DEK68 ที่อยากเก็บคะแนน A-Level ฟิสิกส์ ห้ามพลาดบทความนี้เด็ดขาด!!
พี่ลูกตาล WE BY THE BRAIN แวะมาทักทาย พร้อมชวนน้อง ๆ มาเจาะลึกข้อสอบกันอีกเช่นเคย โดยวันนี้วิชาที่พี่ลูกตาลจะมาเจาะข้อสอบคือ A-Level ฟิสิกส์ ที่เรียกว่าเป็นคะแนนส่วนสำคัญของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ค่ะ
หากน้อง ๆ อยากเตรียมความพร้อมก่อนลงสนามสอบจริง พี่ลูกตาล รวบตึงข้อมูลเกี่ยวกับการสอบ A-Level ฟิสิกส์ มาให้ครบทุกเรื่องแล้ว ทั้งแนวข้อสอบ บทที่ออกสอบ บทที่ต้องเน้น ตัวอย่างข้อสอบ พร้อมเคล็ดลับเตรียมสอบ พร้อมแล้วก็ลุยกันเลย
Table of Contents
ข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ และ วิชาสามัญ ฟิสิกส์ แตกต่างกันอย่างไร?
คำถามยอดฮิตที่น้อง ๆ DEK68 ถามกันเข้ามาเยอะมาก ๆ ก็คือ ข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ และ วิชาสามัญ ฟิสิกส์ มันต่างกันอย่างไร? พี่ลูกตาลตอบเลยว่าสำหรับข้อสอบของสองสนามนี้ สิ่งที่แตกต่างคือ ชื่อใหม่ไฉไลกว่าเดิม 🤣
ถ้าน้อง ๆ ติดตามโครงสร้างข้อสอบ (Test Blueprint) ที่ประกาศออกมาของทั้ง A-Level ฟิสิกส์ และ 9 วิชาสามัญ ฟิสิกส์ ก็จะเห็นว่าหาจุดต่างของข้อสอบสองสนามนี้แทบไม่เจอ นอกจากรูปแบบฟอนต์และการจัดวางข้อมูลเท่านั้น แต่ใจความหลักและขอบเขตเนื้อหาออกสอบเหมือนกันค่ะ
พี่ลูกตาลคาดว่าการสอบ A-Level มีการจัดระบบข้อสอบแบบใหม่ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในบางจุด ในบางวิชา (แต่ไม่ใช่ฟิสิกส์) จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนชื่อ เพื่อชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างระบบเก่าและระบบใหม่
โครงสร้างข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ จาก Test Blueprint ของ ทปอ.
น้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวก่อนลงสนาม TCAS68 ถ้าอยากวางแผนติวสอบให้ตรงจุด ตรงแนวข้อสอบ สิ่งที่จำเป็นจะต้องรู้ก็คือโครงสร้างข้อสอบค่ะ เพราะโครงสร้างข้อสอบจะทำให้เรารู้ว่า ข้อสอบแต่ละวิชาออกเรื่องอะไร จำนวนกี่ข้อ และรูปแบบข้อสอบเป็นอย่างไร
ในส่วนของ โครงสร้างข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ ตาม Test Blueprint ของ ทปอ. จะมีข้อสอบทั้งหมด 30 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยแบ่งเป็นข้อสอบปรนัย 5 ตัวเลือก 25 ข้อ (รวม 75 คะแนน) และข้อสอบแบบระบายคำตอบที่เป็นตัวเลข 5 ข้อ (รวม 25 คะแนน) และน้อง ๆ จะมีเวลาทำข้อสอบ 90 นาที
และเนื้อหาที่ออกในข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ คือ กลศาสตร์, คลื่นกล และแสง, ไฟฟ้า แม่เหล็ก และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, อุณหพลศาสตร์ และสมบัติเชิงกลของสาร, ฟิสิกส์แผนใหม่ โดยเนื้อหาแต่ละกลุ่มมีจำนวนข้อสอบโดยประมาณตามนี้เลย
กลศาสตร์ (จำนวน 8 - 10 ข้อ)
1. ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
2. การเคลื่อนที่แนวตรง
3. แรงและกฎการเคลื่อนที่
4. สมดุลกลของวัตถุ
5. งานและกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
6. โมเมนตัมและการชน
7. การเคลื่อนที่แนวโค้ง
8. การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย
คลื่นกล และแสง (จำนวน 5 - 7 ข้อ)
9. คลื่น
10. เสียง
11. แสง
ไฟฟ้า แม่เหล็ก และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (จำนวน 6 - 8 ข้อ)
12. ไฟฟ้าสถิต
13. ไฟฟ้ากระแส
14. แม่เหล็กและไฟฟ้า
15. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
อุณหพลศาสตร์ และสมบัติเชิงกลของสาร (จำนวน 3 - 5 ข้อ)
16. ความร้อนและแก๊ส
17. ของแข็งและของไหล
ฟิสิกส์แผนใหม่ (จำนวน 3 - 5 ข้อ)
18. ฟิสิกส์อะตอม
19. ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค
เจาะข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ บทที่ต้องเก็บ! ห้ามพลาด!!
คราวนี้พี่ลูกตาลจะพาไป เจาะข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ และปักหมุด 3 บทที่ต้องเก็บ! ห้ามพลาด!! ห้ามทิ้ง!!! ถ้าวิเคราะห์จากจำนวนข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ ที่ประกาศตาม Test Blueprint ของ ทปอ. น้อง ๆ จะเห็นว่า กลุ่มเนื้อหาที่ออกข้อสอบมากที่สุดอับดับหนึ่ง คือ กลุ่มกลศาสตร์ (จำนวน 8 – 10 ข้อ) บทที่ต้องเน้นในกลุ่มนี้ ได้แก่ การเคลื่อนที่แนวตรง, แรงและกฎการเคลื่อนที่, สมดุลกลของวัตถุ, งานและกฎการอนุรักษ์พลังงานกล, การเคลื่อนที่แนวโค้ง และการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย ซึ่งต้องเก็บให้ครบทั้งหมดในกลุ่มนี้กันเลยทีเดียว
กลุ่มเนื้อหาที่ออกสอบ A-Level ฟิสิกส์ มากเป็นอับดับสอง คือ กลุ่มไฟฟ้า (จำนวน 6 – 8 ข้อ) ค่ะ บทที่น้อง ๆ ต้องเน้นในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไฟฟ้าสถิต, ไฟฟ้ากระแส และแม่เหล็กและไฟฟ้า
และ กลุ่มเนื้อหาที่ออกสอบ A-Level ฟิสิกส์ มากเป็นอันดับสาม คือ กลุ่มคลื่น (จำนวน 5 – 7 ข้อ) ซึ่งบทที่ต้องเน้นในกลุ่มนี้ ได้แก่ แสง และเสียงค่ะ
ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ พร้อมเฉลย By พี่ลูกตาล
แนวข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ พร้อมเฉลย ข้อที่ 1
แนวข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ พร้อมเฉลย ข้อที่ 2
ติวสอบ A-Level ฟิสิกส์ เก็บเนื้อหาบทไหนก่อนดี?
พี่ลูกตาลแนะนำให้น้อง ๆ DEK68 ที่ยังไม่ได้เริ่มเก็บเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ สำหรับการสอบ A-Level ฟิสิกส์ ให้เริ่มรื้อฟื้นจากเนื้อหาบทที่รู้สึกว่าเราเรียนได้เข้าใจมากที่สุดก่อน เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจ เป็นการให้กำลังใจตัวเอง จากนั้นค่อยรื้อฟื้นบทที่เราชอบน้อยลง ๆ ไปตามลำดับ สามารถดูจากประกาศ Test Blueprint ของ ทปอ. ได้เลย
ซึ่งเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ถูกนำมาออกข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ครบถ้วนทุกบท กระจายกันไป ไม่ว่าน้อง ๆ จะเริ่มอ่านจากบทไหน ก็มีออกข้อสอบทุกบทจ้า
สำหรับน้องบางคนที่ไม่ได้มีบทที่ชื่นชอบ หรือถนัดแม้แต่บทเดียว พี่ลูกตาลแนะนำให้กลั้นใจติว A-Level ฟิสิกส์ เริ่มต้นจากบทที่ออกข้อสอบเยอะที่สุดตามลำดับก่อนก็ได้ค่ะ นั่นก็คือ กลุ่มกลศาสตร์, กลุ่มไฟฟ้า, กลุ่มคลื่น, กลุ่มสมบัติสารและความร้อน และกลุ่มฟิสิกส์แผนใหม่ (กลุ่มสุดท้ายนี้เพิ่งเรียนจบสด ๆ ร้อน ๆ จากที่โรงเรียน ถ้าอ่านไม่ทันจริง ๆ เราก็ยังพอมีความรู้ติดหัวอยู่บ้างละน๊าา)
คะแนน A-Level ฟิสิกส์ ใช้ทำอะไร? ยื่นคณะไหนได้บ้าง?
คะแนน A-Level ฟิสิกส์ จะถูกนำไปใช้เป็นคะแนนส่วนหนึ่งในการยื่นคะแนนเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในแต่ละแห่ง แต่ละคณะ ซึ่งค่าน้ำหนักอาจแตกต่างกันไป
พี่ลูกตาลยกตัวอย่างคณะที่ต้องใช้คะแนน A-Level ฟิสิกส์ มาฝาก ได้แก่ แพทยศาสตร์, เภสัชศาสตร์, ทันตแพทยศาสตร์, สัตวแพทยศาสตร์, สหเวชศาสตร์, สาธารณสุขศาสตร์, เทคนิคการแพทย์, พยาบาลศาสตร์, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, สถาปัตยกรรมศาสตร์, ครุศาสตร์ (สาขาฟิสิกส์) เป็นต้น
ทั้งนี้ก่อนสมัครสอบ A-Level ฟิสิกส์ รวมถึงวิชาอื่น ๆ น้องจะต้องตรวจสอบคะแนนที่ต้องการและค่าน้ำหนักคะแนน จากประกาศของมหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียนต่ออีกครั้งด้วยนะ เพราะแม้ว่าจะเป็นคณะ / สาขาเดียวกัน แต่อาจกำหนดเกณฑ์คะแนนที่ต้องใช้แตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัยค่ะ
เคล็ดลับเตรียมตัวสอบ A-Level ฟิสิกส์ เก็บเนื้อหาครบ ทำโจทย์ได้
สำหรับ DEK68 ที่ยังไม่ได้เริ่มต้นเตรียมตัวสอบ A-Level ฟิสิกส์ พี่ลูกตาลแนะนำให้เริ่มเลยวันนี้!! เนื่องจากข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ มีการกระจายตัวของเนื้อหาครบทุกบท ซึ่งค่อนข้างกว้าง น้อง ๆ ควรทบทวนเนื้อหาให้ครบถ้วน เพื่อจดจำหลักการสำคัญ รวมทั้งสูตรต่าง ๆ ในแต่ละบทได้อย่างแม่นยำ เพราะเมื่อเนื้อหาฟิสิกส์ปะปนกับเนื้อหาหลายวิชา พี่ลูกตาลค่อนข้างเข้าใจว่าหนักหนาพอสมควรสำหรับน้อง ๆ หลายคน
นอกจากนี้ การฝึกฝนทำโจทย์ควบคู่ไปในแต่ละบท ก็เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถแยกแยะหลักการสำคัญ รวมทั้งสูตรที่ใช้ประจำได้ว่าหลักการไหน / สูตรไหนที่เจอบ่อย ต้องใช้บ่อย น้อง ๆ จะจำได้โดยอัตโนมัติ และจำง่ายกว่าการมานั่งท่องจำเฉพาะสูตรเพียว ๆ
จากนั้นให้น้อง ๆ ค่อย ๆ เสาะหาโจทย์ที่หลากหลายแนวมากขึ้น ลองเช็กดูว่าโจทย์แต่ละรูปแบบแตกต่างกันอย่างไรบ้าง หัวข้อเนื้อหาที่ผู้ออกโจทย์ต้องการวัดความรู้คืออะไร นั่นคือหัวข้อนั้นมีความสำคัญในวิชาฟิสิกส์
และที่สำคัญระหว่างติวสอบ A-Level ฟิสิกส์ อย่าลืมเพิ่มเติมเทคนิคในการแก้โจทย์ที่รวดเร็วมากขึ้น ในการทำโจทย์ลักษณะเดียวกันในครั้งถัด ๆ ไปด้วยนะคะ
พี่ลูกตาลเชื่อว่าบทความนี้จะช่วยคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ ให้กับ DEK68 ได้ เพราะรวบตึงข้อมูลครบถ้วนไม่มีกั๊ก ให้น้อง ๆ นำไปใช้วางแผนติวและเตรียมตัวสอบได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่สำหรับน้องที่ลองติวสอบฟิสิกส์ A-Level ด้วยตัวเองแล้วคิดว่าไปต่อไม่ไหว ก็มาเจอกันใน คอร์สฟิสิกส์ A-Level รวมทุกบท ได้เลย เพราะพี่ลูกตาล สรุปเนื้อหาครอบคลุมประเด็นและสูตรสำคัญทั้งหมด พร้อมอัปเดตแนวข้อสอบตรงตามข้อสอบปีล่าสุด รวบรวมโจทย์หลากหลายแนวให้ลองฝึกทำ ทั้งข้อสอบเก่าและโจทย์เก็งเพิ่ม ที่สำคัญยังแชร์ทริกเด็ดที่ช่วยให้แก้โจทย์เร็วขึ้น ประหยัดเวลาทำข้อสอบไปได้เยอะ คว้าคะแนนฟิสิกส์ A-Level ทะลุเป้าได้ไม่ยาก
ใครอยากเพิ่มความมั่นใจก่อนลงสนามสอบจริง ต้องรีบสมัครคอร์สนี้ที่ WE BY THE BRAIN ให้ไวเลยนะคะ พี่ลูกตาลรอเจอน้อง ๆ อยู่ 😊