น้องๆหลายคนที่มีอาชีพในฝัน คือ “แพทย์” แล้วสนใจอยากลงคอร์ส “ความถนัดแพทย์” กับ WE BY THE BRAIN อ่านประวัติผู้สอนในส่วนของ PART จริยธรรมทางการแพทย์ ที่มีพี่หมอปู หรือ พ.ญ.ธัชธร วนาเศรษฐี มาเป็นวิทยากรพิเศษ ปรากฎว่ามีคำถามหลังไมด์ถามมาจำนวนมาก เช่น
“แพทย์เฉพาะทาง เรียนยากไหม”
“ถ้าผมอยากเป็นแพทย์เฉพาะทางบ้างจะต้องทำอย่างไร”
“แพทย์เฉพาะทาง จะต้องใช้เวลาเรียนทั้งหมดกี่ปี”
“ประสบการณ์จากแพทย์เฉพาะทางจะช่วยเติมความรู้อะไรให้กับพวกหนูบ้างค่ะ”
ทีมพี่วีวี่เลยหาคำตอบมาเล่าสู่กันฟังให้น้องๆที่ฝันอยากเป็น “แพทย์เฉพาะทาง” ได้รู้ข้อมูลกันนะคะ
“การแพทย์เฉพาะทาง เป็นสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งหลังจากนักศึกษาแพทย์สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนแพทย์ แพทย์ที่เรียนจบอาจเลือกศึกษาต่อในสาขาเฉพาะทางโดยสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านตามสถาบันที่เปิดรับสมัคร และหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็น แพทย์เฉพาะทาง (Medical specialist) ในสาขาที่ศึกษามา”(ข้อมูลจากWikipedia)
พูดง่ายๆ คุณหมอที่จะเป็นแพทย์เฉพาะทางได้ จะต้องเรียนจบ “แพทยศาสตร์บัณฑิต” ในหลักสูตรการเรียน 6 ปี และเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องไปเป็น “แพทย์เพิ่มพูนทักษะ หรือ Internship” หนึ่งปี “แพทย์ใช้ทุน” อีกสองปี (หรือหลังเรียนจบแพทย์ นักศึกษาแพทย์ที่ถือว่าเป็นนักเรียนทุนของหลวงทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ใช้ทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี)
แต่ก็จะมีบางสาขาที่เป็นสาขาขาดแคลน อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ทุน 3 ปี ซึ่งนักศึกษาแพทย์สามารถติดตามข้อมูลอัพเดตการรับสมัครแพทย์ประจำบ้านในแต่ละปีได้ หลังจากเป็นแพทย์ใช้ทุนแล้ว หากคุณหมอมีความสนใจในสาขาเฉพาะทางก็สามารถเลือกสมัครเรียนต่อเฉพาะทาง คือ “แพทย์ประจำบ้าน หรือ Resident” และยังสามารถเรียนต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางย่อยต่อไปอีก คือ “แพทย์ประจำบ้านต่อยอด หรือ Fellow”
หากเปรียบเทียบระดับการศึกษากับสาขาอาชีพอื่นๆ “แพทย์ประจำบ้าน” หรือ Resident ก็เปรียบเทียบกับวุฒิปริญญาโทของสาขาอื่นๆ เพราะ แพทย์ที่จบเป็น Resident จะต้องทำวิทยานิพนธ์ ในขณะที่ Fellow ก็เปรียบเทียบกับวุฒิปริญญาเอก นั่นเอง !!!
ว่าแล้วต้องปรบมือให้ พี่หมอปู วิทยากรพิเศษที่มาช่วยบรรยายคอร์สความถนัดแพทย์ในส่วนของ “จริยธรรมทางการแพทย์” ให้กับทาง WE BY THE BRAIN เพราะ พี่หมอปู เป็น แพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิด & ปริกำเนิด จบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย WOW WOWWWWW
แล้ว แพทย์เฉพาะทางมีสาขาไหนให้เลือกบ้าง ข้อมูลจากแพทยสภา แยกสาขาของแพทย์เฉพาะทางเป็น อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ สูติศาสตร์-นรีเวชศาสตร์ และการแพทย์เฉพาะทางอื่นๆ แสดงว่า พี่หมอปูของพวกเรามีประสบการณ์การทำงานทางสายอาชีพแพทย์ ที่ต้องเจอเคสคนไข้ เจอการตัดสินใจภายใต้สภาวะต่างๆ ที่ต้องนำหลักจริยธรรมทางการแพทย์มาใช้อยู่เสมอๆ
ถ้าน้องๆสนใจอยากฟังเรื่องราวชีวิตแพทย์ และการนำความรู้จากการเรียนและการทำงานตลอดเวลา 14 ปีของพี่หมอปู เพื่อเตรียมตัวสอบ กสพท กัน แวะมาติดต่อสอบถามข้อมูล และทดลองเรียนได้ที WE BY THE BRAIN นะคะ
สนใจดูรายละเอียดคอร์สเพิ่มเติม https://www.webythebrain.com/courses-doctor-aptitude