สำรวจกันหน่อย … คณะวิศวกรรมศาสตร์มีสาขาอะไรบ้างนะ ??? ตอนที่ 3

กวดวิชา- we-สาขาของคณะวิศวกรรม

หลังจากที่ได้รีวิวกันไปแล้ว ตอนที่ 1 (คลิกดูตอนที่ 1) และตอนที่ 2 (คลิกดูตอนที่ 2) มาต่อกันเถอะ
 11.สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ เกี่ยวข้องกับการผลิตแร่ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งเพื่อ นำมาใช้พัฒนาประเทศ โดยศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์  ธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์  ออกแบบ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ และ วิศวกรรมโยธา  การควบคุมการทำเหมืองแร่ การผลิตสินแร่  วัสดุศาสตร์  เทคโนโลยีปิโตรเลี่ยมและก๊าซธรรมชาติ (ISO 14001)
ตัวอย่างอาชีพ เช่น วิศวกรเหมืองแร่ ในการขุดหาถ่านหิน  ก๊าซธรรมชาติ  น้ำมัน  อัญมนีใต้พื้นดิน และใต้ทะเล  / วิศวกรผลิตและแปรรูปแร่ธาติต่างๆ  และ วิศวกรโลหะการ เป็นต้น
 12.สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม เกี่ยวข้องกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานในการพัฒนาประเทศ โดยศึกษาด้านธรณีวิทยา  ฟิสิกส์  มาประยุกต์ใช้กับความรู้วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเหมืองแร่  เพื่อการสำรวจและขุดเจาะแหล่งพลังงาน ที่อยู่ใต้พื้นดิน  คำนวณความคุ้มค่าในการขุดเจาะ ศึกษาด้านปิโตรเคมี  พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างอาชีพ เช่น วิศวกรปิโตรเลียม / วิศวกรแหล่งกักเก็บ / วิศวกรขุดเจาะ และ วิศวกรการผลิตเป็นต้น
13. วิศวกรรมปิโตรเคมีและวัสดุโพลิเมอร์ ศึกษาความรู้ด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การแปรรูปน้ำมัน ปิโตรเลี่ยม แก๊สธรรมชาติ  สินแร่  วัสดุศาสตร์  การจัดการและออกแบบอุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมีจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม  ออกแบบและพัฒนาวัสดุโพลิเมอร์
ตัวอย่างอาชีพ เช่น วิศวกรควบคุมการผลิตด้านปิโตรเคมี พลาสติก ยาง  สิ่งทอ สร้างเคลือบ กาวอุตสาหกรรมแปรรูปแป้ง และ  วิศวกรควบคุมคุณภาพระบบชลประทาน
14. สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม เกี่ยวข้องกับการวางแผน วิเคราะห์และควบคุมระบบการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรม และการบริหารทางธุรกิจ โดยเน้นหนักเรื่องการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการผลิต ศึกษาแก้ไขปัญหาการผลิต และปัญหาต่าง ๆ ของโรงงานอย่างมีระเบียบแบบแผน การวางแผนและการควบคุมการผลิต อีกทั้งทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างโรงงานกับฝ่ายบริหารด้วย
ตัวอย่างอาชีพ เช่น วิศวกรการผลิต / วิศวกรความปลอดภัย และ ผู้บริหารในสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรม เป็นต้น
 15.สาขาวิศวกรรมวัสดุ ศึกษาเกี่ยวกับความเข้าใจทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งมุ่งเน้นเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของวัสดุ ทั้งการใช้งานและการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้หลักสูตรได้ครอบคลุมวิชาหลักที่สำคัญ ๆ ได้แก่ โครงสร้าง สมบัติ กระบวนการ และสมรรถนะของวัสดุ เช่น การแพร่และจลศาสตร์ ปรากฎการณ์การถ่ายเท การจำแนกลักษณะเฉพาะทางโครงสร้างจุลภาคสมบัติทางกล และสมดุลของเฟส
ตัวอย่างอาชีพ เช่น วิศวกรด้านงานวิจัยและพัฒนาเพื่อคิดค้น หรือปรับปรุง วัสดุ ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิต และ วิศวกรกระบวนการ เป็นต้น 
อ้างอิงข้อมูลเกี่ยวกับวิศวะ :
http://www.act.ac.th
http://www.businessthaicenter.com
https://blog.eduzones.com
http://www.hotcourses.in.th
http://jobnorththailand.com
http://www.9engineer.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ