คุยกับรุ่นพี่ ได้คะแนนที่ 3 ของประเทศ วิชาสามัญ ภาษาไทย
คลิปสัมภาษณ์
สวัสดีครับ วันนี้พี่ยูพารุ่นพี่คนเก่งจาก WE BY THE BRAIN มาแนะนำให้น้อง ๆ รู้จัก แต่ว่าจะเป็นใคร มาจากไหน และประสบความสำเร็จในเรื่องอะไร หลาย ๆ คนคงเดาได้ไม่ยาก ถ้าหากมากับพี่ยูก็คงจะต้องเป็นภาษาไทยแน่นอน เราไปทำความรู้จักกับน้องคนนี้กันเลยดีกว่า
พี่ยู WE BY THE BRAIN :
แนะนะตัวให้ทุกคนรู้จักกันหน่อยครับ
น้องตั้ม :
สวัสดีครับ ผมชื่อ นายสิรภัทร วีระเดช ชื่อเล่น ตั้ม ครับ จบจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
พี่ยู WE BY THE BRAIN :
น้องตั้มจบจากแผนการเรียนอะไรครับ
น้องตั้ม :
แผนการเรียน วิทย์-คณิต ครับ
พี่ยู WE BY THE BRAIN :
เด็กวิทย์-คณิตคนนี้ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับอะไร ให้น้องตั้มเล่าให้ฟังดีกว่า
น้องตั้ม :
ได้คะแนนที่ 3 ของประเทศ ในวิชาสามัญ ภาษาไทย ปี 60 ครับ ได้ 92 คะแนน รองจากที่ 1 มา 4 คะแนน เพราะว่าคะแนนวิชาสามัญ ภาษาไทย จะข้อละ 2 คะแนนครับ
พี่ยู WE BY THE BRAIN :
พี่ยูอยากรู้เคล็ดลับ หรือวิธีเตรียมตัวสำหรับพิชิตคะแนนสนามสอบวิชาสามัญ ภาษาไทย ของน้องตั้ม ว่าที่ผ่านมาเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
น้องตั้ม :
ก่อนอื่นเราต้องมีใจรักในภาษาไทย แล้วก็ตั้งใจเรียนในรายวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนทุก ๆ คาบ และก่อนที่จะสอบก็จะทำข้อสอบย้อนหลังในทุก ๆ ปี
การทำข้อสอบย้อนหลัง เราก็จะรู้ว่าแต่ละปีข้อสอบออกมาในรูปแบบเดิม ทำให้เราเตรียมตัวได้ง่ายขึ้นด้วย
พี่ยู WE BY THE BRAIN :
มีการจับเวลาไหม หรือมีการโน้ตย่อไว้ไหมว่าอะไรที่เป็นปัญหาสำหรับเรา
น้องตั้ม :
มีการจับเวลาครับ เพราะว่ากลัวเวลาทำข้อสอบจริงจะทำไม่ทัน ข้อไหนประเด็นไหนที่ไม่เข้าใจก็จะจดไว้ก่อนแล้วมาทบทวนในบทนั้น ๆ ทีหลัง
พี่ยู WE BY THE BRAIN :
“ ฝากน้อง ๆ ไว้ด้วยว่า ถ้าทำข้อสอบย้อนหลังต้องจับเวลาเสมือนจริง ”
ให้น้องตั้มเล่าให้ฟังต่อ นอกจากตั้งใจเรียนที่โรงเรียน และทำข้อย้อนหลังตั้งแต่ปีแรกที่เปิดสอบ ยังมีวิธีการอย่างอื่นที่จะเสริมให้น้อง ๆ ของเราฟังไหมครับ
น้องตั้ม :
มีวิธีการเพิ่มความมั่นใจอีกข้อหนึ่งคือ การได้มาเรียนพิเศษข้างนอกครับ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจของเราด้วย แล้วที่เรียนพิเศษของเรา ก็จะบอกวิธีการและเทคนิคให้เราทำข้อสอบได้รวดเร็วขึ้นด้วย
พี่ยู WE BY THE BRAIN :
คือทุก ๆ คนที่มาเรียนกวดวิชา หรือว่ามาหาความรู้เพิ่มเติม เป็นวิตามินเสริมหลังจากที่เรียนที่โรงเรียนแล้ว ส่วนใหญ่ทุกคนก็จะคิดเอาไว้เหมือนกันว่า คงจะต้องได้อะไรเพิ่มเติมกลับไปแน่นอน
แล้ววันสอบจริงมันเป็นเหมือนที่เราคิดเอาไว้ตั้งแต่แรกหรือเปล่า
น้องตั้ม :
เวลาทำข้อสอบจริงนะครับ ก็ออกมาเป็นรูปแบบเหมือนอย่างที่เตรียมตัวไว้จริง ๆ ครับ แต่ก็อาจจะมีตื่นเต้น และลนบ้างนิดหน่อยครับ
พี่ยู WE BY THE BRAIN :
เรียกได้ว่าเวลาเราวิเคราะห์ข้อสอบไปก่อน หรือมาฟังการวิเคราะห์ข้อสอบจากที่เรียนเสริม มันก็จะทำให้เรามั่นใจยิ่งขึ้น หรือในตอนที่พี่ยูสอนในคอร์ส น้องตั้มได้เรียนคอร์สอะไรนะครับ
น้องตั้ม :
คอร์สตะลุยโจทย์ ภาษาไทย วิชาสามัญครับ
พี่ยู WE BY THE BRAIN :
น้องตั้มแอบเล่าให้พี่ยูฟังนอกรอบ บางข้อวิชาภาษาไทย หรือในกลุ่มวิชาท่องจำ เด็กส่วนใหญ่จะบ่นกัน เป็นปัญหาโลกแตกมาเสมอเลยคือ ทำข้อสอบไม่ทัน
พอน้องตั้มมาเรียนแล้วได้เทคนิคและเคล็ดลับ หลายคนฟังแล้วอาจคิดว่า เทคนิคและเคล็ดลับจะช่วยอย่างไร ลองยกตัวอย่างได้ไหมครับ
น้องตั้ม :
ข้อที่ใช้เวลานาน ๆ อย่างเช่น พวกอ่านจับใจความ ประมาณ 6-7 บรรทัด เราจะไม่มานั่งอ่านไปเรื่อย ๆ นะครับ เราอาจจะใช้เทคนิคโดยการจำคำนั้น ๆ ว่าหลังคำนั้นจะมีประเด็นสำคัญอยู่อย่างเช่น คำว่าแต่ คำว่าจึง เป็นต้น
พี่ยู WE BY THE BRAIN :
มันเป็นเทคนิคที่จะทำให้เราประหยัดเวลาในการคิดข้อนั้น ๆ จากเดิมที่อาจจะใช้เวลานาน พอรู้วิธีการก็ใช้เทคนิคเหล่านั้นไปพิชิตคะแนนวิชาภาษาไทยได้ และทันเวลาด้วย
อยากจะให้น้องตั้ม ให้กำลังใจกับน้อง ๆ ที่กำลังจะเข้าสู่ระบบใหม่ คือ ระบบ TCAS ว่า ควรเตรียมตัวอย่างไร
น้องตั้ม :
สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเรียน อยากให้น้อง ๆ ค้นหาตัวเองให้เจอ และมุ่งไปในทางนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จในด้านที่ตนเองถนัดครับ

“ ชอบภาษาไทยตั้งแต่ตอนเรียนประถม
ก็คิดว่าจะประกอบอาชีพเป็นคุณครู
ในระดับมหาวิทยาลัย หรือระดับอุดมศึกษาต่อไปครับ ”
น้อง ๆ สามารถฟังเคล็ดลับ และประสบการณ์การสอบของน้องตั้มเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิกเลย