สำรวจกันหน่อย … คณะวิศวกรรมศาสตร์มีสาขาอะไรบ้างนะ ??? ตอนที่ 1

กวดวิชา-we-คณะวิศวกรรมศาสตร์-1

ถือเป็นประเด็นคำถามที่น้องวัยเรียนให้ความสนใจอย่างมากว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์(วิศวะ)มีสาขาอะไรให้เราเลือกเรียนได้บ้าง วิศวะแต่ละสาขาเรียนหนักแค่ไหน จบไปแล้วประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง วิศวะอะไรที่จบมาแล้วมีโอกาสหางานได้ทันที ทุกประเด็นถือเป็นเรื่องสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเส้นทางในอนาคตของน้องทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามครั้งนี้พี่ขออนุญาติไล่เรียงตอบเรื่องของสาขาก่อนนะคะ … เริ่มกันเลย
1.สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องมือหรือระบบคอมพิวเตอร์ และระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ เน้นศึกษาทางด้าน ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), และการสื่อสาร (Network) โดยจะมีทักษะด้านวิชาชีพด้านการวิเคราะห์ การออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่นำเอาความรู้ทางด้านระบบดิจิตอลมาประยุกต์ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ได้ ที่สำคัญตลาดแรงงานทั่วโลกมีความต้องการสายอาชีพนี้เป็นอย่างมากและเงินเดือนก็ค้อนข้างสูงอีกด้วย
ตัวอย่างอาชีพ เช่น  วิศวกรเครือข่ายคอมพิวเตอร์ / วิศวกรสื่อสารข้อมูล / วิศวกรซอฟต์แวร์ / ผู้บริหารระบบ / ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบ เป็นต้น
2. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี เกี่ยวข้องกับการออกแบบ จัดส่ง และกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน ปิโตรเคมี พลาสติก ยาง กระดาษ แก้ว เซรามิกส์ ปูนซิเมนต์ เส้นใย เครื่องอุปโภค บริโภค และสารเคมีพื้นฐาน เช่น กรด ด่าง แก๊ส สารละลาย เป็นต้น โดยศึกษาหลักการของกระบวนการผลิตต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนผสม สถานะ ภาวะ และลักษณะสมบัติของวัตถุดิบไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามต้องการอย่างปลอดภัย และประหยัด
ตัวอย่างอาชีพ เช่น วิศวกรวิจัยและพัฒนา / วิศวกรออกแบบกระบวนการ / วิศวกรโครงการ / วิศวกรห้องควบคุมการผลิต / วิศวกรเทคนิค เป็นต้น
3. สาขาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นสาขาที่รวมเอาคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและวัสดุศาสตร์ไว้ด้วยกัน เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกแบบและการผลิตระบบเครื่องกลทุกแขนง รวมไปถึงการซ่อมบำรุงด้วย โดยจะเน้นการผสมผสานของทฤษฎีและการปฏิบัติ ทั้งทักษะการวิเคราะห์ ออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรและสิ่งประดิษฐ์ ออกแบบแปลนการติดตั้ง ควบคุมการใช้งาน ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรกลต่างๆ โดยเป็นอาชีพที่ต้องการอย่างมากในภาคอุตสาหกรรมหนักมากมาย
ตัวอย่างอาชีพ เช่น วิศวกรเครื่องกล กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ / เรือ / รถยนต์ / อากาศยาน /หม้อน้ำและอุปกรณ์ / การบำรุงรักษา ฯลฯ รวมถึง วิศวกรการผลิต และ นักออกแบบระบบท่อ เป็นต้น
4. สาขาวิศวกรรมยานยนต์ เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีพื้นฐานความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลมาประยุกต์ใช้ในด้านการออกแบบและด้านการผลิต มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการผลิต และรู้จักการใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ทันสมัยอย่างมีประสิทธิภาพและรองรับความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปัจจุบันที่มีอยู่มากมาย
ตัวอย่างอาชีพ เช่น วิศวกรยานยนต์ / นักวิจัยวิจัยยานยนต์ / นักออกแบบยานยนต์ เป็นต้น
5. สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า การวิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์และระบบไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อีเล็กทรอนิคส์และระบบควบคุม โดยเน้นหนักด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ความเชื่อถือได้ ความปลอดภัย ความประหยัดของสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว และเกี่ยวกับการใช้งาน การตรวจสอบวัสดุสิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์ ระบบดังกล่าวด้วย
ตัวอย่างอาชีพ เช่น วิศวกรไฟฟ้า / วิศวกรไฟฟ้าระบบวัดคุม / วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ / วิศวกรการออกแบบและผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า  และ  วิศวกรโทรคมนาคม

อ้างอิงข้อมูลเกี่ยวกับวิศวะ :
http://www.act.ac.th
http://www.businessthaicenter.com
https://blog.eduzones.com
http://www.hotcourses.in.th
http://jobnorththailand.com
http://www.9engineer.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ