How to ม.2 เทอม 2 ผ่าน ม.ต้น มาครึ่งทางแล้ว วางแผนยังไงต่อดีก่อนขึ้น ม.ปลาย

คณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 2

ม.2 เทอม 2 คือเทอมที่แสดงถึงเวลาที่เลยครึ่งทางสำหรับการเป็นนักเรียน ม.ต้นแล้ว น้อง ๆ หลายคน เริ่มปรับตัวจากชีวิตในวัยประถมมาสู่ชีวิตในแบบมัธยมได้แล้ว ทั้งในด้านการเรียนและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน รวมถึงการปรับตัวกับเพื่อนใหม่ ๆ ที่เพิ่งมาเจอกันตอน ม.1 แต่อีกแค่ปีเดียวเราก็ต้องปรับตัวอีกครั้ง เพื่อเข้าสู่ชีวิตนักเรียน ม.ปลาย ซึ่งพี่วีวี่บอกได้เลยว่ามีทั้งความสนุกและแอบแฝงความโหดร้ายในความยากของเนื้อหาการเรียนด้วย

แต่ก่อนที่น้อง ๆ จะขึ้น ม.ปลาย การทำเกรดใน ม.ต้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะมีหลายโรงเรียนเลยที่นำผลการเรียนตอน ม.ต้น มาเป็นเกณฑ์ในการรับเข้าเรียนต่อในระดับ ม.4 รวมถึงใช้ผลการเรียนในการเลือกแผนการเรียนตอน ม.ปลายอีกด้วย ดังนั้น การทำเกรดให้ดีตั้งแต่ ม.ต้น จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ บทความนี้พี่วีวี่จะขอพาน้อง ๆ ทุกคนมามองภาพรวมของการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้น ม.2 เทอม 2 หลักสูตรสสวท.รวมถึงเทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้เก่งและคว้าเกรด 4 มาครองได้ ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเลย

เนื้อหา ม.2 เทอม 2 ต้องเจอบทอะไรบ้าง

บทความนี้พี่วีวี่จะขอเจาะลึกไปที่เนื้อหาที่จะได้เรียนกันของวิชาคณิตศาสตร์นะคะ (หากน้อง ๆ อยากดูเนื้อหาที่เรียนในระดับชั้น ม.ต้น ในวิชาอื่น ๆ น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูได้ตามลิงก์นี้ได้เลย วิทยาศาสตร์ ม.ต้น

สำหรับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 2 นั้น น้อง ๆ จะได้เรียนทั้งหมด 5 บท ได้แก่ สถิติ (2), ความเท่ากันทุกประการ, เส้นขนาน, การให้เหตุผลทางเรขาคณิต และการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยเมื่อเจาะลึกเข้าไปในเนื้อหาแต่ละบทเรียนของวิชาคณิตศาสตร์

บท สถิติ (2)

จะเรียนในเรื่อง

  • แผนภาพจุด
  • แผนภาพต้น – ใบ
  • ฮิสโทแกรม
  • ค่ากลางของข้อมูล

ซึ่งบทนี้เมื่อเรียนแล้วน้อง ๆ ต้องสามารถนำเสนอ อ่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนภาพจุด แผนภาพต้น – ใบ และฮิสโทแกรมได้ ที่สำคัญน้องต้องสามารถหา เปรียบเทียบค่ากลางของข้อมูล (ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมัธยฐาน และฐานนิยม) ได้ ซึ่งการคำนวณค่ากลางเป็นเรื่องที่ข้อสอบหลายสนามชอบมาก ๆ ทั้งข้อสอบในโรงเรียน และข้อสอบแข่งขันต่าง ๆ ดังนั้น น้อง ๆ ต้องฝึกทำให้คล่อง

บท ความเท่ากันทุกประการ

จะเรียนในเรื่อง

  • ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต
  • ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม
  • รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน – มุม – ด้าน
  • รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม – ด้าน – มุม
  • รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน – ด้าน – ด้าน
  • รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม – มุม – ด้าน
  • รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ฉาก – ด้าน – ด้าน
  • การนำไปใช้

บทนี้น้อง ๆ ต้องเข้าใจถึงการเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต ว่ารูปเรขาคณิตสองรูปที่เท่ากันทุกประการ เมื่อทั้งสองรูปนั้นมีรูปร่างเหมือนกัน และมีขนาดเท่ากัน และในบทนี้จะเน้นเรื่องความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมเป็นพิเศษซึ่งมีหลายแบบ เช่น ด้าน – มุม – ด้าน , มุม – ด้าน – มุม , ด้าน – ด้าน – ด้าน , มุม – มุม – ด้าน หรือ ฉาก – ด้าน – ด้าน  ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยในการแก้โจทย์ทางเรขาคณิตยาก ๆ ได้เป็นอย่างดี

บท เส้นขนาน

จะเรียนในเรื่อง

  • เส้นขนานและมุมภายใน
  • เส้นขนานและมุมแย้ง
  • เส้นขนานและมุมภายนอกกับมุมภายใน
  • เส้นขนานกับรูปสามเหลี่ยม

ซึ่งบทนี้จะเป็นบทที่ต่อยอดมาจากตอนประถมที่น้อง ๆ ได้เรียนในเรื่องเส้นขนานกันไป จะมีความยากและความซับซ้อนเพิ่มขึ้น แต่จริง ๆ แล้วก็ถือได้ว่ายังไม่ใช่บทที่ยากมากเมื่อเทียบกับบทอื่น ๆ บทนี้จึงเป็นบทที่น้อง ๆ หมายมั่นปั้นมือเลยว่าต้องเก็บคะแนนเต็มได้แน่นอน

บท การให้เหตุผลทางเรขาคณิต

บทนี้จะเน้นไปในเรื่องของการพิสูจน์และการให้เหตุผลทางเรขาคณิต

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางเรขาคณิต
  • การสร้างและการให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง
  • การให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม

บทนี้จะเป็นบทที่นำความรู้ต่าง ๆ จากบทเรขาคณิตที่เรียนไปก่อนหน้านี้ เช่น การสร้าง, เส้นขนาน และความเท่ากันทุกประการมาใช้ในการพิสูจน์ และการบอกเหตุผลต่าง ๆ ในการคำนวณ การจะเก็บคะแนนในบทนี้ให้ได้มาก ๆ นอกจากน้องจะคำนวณได้แล้วยังต้องฝึกการเขียนพิสูจน์ด้วยนะ

บทสุดท้าย การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

บทนี้คือบทที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดไปยังการเรียนคณิตศาสตร์ ม.3 อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นบทสำคัญที่มักเจอในข้อสอบสอบเข้า ม.4 โดยบทนี้จะเรียนเรื่อง

  • การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างกำลังสอง

ในบทนี้น้องต้องแยกตัวประกอบพหุนามให้เป็น เข้าใจเรื่องของกำลังสองสมบูรณ์และผลต่างกำลังสอง ซึ่งจะมีการใช้ต่อเนื่องอีกครั้งเมื่อน้องขึ้น ม.3 ที่จะต้องเรียนการแยกตัวประกอบพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง, สมการกำลังสอง, กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ซึ่งบทเหล่านี้ล้วนใช้พื้นฐานจากการแยกตัวประกอบของ พหุนามดีกรีสองนำไปต่อยอด

เนื้อหา ม.2 เทอม 2 ต้องเจอบทอะไรบ้าง

เทคนิคการเรียนคณิตให้ Success

น้อง ๆ หลายคนมักจะบ่นกับพี่วีวี่บ่อย ๆ ว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก ทำยังไงถึงจะประสบความสำเร็จคว้าเกรด 4 ให้ได้ วันนี้พี่วีวี่มีเทคนิคดี ๆ จากพี่ ๆ WE Tutors มาฝากนะคะ เป็น 3 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์ที่ทำตามได้ไม่ยาก แต่เห็นผลได้จริง มีอะไรบ้างมาดูกัน

ขั้นตอนที่ 1  จำให้ได้

วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีทั้งบทนิยาม, สูตร และเทคนิคลัดต่าง ๆ ที่พี่ ๆ ได้สอนไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้น้อง ๆ ต้องพยายาม “จด” และ “จำ” ให้ได้ เพราะถ้าถึงวันสอบแล้วสูตรเรายังจำไม่ได้ก็คงมีโอกาสน้อยมากที่จะเก็บคะแนนจากข้อนั้น

ขั้นตอนที่ 2 ใช้ให้เป็น

หลังจากเราจำนิยาม และสูตรต่าง ๆ ได้แล้ว สิ่งต่อมาคือ เราต้องใช้สูตรหรือเทคนิคเหล่านั้นให้เป็นด้วยเพราะสูตรและเทคนิคต่าง ๆ มักจะมีเงื่อนไขในการใช้ด้วยว่า เมื่อไหร่ใช้ได้ เมื่อไหร่ห้ามใช้ เราต้องแม่นยำตรงจุดนี้ด้วย จะได้ไม่พลาดนะคะ

ขั้นตอนที่ 3  เน้นฝึกให้คล่อง

หลังจากเราจำสูตรได้และเข้าใจเงื่อนไขต่าง ๆ ของสูตรดีแล้ว อีก 1 ปัญหาที่คนสอบเลขเจอประจำคือทำข้อสอบไม่ทัน ซึ่งปัญหานี้ดูเป็นปัญหาระดับชาติเลยทีเดียว จริง ๆ ปัญหานี้เกิดจากการที่เราทำโจทย์ไม่คล่อง เพราะขาดการฝึกปรือนั่นเอง ดังนั้น วิธีแก้ก็คือน้อง ๆ ต้องหมั่นฝึกฝน ทำโจทย์เยอะ ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบฝึกหัดของคุณครู, Assignment ที่พี่ ๆ WE Tutors ให้ไว้ในคอร์ส (ซึ่งมีเฉลยให้ทุกข้อด้วย ทำหรือยัง 555) รวมถึงพวกข้อสอบเก่าของสนามต่าง ๆ ซึ่งบอกได้เลยว่าถ้าน้องได้ฝึกทำจนคล่องแล้วล่ะก็ถึงวันสอบ เราจะทำได้อย่างสบายแน่นอน เกรด 4 คณิตอยู่ในมือเราชัวร์

3 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์

เตรียมความพร้อมก่อน ย่อมได้เปรียบ

น้อง ๆ หลายคนบอกว่าเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 ยากจัง พี่วีวี่อยากจะบอกว่าของ ม.3 ยากและซับซ้อนกว่านะคะ (ไม่ได้ขู่นะ 555) ดังนั้น การเตรียมตัวรับมือแต่เนิ่น ๆ ย่อมได้เปรียบ พี่วีวี่จึงอยากแนะนำน้อง ๆ ว่าควรเรียนเนื้อหาของ ม.3 เทอม 1 ล่วงหน้าไปก่อนได้เลย เพื่อที่เราจะได้มีเวลาทบทวนก่อนสอบมากขึ้น มีเวลาทำโจทย์มากขึ้น และแน่นอนว่าคะแนนสอบของเราก็จะมากขึ้นด้วยเช่นกัน เราไปดูกันเลยดีกว่า ว่าใน ม.3 เทอม 1 เราต้องเจอบทอะไรกันบ้าง

คณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 เรียนอะไรบ้าง

เนื้อหาในวิชาคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ตามแบบเรียนของสสวท. น้อง ๆ จะได้เรียนทั้งหมดถึง 6 บทด้วยกันคือ

  1. อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
  2. การแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง
  3. สมการกำลังสองตัวแปรเดียว
  4. ความคล้าย
  5. กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง
  6. สถิติ (3)

ซึ่งพี่บอกได้เลยว่าแต่ละบทจะยากและซับซ้อนกว่าตอน ม.1 และ ม.2 พอสมควรเลยค่ะ แต่ถ้าน้อง ๆ ได้มาเรียนกับพี่ ๆ ทีม WE MATH แล้วล่ะก็ พี่ ๆ เค้าจะสามารถอธิบายเรื่องยาก ๆ ให้กลายเป็นเรื่องกล้วย ๆ ง่าย ๆ สำหรับน้อง ๆ ไปเลย พร้อมทั้งยังมีทริคเด็ด ๆ เทคนิคเฉียบ ๆ ในบรรยากาศการเรียนที่สนุกสนานเป็นกันเอง เพราะฉะนั้นห้ามพลาดเด็ดขาดเลยนะคะน้อง ๆ

พี่วีวี่หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ ทุกคนที่มีความมุ่งมั่นอยากคว้าเกรด 4 ในวิชาคณิต และอยากประสบความสำเร็จในการสอบแข่งขันต่อไปในอนาคตนะคะ สุดท้ายนี้พี่วีวี่ขอให้น้อง ๆ ประสบความสำเร็จตามที่หวังเป็นเด็กดีของคุณพ่อคุณแม่ และอย่าลืมมาเจอกับพวกพี่ ๆ WE Tutors ในคอร์สกันด้วยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ