สำรวจเส้นทางสู่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระบบ TCAS 5 รอบ

เส้นทาง-แพทย์-จุฬา-tcas

สวัสดีค่ะน้อง ๆ ทุกคน เหลืออีกไม่ถึง 6 เดือนแล้ว สำหรับ DEK 63 ที่จะต้องสอบในสนามต่าง ๆ เพื่อยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัย หลังจากที่พี่วีวี่ได้พาน้อง ๆ ไปสำรวจ  เส้นทางสู่สาขาบัญชีในระบบ TCAS ไปแล้ว วันนี้เราก็จะมาต่อกันที่การสำรวจเส้นทางสู่คณะแพทยศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระบบ TCAS 5 รอบ โดยปกติแล้ว การสอบเข้าคณะแพทย์ จุฬาฯ จะเปิดรับด้วยกันสามรอบ คือ รอบที่ 1, 2 และรอบที่ 3 กสพท ซึ่งแต่ละรอบก็จะมีเกณฑ์การพิจารณาและคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างกันไป

เนื่องจากระเบียบการ ปี 2563 ทั้ง 5 รอบยังไม่มา การสำรวจเส้นทางสู่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พี่วีวี่จึงใช้ระเบียบการปี 2562 แทนซึ่งเป็นปีล่าสุดในการสอบเข้า ถ้าระเบียบการปี 2563 มาแล้ว พี่วีวี่จะคอยอัปเดตกำหนดการให้อีกทีนะคะ

กำหนดการ TCAS ปี 63

กำหนดการคัดเลือก-5-รอบ-TCAS

รอบที่ 1 การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน

รอบที่ 1 การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน เปิดรับทั้งหมด 18 คน
คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 หรือเป็นเด็กซิ่วไม่เกิน 1 ปี / Grade 12 ตามระบบอเมริกัน / Year13 ตามระบบอังกฤษ
  2. GPAX 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50
  3. มีผลคะแนนสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ TOEFL (Internet-based) ไม่ต่ำกว่า 100 หรือ IELTS (Academic) ไม่ต่ำกว่า 7.0 หรือ CU-TEP & Speaking ไม่ต่ำกว่า 110

โดยสามารถใช้คะแนนย้อนหลังได้ไม่เกิน 2 ปี
 
เกณฑ์การคัดเลือก
1. รอบแรก

  • ใช้ผลคะแนนสอบ BMAT ที่สอบในปี 2561 เท่านั้น โดยเรียงลำดับตามคะแนนรวมจากมากไปหาน้อย ดังนี้

1.1  Section 1 Aptitude and Skills 40%
1.2 Section 2 Scientific Knowledge and Applications 40%
1.3 Section 3 Writing Task 20%
2. รอบสอง (ประกาศผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ไม่เกิน 40 คน)
สอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการอย่างน้อย 4 ท่าน เกณฑ์การคัดเลือกจะใช้คะแนนสอบสัมภาษณ์ร่วมกับความสามารถพิเศษหรือรางวัลที่ได้รับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในด้านจิตสาธารณะ การวิจัย หรือกิจกรรมวิชาการอื่น ๆ (แฟ้มสะสมผลงาน)

รอบที่ 2 การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติ

รอบที่ 2 การรับแบบโควตา เปิดรับด้วยกัน 3 โครงการ รวม 83 คน

1. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน

จำนวนรับ 78 คน ได้แก่ ชลบุรี 20 คน, ระยอง 12 คน, จันทบุรี 5 คน, ตราด 6 คน, สมุทรปราการ 2 คน, นครนายก 10 คน, อยุธยา 17 คน, สมุทรสงคราม 4 คน, สมุทรสาคร 2 คน
คุณสมบัติผู้สมัคร

    1. อยู่ในพื้นที่การรับสมัครของโครงการฯ ใน 9 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก อยุธยา สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร โดยผู้สมัครและบิดาหรือมารดา มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่สมัครไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องเคยศึกษาชั้น ม.1-3 หรือ กำลังศึกษา ม.ปลาย ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใน 9 จังหวัดข้างต้น
    2. กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 หรือ เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีที่ 2 ของโครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

 


2. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ

จำนวนรับ 2 คน
คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. อยู่ในพื้นที่การรับสมัครของโครงการฯ คือ จังหวัดตราด
  2. กำลังศึกษาชั้น ม.6 อยู่ในจังหวัดตราด และต้องศึกษาชั้น ม.ปลาย (ม.4-6) ในจังหวัดตราด
  3. ผู้สมัครและบิดาหรือมารดา มีภูมิลำเนาในจังหวัดตราด ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี

 


3. โครงการโอลิมปิกวิชาการ (ชีววิทยา)

จำนวนรับ 3 คน
คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. ผ่านการแข่งขันระดับชาติวิชาชีววิทยาของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ (สอวน.) ที่ส่งเข้าค่ายอบรมของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในโครงการจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ และได้รับเกียรติบัตรจากการเข้าแข่งขัน
  2. กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 หรือปี 2 ของโครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

 


เกณฑ์การคัดเลือกทั้งสามโครงการ

    1. ใช้คะแนน 7 วิชาสามัญ และวิชาเฉพาะแพทย์ ซึ่งต้องสอบในปีที่จะสมัคร ค่าน้ำหนักคะแนนมีดังนี้
                                                                               ค่าน้ำหนักคะแนน (%)
 
วิชาเฉพาะแพทย์
                                                       9 วิชาสามัญ
ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ 1 วิทยาศาสตร์
(ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา)
30 7 7 14 14 28

หมายเหตุ : วิชาเฉพาะแพทย์และวิชาสามัญต้องได้คะแนนเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 30 ของคะแนนเต็มในแต่ละกลุ่มสาระวิชา

  1. สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ

รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน

จำนวนที่เปิดรับ 182 คน
คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 /เด็กซิ่วไม่เกิน 1 ปี (เรียนปี 2 แล้ว สมัครไม่ได้)

เกณฑ์การคัดเลือก

  1. ใช้การยื่นคะแนนสอบดังนี้

ใช้คะแนนสอบวิชาเฉพาะแพทย์ 30 %  9 วิชาสามัญ 70 % มีค่าน้ำหนักคะแนน ดังนี้

                                                                               ค่าน้ำหนักคะแนน (%)
 
วิชาเฉพาะแพทย์
                                                       9 วิชาสามัญ
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ 1 วิทยาศาสตร์
(ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา)
30 10 20 10 20 40

*O-NET ต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 %และ 9 วิชาสามัญต้องได้เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 30 ของคะแนนเต็มในแต่ละกลุ่มสาระวิชา
**คะแนนวิชาเฉพาะแพทย์ ต้องใช้ที่สอบในปีที่สมัครเท่านั้น

  1. สอบสัมภาษณ์

 

คะแนนต่ำสุด – สุงสุด คณะแพทย์ จุฬาฯ รอบ 3 รับตรงร่วมกัน (กสพท) ย้อนหลัง 5 ปี

คะแนนต่ำสุด – สุงสุด รอบ 3 (กสพท)
ปี ต่ำสุด สูงสุด
58 70.6258 84.0645
59 69.3922 82.3294
60 74.1567 88.3684
61 72.5505 83.5571
62 71.0478 83.4889

อ่านบทความเพิ่มเติม

เห็นเส้นทางสู่คณะแพทยศาสตร์แบบนี้แล้ว น้อง ๆ หลายคนเตรียมวางแผนอ่านหนังสือกันแล้วแน่ ๆ พี่วีวี่เชื่อว่า ถ้าน้อง ๆ เตรียมตัวและวางแผนอ่านหนังสืออย่างดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอนค่ะ


และสำหรับน้อง ๆ ที่กำลังหาที่เรียนพิเศษวิชาความถนัดทางแพทย์ พี่วีวี่แนะนำให้มาเรียนที่ We By The Brain เลย เพราะที่นี้ สอนโดยทีม We Tutors ที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 10 ปี อีกยังเป็นที่แรกและที่เดียว ที่วิชาจริยธรรมทางแพทย์ สอนโดยแพทย์เฉพาะทาง ! รับรองว่าเรียนแล้ว นำความรู้ไปใช้ในห้องสอบได้แน่นอนค่ะ

คอร์สความถนัดแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ