เมื่อพูดถึง “สาขาจุลชีววิทยา” เชื่อว่าคงเป็นสาขาในฝันของน้อง ๆ หลายคนที่สนใจเข้าเรียนในคณะทางสายวิทยาศาสตร์ วันนี้พี่วีวี่เลยจะพาน้อง ๆ มาทำความรู้จักกับสาขานี้ให้มากยิ่งขึ้น และไขข้อข้องใจในบางประเด็นที่น้อง ๆ ยังสับสนอยู่ให้กระจ่าง น้อง ๆ คงอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะ งั้นเราไปดูกันเลย
จุลชีววิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก (จุลินทรีย์) ทั้งที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
- จุลินทรีย์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น เห็ด รา
- จุลินทรีย์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แบคทีเรีย โปรโตซัว
โดยจะศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในด้านต่าง ๆ เช่น บทบาทของจุลินทรีย์ การนำจุลินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
จุลชีววิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก (จุลินทรีย์) ทั้งที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
- จุลินทรีย์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น เห็ด รา
- จุลินทรีย์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แบคทีเรีย โปรโตซัว
โดยจะศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในด้านต่าง ๆ เช่น บทบาทของจุลินทรีย์ การนำจุลินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ทั้งสองสาขานี้จะอยู่ในกลุ่มการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยที่สาขาชีววิทยาจะเน้นไปที่การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ระดับเซลล์ ไปจนถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเลย เรียกได้ว่าเนื้อหาจะค่อนข้างกว้างกว่า
ส่วนสาขาจุลชีววิทยาจะเฉพาะทางมากขึ้น เพราะเป็นแขนงหนึ่งของชีววิทยาโดยจะเน้นไปที่การศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ (Microorganism) ในด้านต่าง ๆ เป็นหลัก
คำถามยอดฮิตที่ใคร ๆ ก็อยากรู้ “จบมาแล้วทำงานอะไร”
ถ้าอยากเข้า “สาขาจุลชีววิทยา” ต้องเตรียมตัวอย่างไร
การเตรียมตัวเพื่อเข้าเรียนในสาขาจุลชีววิทยาของระบบ TCAS นี้ ให้น้อง ๆ เริ่มต้นจากศึกษาเกณฑ์ที่ใช้ในการรับของมหาวิทยาลัยที่อยากเข้าว่า เปิดรับ “สาขาจุลชีววิทยา” ในรอบไหนแล้วใช้เกณฑ์อะไรบ้าง จะได้วางแผนการอ่านหนังสือ และเตรียมตัวสอบได้อย่างเหมาะสม คราวนี้เรามาลองดูตัวอย่างเกณฑ์การรับในระบบ TCAS 61 ของสาขาจุลชีววิทยากันดีกว่าว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ตัวอย่าง รอบที่ 2
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คณะวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยา
โครงการคัดเลือกตรง มจธ. รักษาธรรม เพิ่มโอกาสทางศึกษา (สำหรับนักเรียนการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย หรือการศึกษาทางเลือก)
วุฒิที่ใช้สมัคร
ม.6 สายการเรียน วิทย์-คณิต เท่านั้น
เกณฑ์การรับสมัคร
ผลการเรียนที่ใช้สมัคร | ผลการเรียน 6 ภาคการศึกษา |
GPAX | ไม่ต่่ากว่า 2.75 |
GPA คณิตศาสตร์ | ไม่ต่่ากว่า 2.50 |
GPA วิทยาศาสตร์ | ไม่ต่่ากว่า 3.00 |
GPA ภาษาต่างประเทศ | ไม่ต่่ากว่า 2.50 |
GAT ตอนที่ 1 | ไม่กำหนดขั้นต่ำ |
GAT ตอนที่ 2 | ไม่กำหนดขั้นต่ำ |
PAT 1 | ไม่กำหนดขั้นต่ำ |
PAT 2 | ไม่กำหนดขั้นต่ำ |
เกณฑ์การเรียกสอบคัดเลือก
GPAX GPA คณิตศาสตร์ GPA วิทยาศาสตร์ GPA ภาษาต่างประเทศ |
รวมค่าน้ำหนัก 10 % |
คะแนน GAT ตอนที่ 1 คะแนน GAT ตอนที่ 2 |
รวมค่าน้ำหนัก 20 % |
คะแนน PAT 1 | มีค่าน้ำหนัก 20 % |
คะแนน PAT 2 | มีค่าน้ำหนัก 50 % |
เกณฑ์การรับเข้าศึกษา
สอบสัมภาษณ์มีค่าน้ำหนัก 100 %
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
* โปรดติดตามการอัปเดตข้อมูลจากคณะ / มหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง รอบที่ 3
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยา
เกณฑ์ | ค่าน้ำหนัก (%) |
GAT | 20 |
คณิตศาสตร์ 1 วิชาสามัญ | 20 |
เคมี วิชาสามัญ | 20 |
ชีววิทยา วิชาสามัญ | 20 |
ฟิสิกส์ วิชาสามัญ | 20 |
* เกณฑ์คะแนนรวมขั้นต่ำทุกวิชา 40 %
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
* โปรดติดตามการอัปเดตข้อมูลจากคณะ / มหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง
นี่เป็นแค่ตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้นนะคะ ให้น้อง ๆ เตรียมตัวเอาไว้ให้ดี เพราะยังมีอีกหลายโครงการที่เปิดรับในรอบต่าง ๆ ของ TCAS แล้วที่สำคัญก็ต้องติดตามข่าวสารอยู่เสมอด้วยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
– academic.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=7839
– www.scimath.org/lesson-biology/item/7047-microbiology
– www.micro.sc.chula.ac.th/index.php/th/
– www1.science.cmu.ac.th/grade12.html
– www.microbiology.rbru.ac.th/microbiology/Curriculum.html
– web.sc.chula.ac.th/faculty-detail.php?id=7