อยากเป็นหมอ #dek68 เตรียมยังไงให้ Success เริ่มยังไงให้ถึงฝัน คณะแพทยศาสตร์

อยากเป็นหมอ เตรียมให้ Success เริ่มให้ถึงฝัน คณะแพทยศาสตร์

     แพทย์ หรือ หมอ นับเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น้อง ๆ หลายคนใฝ่ฝันอยากเข้าเรียน อยากเป็นหมอ และจบออกมาประกอบอาชีพนี้

     พี่วีวี่เคยได้สัมภาษณ์น้อง ๆ ลูกศิษย์ WE ที่อยากเป็นหมอ อยากเข้าเรียนต่อในคณะแพทย์หรือคณะสายสุขภาพ มีหลายคนที่มีแรงบันดาลใจอยากจะสอบแพทย์ตั้งแต่ยังเด็ก ด้วยความที่อยากจะดูแลคนที่รัก หรืออยากช่วยเหลือสังคม

     หรือบางคนอาจจะเลือกเรียนสายนี้เพราะทางบ้านปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก มีญาติหรือมีคุณพ่อคุณแม่ ประกอบอาชีพสายแพทย์อยู่ ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากจะเป็นแบบท่าน แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม การสอบติดคณะแพทย์หรือคณะสายสุขภาพได้นั้นไม่เคยมีคำว่าง่ายเลย

ความหมายของ แพทย-, แพทย์ หมายถึง น. หมอรักษาโรค

“อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย
ถ้าใครอยากร่ำรวย ก็ควรประกอบอาชีพอื่น”

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

      พี่วีวี่เชื่อว่าน้อง ๆ ที่เข้ามาอ่านบทความนี้ คงมีเป้าหมายอยากจะเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์หรือคณะสายสุขภาพ และคงกำลังหาข้อมูลหรือแนวทางการเตรียมตัวให้ถึงฝันกันอยู่แน่ ๆ

      สำหรับคนที่อยากเป็นหมอแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงดี วันนี้พี่วีวี่จะมาไกด์ แนวทางการเตรียมตัวสอบหมอ ว่าต้องเตรียมตัวยังไง สอบวิชาอะไรบ้าง และรวมข้อมูลสำคัญที่น้อง ๆ ทีมหมอควรทราบ จะได้เตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย

สนใจหัวข้อไหน คลิกอ่านเลย

อยากเป็นหมอต้องรู้ กสพท คืออะไร?

อยากเป็นหมอต้องรู้ กสพท คืออะไร?

      กสพท ที่น้อง ๆ เคยได้ยินกันคุ้นหูหรือเรียกจนติดปาก คือชื่อย่อของ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นหน่วยกลางที่ได้รับมอบอำนาจจากคณะ / วิทยาลัย / สำนักวิชาแพทยศาสตร์ 19 สถาบัน, คณะ / สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ 14 สถาบัน, คณะสัตวแพทยศาสตร์ 11 สถาบัน และคณะเภสัชศาสตร์ 14 สถาบัน ซึ่งเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อใน 4 คณะตามนี้

  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
  • หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
  • หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
  • หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต

      นอกจากนี้ กสพท ยังมีหน้าที่ดำเนินการจัดสอบในสนาม TPAT1 (วิชาเฉพาะ กสพท) ของทุก ๆ ปีด้วยนั่นเอง

อยากเป็นหมอ! คุณสมบัติแบบไหน / แผนการเรียนอะไร สมัครสอบ กสพท ได้บ้าง?

      Dek68 คนไหนที่ใฝ่ฝันอยากเป็นหมอ และอยากเตรียมความพร้อมล่วงหน้าตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่ให้พลาดคณะแพทย์หรือคณะสายสุขภาพ พี่วีวี่ก็ได้รวบรวมข้อมูลที่เหล่าว่าที่คุณหมอต้องรู้มาฝากกัน โดยอ้างอิงจาก ประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2567 ค่ะ

      (ทั้งนี้หากมีประกาศการรับสมัคร กสพท ปีการศึกษา 2568 ออกมาเมื่อไหร่ พี่วีวี่จะรีบนำมาอัปเดตกับน้อง ๆ ก่อนใครเลยนะ 🤩)

อยากเป็นหมอ ต้องเช็ก หลักสูตรและแผนการเรียนที่สมัครสอบ กสพท ได้

      น้อง ๆ ที่อยากเป็นหมอ อยากสอบแพทย์ และต้องการสมัครสอบ กสพท จะต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า รวมถึงเด็กซิ่ว, กศน., ปวช. หรือจบ ป.ตรี ก็สามารถสมัครคณะแพทย์ได้เช่นกัน (ดูรายละเอียดคุณสมบัติเพิ่มเติม คลิกเลย!!)

      และในปีที่ผ่านมา กสพท ได้เพิ่มเกณฑ์การสมัครใน หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ให้น้อง ๆ ทุกแผนการเรียนทั้งสายวิทย์และสายศิลป์สามารถสมัครสอบได้ด้วยนะ

อยากสอบแพทย์ให้ติดรอบ กสพท (รอบที่ 3 : Admission) ต้องสอบอะไรบ้าง?

Timeline กำหนดการสอบ TPAT1 (วิชาเฉพาะ กสพท) และ A-Level สำหรับคน อยากเป็นหมอ

      คราวนี้พี่วีวี่จะพาน้อง ๆ มาเจาะลึก!! ถึงวิชาที่คนอยากเป็นหมอต้องสอบและเป้าหมายคะแนนเบื้องต้น ที่จะช่วยให้น้อง ๆ สอบติด กสพท รอบที่ 3 หรือรอบ Admission ได้อย่างที่ต้องการ ซึ่ง ประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) ในปีการศึกษา 2567 นี้ เปิดรับรวม 2,411 คน

      โดยคะแนนที่ใช้ยื่นในรอบ กสพท จะมีการ คิดคะแนนจากข้อสอบ 2 สนามคือ TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท และ A-Level ในสัดส่วนที่แตกต่างกันตามนี้เลย

สัดส่วนคะแนน TPAT1 และ A-Level ที่ใช้ยื่นรอบ กสพท (รอบที่ 3 : Admission)

อยากเป็นหมอ อยากสอบติด กสพท รอบที่ 3 : Admission ต้องสอบอะไรบ้าง

หมายเหตุ : อ้างอิงตามประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ฉบับที่ 5 เรื่องการสอบ TPAT1 (วิชาเฉพาะ กสพท) ปีการศึกษา 2567 พบว่าข้อสอบฉบับที่ 1 มีข้อสอบจำนวน 11 ข้อ จาก 45 ข้อ ที่มีเนื้อหาตรงกับข้อสอบเก่า ๆ ของ BMAT จึงมีมติให้ตัดข้อสอบฉบับที่ 1 ออก และคิดคะแนนเฉพาะในฉบับที่ 2 และ 3 คะแนนรวม 200 คะแนน หรือ 20% เพื่อนำไปรวมกับ A-Level อีก 70%

คะแนน TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท คิดเป็น 30% (สอบช่วงเดือนธันวาคม)

      วิชาแรกที่น้อง ๆ ว่าที่คุณหมอที่เตรียมสอบแพทย์ทุกคนจะต้องเจอก็คือ TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท หรือที่ติดปากเรียกกันว่า ความถนัดแพทย์ นั่นเอง สำหรับข้อสอบความถนัดแพทย์จะถูกแบ่งออกเป็น 3 พาร์ต ได้แก่ พาร์ตเชาวน์ปัญญา, พาร์ตจริยธรรม และพาร์ตเชื่อมโยง ซึ่งแต่ละพาร์ตคะแนนเต็ม 100 คะแนน รวมทั้ง 3 พาร์ตเท่ากับ 300 คะแนน

      พี่วีวี่แนะนำน้อง ๆ ว่าคะแนนข้อสอบ TPAT1 ความถนัดแพทย์นี้สำคัญมาก ๆ สำหรับคนอยากเป็นหมอ เพราะกินเปอร์เซ็นต์ถึง 30% ดังนั้นเพื่อความอุ่นใจ น้องควรตั้งเป้าหมายและทำให้ได้ 190 คะแนนขึ้นไป (อันนี้พี่วีวี่แอบถามรุ่นพี่เด็ก WE มานะน้อง ๆ)

ข้อสอบ TPAT1 แต่ละพาร์ต ออกอะไรบ้าง?

Part 1 เชาว์ปัญญา (100 คะแนน)

      พาร์ตเชาว์ปัญญาเป็นพาร์ตตัวช่วยเก็บคะแนน แต่ต้องระวังให้ดี!! น้อง ๆ ที่คำนวณช้าหรือเตรียมตัวไม่พร้อม อาจเสียเวลาในพาร์ตนี้นาน เป็นพาร์ตที่ต้องเน้นความเร็ว ใช้ตรรกะและการคำนวณเป็นหลัก เรียกง่าย ๆ คือการวัด IQ ทักษะทางคณิตศาสตร์ อนุกรม มิติสัมพันธ์ของภาพที่หายไป

      รวมถึงแนวโจทย์ที่ต้องตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลจากเงื่อนไขหรือข้อมูลที่โจทย์กำหนดให้ หรือให้มาในรูปแบบบทความสั้น ๆ ที่ต้องอ่านจับใจความและเลือกคำตอบที่ถูกต้อง แนวข้อสอบของพาร์ตเชาว์ปัญญา น้องสามารถฝึกเพิ่มจากข้อสอบ BMAT ได้เช่นกัน

Part 2 จริยธรรมทางการแพทย์ (100 คะแนน)

      พาร์ตจริยธรรมทางการแพทย์นี้ น้อง ๆ ที่อยากเป็นหมอต้องให้ความสำคัญมาก ๆ เพราะเป็นพาร์ตที่ประเมินแนวคิดทางจริยธรรม

      โดยแนวโจทย์จะเน้น TOPIC จริยธรรม & เรื่องเฉพาะทางการแพทย์ที่เราไม่เคยเรียนให้ห้องเรียนมาก่อน ขนมาให้น้อง ๆ แสดงความคิดเห็น แก้ปัญหาให้สมเหตุสมผลและเหมาะสมที่สุด ในสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้นมา รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงความถูกต้องทางกฎหมาย สังคม และจรรยาบรรณแพทย์อีกด้วย

Part 3 ทักษะการเชื่อมโยง (100 คะแนน)

      พาร์ตความคิดเชื่อมโยงจะทดสอบการวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความข้อมูล แปลงรหัสคำตอบอย่างมีขั้นตอน โดยจะใช้การคิดวิเคราะห์ที่ซับซ้อน ข้อสอบจะมีบทความซึ่งเป็นสถานการณ์สมมุติ หรือข่าวสารปัจจุบันที่น่าสนใจมาให้น้องลองตีโจทย์ และหาคำตอบที่ถูกต้องนั่นเอง

อยากเป็นหมอ ต้องรู้ สอบ กสพท ต้องใช้สัดส่วนคะแนนอะไรบ้าง

คะแนน A-Level 7 วิชา คิดเป็น 70% (สอบช่วงเดือนมีนาคม ของปีถัดไป)

      สนามต่อมาที่น้อง ๆ ว่าที่นักเรียนแพทย์ทุกคนต้องสอบก็คือ สนาม A-Level หรือ Applied Knowledge Level ข้อสอบในสนามนี้จะเป็นข้อสอบที่วัดความรู้เชิงประยุกต์ ซึ่งน้อง ๆ ต้องสอบและเก็บคะแนนทั้งหมดถึง 7 วิชาด้วยกัน ได้แก่ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย และสังคมศึกษา ซึ่งคะแนน A-Level แต่ละวิชาคิดเป็นสัดส่วนดังนี้

      โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือน้อง ๆ ต้องสอบได้คะแนนไม่น้อยกว่า 30% ของคะแนนเต็มในแต่ละวิชาก่อน จึงจะนำคะแนนที่ได้เหล่านั้นมาคิดตามสัดส่วนเป็นคะแนนที่ใช้ประกอบในการยื่นรอบ กสพท

      คิด ๆ ดูแล้วไม่ง่ายเลยกับการเตรียมสอบ A-Level ทั้ง 7 วิชา แต่พี่วีวี่เชื่อว่าน้อง ๆ ศิษย์สำนักช้างน้อยทุกคนมีวินัย มีความขยันอดทน และสามารถทำตามความฝันสอบติดแพทย์ได้แน่ ๆ (พี่ ๆ ขอเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนนะ)

      น้องจะเห็นแล้วว่าวิชาที่ต้องใช้คะแนนในการยื่นรอบ กสพท มีหลายวิชาที่ต้องสอบ (รวม ๆ กัน 10 วิชา 😂) แถมบางวิชาเราก็ยังไม่เคยเจอในบทเรียนมาก่อน ดังนั้นการวางแผนที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการพิชิตสนามสอบแพทย์ครั้งนี้

เตรียมตัวยังไงให้ Success เริ่มต้นยังไงให้ถึงฝัน สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเป็นหมอ

      ถ้าน้อง ๆ อ่านมาถึงตอนนี้ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นยังไง พี่วีวี่จะมาไกด์ให้ฟัง…

      เมื่อน้องรู้ตัวรู้ใจแล้ว การเตรียมตัวเร็วย่อมได้เปรียบ ถ้าคณะแพทย์คือคณะที่ใฝ่ฝันสูงสุด อยากสอบแพทย์เพราะหมอคืออาชีพที่อยากจะทำมากที่สุด เตรียมตัวเตรียมใจมาพร้อมแล้วว่าอีก 6 ปีต่อจากนี้ต้องเจออะไรบ้าง งั้นใส่ให้สุดไปเลยค่ะน้อง ๆ

วิธีเตรียมตัวสอบแพทย์ให้สำเร็จ สำหรับคนอยากเป็นหมอ

1. รู้ว่าต้องสอบวิชาไหนบ้าง สัดส่วนคะแนนเป็นยังไง

      ขั้นแรกพี่วีวี่อยากให้น้องมองภาพกว้าง ๆ ก่อน ลองเช็กดูว่าวิชาไหนสำคัญ วิชาไหนสอบก่อน และเรียงลำดับความสำคัญของวิชาที่ต้องใช้คะแนนให้ดี

      เช่น รู้แล้วว่า TPAT1 จะสอบก่อน A-Level แต่ A-Level ต้องสอบถึง 7 วิชา และพอคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วคะแนนรวมสูงถึง 70% นั่นก็แสดงว่าน้อง ๆ เตรียมตัวแค่สนามสอบอันใดอันหนึ่งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเตรียมสอบทั้งสองสนามแบบควบคู่กันไป

2. จัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝัน และตั้งเป้าคะแนนที่คาดหวัง

      สิ่งต่อมาที่น้อง ๆ ที่เตรียมสอบแพทย์ต้องทำ คือการวางแผนและกำหนดเป้าหมายว่ามหาวิทยาลัยไหนที่ใฝ่ฝันสูงที่สุด อยากจะเข้าเรียนที่ไหนมากที่สุด เพื่อตั้งเป้าหมายคะแนนและทำให้ถึงเป้า (น้องสามารถคลิกเข้าไปดู สถิติคะแนนสอบ กสพท ได้เลยนะคะ) เมื่อมีเป้าหมายและแผนแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องรับผิดชอบต่อแผนที่เราวางไว้ด้วยนะน้อง

      ซึ่งแผนการที่ดีจะนำไปสู่เป้าหมายที่สำเร็จ และเป้าหมายที่สำเร็จย่อมเกิดจากการปฎิบัติตามแผนการที่ดี นั่นก็แสดงว่าน้อง ๆ วางแผนแล้วก็ต้องทำตามแผนที่วางไว้ด้วย

      แต่ไม่ต้องตึงมากจนเกินไป หย่อนได้บ้าง อย่าลืมให้กำลังใจตัวเองเสมอ (กอด ๆ 🥰) หรือหากำลังใจจากคนรอบข้างด้วย (พี่วีวี่แล้วหนึ่ง 🥰) ที่สำคัญควรแบ่งเวลาให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะร่างกายและสมองที่ล้า ย่อมไม่ส่งผลดีต่อการเรียนและการอ่านหนังสือของเราแน่ ๆ

3. ติวสอบแพทย์ต้องอ่านตำราควบคู่กับการฝึกทำโจทย์

      ถ้าอยากติวสอบแพทย์ให้สำเร็จ น้องต้องอ่านทบทวนเนื้อหาควบคู่ไปกับการทำโจทย์เสมอ เพราะการอ่านตำราเพียงอย่างเดียว ไม่อาจทำให้เราประสบความสำเร็จในสนามสอบได้ ถึงแม้น้องจะจำได้ทุกสูตร จำเนื้อหาได้ทุกเรื่องที่อ่านไป แต่ถ้าไม่เคยนำออกมาใช้ลงมือทำโจทย์ เมื่อต้องใช้จริงในสนามสอบอาจทำให้เราติดขัดได้

      ดังนั้นก่อนสอบจริงต้องฝึกฝนทำโจทย์เยอะ ๆ นำความรู้ที่ได้จากการอ่านหรือที่เรียนมาเอามาใช้ให้คล่อง ยิ่งทำโจทย์เยอะก็จะยิ่งเข้าใจ และมีความมั่นใจในวันสอบมากยิ่งขึ้น

      แต่ถ้าข้อไหนที่น้องทำไม่ได้ ทำแล้วติด หรือทำผิด ก็ไม่ต้องตกใจไปนะ น้องสามารถแอบดูเฉลยเพื่อเช็กว่าเราหลุดตรงไหนไป อะไรที่ยังไม่แม่นก็จดโน้ตเอาไว้กลับมาทบทวน น้อง ๆ จะไม่พลาดในวันสอบอย่างแน่นอน

4. เรียนพิเศษเสริมความมั่นใจและเพิ่มโอกาสสอบติดแพทย์

      หาตัวช่วยเสริมความมั่นใจด้วยการเรียนพิเศษ พี่วีวี่บอกเลยว่าการเรียนพิเศษเพิ่มมีข้อดีหลายอย่าง เพราะเนื้อหาวิชาที่น้อง ๆ ต้องใช้สอบแพทย์นั้นมีหลายวิชา หากทบทวนด้วยตัวเองอาจจะไม่ทัน การเรียนเสริมจึงตอบโจทย์ช่วยลดเวลาการทบทวนของน้องลงได้ นอกจากนี้การเรียนพิเศษติวสอบแพทย์ ยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะเสริมความมั่นใจก่อนเข้าสอบให้กับน้อง ๆ

      และที่สำคัญการเรียนพิเศษจะทำให้น้องได้เห็นแนวโจทย์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งข้อสอบเก่าและข้อสอบเก็ง ที่มีระดับความยากใกล้เคียงกับข้อสอบจริง รวมถึงการเสริมเทคนิคที่มีประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องสอบด้วยนะ

      สุดท้ายนี้พี่วีวี่อยากจะฝากน้อง ๆ ที่เตรียมสอบแพทย์ทุกคนไว้ว่า คู่แข่งคนสำคัญไม่ใช่คนที่นั่งสอบอยู่โต๊ะข้าง ๆ เรา แต่มันคือ “ตัวเราเอง” เพราะตัวเราเท่านั้นคือผู้ที่กำหนดอนาคตของเราได้ เมื่อเป้าหมายของน้องชัดเจนว่าอยากเป็นหมอ ก็ขอให้น้องทำมันให้เต็มที่ สุดความสามารถ พุ่งไปยังเป้าหมายที่น้องวางไว้ให้สำเร็จ

      ส่วนด้านล่างนี้เป็นแผน Timeline คร่าว ๆ สำหรับการเตรียมตัวให้พร้อมสอบเข้าคณะแพทย์และคณะสายสุขภาพที่พี่วีวี่นำมาแชร์กันวันนี้ ขอให้น้อง ๆ โชคดี สอบติดแพทย์อย่างที่ฝันกันทุกคนนะคะ 💙

อยากเป็นหมอ! Timeline วางแผนเข้าคณะแพทย์ (ระบบ กสพท)

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ