อยากเตรียมตัวสอบ IJSO ชีววิทยา เริ่มต้นยังไงดี ?

ชีววิทยา-IJSO
อยากเตรียมตัวสอบ IJSO ชีววิทยา เริ่มต้นยังไงดี ?

น้อง ๆ คนไหนที่สนใจการสอบแข่งขันโอลิมปิกวิชาการคงเคยได้ยินคำว่า IJSO กันมาบ้าง ซึ่งการสอบ IJSO จะเป็นการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับม.ต้นนั่นเอง ส่วนใครที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนสามารถทำความรู้จักกับสนามแข่งขันนี้เพิ่มเติมได้ที่ รู้จักไหม? IJSO คืออะไร และในวันนี้พี่บิ๊ก WE BIO จะมาแนะนำการเตรียมตัวเข้าสอบคัดเลือกรอบแรกของสนาม IJSO ในส่วนวิชาชีววิทยากันครับ
วิชาชีววิทยาเป็นวิชาหนึ่งที่ใช้ในการสอบคัดเลือกทุกรอบตั้งแต่รอบ 1 จนกระทั่งในสนามแข่งขันระหว่างประเทศ ซึ่งขอบเขตเนื้อหาส่วนมากที่ออกในข้อสอบคัดเลือก IJSO ชีววิทยา รอบแรกจะครอบคลุมเนื้อหาชีววิทยาทุกบทของ ม.ต้น และมีพื้นฐานในแต่ละบทของชีววิทยา ม.ปลาย มาออกสอบด้วย เช่น บทฮอร์โมน, การ Transcription, โครงสร้างของ DNA เรียกได้ว่าความยากก้ำกึ่งระหว่างของ ม.ต้น กับ ม.ปลาย เลยล่ะ

  • การเตรียมตัวสอบวิชาชีววิทยา IJSO

ข้อสอบชีววิทยา IJSO ในรอบแรกนี้จะถามความรู้ของน้อง ๆ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นแนวความจำ ใครอ่านมาเยอะจำได้เยอะก็จะได้เปรียบ ซึ่งพี่บิ๊กคิดว่าน้อง ๆ ควรเตรียมตัวตั้งแต่ ม.1 เพราะระดับชั้นนี้น้องจะได้เรียนเนื้อหาชีววิทยาในวิชาวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียน และควรอ่านเนื้อหาของ ม.ปลาย เพิ่มเติมด้วยนะ

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่เก่งขั้นเทพ อยากสมัครสอบตั้งแต่ ป.6 ต้องเก็บเนื้อหาวิทยาศาสตร์ส่วนของชีววิทยาใน ม.ต้นให้จบ และอ่านเพิ่มในส่วนของชีววิทยา ม.ปลายเช่นเดียวกัน ว่าแล้วเรามาลองดูตัวอย่างข้อสอบ IJSO ชีววิทยา รอบแรกย้อนหลังกันดีกว่าครับ

  • ตัวอย่าง ข้อสอบ IJSO ชีววิทยา รอบ 1

โครงสร้างสีเขียวใดต่อไปนี้มีโอกาสพบการสังเคราะห์ด้วยแสงน้อยที่สุด

A.  รากกล้วยไม้
B.  เอ็มบริโอในเมล็ดบัว
C.  กลีบเลี้ยงของชบา
D.  ผลพริกชี้ฟ้าเขียว

ข้อ  B.

ทดลองหย่อนเกล็ดด่างทับทิมลงในน้ำที่มีปริมาตรเท่ากันสองแก้ว วางแก้ว ก. ไว้ในห้อง และเก็บแก้ว ข. ไว้ในตู้เย็น อัตราการแพร่ของด่างทับทิมในแก้วทั้งสองจะเป็นอย่างไร

A.  แก้ว ก. อัตราการแพร่เร็วกว่าแก้ว ข.
B.  แก้ว ข. อัตราการแพร่เร็วกว่าแก้ว ก.
C.  อัตราการแพร่เท่ากันทั้งสองแก้ว
D.  ไม่เกิดการแพร่ของด่างทับทิมทั้งสองแก้ว

ข้อ  A.

สัตว์ในข้อใดที่มีระบบประสาทแตกต่างจากข้ออื่นมากที่สุด

A.  เหา
B.  ไฮดรา
C.  พลานาเรีย
D.  ไส้เดือนดิน

ข้อ  B.

หากน้อง ๆ สนใจอยากทดสอบตนเองเพิ่มเติมสามารถเข้าไปได้ที่ ลองทำดู : ข้อสอบ IJSO ชีววิทยา รอบแรก เลย หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ ที่สนใจหรือกำลังเตรียมตัวสอบกันอยู่นะครับ สำหรับวันนี้พี่บิ๊กต้องลากันไปก่อน บ๊าย บาย ☺☺

ดร.ณัฐชัย  เก่งพิพัฒน์ (พี่บิ๊ก)

พี่บิ๊ก
  • ปริญญาเอก : วิทยาศาสตร์ (Biotechnology) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ทุน คปก.)
  • ปริญญาโท : วิทยาศาสตร์ (Biotechnology) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาตรี : วิทยาศาสตร์ (Microbiology) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อดีตผู้ช่วยสอน วิชาจุลชีววิทยาทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อดีตอาจารย์พิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ผู้เขียนหนังสือเฉลยข้อสอบโควตา มข. โควตา มช. และ โควตา ม.อ.
  • ประสบการณ์การสอน 14 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ