สรุปครบ เข้าใจง่าย! อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 พร้อมตัวอย่างข้อสอบ

สรุปครบ เข้าใจง่าย! อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 พร้อมตัวอย่างข้อสอบ

      ถ้าพูดถึงคณิตศาสตร์ ม.ต้น บทที่น้อง ๆ หลายคนบ่นกันว่า “ยากมาก!!” หรือ “งงไม่ไหว!!” เชื่อว่าต้องมีชื่อบท อัตราส่วนตรีโกณมิติ อย่างแน่นอน

      สำหรับ อัตราส่วนตรีโกณมิติ เป็นบทเรียนที่น้องจะได้เรียนกันในเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 2 (ตามหลักสูตร สสวท.) ซึ่งอัตราส่วนตรีโกณมิติถือเป็นอีกหนึ่งบทสำคัญ เพราะออกสอบบ่อยในข้อสอบคณิตศาสตร์หลายสนาม แล้วยังเป็นบทเรียนที่เชื่อมโยงและนำไปใช้ต่อยอดในการเรียนคณิตศาสตร์ ม.ปลาย และระดับมหาวิทยาลัยด้วย

      วันนี้ “พี่ช้าง” และ “พี่ภูมิ” ทีม WE MATH สรุปเนื้อหาอัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 โดยเน้นจุดสำคัญแบบเข้าใจง่าย และนำตัวอย่างข้อสอบพร้อมเฉลยมาฝากน้อง ๆ ด้วย ตามไปดูกันเลยครับ!!

สนใจหัวข้อไหน คลิกอ่านเลย!

อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 : นิยาม และอัตราส่วนตรีโกณมิติของสามเหลี่ยมมุมฉาก

      หัวข้อแรกที่น้อง ๆ ม.ต้น จะได้เรียนกัน คือ นิยามของอัตราส่วนตรีโกณมิติ ครับ

      ตรีโกณมิติ (มาจากคำศัพท์ภาษากรีก คือ trigonon ที่แปลว่า มุม 3 มุม และ metro ที่แปลว่า การวัด) ซึ่งตรีโกณมิติเป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและมุมของรูปสามเหลี่ยม

      อัตราส่วนตรีโกณมิติ คือ อัตราส่วนความยาวของ 2 ด้านใด ๆ ในสามเหลี่ยมมุมฉาก หากพิจารณารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ABC ที่มีมุม C เป็นมุมฉาก จะได้ว่า

  • ด้าน AB เรียกว่า ด้านตรงข้ามมุมฉาก (ฉาก)
  • ด้าน BC เรียกว่า ด้านตรงข้ามมุม A (ข้าม)
  • ด้าน AC เรียกว่า ด้านประชิดมุม A (ชิด)
อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 - อัตราส่วนตรีโกณมิติของสามเหลี่ยมมุมฉาก

      สำหรับตรีโกณมิติ ม.ต้น มี อัตราส่วนตรีโกณมิติที่น้อง ๆ ต้องรู้จักทั้งหมด 6 อัตราส่วน คือ

อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 - อัตราส่วนตรีโกณมิติของสามเหลี่ยมมุมฉากที่ต้องรู้จัก

      หากน้อง ๆ ลองสังเกตดูก็จะเห็นว่า อัตราส่วนตรีโกณมิติที่พี่พูดถึงไปข้างต้น มี 3 อัตราส่วนหลัก นั่นคือ sinA, cosA และ tanA ตอนที่น้องท่องจำ พี่แนะนำว่าท่องแค่ 3 อัตราส่วนนี้ก็พอครับ

  • sin ท่องว่า ข้าม-ฉาก
  • cos ท่องว่า ชิด-ฉาก
  • tan ท่องว่า ข้าม-ชิด

      และอีก 3 อัตราส่วนที่เหลือจะเป็น ส่วนกลับของ 3 อัตราส่วนแรก (sinA, cosA, tanA) ดังนั้นจึงได้ว่า

อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 - ส่วนกลับของอัตราส่วนตรีโกณมิติ (sinA, cosA, tanA)

อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 : อัตราส่วนตรีโกณมิติของมุม 0°, 30°, 45°, 60° และ 90°

      หลังจากที่น้อง ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับนิยาม และอัตราส่วนตรีโกณมิติของสามเหลี่ยมมุมฉากแล้ว หัวข้อต่อไปที่จะได้เรียนกัน คือ อัตราส่วนตรีโกณมิติของมุม 0°, 30°, 45°, 60° และ 90° ตามตารางด้านล่างนี้เลยครับ

อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 - อัตราส่วนตรีโกณมิติของมุม 0, 30, 45, 60, 90

      น้อง ๆ ที่เจอปัญหา ต่อให้ท่องเท่าไรก็ยังจำค่าอัตราส่วนตรีโกณมิติของมุมต่าง ๆ ไม่ได้สักที พี่มี เทคนิคการจำค่าอัตราส่วนตรีโกณมิติ ที่จะ ช่วยให้หาค่าตรีโกณมิติได้ภายใน 3 วินาที โดยไม่ใช้อุปกรณ์ มาฝากกัน เทคนิคที่ว่านั้นคืออะไร? ต้องทำยังไงบ้าง? ตามมาดูคำตอบพร้อมกันในคลิปด้านล่างนี้เลย!!

อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 : โคฟังก์ชัน (Co - Function)

      หัวข้อต่อมาของคณิตศาสตร์ ม.3 บทอัตราส่วนตรีโกณมิติ คือ โคฟังก์ชัน (Co – Function) ครับ ซึ่งถ้าน้องเข้าใจหัวข้อนี้จะช่วยให้น้องทำข้อสอบแข่งขันได้ง่ายและไวมากยิ่งขึ้น

ทริกลัดการมอง
      หลังจากได้ยินคำว่า “โคฟังก์ชัน” ใครมีอาการมึน ๆ งง ๆ เดี๋ยวพี่จะอธิบายด้วยภาษาที่ฟังแล้วเข้าใจง่ายขึ้น โคฟังก์ชัน คือ การเท่ากันของค่าฟังก์ชันตรีโกณ โดยมีเงื่อนไขว่า มุมรวมกันได้ 90 องศา
      แล้ว sine(sin) เท่ากับ cosine (cos)    cosine(cos) เท่ากับ sine(sin)
             tan เท่ากับ cotan (cot)              cotan (cot) เท่ากับ tan
             sec เท่ากับ cosec (csc)              cosec (csc) เท่ากับ sec

อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 - โคฟังก์ชัน (Co - Function)

อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 : เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ

      อีกหนึ่งหัวข้อที่น้อง ๆ จะได้เจอในบทอัตราส่วนตรีโกณมิติก็คือ เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ ครับ

      เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ คือ การเท่ากันของฟังก์ชันตรีโกณมิติที่ต่างกัน และเป็นจริงสำหรับทุก ๆ ค่าของขนาดของมุม ซึ่งมีสูตรสำคัญที่น้องควรจำให้ได้ดังนี้

อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 - เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ

อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 : การประยุกต์ของอัตราส่วนตรีโกณมิติ

      หัวข้อสุดท้ายของเนื้อหาคณิตศาสตร์ บทตรีโกณมิติ ม.3 คือ การประยุกต์ของอัตราส่วนตรีโกณมิติ ซึ่งน้อง ๆ สามารถนำความรู้เรื่องตรีโกณมิติไปใช้ในการหาระยะทาง หรือความสูงของสิ่งที่เราสนใจได้

  • การหามุมก้มหรือมุมกดลง : มุมที่วัดจากการมองวัตถุที่อยู่ต่ำกว่าแนวเส้นระดับสายตา
  • การหามุมเงยหรือมุมยกขึ้น : มุมที่วัดจากการมองวัตถุที่อยู่สูงกว่าแนวเส้นระดับสายตา
อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 - การประยุกต์ของอัตราส่วนตรีโกณมิติ

ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย - อัตราส่วนตรีโกณมิติ

      อย่างที่พี่ได้เกริ่นนำไปก่อนหน้านี้แล้วว่า เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.3 อย่างบทอัตราส่วนตรีโกณมิติ เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ออกสอบในข้อสอบสนามสำคัญหลายสนาม เช่น ข้อสอบสอบเข้า ม.4, ข้อสอบเตรียมอุดมฯ, ข้อสอบ O-NET, ข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์ เป็นต้น

      พี่จึงรวบรวม ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย – บทอัตราส่วนตรีโกณมิติ มาให้น้อง ๆ ได้ดูแนวข้อสอบและเรียนรู้วิธีแก้โจทย์ไปพร้อมกัน (ปล. พี่แนะนำให้น้องลองแก้โจทย์ด้วยตัวเองก่อน แล้วค่อยดูเฉลยนะครับ!!)

1. แนวข้อสอบคณิตศาสตร์ Midterm / Final พร้อมเฉลย

แนวข้อสอบคณิตศาสตร์ Midterm / Final พร้อมเฉลย - อัตราส่วนตรีโกณมิติ ข้อที่ 1

2. แนวข้อสอบคณิตศาสตร์ Midterm / Final พร้อมเฉลย

แนวข้อสอบคณิตศาสตร์ Midterm / Final พร้อมเฉลย - อัตราส่วนตรีโกณมิติ ข้อที่ 2

3. แนวข้อสอบคณิตศาสตร์ สอบเข้า ม.4 พร้อมเฉลย

แนวข้อสอบคณิตศาสตร์ สอบเข้า ม.4 พร้อมเฉลย - อัตราส่วนตรีโกณมิติ ข้อที่ 3

4. แนวข้อสอบคณิตศาสตร์ O-NET พร้อมเฉลย

แนวข้อสอบคณิตศาสตร์ O-NET พร้อมเฉลย - อัตราส่วนตรีโกณมิติ ข้อที่ 4

5. แนวข้อสอบเตรียมอุดมฯ พร้อมเฉลย

แนวข้อสอบเตรียมอุดมฯ พร้อมเฉลย - อัตราส่วนตรีโกณมิติ ข้อที่ 5

6. แนวข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย

แนวข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย - อัตราส่วนตรีโกณมิติ ข้อที่ 6

7. แนวข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย

แนวข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย - อัตราส่วนตรีโกณมิติ ข้อที่ 7 (โจทย์)
แนวข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย - อัตราส่วนตรีโกณมิติ ข้อที่ 7 (เฉลย)

      เป็นยังไงบ้างครับน้อง ๆ พออ่านบทความนี้จบแล้ว ช่วยให้เข้าใจเรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.3 มากขึ้นกว่าเดิมรึเปล่า? วันนี้ พี่ช้าง และ พี่ภูมิ สรุปเนื้อหาจุดสำคัญและนำตัวอย่างข้อสอบมาฝากกันแบบครบจบในที่เดียวเลย

      หากใครสนใจอยากติวคณิตศาสตร์ให้พื้นฐานแน่น และเพิ่มความมั่นใจพร้อมลุยทุกสนามสอบ พี่ขอแนะนำ คอร์สคณิตศาสตร์ ม.ต้น ที่ WE BY THE BRAIN เพราะมีทั้งคอร์สคณิตศาสตร์แบบรวมบท และคอร์สคณิตศาสตร์แบบแยกบท ให้เลือกสมัครเรียนตอบโจทย์ทุกความต้องการ

      ภายในคอร์ส อัดแน่นเนื้อหาครบ เข้มข้น พาฝึกทำโจทย์หลากหลายแนว พร้อมเสริมเทคนิคลัดที่ช่วยลดเวลาทำข้อสอบได้จริง ให้น้อง ๆ เรียนเข้าใจ เกรดดีขึ้น และพร้อมสอบเข้า ม.4 ครับ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับ "บทอัตราส่วนตรีโกณมิติ"

      ในระดับชั้น ม.ต้น บทอัตราส่วนตรีโกณมิติ จะเชื่อมโยงกับ บทเรขาคณิต เป็นส่วนใหญ่ ในบางสนามสอบ ข้อสอบเรขาคณิตจะมีการผสมเรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติเข้าไปด้วย ทำให้โจทย์ข้อนั้นมีความยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

      ส่วนคณิตศาสตร์ในระดับชั้น ม.ปลาย จะเป็นการเรียนต่อเนื่องในชื่อบท ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ซึ่งบทนี้จะขยายขอบเขตความเข้าใจในเรื่องตรีโกณมิติให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และจะเป็นบทที่สำคัญต่อเนื่องสำหรับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย ในบทอื่น ๆ อีกหลายบท ไม่ว่าจะเป็นเวกเตอร์ หรือจำนวนเชิงซ้อน

      และที่สำคัญไปกว่านั้น หากในอนาคตน้องเลือกเรียน คณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือคณะสายวิทยาศาสตร์ ตรีโกณมิติจะเป็นอีกหนึ่งบทที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอ ดังนั้นการเริ่มต้นทำความเข้าใจตรีโกณมิติให้ดีตั้งแต่ตอนนี้ จะช่วยให้น้อง ๆ ต่อยอดบทเรียนในเรื่องที่ซับซ้อนได้ง่ายมากยิ่งขึ้นครับ

      ปัญหาของน้อง ๆ หลายคนที่เรียนคณิตศาสตร์ ม.ต้น ในเรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ คือ จำค่าตรีโกณไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วปัญหานี้แก้ได้ง่ายมาก ๆ ด้วยการลองนำเอา “หลักการจำ” ของพี่ไปใช้และใช้งานบ่อย ๆ หรือใช้การวาดสามเหลี่ยมมุมฉากมาช่วยก็ได้ (ตรีโกณมิติ ม.ต้น จะพูดกันแค่เรื่องสามเหลี่ยมมุมฉากเท่านั้น)

      น้อง ๆ ต้องจำวิธีการหาอัตราส่วนตรีโกณมิติหลัก 3 ตัวอย่าง sin, cos, tan รู้ว่าด้านไหนคือ ข้าม, ด้านไหน คือ ชิด, ด้านไหน คือ ฉาก หลังจากนั้นค่อยมาจำค่าอัตราส่วนตรีโกณมิติของมุมมาตรฐาน 30°, 45°, 60° เพียงเท่านี้การเรียนบทอัตราส่วนตรีโกณมิติของน้องก็จะง่ายขึ้นทันที

      สำหรับแนวข้อสอบคณิตศาสตร์ บทอัตราส่วนตรีโกณมิติ ข้อสอบในระดับ ม.ต้น จะเป็นข้อสอบแนวแทนค่าอัตราส่วนตรีโกณมิติ และโจทย์ปัญหาอัตราส่วนตรีโกณมิติ (การประยุกต์ของอัตราส่วนตรีโกณมิติ) เป็นส่วนใหญ่ครับ

      แต่อาจจะมีบางสนามสอบแข่งขันที่มีการประยุกต์ใช้เอกลักษณ์ตรีโกณมิติและโคฟังก์ชันร่วมด้วยเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ