ตัวอย่าง Portfolio สายแพทย์ จากรุ่นพี่ WE ปี 65

portfolio แพทย์

สวัสดีค่ะ น้อง ๆ DEK66 ทุกคนที่กำลังมุ่งมั่นวางแผนในการเข้าสู่ระบบคัดเลือก TCAS66 เตรียมตัวเก็บผลงานยื่นคณะสายหมอ ในรอบ Portfolio ที่ปีนี้เน้นความสามารถผลงานที่โดดเด่น และอาจมีการใช้คะแนนความถนัด TPAT, TPAT และเกรดเฉลี่ย GPAX ในบางมหาวิทยาลัย  วันนี้พี่วีวี่เลยมีตัวอย่างแฟ้มผลงานเจ๋ง ๆ จากรุ่นพี่ว่าที่แพทย์ในการทำพอร์ตให้พิชิตใจกรรมการมาฝาก แถมยังมีเคล็ดลับดี ๆ และเทคนิคการเตรียมตัวตอบคำถามรอบสัมภาษณ์ จากรุ่นพี่ WE เด็ก 65 ถ้าพร้อมแล้วตามพี่วีวี่ไปอ่านบทความนี้พร้อมเตรียมพอร์ตกันเลย

Portfolio ควรใส่อะไรบ้าง?

Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงานที่ดี ไม่ควรเกิน 10 หน้า (แล้วแต่มหาวิทยาลัย) โดยใน 10 หน้า ต้องมีผลงาน /โครงการแข่งขันที่น่าสนใจ และผลการทดสอบอื่น ๆ ที่ตรงตามเกณฑ์รูปแบบโครงการที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด พี่วีวี่ก็ขอแนะนำให้เรียงลำดับตามนี้ค่ะ

หน้า 0 = หน้าปก (ไม่นับรวม 10 หน้า)

หน้า 1 = ประวัติส่วนตัว หรือแนะนำตัว

หน้า 2 = ประวัติการศึกษา

หน้า 3–7 = ผลงาน รางวัล และเกียรติบัตรต่าง ๆ

หน้า 8–10 = กิจกรรมเด่นที่ตรงกับสาขาหรือคณะที่น้อง ๆ จะเข้าศึกษาต่อเท่านั้น

หน้า 11 = เรียงความเพื่อแสดงแนวคิดและความตั้งใจที่อยากจะเข้าคณะแพทย์

โดยแฟ้มสะสมผลงานที่ดี น้องไม่จำเป็นต้องใส่ทุกอย่างที่เคยทำมา แต่ให้ใส่ข้อมูลผลงานเด่น ๆ รวมถึงกิจกรรมอาสา และผลงานวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาหรือคณะที่น้องจะเข้าศึกษาต่อในคณะแพทย์เท่านั้น

นางสาว ขวัญข้าว ฉะอุ่ม (ขวัญข้าว)

สอบติด TCAS รอบ 1 Portfolio โครงการโอลิมปิกวิชาการสาขาเคมี และสาขาชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Previous slide
Next slide

Q : อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เข้าคณะเภสัชศาสตร์

A : ตอนนั้นพี่ก็ได้มีโอกาสไปเป็นตัวแทนแข่งขันโครงการ และงานนั้นก็ได้เชิญวิทยากรมาพูดให้ความรู้ก่อนเปิดงาน พอเราเห็นหน้าเราก็จำได้เลยว่าเป็น รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ท่านเป็นทั้งอาจารย์ นักเทคโนโลยีชีวภาพทางพืชที่ได้คิดค้นการทดลองวัคซีนป้องกันโควิด -19 จากโปรตีนพืชค่ะ

ยิ่งพอเราได้ฟังที่อาจารย์เขาพูดบรรยายก็รู้สึกว่าการพัฒนาวัคซีน หรือการทดลองหาสิ่งใหม่ ๆ ก็เป็นความชอบที่ตอบโจทย์กับตัวเรา ก็เลยไปหาของมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์มากขึ้นว่าเรียนอะไรบ้าง แล้วเราก็เป็นคนชอบวิชาเคมี ที่มีการวิเคราะห์ข้อมูล หาข้อเท็จจริง ซึ่งมันเป็นคณะที่ท้าทายเรามาก ๆ จึงได้ตัดสินใจเลือกคณะนี้ค่ะ

Q : โครงการที่น้องยื่น TCAS รอบ 1 Portfolio เป็นแบบไหน

A : เป็นโครงการโอลิมปิกวิชาการสาขาเคมี และสาขาชีววิทยาค่ะ เกณฑ์ที่ใช้ยื่นก็คือเกรด GPAX มากกว่า 3.50 ต้องได้เป็นตัวแทนศูนย์ของสอวน.วิชาเคมีหรือวิชาชีวะ และเป็นตัวแทนได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมและการแข่งขันโครงการระดับชาติมาก่อนถึงจะยื่นในโครงการนี้ได้ค่ะ

ถึงในรอบนี้คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จะไม่ได้กำหนดเกณฑ์ว่าจะต้องมีผลทดสอบทางภาษา แต่พี่ก็แนะนำให้น้อง ๆ ลองไปสอบวัดความรู้เอาไว้ก่อนก็ได้ อาจเป็น TOEFL, IELTS, TOEIC หรืออย่างพี่เองก็ยื่นคะแนนผลสอบ TU-GET ไปใส่ในผลงานด้วย มันจะทำให้เราดูมีทักษะที่น่าสนใจ มีคุณสมบัติรอบด้านด้วยค่ะ

Q : เตรียมตัวเก็บผลงาน เพื่อยื่นรอบ Portfolio อย่างไร

A : พอเรารู้ตัวเจอคณะที่ใช่แล้ว ช่วงมัธยมต้นก็เริ่มเก็บผลงานเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นเชิงวิชาการ แต่พอช่วงม.5 ก็เป็นการเรียนแบบออนไลน์ทำให้เราไม่สามารถทำกิจกรรมได้ ก็รู้สึกเสียดายนิดหน่อย แต่ก็รู้สึกดีที่เราเริ่มเตรียมตัวเก็บผลงานมาตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่นไปค่ายเชิงวิชาการ อบรมสอวน.สาขาเคมี, ค่าย สวทช. ที่เราได้ไปแข่งขันโครงงาน ทำงานจริง ๆ กับนักวิจัย และค่ายแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติ ที่ทำให้เรามีผลงานเด่น ๆ ใส่ในพอร์ตได้ครบค่ะ

น้อง ๆ บางคนอาจเน้นที่ความสวยงามของพอร์ตอย่างเดียว แต่พี่คิดว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้กรรมการสนใจก็คือเนื้อหาข้างใน กิจกรรมแต่ละกิจกรรมเราทำแล้วเราได้อะไร และที่สำคัญคืออย่าลืมใส่ความเป็นตัวเอง ความชอบลงไปในแฟ้มผลงานด้วย อย่างพี่ก็จะวาดภาพใส่ไปในผลงานก็จะทำให้เราดูน่าสนใจมากขึ้น

Q : กิจกรรมอะไรใน Portfolio ที่ทำให้เราเข้าตากรรมการ

A: คิดว่าน่าจะเป็นผลงานวิจัยของเราที่ได้ตีพิมพ์จริง ๆ เป็นกิจกรรมที่ทำเป็นกลุ่มตอนอยู่โรงเรียนนะคะ ทำให้กรรมการสนใจเรามาก ๆ จนชวนเราคุยตอนสัมภาษณ์ตลอดว่าทำไมเราถึงได้เป็นหัวหน้ากลุ่มในการทำการวิจัย ทำวิจัยเรื่องอะไรบ้างคะ

Q : ตอนสอบสัมภาษณ์เป็นอย่างไรบ้าง คำถามประมาณไหนเอ่ย

A : ยอมรับว่าวันนั้นตื่นเต้นมาก เราก็เตรียมหัวข้อที่จะไปพูดเผื่อจะมีถามคำถามที่วัดจริยธรรมแพทย์ แต่สุดท้ายอาจารย์ที่สัมภาษณ์เป็นภาษาไทยก็ไม่ได้ถามลึกขนาดนั้น ๆ ท่านใจดีชวนคุยแบบสบาย ๆ เป็นกันเอง คำถามก็จะถามวัดตัวตนเราประมาณว่า ให้แนะนำตัวและพูดถึงกิจกรรมที่เราเคยทำมา แล้วก็ถามว่าถ้าจบจากคณะเภสัชศาสตร์ไปแล้วจะไปต่อยอดทำงานสายไหน เราก็ตอบไปว่าคงจะไปต่อสายการวิจัยยา วิจัยวัคซีน ที่เป็นด้านและความถนัดที่เราชอบค่ะ

ส่วนคำถามสุดท้ายอาจารย์ก็จะถามถึงการทำงานกลุ่มกับเพื่อน ๆ วัดความรับผิดชอบในเรื่องของการทำการวิจัยว่า ถ้าวรสารที่เราส่งไปตีพิมพ์ถูกปฏิเสธเราจะมีวิธีจัดการยังไง ส่วนใหญ่จะเป็นคำถามวัด Critical Thinking ล้วน ๆ เลยค่ะ

Q : แชร์เทคนิคการเรียนให้น้อง ๆ หน่อย

A : เคล็ดลับการเรียนของพี่ก็ง่าย ๆ ก่อนอื่นคือต้องตั้งใจเรียนในห้องเรียนกับอาจารย์ให้มากที่สุด และทักษะที่พี่อยากให้น้อง ๆ เน้นเลยก็คือทักษะการเขียน การวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนวิชาอื่น ๆ เราก็อาจเรียนเพิ่มเติมความรู้จากนอกห้องเรียนได้

อย่างพี่ก็เรียนคอรส์วิชาคณิตศาสตร์ที่ WE BY THE BRAIN เมื่อก่อนถ้าเจอโจทย์ที่แปลกก็จะงงทำไม่ค่อยได้ แต่พอได้เรียนที่ WE ก็ได้เปลี่ยนมุมมองมากว่าขึ้นว่าโจทย์แบบนี้ก็มีอีกรูปแบบในการแก้โจทย์ได้น่า แถมชีทติวก็มีแนวโจทย์เยอะมากในการฝึกทำโจทย์ ทำให้พี่เข้าใจในวิชาคณิตมากขึ้นหลังจากเรียนค่ะ จากนั้นก็ขยันฝึกทำโจทย์จาก TEXT BOOK เยอะ ๆ ไล่ระดับความยากขึ้นไปเรื่อย ๆ เจอโจทย์พลิกแพลงแค่ไหนเราก็จะทำได้เพราะที่เราเรียนไปทำให้เบสิกเราแน่นสามารถนำไปต่อยอดในสนามแข่งขันต่าง ๆ ได้นั้นเองค่ะ

Q : ฝากอะไรถึงน้อง ๆ ที่กำลังเตรียม Portfolio หน่อย

A : พี่ก็อยากให้น้อง ๆ หาตัวตนเราให้เจอว่าเราชอบอะไร หรือพยายามค้นหาตัวเองจากการเข้าร่วมกิจกรรมให้มาก ๆ ไม่ว่าจะเชิงวิชาการหรือกิจกรรมอื่น ๆ อาจฝึกภาษาเพิ่มจะได้มีผลงานใส่แฟ้มของเรา เพื่อบางทีเราพึ่งรู้ตัวตอนทีหลังว่าเราอยากเข้าคณะนี้ มันก็อาจไม่สายเกินไป อาจเอากิจกรรมที่เคยทำมาตั้งแต่เนิ่น ๆ ใส่เข้าไปได้ ที่สำคัญการเรียนเราก็ต้องเต็มที่ กิจกรรมเราก็ต้องเน้น มันต้องเท่า ๆ กัน แล้วก็อย่าลืมดูเกณฑ์ คุณสมบัติ ที่เราจะต้องใช้ยื่นในโครงการให้ดี เพราะถ้าไม่รอบคอบก็อาจพลาดในจุดเล็ก ๆ ได้นะคะ พี่ขอฝากไว้ค่ะ

นาย ติสรณ์ แสงแพง (นะโม)

สอบติด TCAS รอบ 1 Portfolio โครงการคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Previous slide
Next slide

Q : เหตุการณ์อะไรที่ทำให้ตัดสินใจเลือกคณะสัตวแพทย์ศาสตร์

A : ตั้งแต่จำความความได้ เราก็ชอบเลี้ยงสัตว์ที่บ้านก็เป็นครอบครัวรักสัตว์ เลี้ยงแมว หมา กระต่าย ปลา นกมาตลอด มีวันหนึ่งมีหมาตัวหนึ่งเรารักมันมาก เป็นหมาที่น่ารัก ขี้เล่นกับทุกคน เป็นเพื่อนเล่นอยู่กับเราตลอด แต่วันหนึ่งมันก็ซึมลง ไม่ยอมทานอาหาร แต่ด้วยความเป็นเด็กเราก็ช่วยมันไม่ได้มากเพราะโรงพยาบาลสัตว์อยู่ไกลมาก ค่าใช้จ่ายรักษาก็สูง ได้แต่สังเกตอาการจนมันจากไป เราก็เลยคิดว่าถ้าเรามีความสามารถช่วยรักษามันได้ มันคงจะอยู่กับเราไปนาน ๆ เพราะมันพูดไม่ได้แต่ถ้าผมเข้าใจและพูดแทนมันได้ก็คงดี เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่เลือกเรียนคณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อที่จะกลับมาทำงานในชุมชน รักษาสัตว์เลี้ยงที่ป่วยให้เขาได้มารักษาใกล้ ๆ บ้าน ทุกคนในชุมชนที่รักสัตว์มีสัตว์เลี้ยงเข้าถึงง่าย ๆ เพราะสัตว์ก็มีสิทธิ์ในการรับการรักษาไม่ต่างจากคนครับ

Q : โครงการที่น้องยื่น TCAS รอบ 1 Portfolio เป็นแบบไหน

A : โครงการที่ผมยื่นในรอบพอร์ต ก็จะเป็นโครงการคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์ อย่างแรกน้อง ๆ ต้องมีรับรองการไปฝึกงานที่โรงพยาบาลสัตว์ 100 ชม. และมีผลสอบคะแนน CU-TEP, TOEFL หรือ IELTS 5.5 แล้วแต่โครงการกำหนด สุดท้ายก็ทำเกรด GPAX 3.50 ขึ้นไป  อย่างตัวผมมีความชอบในวิชาชีววิทยา แถมช่วงม.ต้นก็ได้เรียนวิชาชีวะกับพี่บิ๊กที่ WE มาตลอดก็ต่อยอดความชอบเข้าร่วมแข่งขันเข้าค่าย สอวน แถมเคยเข้าร่วมแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ มาตั้งแต่ม.3-ม.6 เลยใช้กิจกรรมนี้ยื่นในโครงการนี้จนติดรอบพอร์ตครับ

Q : เตรียมตัวเก็บผลงาน เพื่อยื่นรอบ Portfolio อย่างไร

A : อย่างแรกตามในเกณฑ์คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ ที่ต้องทำก็คือเกรดให้ถึง 3.50 ขึ้นไป ผมก็ลงคอร์สที่ WE BY THE BRAIN พยายามเก็บเกรดทุกวิชา ไม่ว่าจะวิชาคณิตศาสตร์ เคมี ชีวะ และวิชาฟิสิกส์ให้มันดีมาตลอด ส่วนในเรื่องของผลงานหลัก ๆ ก็จะเป็นค่ายสอวน. ที่เราลงแข่งขันมาตั้งแต่ม.3 เข้าร่วมมาเรื่อย ๆ พยายามอ่านหนังสืออย่างหนักเพื่อเข้ารอบลึก ๆ ในที่สุดก็ได้เป็นตัวแทนศูนย์ไปแข่งขันในระดับชาติ และก็จะมีการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกบ้างครับ

แต่โดยรวมพี่ว่ามันก็ต้องแบ่ง ๆ กันครับให้ตรงตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด อย่างกิจกรรมวิชาการ 50% กิจกรรมจิตอาสาและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ ที่ต้องเน้นเลย เช่นจิตอาสาในด้านสิ่งแวดล้อม, จิตอาสาในการช่วยเหลือชุมชน, จิตอาสาและฝึกงานในโรงพยาบาลชุมชน ถ้าตรงไหนมันขาดเราก็ดูว่าเราควรเก็บผลงานด้านไหนเพิ่ม ที่สำคัญถ้าน้อง ๆ จะยื่นแฟ้มผลงานในรอบนี้ก็อย่าลืมไปสอบ IELTS คะแนนที่กำหนดคือ 5.5 ด้วยนะครับ

Q : ตอนสอบสัมภาษณ์เป็นอย่างไรบ้าง คำถามประมาณไหนเอ่ย

A : วันนั้นจำได้ดีเลยว่า ผมตื่นเต้นมาก มันจะแบ่งโซนเป็น 2 ห้องแถมสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ เขาก็จะมีหัวข้อกำหนดมาให้ตั้งแต่แรกให้เราเตรียมตัวมาพรีเซนต์ อย่างปีผมก็จะเป็นหัวข้อมาให้ตั้งแต่ประกาศรับสมัครเลย ถัดมาอีกห้องก็จะเป็นห้องตอบคำถามทั่วไปว่าทำไมถึงมาเป็นสัตวแพทย์ จบไปอยากจะทำงานสายไหนในสัตวแพทย์ วัดทัศนคติไหวพริบในการตอบคำถามครับ อาจารย์เขาก็จะมีป้ายคำถามให้เราตอบ ยกตัวอย่างเป็นภาพของสัตว์ที่เป็นโรค ที่เป็นกระแสในตอนนั้นเช่น โรคระบาดในหมู และก็โรคลัมปีสกิน ที่ระบาดหนักในวัวครับ

Q : เทคนิคที่ WE ช่วยในด้านการเรียนอย่างไรบ้าง

A : เรียนที่ WE มีเทคนิคการจำที่ช่วยผมเยอะมาก โดยเฉพาะวิชาคณิตก็สุดยอดมาก รวมถึงวิชาอื่น ๆ ที่ WE ก็เรียนสนุก ผมลงเรียนวิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ปูพื้นฐานตั้งแต่ ม.ต้นมาตลอด ไม่เคยลงเรียนที่อื่นเลยนอกจากที่ WE เพราะพี่ ๆ ติวเตอร์ใจดี ชอบมีสรุปเนื้อหา สูตรแบบกระชับ มาให้เราไว้อ่านก่อนสอบประจำ แถมระบบการสอนก็เรียนสะดวก แล้วก็มีหนังสือจดสรุปเนื้อหาแน่น สีสันน่าอ่านมาก ๆ ครับ

Q : ฝากถึงน้อง ๆ รุ่นต่อไปที่อยากยื่นรอบ Portfolio หน่อย

A : พี่รู้สึกว่าปีหน้าจะปรับเปลี่ยนเกณฑ์ใช้คะแนนสอบ ยื่นในรอบสัมภาษณ์ด้วย ก็อยากให้น้อง ๆ ทุกคนไปศึกษาเกณฑ์ให้ดี ๆ แล้วก็รีบเก็บผลงานหากิจกรรมใส่ในพอร์ตให้ครบ การเรียนก็ห้ามทิ้งต้องวางแผนทำควบคู่กันไป เพราะมันเหลือเวลาไม่ค่อยเยอะแล้ว อยากให้น้อง ๆ ทุกคนสู้ ๆ รีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้เลยนะครับพี่เป็นกำลังใจให้

นางสาว สุชาวดี ขาวนวล (ซิน)

สอบติด TCAS รอบ 1 Portfolio โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท คณะแพทยศาสตร์ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Previous slide
Next slide

Q : อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เข้าคณะแพทยศาสตร์

A : ส่วนตัวคือมีความชอบในสายงานวิทย์สุขภาพอยู่แล้ว แล้วก็มีคุณแม่ที่ทำงานในด้านสายงานนี้ อยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข เราจึงตัดสินใจเลือกคณะแพทย์ค่ะ

Q : โครงการที่น้องยื่น TCAS รอบ 1 Portfolio เป็นแบบไหน

A : ในโครงการที่ยื่นไป คือโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ก็จะต้องมีผลงานในส่วนโครงงานวิทยาศาสตร์, การทดลอง, โครงงานด้านคอมพิวเตอร์ประมาณนี้ค่ะ แล้วก็มีผลงานการแข่งขันทักษะต่าง  ๆ ที่เกี่ยวกับวิชาการเช่น วิชาวิทยาศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ภาษาอังกฤษ หรือจะเป็นหมวดคอมพิวเตอร์ก็ได้ อีกส่วนที่เหลือก็จะเป็นกิจกรรมจิตอาสา และคุณธรรมบ้าง และต้องทำเกรดให้ได้เกิน 3.50 ขึ้นไปในแต่ละวิชาในการยื่นในโครงการนี้ค่ะ

อย่างพี่จะจะมีโครงการเด่นในผลงานคือ โครงการ SMTE (ห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม) ที่ได้เข้าไปแข่งขันโครงงานคณิตศาสตร์จากตัวแทน 10 โรงเรียนในเครือภาคใต้ ช่วยฝึกการทำงานเป็นทีม ทำผลงานจริง แถมได้พรีเซนต์ผลงานต่อหน้ากรรมการจากมหาวิทยาลัยด้วยค่ะ

Q : เตรียมตัวเก็บผลงาน เพื่อยื่นรอบ Portfolio อย่างไร

A : อย่างตัวพี่ก็เริ่มทำเกรดแต่ละวิชาให้ดีก่อน วิชาไหนที่เราอยากเสริมก็ลงเรียนพิเศษ แต่ว่าก็แบ่งเวลาลงแข่งขันทำกิจกรรมอื่น ๆ ไปด้วย เพื่อที่จะยื่นรอบพอร์ต ส่วนการเรียนเราก็ต้องเตรียมพร้อม เผื่อว่าถ้าเราไม่ติดรอบพอร์ต เราก็จะได้มีความรู้ พื้นฐานแน่นเพื่อลงสนามทำคะแนน ยื่นรอบต่อไปค่ะ

ถึงบางมหาวิทยาลัยอาจไม่ได้กำหนดว่าน้อง ๆ จะต้องมีการทำกิจกรรมอาสาในโรงพยาบาล หรือ คลินิก ให้ครบตามชั่วโมงเพื่อยื่นแนบไปในผลงาน แต่พี่คิดว่าถ้าน้องจะเข้าสายแพทย์ การได้ลองไปฝึกงานก่อนก็อาจทำให้เราเรียนรู้ ได้ความรู้ดี ๆ และมีประสบการณ์ไปพูดในรอบสัมภาษณ์ได้ด้วยค่ะ

Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here

Q : กิจกรรมอะไรใน Portfolio สายแพทย์ที่ควรต้องเน้น

A : หลัก ๆ แล้วคือต้องทำให้มันสมดุลกันทั้ง 3 ด้านเลยค่ะ ด้านการเรียน ผลงานกิจกรรม และด้านคุณธรรม อย่างอาจารย์หมอที่สัมภาษณ์ ท่านก็พูดตลอดว่า เราไม่ได้ต้องการคนที่เก่งที่สุด แต่เราต้องการคนที่มีคุณธรรม เป็นคนดี พร้อมที่จะช่วยเหลือคนอื่นเสมอ

Q : ตอนสอบสัมภาษณ์เป็นอย่างไรบ้าง คำถามประมาณไหนเอ่ย

A : ในโครงการนี้จะมีการสัมภาษณ์ทั้งหมด 3 วัน วันแรกเป็นการสอบ แบ่งเป็นช่วงเช้าเป็นการสอบข้อเขียนที่มีหัวข้อมาให้ เช่น เราเคยทำอะไรมาบ้าง มีประสบการณ์ยังไงบ้าง ช่วงบ่ายจะเป็นข้อสอบด้านคุณธรรม เป็นบทความภาษาอังกฤษเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ อารมณ์คล้าย ๆ พาร์ทเชาว์ปัญญาค่ะ

วันที่ 2 ก็จะเป็นการสัมภาษณ์แบบรายบุคคล คำถามไม่ยากมากค่ะ อาจมีการยกตัวอย่างสถานการณ์มาให้เช่น ถ้าเพื่อนเราไม่ฉีดวัคซีน เรามีความคิดเห็นยังไงบ้าง จะแนะนำเพื่อนให้ไปฉีดไหม ซึ่งเราก็ต้องอธิบายในมุมมองของเราให้อาจารย์หมอฟังค่ะ

ส่วนวันที่ 3 จะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับตัวเราล้วน ๆ คำถามประมาณว่า ทำถึงอยากมาเป็นหมอ หมอเรียนหนักนะ จะเรียนได้ไหม เรียนไหวหรือเปล่า

Q : ช่วยแชร์เทคนิคในการเรียนดี จนติดหมอหน่อยสิ

A : เทคนิคคือเนื้อหาทุกบทของม.ปลาย ควรเก็บให้ครบทุกวิชาตั้งแต่ ม.5 เทอม 2 จนพื้นฐานแน่น ต่อมาพอม. 6 ก็เริ่มฝึกฝนทำโจทย์ อาจวางแผนอ่านวิชาที่เราชอบก่อน แล้วก็ไล่ไปเก็บวิชาที่เราไม่ถนัด สลับกันอ่านบ้างจะทำให้เราอ่านได้นานขึ้น ไม่เบื่อด้วยค่ะ อย่างพี่ลงเรียนคอร์สที่ WE ก็ช่วยให้จำได้มากขึ้น เนื้อหาฟิสิกส์ กับวิชาคณิตศาสตร์ก็สรุปครบ พี่ ๆ ชอบมีเรื่องเล่ามาให้คลายเครียดตลอด ทำให้เรียนสนุกมาก ขอบคุณพี่ ๆ ติวเตอร์ทุกคนจริง ๆ ค่ะ

Q : ฝากถึงน้อง ๆ รุ่นต่อไปที่อยากยื่นรอบ Portfolio หน่อย

A : ถ้าเรามีใจรักที่จะเป็นหมอ ต้องการทำมันจริง ๆ ไม่ว่ามันจะยากแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ พยายามจริง ๆ จนถึงที่สุด พี่เชื่อว่าน้อง ๆ ทุกคนสามารถทำมันได้ค่ะ

ก็จบไปแล้วกับตัวอย่าง Portfolio ของรุ่นพี่ WE ทั้ง 3 คน ที่พี่วีวี่รวมผลงานและเกียรติบัตรที่เกี่ยวข้องมาให้ครบจบของสายแพทย์ ทั้งคณะแพทยศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ ของแต่ละโครงการที่น่าสนใจ ให้น้อง ๆ ดูเป็นตัวอย่าง และนำไปประยุกต์ใช้กับคณะที่จะยื่นเข้าได้ แต่ไม่อนุญาตให้นำไปดัดแปลง หรือเผยแพร่ที่อื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานโดยตรงนะคะ

อีกไม่นานก็จะใกล้ยื่นรอบ Portfolio รอบ 1 TCAS66 แล้ว พี่วีวี่ก็ขอให้น้อง ๆ วางแผนเตรียมผลงานให้ตรงตามเกณฑ์รูปแบบโครงการที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด ถ้าน้องคนไหนที่ยังไม่เริ่มวางแผน ก็ต้องเริ่มเก็บผลงานได้แล้วนะคะ ขอให้น้องทุกคนโชคดีพิชิตคณะที่ตัวเองต้องการ เป็นว่าที่นิสิตในมหาวิทยาลัยที่ฝันให้ได้นะคะสู้ ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ