาต่อไปด้วยครับ

เรียนชีวะ ม.ต้น ยังไง ให้เก็บเนื้อหาได้แน่นปึก

      น้อง ๆ คงสังเกตเห็นแล้วว่าเนื้อหาชีวะ ม.ต้น จะกระจายไปเรียนในเทอมต่าง ๆ ตั้งแต่ ม.1 เทอม 1 จนถึง ม.3 เทอม 2 และในบางเทอมก็ไม่ได้เรียนเนื้อหาชีววิทยาเลย หลายคนอาจสงสัยว่า อย่างนี้เราควรจะเรียนชีวะ ม.ต้น ตอนไหนดี?

      พี่บิ๊กแนะนำว่าน้อง ๆ ควรเรียนและเก็บเนื้อหาชีวะ ม.ต้น ให้จบไปเลยทีเดียว เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเนื้อหาบทหนึ่งอาจจะเป็นพื้นฐานที่ต้องรู้ก่อน และใช้ในการเรียนอีกบทหนึ่ง หากเราเรียนต่อเนื่องไปทีเดียวเลย ไม่ต้องรอให้จบเทอมก่อนแล้วค่อยเรียนเนื้อหาต่อไป ก็จะช่วยให้ต่อยอดความรู้ได้ดีขึ้น

      ซึ่งพี่บิ๊กก็มี คอร์สชีวะ ม.ต้น รวมทุกบท ที่ WE BY THE BRAIN มาแนะนำครับ คอร์สเรียนพิเศษชีววิทยานี้ น้อง ๆ สามารถเรียนได้ตั้งแต่ ม.1 เลย เพราะเนื้อหาชีววิทยาระดับ ม.ต้นนั้นไม่ได้ยากมาก แต่มีส่วนที่ต้องจำเยอะ ถ้าเราเรียนพิเศษชีวะ ม.ต้น มาก่อน พอได้เจอเนื้อหาเหล่านี้อีกครั้งตอนเรียนที่โรงเรียน ก็จะช่วยให้จดจำได้ดียิ่งขึ้น และเก็บเกรด 4 ได้อย่างสบาย ๆ เลย

      แต่สำหรับน้องบางคนที่อยากเรียนเนื้อหาให้ตรงกับที่โรงเรียนสอนอยู่ ก็สามารถ สมัครเรียนพิเศษชีววิทยา แยกเป็นกลุ่มเนื้อหาได้เลย โดยพี่ได้แยกหนังสือไว้ 5 เล่ม แต่ละเล่มจะครอบคลุมเนื้อหาตามหลักสูตร สสวท. และมีบทพิเศษที่เกินหลักสูตรด้วย

      เพราะตอนสอบแข่งขันเข้า ม.4 บางโรงเรียน ข้อสอบจะออกเนื้อหาเกินหลักสูตรชีวะ ม.ต้น นิดหน่อย น้อง ๆ ที่เรียนมาแล้วจะได้ไม่ตื่นเต้นเมื่อเจอกับข้อสอบจริงครับ

เรียนวิทย์ แบบเด็กสายวิทย์

      แม้ว่าในระดับชั้น ม.ต้น จะยังไม่ได้แยกสายการเรียนเป็นสายวิทย์ หรือสายศิลป์ แบบในระดับชั้น ม.ปลาย แต่ถ้าน้อง ๆ คนไหนตั้งใจจะเรียนต่อ ม.ปลาย สายวิทย์อยู่แล้ว พี่บิ๊กแนะนำว่าลองวางแผนการเรียนแบบเด็กสายวิทย์ดูก่อนเลย

      นั่นคือ แยกเรียนให้จบเนื้อหาเป็นเรื่อง ๆ ในบทฟิสิกส์ ม.ต้น, เคมี ม.ต้น, ชีววิทยา ม.ต้น, โลกและอวกาศ ม.ต้น เพื่อดูว่าเราชอบที่จะเรียนแบบนี้มั้ย ก่อนจะตัดสินใจเลือกสายการเรียน ม.ปลาย ซึ่งพี่บิ๊กมี แผนการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น มาฝากกัน เพื่อให้น้อง ๆ เก็บเนื้อหาให้ได้ครบก่อนจะจบ ม.3 ครับ

      สุดท้ายนี้ไม่ว่าตอนขึ้น ม.ปลาย น้อง ๆ จะได้เรียนต่อสายวิทย์หรือเปล่า พี่บิ๊กก็ขอให้น้อง ๆ ทุกคนมีความสุขกับการเรียนวิทยาศาสตร์ (รวมถึงชีวะ ม.ต้น / ม.ปลาย) นะครับ 🤟🏼❤️

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ