สรุปเนื้อหา แคลคูลัส – คณิตศาสตร์ ม.6 แจกตัวอย่างข้อสอบพร้อมเฉลย

สรุปเนื้อหา แคลคูลัส - คณิตศาสตร์ ม.6 แจกตัวอย่างข้อสอบพร้อมเฉลย

      เมื่อพูดถึงบท “แคลคูลัส” ที่เป็นเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์ ม.6 น้อง ๆ ม.ปลาย หลายคนอาจรู้สึกว่าเป็นบทที่น่าจะยากและซับซ้อน แต่จริง ๆ แล้วบทแคลคูลัส ถ้าน้อง ๆ เรียนด้วยความเข้าใจถึงนิยามและกระบวนการในการคิดได้ บทนี้จะเป็นบทที่ไม่ได้ยากอย่างที่หลาย ๆ คนกลัวกัน

      วันนี้ พี่กอล์ฟ จะพาน้อง ๆ ไปดูเนื้อหาและจุดสำคัญ ๆ ของบท “แคลคูลัส” กัน โดยพี่จะขอแบ่งเนื้อหาของ แคลคูลัส ม.ปลาย ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้นะครับ

  • ลิมิตและความต่อเนื่อง
  • อนุพันธ์
  • ปฏิยานุพันธ์และปริพันธ์

      ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว ตามพี่มาดูสรุปเนื้อหาแคลคูลัสไปพร้อมกันเลย!!

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจเลย!

แคลคูลัส ม.6 : ลิมิตของฟังก์ชัน

      เริ่มด้วยหัวข้อแรกของแคลคูลัส ม.6 อย่าง ลิมิตของฟังก์ชัน กันเลยครับ

      โดยทั่วไปสำหรับฟังก์ชัน f ใด ๆ ที่มีโดเมนและเรนจ์เป็นสับเซตของเซตของจำนวนจริง ถ้าค่าของ f(x) เข้าใกล้จำนวนจริง L เมื่อ x เข้าใกล้ a แล้วจะเรียก L ว่า ลิมิตของ f ที่ a ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์

แคลคูลัส ม.6 - สัญลักษณ์ซึ่งเขียนแทนลิมิตของ f ที่ a
แคลคูลัส ม.6 - ลิมิตของฟังก์ชัน ตัวอย่างที่ 1

เทคนิคการหาค่าลิมิตของฟังก์ชัน

แคลคูลัส ม.6 - เทคนิคการหาค่าลิมิตของฟังก์ชัน

      NOTE : ในเทคนิคนี้คำว่า ‘เลข’ หมายถึงจำนวนจริงที่ไม่ใช่ 0

ทฤษฎีบทเกี่ยวกับลิมิต

แคลคูลัส ม.6 - ทฤษฎีบทเกี่ยวกับลิมิต
แคลคูลัส ม.6 - ลิมิตของฟังก์ชัน ตัวอย่างที่ 2
แคลคูลัส ม.6 - ลิมิตของฟังก์ชัน ตัวอย่างที่ 3

แคลคูลัส ม.6 : ความต่อเนื่องของฟังก์ชัน

บทนิยาม
      ให้ f เป็นฟังก์ชันซึ่งนิยามบนช่วงเปิด (c, d) และ a ∊ (c, d) จะกล่าวว่า f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง (continuous function) ที่ x = a ก็ต่อเมื่อ

แคลคูลัส ม.6 - ความต่อเนื่องของฟังก์ชัน บทนิยาม

      จากบทนิยาม ถ้า f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องที่ x = a ต้องมีสมบัติครบทั้ง 3 ข้อ ดังนี้

แคลคูลัส ม.6 - ความต่อเนื่องของฟังก์ชัน สมบัติ 3 ข้อ
แคลคูลัส ม.6 - ความต่อเนื่องของฟังก์ชัน กราฟ f(x)

แคลคูลัส ม.6 : อนุพันธ์ของฟังก์ชัน

      ให้ f เป็นฟังก์ชัน อนุพันธ์ของฟังก์ชัน f เขียนแทนด้วย f′(x) และ

แคลคูลัส ม.6 - อนุพันธ์ของฟังก์ชัน f

      สัญลักษณ์ที่ใช้แทนอนุพันธ์ของฟังก์ชัน f ที่ x เช่น

แคลคูลัส ม.6 - สัญลักษณ์ที่ใช้แทนอนุพันธ์ของฟังก์ชัน f ที่ x

สูตรการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน

แคลคูลัส ม.6 - สูตรการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน (1)
แคลคูลัส ม.6 - สูตรการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน (2)

แคลคูลัส ม.6 : ความชันของเส้นโค้ง

      กำหนดเส้นโค้งซึ่งเป็นกราฟของฟังก์ชัน y = f(x) และจุด P(a, f(a)) เป็นจุดบนเส้นโค้ง เส้นสัมผัสเส้นโค้งที่จุด P(a, f(a)) คือ เส้นตรงที่ผ่านจุด P และมีความชันเท่ากับ f′(a) จะเรียกความชันของเส้นสัมผัสเส้นโค้งที่จุด P ว่า ความชันของเส้นโค้งที่จุด P

แคลคูลัส ม.6 - ความชันของเส้นโค้งที่จุด P
แคลคูลัส ม.6 - การหาความชันเส้นโค้ง ตัวอย่าง

แคลคูลัส ม.6 : จุดสูงสุดสัมพัทธ์ และต่ำสุดสัมพัทธ์

แคลคูลัส ม.6 - จุดสูงสุดสัมพัทธ์ และต่ำสุดสัมพัทธ์

แคลคูลัส ม.6 : ปฏิยานุพันธ์และปริพันธ์ไม่จำกัดเขต

บทนิยาม

แคลคูลัส ม.6 - บทนิยาม ปฏิยานุพันธ์

      ถ้า F(x) เป็นปฏิยานุพันธ์ของ f(x)
      อินทริกัลไม่จำกัดเขตของ f(x) เทียบกับ x หมายถึง ปฏิยานุพันธ์ของ f(x)
      เขียนแทนด้วย ∫f(x)dx โดยที่ ∫f(x)dx = F(x) + c
      เมื่อ c เป็นค่าคงตัวใด ๆ

สูตรการอินทิเกรต

แคลคูลัส ม.6 - สูตรการอินทิเกรต
แคลคูลัส ม.6 - การอินทิเกรต ตัวอย่างที่ 1
แคลคูลัส ม.6 - การอินทิเกรต ตัวอย่างที่ 2

แคลคูลัส ม.6 : ปริพันธ์จำกัดเขต

ทฤษฎีบทหลักมูลของแคลคูลัส (Fundamental Theorem of Calculus)

      กำหนด f(x) เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วง [a, b] และ F(x) เป็นปฏิยานุพันธ์ของ f(x)
      อินทิกรัลจำกัดเขตของ f(x) จาก x = a ถึง x = b เขียนแทนด้วย

แคลคูลัส ม.6 - อินทิกรัลจำกัดเขตของ f(x) จาก x = a ถึง x = b

     โดยที่

แคลคูลัส ม.6 - อินทิกรัลจำกัดเขต
แคลคูลัส ม.6 - หลักการหาอินทิกรัลจำกัดเขต

สูตรการอินทิกรัลจำกัดเขต

แคลคูลัส ม.6 - สูตรการอินทิกรัลจำกัดเขต
แคลคูลัส ม.6 - อินทิกรัลจำกัดเขต ตัวอย่างที่ 1
แคลคูลัส ม.6 - อินทิกรัลจำกัดเขต ตัวอย่างที่ 2

แคลคูลัส ม.6 : พื้นที่ที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้ง

แคลคูลัส ม.6 - พื้นที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้ง

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมเฉลย วิชาคณิตศาสตร์ - แคลคูลัส

      นอกจากจะสรุปเนื้อหาจุดสำคัญ ๆ ของบทแคลคูลัส ที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.6 แล้ว พี่กอล์ฟก็ไม่พลาดที่จะนำตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเรื่อง “แคลคูลัส” มาให้น้อง ๆ ลองฝึกทำ พร้อมมีเฉลยละเอียดให้ได้เรียนรู้วิธีแก้โจทย์กันด้วยครับ

ข้อสอบ “แคลคูลัส” พร้อมเฉลย ข้อที่ 1

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมเฉลย เรื่องแคลคูลัส ข้อที่ 1

ข้อสอบ “แคลคูลัส” พร้อมเฉลย ข้อที่ 2

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมเฉลย เรื่องแคลคูลัส ข้อที่ 2

ข้อสอบ “แคลคูลัส” พร้อมเฉลย ข้อที่ 3

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมเฉลย เรื่องแคลคูลัส ข้อที่ 3

ข้อสอบ “แคลคูลัส” พร้อมเฉลย ข้อที่ 4

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมเฉลย เรื่องแคลคูลัส ข้อที่ 4

ข้อสอบ “แคลคูลัส” พร้อมเฉลย ข้อที่ 5

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมเฉลย เรื่องแคลคูลัส ข้อที่ 5 (โจทย์)
ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมเฉลย เรื่องแคลคูลัส ข้อที่ 5 (วิธีทำ)

      และนี่คือตัวอย่างเนื้อหาของบท แคลคูลัสเบื้องต้น ในระดับ ม.ปลาย พร้อมตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเรื่องแคลคูลัส ที่พี่กอล์ฟนำมาฝากกันครับ พี่เชื่อว่าถ้าน้อง ๆ เรียนแคลคูลัสด้วยความเข้าใจ และหมั่นฝึกฝนทำโจทย์บ่อย ๆ บทนี้จะเป็นบทที่น้อง ๆ เก็บคะแนนได้ไม่ยากเลย และยังเป็นพื้นฐานที่ใช้ต่อยอดในการเรียนแคลคูลัสต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย

      สำหรับน้อง ๆ ม.ปลาย ที่อยากหาตัวช่วยเพิ่มความฟิตก่อนลุยสนามสอบเข้ามหาวิทยาลัย พี่กอล์ฟขอแนะนำ คอร์สคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 A-Level ที่ WE BY THE BRAIN ครับ คอร์สนี้พี่ ๆ ติวเตอร์ทีมคณิตศาสตร์ สรุปเนื้อหาไว้แบบกระชับ เข้มข้น ครบทุกประเด็นสำคัญ ช่วยประหยัดเวลาในการทบทวนเนื้อหาไปได้เยอะ

      นอกจากนี้ภายในคอร์สยัง จัดเต็มข้อสอบหลากหลายแนวให้ได้ลองฝึกทำกันแบบจุใจ ทั้งข้อสอบเก่า ข้อสอบเก็ง และอัปเดตข้อสอบ A-Level คณิต (ถึงปีล่าสุด) พร้อมเฉลยแบบละเอียดทุกข้อ

      และที่สำคัญน้อง ๆ จะได้เรียนรู้ Fantastic Trick สุดยอดเทคนิคการทำโจทย์ขั้นเทพ ทั้งวิธีตรงและวิธีลัด ช่วยให้แก้โจทยไวขึ้น พร้อมลุยข้อสอบแนว Speed Test และคว้าคะแนน A-Level คณิต เกิน 70+ Up ได้ไม่ยาก!!

คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับ "บทแคลคูลัส"

      เนื้อหาทางคณิตศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้ต่อในบทแคลคูลัส ที่น้อง ๆ ควรจะทบทวนให้แม่นยำ เพราะจะถูกนำมาใช้บ่อย ๆ มีดังนี้

  1. บทจำนวนจริง โดยเฉพาะเรื่องการแก้สมการและอสมการพหุนาม รวมถึงการแยกตัวประกอบของพหุนามต้องฝึกให้คล่องเลย เพราะในบทแคลคูลัสใช้ค่อนข้างเยอะ

  2. บทเรขาคณิตวิเคราะห์ ส่วนหลัก ๆ ที่ถูกนำมาใช้คือเรื่องเส้นตรง ตั้งแต่การถามหาความชัน, สมการเส้นตรง, เส้นขนาน, เส้นตั้งฉาก และการเขียนกราฟ โดยเฉพาะเส้นตรงและพาราโบลาจะถูกใช้ในบทนี้บ่อย

  3. บทความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ควรทบทวนในส่วนนิยามของฟังก์ชันเพิ่ม, ฟังก์ชันลด, คู่อันดับ และการเขียนกราฟ

  4. การหาพื้นที่ของรูปวงกลม, สี่เหลี่ยม, สามเหลี่ยม และการหาปริมาณและพื้นที่ผิวของรูปทรงต่าง ๆ ส่วนนี้อาจจะถูกนำมาใช้ตอนทำโจทย์ปัญหาที่เป็นโจทย์ประยุกต์

      แคลคูลัส ม.6 จะเป็นแคลคูลัสพื้นฐานเบื้องต้นของบทนี้ครับ จะสอนให้น้อง ๆ รู้จักกระบวนการในการหาลิมิต, อนุพันธ์ และปริพันธ์แบบไม่ซับซ้อนมากนัก

      แต่สำหรับ แคลคูลัสในระดับมหาวิทยาลัย เนื้อหาจะลึกและยากกว่า โดยจะเน้นไปตามการใช้งานประยุกต์ของแต่ละคณะและสาขา เช่น แคลคูลัสที่เรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ ก็จะมีจุดเน้นต่างกันตามการใช้งานของแต่ละคณะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ