PAT1 คืออะไร? วิเคราะห์เจาะลึกบทไหนออกเยอะ บทไหนห้ามพลาด อัปเดตล่าสุด

pat 1 คืออะไร
หากพูดถึงสนามสอบระดับประเทศที่เป็นด่านพิชิตฝันของใครหลาย ๆ คน คงหนีไม่พ้นสนามสอบ GAT/PAT ที่เลื่องลือเรื่องความหินแต่ก่อนอื่นอยากให้น้อง ๆ เข้าใจก่อนว่า GAT/PAT คืออะไร โดยเริ่มจาก

GAT หรือชื่อเต็มว่า (General Aptitude Test) ตามที่ สทศ. ได้ประกาศไว้ เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป เพื่อวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จมี 2 ส่วน คือ  ส่วนที่ 1 ความสามารถในการอ่าน,
การเขียน, การคิดเชิงวิเคราะห์, และการแก้โจทย์ปัญหาหรือที่เรารู้จักคือ “GAT ไทย”  ส่วนที่ 2 ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย  Speaking and Conversation, Vocabulary, Structure and Writing, Reading Comprehension  หรือที่เรารู้จักคือ “GAT Eng”  โดยมีคะแนนส่วนละ 150 คะแนน รวมเป็นคะแนนเต็ม 300 คะแนน
PAT หรือชื่อเต็มว่า (Professional and Academic Aptitude Test)  เป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ คือ จะวัดความรู้พื้นฐานกับศักยภาพที่จะเรียนวิชาชีพนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด  7 วิชา คือ 

  • PAT1  ความถนัดทางคณิตศาสตร์
  • PAT2  ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
  • PAT3  ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
  • PAT4  ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • PAT5  ความถนัดทางวิชาชีพครู
  • PAT6  ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
  • PAT7  ความถนัดทางภาษา

ซึ่งวันนี้ “พี่วีวี่” จะมาพูดถึงหนึ่งในวิชาที่ว่าหินสุด ๆ ที่ในปีที่ผ่านมารุ่นพี่ของเราที่เข้าสอบต่างบอกว่าง่ายขึ้นกว่าทุกปี นั่นคือ  การทดสอบความถนัดทางคณิตศาสตร์ หรือ PAT1 ที่น้อง ๆ อาจจะเคยได้ยินมาบ้างนั่นเอง จะเป็นยังไงนั้นไปดูกันดีกว่าค่ะ

PAT1  คืออะไร?

PAT1 เป็นการทดสอบความถนัดทางคณิตศาสตร์  เป็นที่พูดถึงอย่างมากว่า  “ยาก” ซึ่งลักษณะข้อสอบ PAT1 จะต้องใช้ความรู้จากหลายเรื่องในการทำโจทย์แต่ละข้อ  แต่ขอบอกไว้เลยว่า PAT1 นั้นสำคัญมากสำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย  จากการรวบรวมข้อมูลแล้วคะแนน PAT1 ถูกมหาวิทยาลัยดึงมาประกอบใช้การพิจารณารับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระบบ TCAS รอบต่าง ๆ เช่น รอบที่ 2 รอบโควตา, รอบที่ 3 รอบรับตรง, รอบที่ 4 แอดมิชชั่นกลาง, และรอบที่ 5 รับตรงอิสระ โดยใช้ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น สหเวชศาสตร์, สาธารณสุข, ทันตแพทย์, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยีสารสนเทศ, เกษตรศาสตร์, ครุศาสตร์พื้นฐานวิทยาศาสตร์  เป็นต้น และล่าสุดเมื่อช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 63 ที่ผ่านมา  จากการทำประชาพิจารณ์ระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2564 – 2566 (TCAS64 – TCAS66) ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ยังมีการระบุถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นใน TCAS64 โดยการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือ การปรับใช้คะแนนของสัตวแพทยศาสตร์  เดิมไม่มีการใช้คะแนน PAT1 ในรอบ แอดมิชชั่น 2 แต่ใน TCAS64 มีการนำคะแนนมาใช้คิดเป็นสัดส่วนคะแนน 10% อีกด้วยนะคะ

รูปแบบ, จำนวนข้อสอบ

ในการสอบ GAT/PAT ทุก ๆ ครั้ง สทศ. จะมีการประกาศรูปแบบข้อสอบ, และจำนวนข้อสอบ ผ่านทางเว็บไซต์ สทศ. โดยน้อง ๆ สามารถเข้าไปติดตามข่าวการสอบต่าง ๆ ได้ “พี่วีวี่”  ได้สรุปรูปแบบข้อสอบ, จำนวนข้อสอบ  เมื่อปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมา มาฝากน้อง ๆ รูปแบบข้อสอบจะเป็นยังไงบ้างไปดูกันเลยค่ะ

เนื้อหาที่ออกสอบ

น้อง ๆ บางคนอาจจะกำลังเริ่มรู้สึกกังวลว่าเมื่อเราเรียนมาเยอะมากตั้งแต่ ม.4 – ม.6 แล้วจะจำยังไง จะรู้ได้อย่างไรว่าเรื่องไหนจะออกสอบบ้าง? เรื่องนั้นน้องไม่ต้องกังวลไปเพราะทุกปี สทศ. จะมีการประกาศเนื้อหาที่ออกสอบมาให้โดยเรียกว่า ผังการสร้างข้อสอบ (Test Blueprint) วิชาทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) วันนี้ “พี่วีวี่” นำข้อมูลของพี่ปี 63 มาบอกต่อน้อง ๆ 64 เพื่อเป็นแนวทางในการอ่านหนังสือระหว่างรอประกาศอย่างเป็นทางการ จะมีเนื้อหาอะไรบ้างเราไปดูกันเลยค่ะ

ผังการสร้างข้อสอบ

ผังการสร้างข้อสอบ (Test Blueprint) วิชาความถนัดทั่ว (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) ประจำปีการศึกษา 2563 >> https://bit.ly/2OcgvZt

แน่นอนว่า  “พี่วีวี่”  จะใจร้ายกับน้อง ๆ ไม่ได้!!  เพราะจากการรวบรวมข้อมูลพบว่าเนื้อหาบางบทไม่ได้ออก บางบทออกเยอะออกน้อยไม่เท่ากัน แต่จะออกเนื้อหาบทไหนบ้างไปดูกันเลย!!

สถิติคะแนนสอบ  PAT1

สถิติคะแนนสอบถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะจะทำให้เรารู้ว่าในแต่ละปีมีคะแนน สูง – ต่ำ เท่าไหร่เพื่อที่จะได้เป็นเป้าหมาย และเตรียมตัวอ่านหนังสือ  วันนี้ “พี่วีวี่” ได้นำข้อมูลปีล่าสุด(ปีการศึกษา 2563) มาฝากน้อง ๆ จะเป็นยังไงบ้างไปดูกันเลยค่ะ!!

จะว่าไปดูช่วงสถิติคะแนนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 30.01 – 60.00 คะแนน และคะแนนสูงสุดที่ 270.01 – 300.00 มีผู้เข้าสอบที่สามารถพิชิตคะแนนนี้ได้จำนวน 375 คน “นี่ขนาดข้อสอบง่ายขึ้นละนะ”

วิเคราะห์เจาะลึกบทไหนออกเยอะ  บทไหนต้องห้ามพลาด 

ระดับ “พี่วีวี่” แล้วจะมาแบบธรรมดาไม่ได้!!!  เพราะวันนี้ได้วิเคราะห์แบบเจาะลึก รวบรวมสถิติมาให้น้อง ๆ ได้ดูกัน  รับรองได้เลยไม่พลาดแน่นอนค่ะ

บทไหนออกเยอะ บทไหนห้ามพลาด

เรื่องไหนออกใน PAT1 บ้าง

จากการรวบรวมข้อมูลของปีต่าง ๆ ที่ผ่านมาทำให้พี่วีวี่พอเห็นได้ว่าบางบทมักจะออกซ้ำออกเยอะ บางบทจะมีในบางปีเท่านั้น วันนี้พี่วีวี่จึงได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดดังนี้ 1.บทพื้นฐาน  2. บททั่วไป  3.บทขนาดใหญ่  จะเป็นยังไงบ้างไปเช็คดูกัน
ทำความเข้าใจสัญลักษณ์ในตาราง
⭐⭐     หมายถึง  หัวข้อที่ออกบ่อยสุด ๆ ถ้าพลาดแล้วจะเสียใจ
⭐           หมายถึง  หัวที่ออกบ่อยรองลงมา  แต่ก็ยังจำเป็นต้องเน้น

เรื่องไหนออกใน PAT1 บ้าง
เรื่องไหนออกใน PAT1 บ้าง
เรื่องไหนออกใน PAT1 บ้าง

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาน้อง ๆ  อาจจะทราบกันบ้างแล้วว่าได้มีการปรับหลักสูตรใหม่  สำหรับเนื้อหาในระดับชั้น ม.ปลาย  ในวิชาคณิตศาสตร์  ได้มีการตัดหัวข้อบางส่วนหรือบางบทออกไปซึ่งเนื้อหาที่ถูกตัดออกไปเช่น กำหนดการเชิงเส้น, เนื้อหาในบทเมทริกซ์, เรื่องไมเนอร์ (Minor), โคแฟคเตอร์ (Cofautor), และ adjiont  น้อง ๆ หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่าเนื้อหาถูกตัดออกไปเหล่านี้ยังต้องอ่านและทำโจทย์อีกไหม?  ในความคิดเห็นของพี่วีวี่มองว่าเนื้อหาที่ถูกตัดออกไปจะกลับมาอยู่ในข้อสอบหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับทาง สทศ. เป็นผู้ประกาศระเบียบการสอบ  แต่ถึงอย่างนั้นหัวข้อบางส่วนหรือบางบทที่ถูกตัดออกไปก็ไม่ยากจนเกินไป  และใช้เวลาทบทวนไม่นานหากยังพอมีเวลาเหลือเนื้อหาเหล่านี้ก็ไม่ควรพลาดที่จะทบทวนก่อนเข้าห้องสอบนะคะน้อง ๆ
เป็นยังไงกันบ้าง สำหรับข้อมูลที่นำมาฝาก  หลังจากนี้เปิดเทอมแล้วน้องอาจจะเริ่มเรียนหนักขึ้น  มีหลายอย่างที่ต้องคิดต้องทำ “พี่วีวี่”  ขอแนะนำเลยว่าทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดี  เมื่อเรามีกระบวนการคิด การวางแผนที่รอบคอบ  หากน้องกำลังกังวลใจไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ให้น้องเริ่มค้นหาตัวเองในสิ่งที่ชอบ  อาชีพที่อยากทำ  สิ่งเหล่านั้นจะทำให้น้อง ๆ เริ่มค้นหาสาขาวิชาที่นำไปสู่เส้นทางสายอาชีพนั้น ๆ อย่างที่พี่วีวี่ได้พูดไว้ข้างต้นว่า สนามสอบที่เป็นด่านพิชิตฝันของใครหลายคนนั่นคือ GAT/PAT
ดังนั้นน้องควรเริ่มหาข้อมูลและระเบียบการในปีที่ผ่านมา  เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเตรียมตัววางแผน  จะได้เตรียมตัวได้ถูกต้อง ไม่เสียเวลา สนามไหนที่เขาว่ายากอย่าง PAT1 หากเราเตรียมตัวพร้อมรับรองเลยว่าผ่านไปได้แน่นอน อย่างที่เขาพูดไว้ว่า “เป้าหมายของเราจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการวางแผน เราต้องเชื่อมั่นและทำมันอย่างจริงจัง ซึ่งนี่เป็นทางเดียวที่จะนำทางไปสู่ความสำเร็จได้” นั่นเอง

ultimate maths

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ