วิทยาศาสตร์ ม.ต้น จัดกลุ่มแล้วเอามาเรียงแบบใหม่ แบบสับ

วิทยาศาสตร์ ม.ต้น

น้องๆรู้สึกกันมั้ยว่าตอนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ในแต่ละเทอมจะมีเนื้อหาผสมๆกัน บางบทก็เป็นแบบท่องจำ บางบทก็เป็นแบบคำนวณ อาจจะเป็นความตั้งใจของคนที่จัดหลักสูตร ให้ในแต่ละเทอมมีความหลากหลาย และมีเนื้อหาไม่หนักจนเกินไป แต่ถ้าเราเอาเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น มาจัดกลุ่มใหม่ตามสาระการเรียนรู้ หรือพูดง่ายๆคือ จัดกลุ่มเหมือนกับที่ต้องเรียนในระดับ ม.ปลาย สายวิทย์ ก็จะได้ 4 สาระ ได้แก่ (1) ฟิสิกส์, (2) เคมี, (3) ชีวะ, (4) โลกและอวกาศ การจัดกลุ่มเนื้อหาแบบนี้ก็มีข้อดีอีกแบบ คือ ทำให้เราเห็นความต่อเนื่องของเนื้อหา เช่น ถ้าเราเรียนชีวะต่อเนื่องตั้งแต่พื้นฐานไปจนจบ เราก็จะได้เรียนเรื่องเซลล์ก่อน แล้วก็ไปเรียนต่อเรื่องพืช และเรื่องสัตว์ต่อเนื่องไปเลย ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้มันจะต้องใช้ความรู้พื้นฐานในเรื่องเซลล์มาใช้ในการทำความเข้าใจด้วย ไม่ต้องรอจนข้ามเทอม หรือข้ามปีกว่าจะได้เรียนอีกบทนึงที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกัน ซึ่งอาจจะต้องมาเสียเวลารื้อฟื้นเนื้อหาเก่ากันก่อนที่จะได้เรียนต่อ เนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ในระดับ ม.ต้น แต่ละเทอมมีสาระอะไรกันบ้าง เรามาดูกันในตาราง

เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น

เรียนแบบเรียงตามภาคเรียน กับเรียนเรียงตามสาระ ตกลงยังไงดี

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าการเรียนวิทยาศาสตร์แบบเรียงตามภาคเรียน กับเรียนตามสาระการเรียนรู้ก็มีข้อดีข้อเสียกันคนละแบบ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่วัตถุประสงค์ของน้องๆว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ถ้าต้องการเรียนแบบชิลล์ๆ ไม่เครียดเกินไปนัก เอาแค่ทำเกรดที่โรงเรียนให้ดี ก็เรียนแบบเรียงตามหลักสูตรที่โรงเรียนใช้สอนอยู่ได้เลย แต่ถ้าอยากเห็นภาพรวมของเนื้อหาแต่ละประเด็นก่อน แล้วค่อยเจาะรายละเอียดลงไป พี่ก็แนะนำว่าเรียนแบบแยกตามสาระฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ ก็ดีเหมือนกัน มันทำให้เราเห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหา และฝึกทำโจทย์ได้ละเอียดลึกซึ้งขึ้น และนี่คงเป็นเหตุผลว่าทำไมสถาบันกวดวิชาส่วนใหญ่มักจะเปิดคอร์สวิทยาศาสตร์ ม.ต้น แบบแยกตามสาระ น้องๆก็จะได้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญในแต่สาระกันไปเลย

เรียนแบบเรียงตามภาคเรียน

จุดเด่นของแต่ละสาระในวิชาวิทยาศาสตร์

แต่ละสาระการเรียนรู้นั้นมีจุดเด่นแตกต่างกัน สำหรับน้องบางคนที่ชอบทุกบทเลยในวิชาวิทยาศาสตร์ก็จะเรียนแบบมีความสุข และได้คะแนนออกมาดีตลอด แต่สำหรับบางคนที่ชอบบางบท บางสาระก็ยังคงต้องเรียนให้ครบทุกบท เพราะในระดับ ม.ต้น นั้น สาระฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ, โลกและอวกาศ ถือเป็นวิชาเดียวกัน จะนำคะแนนที่ได้มาคิดรวมกันเป็นเกรด ในระหว่างที่เราต้องไล่เรียนเรียงไปให้ครบทุกบทนั้น จะได้เป็นการค้นหาตัวเองด้วยว่า เราชอบวิทยาศาสตร์แนวไหน ชอบจำรายละเอียด หรือชอบคำนวณ ชอบแนวจินตนาการ หรือชอบแบบที่มองเห็นได้เป็นตัวเป็นตน ธรรมชาติของแต่ละสาระวิชาเป็นยังไงบ้าง มาดูกัน

จุดเด่นของแต่ละสาระในวิชาวิทยาศาสตร์
  • ฟิสิกส์ : เป็นเนื้อหาที่เรียนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดรอบตัวเรา เราอาจเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น การเคลื่อนที่ไปของวัตถุ, การไหลไปของความร้อน, การเดินทางของแสงและคลื่นต่างๆ ความรู้ด้านฟิสิกส์เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์บินได้ ทำให้มนุษย์มีแสง และความอบอุ่นไว้ใช้ในตอนกลางคืน ทำให้มนุษย์เดินทางออกสู่อวกาศได้ บางคนถึงขั้นกล่าวว่า “Physics is the king of sciences” (ฟิสิกส์เป็นราชาของวิทยาศาสตร์) นั่นเพราะวิชานี้สามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆได้ทั้งในโลก และนอกโลก ทั้งในระดับใหญ่มาก เช่น ดวงดาว จนถึงระดับเล็กมาก เช่น อะตอม

  • เคมี : เป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับสสารต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงของสารรอบตัวเรา ในสมัยก่อนเป็นองค์ความรู้ที่ฮิตมาก ผู้คนเรียนเคมีกันเพื่อเปลี่ยนโลหะต่างๆให้กลายเป็นทองคำ ส่วนในปัจจุบันวิชานี้ก็ยังฮิตอยู่ นิสิตนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ต้องเรียนเคมี ไม่ใช่แค่คณะวิทยาศาสตร์เท่านั้น แพทย์, ทันตะฯ, สัตวะฯ, เภสัชฯ ก็ต้องเรียนเคมีกันหมด เพราะสารเคมีมันคือวัตถุทุกสิ่งที่เราเห็นรอบตัวทั้งหมด ทั้งอาหาร, เสื้อผ้า, ยา, กระดาษ, ปากกา ก็เป็นสารเคมี

  • ชีววิทยา : เป็นวิชาที่ดูจับต้องได้มากที่สุดแล้ว เพราะวิชานี้เรียนเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ซึ่งเราเองก็เป็นสิ่งมีชีวิตด้วย เรียนไปแล้วก็จะพอเข้าใจตัวเองได้ว่าทำไมเราถึงป่วยได้ ทำไมลูกมีลักษณะบางอย่างคล้ายพ่อแม่แต่ไม่เหมือนกันเป๊ะ ทำไมเมื่อโลกร้อนขึ้นคนเราถึงเดือดร้อนกันนัก แค่ติดแอร์มันแก้ปัญหาไม่ได้เหรอ น้องๆที่ชอบชีววิทยามีแววที่จะชอบคณะสายแพทย์ด้วย เพราะคนที่เรียนหมอ เหมือนกับต้องเรียนชีววิทยาในระดับลึกตลอดทั้งหลักสูตรเลย
คอร์สชีววิทยา ม.ต้น
  • โลกและอวกาศ : มีเนื้อหาแบ่งเป็น 2 ส่วนย่อย คือ (1) โลก จะเรียนธรณีวิทยา พวกชั้นหินที่เป็นโครงสร้างโลก, แผ่นดินไหว, ลมฟ้าอากาศ และ (2) อวกาศ จะเรียนดาราศาสตร์ เป็นพวกดวงดาว หรือสิ่งที่อยู่นอกโลกทั้งหมด สาระโลกและอวกาศนี้ถือว่าเป็นบทเล็ก เพราะออกข้อสอบน้อย แม้ว่าเนื้อหาทั้งหมดจะมีเยอะมาก แต่ตามหลักสูตรจะคัดเนื้อหาที่เหมาะสมกับระดับชั้นมาให้เรียน น้องๆแค่อ่านให้ตรงจุดก็ทำข้อสอบได้

เรียนวิทย์ แบบเด็กสายวิทย์

แม้ว่าในระดับ ม.ต้น ยังไม่ได้แยกสายการเรียนเป็นสายวิทย์ หรือสายศิลป์ แต่ถ้าน้องคนไหนตั้งใจจะเรียนต่อ ม.ปลายสายวิทย์อยู่แล้ว แนะนำว่าลองเรียนแบบเด็กสายวิทย์ดูก่อนเลย ดูว่าเราชอบที่จะเรียนแบบนี้มั้ยก่อนเลือกสาย การเรียนแบบเด็กสายวิทย์ที่ว่า คือ เรียนแยกตามสาระการเรียนรู้ ดังตาราง

วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
ม.1ม.2ม.3
SUMMERเทอม 1ตุลาคมเทอม 2SUMMERเทอม 1ตุลาคมเทอม 2SUMMERเทอม 1ตุลาคมเทอม 2

ชีววิทยา ม.ต้น *

เคมี ม.ต้น *

ฟิสิกส์ ม.ต้น *

ตะลุยโจทย์ IJSO

ติวเข้ม & ตะลุยโจทย์

มหิดลฯ / เตรียมอุดมฯ **

ฟิสิกส์ + เคมี + ชีววิทยา

ทบทวน

ก่อนลงสนาม

ไม่ว่าตอนขึ้น ม.ปลาย เราจะได้เรียนสายวิทย์หรือเปล่า แต่ก็อย่าได้ทิ้งแนวความคิด และจิตวิญญาณของนักวิทยาศาสตร์ ที่ต้องคิดอย่างมีเหตุผล และไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ขอให้น้องๆทุกคนมีความสุขกับการเรียนวิทยาศาสตร์นะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ