เรียนอะไรดี ถ้าเรา(WE) ไม่ถนัดคณิตศาสตร์

ไม่มีใครที่เก่งไปทุกวิชาการเรียนหรอก … นี่คือคำปลอบใจที่พี่วีวี่มอบให้กับตัวเองสมัยเรียนหนังสือและสิ่งที่ตัวพี่ได้พบก็คือ ไอ้วิชาที่ไม่เก่งก็คือ คณิตศาสตร์ และวิชานี้ก็โผล่ไปหลอกหลอนตัวพี่ทุกหนทุกแห่งตั้งแต่ ม.ปลาย – มหาวิทยาลัยระดับ ป.ตรี ไปจนถึง ป.โท …. สยองสุดๆเลย
ทั้งน้องม.3 และ ม.6  ขอให้จำไว้ว่า การที่ไม่เก่งเรายังปรับปรุงได้ แต่การที่ไม่คิดจะเปิดใจเรียนรู้สิน่ากลัวยิ่งนัก  เพราะคนที่คิดเช่นนี้ต้องทิ้งความฝันเพราะหนีวิชาคณิตศาสตร์เพียงเท่านั้น
การพัฒนาตัวเองในสิ่งที่ไม่ชอบหรือไม่ถนัดได้นั้นน่าภูมิใจกว่าการทำได้ยอดเยี่ยมในสิ่งที่เราชอบหรือถนัดเป็นไหนๆ ยิ่งในสังคมทำงานพี่วีวี่ขอกระซิบบอกล่วงหน้าไปอีก 5 ปี 10 ปี สำหรับน้องๆเลยค่ะว่าไม่มีวันที่น้องจะได้ทำงานที่ชอบหรือถนัดตลอดเวลาแน่นอน ฟันฉับค่ะ!!!
แต่ในบางจังหวะของชีวิตเช่นการเลือกคณะหรือแผนการเรียน เราหลีกเลี่ยงการอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบให้น้อยลงได้ ขอย้ำนะค่ะ น้อยลงไม่ใช่โยนทิ้ง … ดังนั้นพี่จะมาสรุปให้ดูว่าน้องจะมีทางเลือกอะไรบ้าง

  1. เลี่ยงแบบสุดๆ ให้เลือก ศิลป์-ภาษา … เมื่อไม่เจอคณิตศาสตร์แล้วน้องก็ต้องมุ่งมั่นหาจุดแข็งจากภาษาที่ 2 และ 3 ให้ได้มากๆ ส่วนระดับม.6 ให้เล็งๆไปที่ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรมศาสตร์ มัณฑนศิลป์ จิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ดุริยางคศิลป์ คืออาจจะเจอบ้างแต่เป็นแบบคณิตพื้นฐาน ต้องเช็คกันเอานะ
  1. มุมานะเลือก วิทย์ – คณิต , ศิลป์ – คำนวน … ถ้ายังแน่วแน่ว่าต้องการเรียนแผนเหล่านี้น้องก็ต้องพยายามมากกว่าคนอื่น อาจไม่ถึงกับท็อปแต่ต้องเรียนแล้วเข้าใจเอาตัวรอดได้แบบไม่หวุดหวิดเพราะถ้าหวุดหวิด GPAX ก็แย่ตาม ตอนสอบแข่งขันในระบบกลางกับคนอื่นก็เป็นรองเรื่องคะแนนอีก  ส่วนน้องม.6 อาจเลือกคณะคล้ายๆกับข้อที่ 1 หรือเลือกเรียนคณะสำหรับแผนวิทย์แต่ต้องดูว่าเนื้อหาการเรียนในหลักสูตรมีคณิตศาสตร์มาก-น้อยและยากแค่ไหนประกอบด้วย ถ้าไม่เกินความสามารถและภาพรวมวิชาอื่นๆเรามั่นใจก็จิ้มไปเลยค่ะ

สิ่งสำคัญคือน้องต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรของโรงเรียนหรือคณะต่างๆให้มากเข้าไว้แต่มีอะไรฝากหน่อยนึง ในส่วนของโรงเรียนกวดวิชา we พี่เคยมีเพื่อนไม่ชอบและไม่เก่งคณิตศาสตร์ตอนม.ปลายแต่ทุกวันนี้เป็นอาจารย์อยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งไปแล้ว ^^เพราะเขาเลือกที่จะอยู่กับอุปสรรคเล็กๆ …. เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ยังไงละ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ