จริยธรรมแพทย์ องค์ประกอบคะแนน กสพท. ที่น่าสนใจ

องค์ประกอบคะแนน-กสพท

          ในการสอบวิชาเฉพาะของ กสพท. หรือ ที่เรียกว่าความถนัดแพทย์ น้องจะต้องเจอโจทย์ทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ เชาว์ปัญญา จริยธรรมแพทย์ และ การเชื่อมโยง ซึ่งเรียงตามพาร์ทที่ออกสอบและยังเรียงตามระดับความยากมาจนถึงง่ายที่สุดของข้อสอบความถนัดแพทย์อีกด้วย

ตารางคะแนนเฉลี่ยการสอบ กสพท. ปี 56-59

การสอบความถนัดแพทย์                                        คะแนนเฉลี่ย
ปี 56 ปี 57 ปี 58 ปี 59
เชาว์ปัญญา 46.8279 43.7917 38.7214 32.9007
จริยธรรมแพทย์ 47.3091 50.5585 48.3903 44.6789
การเชื่อมโยง 74.8609 70.8823 72.0785 80.1563

จากตารางนี้ก็เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าพาร์ทเชื่อมโยงคือส่วนที่น้องมักทำคะแนนได้ดีที่สุด รองลงมาคือ จริยธรรมแพทย์ และ เชาว์ปัญญา ซึ่งดูแล้วก็ไม่ได้ติดใจอะไรกับตรงนี้

ตารางคะแนนสูงสุดการสอบ กสพท. ปี 56-59

การสอบความถนัดแพทย์                                             คะแนนสูงสุด
ปี 56 ปี 57 ปี 58 ปี 59
เชาว์ปัญญา 83.7209 82.2222 84.4444 82.2222
จริยธรรมแพทย์ 75 76.25 77.5 72.5
การเชื่อมโยง 100 100 100 100

แต่พอมาดูการเปรียบเทียบคะแนนสูงสุดตั้งแต่ปี 56-59 ปรากฏว่า จริยธรรมแพทย์ไม่เคย หลุดจากอันดับบ๊วยมาได้เลย โดยส่วนตัวพี่มองว่าน่าสนใจเพราะมันสะท้อนให้เห็นว่าพาร์ทนี้ยังไม่มี

ผู้ใดสามารถทำได้ในขั้นดีมากนั่นเอง ปัญหาก็มาจาก

  1. เอามาตรฐานทางสังคมมาใช้ในการเลือกคำตอบ
  2. เอามาตรฐานของตัวเองมาตอบ
  3. รู้สึกว่าคำตอบมันก็ถูกมากกว่า 1 ข้อ … คิดนาน เสียเวลา สุดท้ายเลือกผิดอีกต่างหาก

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของตัวอย่างคำถามที่น้องจะต้องเจอจริงๆในการสอบพาร์ทจริยธรรมแพทย์ที่สำคัญในคลิปมีแค่ 2 ตัวเลือก แต่ในโจทย์จริงมี 5 ช้อยส์ นะจ๊ะ ดังนั้นเราจะพิชิตโจทย์จริยธรรมแพทย์อย่างไรให้ฉลุย และอาจมีลุ้นถึงขั้นทำได้ 100 เต็ม
และนี่คือวิธีเดิมๆที่มีปัญหาอยู่บ้าง ได้แก่

  1. หยิบโจทย์เก่ามาทำ ซึ่งจบลงด้วยการดูเฉลย จำคำตอบ แต่ไม่เข้าใจและไม่รู้หลักการ
  2. อ่านคู่มือจริยธรรมแพทย์ หรือเอกสารทางกฏหมายแพทย์ และ ศึกษาจากเคสในข่าวต่างๆแค่ฟังก็หนาวแล้ว ต้องเสียเวลาอย่างมากอีกด้วย
  3. ปล่อยผ่านไปเน้นส่วนอื่น … อันนี้คือความคิดที่ผิดสุดๆ โดยเพราะน้องที่อยากเข้าแพทย์จุฬาฯอย่าลืมว่า รับตรงแพทย์จุฬาฯ ใช้คะแนนจริยธรรมแพทย์ยื่นด้วยนะ

วิธีที่ถูกต้องที่สุดก็คือเอาตัวตนหรือบรรทัดฐานสังคมออกจากความคิด และใส่ความเป็นแพทย์ลงไปอยู่ในโจทย์แทน ทุกอย่างก็จะง่ายขึ้นทันตา … แต่เราไม่ได้เป็นแพทย์และที่สำคัญการเรียนที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีวิชานี้มาก่อน ทำไงดีหละ ???
ง่ายมากค่ะ แค่เรียนรู้จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ตรงจากสายวิชาชีพแพทย์น้องก็จะได้รับมุมมอง วิธีคิด และการตัดสินใจแบบแพทย์จริงๆ พร้อมกับการได้เรียนรู้กรณีศึกษาจากประสบการณ์โดยตรงของผู้เล่า … แล้วจะหาผู้เชี่ยวชาญเช่นนี้ได้จากไหนกัน แค่น้องลองสละเวลาคลิก
ลิงค์นี้ จบเลยค่ะ http://goo.gl/hxk5jc

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ