ช่วงเวลาฤดูกาลสำหรับสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยกระชั้นเข้ามาทุกวัน ทุกนาที
ม.6 ขณะนี้ ต่างคงกำลังวางแผนสอบในระบบต่างๆ ส่วนใหญ่ก็มุ่งที่ระบบกลาง Admissions และระบบรับตรง หรือการสอบในระบบโควตาภูมิภาค
แอดมิชชั่น เป็นสนามสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ที่น้องๆ ม.6 ส่วนใหญ่สนใจกันมากที่สุด แต่ก็มีหลายคณะที่ให้ความสำคัญกับระบบการรับตรง
เมื่อมีจำนวนผู้สอบแข่งขันมาก จึงเป็นธรรมดาที่ผู้เข้าสอบย่อมต้องแข่งขันกันอย่างเข้มข้น
โดยเฉพาะวิชาที่ต้องใช้ยื่นเพื่อคัดเลือกเข้าทุกระบบ ทุกคณะ อย่าง “GAT”


“GAT” มีความสำคัญในการยื่นคะแนนในระบบ Admissions มากถึง 10 – 50 %
(ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละคณะวิชา โดยองค์ประกอบของการยื่นคะแนนในระบบ Admissions แบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย O-NET ,เกรดเฉลี่ยที่โรงเรียน (GPAX) , GAT, PAT)
ข้อสังเกต !! บางคณะใช้คะแนน GAT ในการพิจารณามากกว่า GPAX และอาจมากกว่าคะแนนจากการสอบ O – NET อีกด้วย
ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนนจากการสอบ GAT สูงมากๆ เช่น
- การสอบ ADMISSIONS คณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ มีรูปแบบที่ยื่นคะแนน GAT สัดส่วนสูงถึง 50 %
- ระบบรับตรง ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2559) ยื่นคะแนน GAT สัดส่วนสูงถึง 70 %
- ระบบรับตรง คณะโบราณคดี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ม.ศิลปากร (ปี 2559) ยื่นคะแนน GAT เต็มพิกัดถึง 100 %
และ บางมหาวิทยาลัยต้องใช้คะแนน GAT ยื่นระบบรับตรงทุกคณะ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น
สรุปได้ว่า คะแนน GAT สำคัญในประเด็นหลักดังต่อไปนี้
- ทุกระบบ (Admissions และ รับตรง) ใช้คะแนน GAT ยื่นเป็นองค์ประกอบ
- ทุกคณะวิชาในระบบ Admissions ใช้คะแนน GAT ยื่นเป็นองค์ประกอบ
- หลายคณะวิชา (จำนวนมาก) ของหลายมหาวิทยาลัย ใช้คะแนน GAT ยื่นเป็นองค์ประกอบ
การสอบ GAT ปีหนึ่งมีการจัดสอบอย่างไร
เมื่อพิจารณาความสำคัญของครั้งที่ต้องสอบ GAT เราก็จะพบว่า ถึงแม้จะเปิดสอบ GAT ปีละ 2
ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ช่วงประมาณเดือนตุลาคม (บางปีเลื่อนไปเป็นพฤศจิกายนหรือธันวาคม) ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียนที่ 1 ของน้องๆ ชั้น ม.6 และครั้งที่ 2 ช่วงประมาณเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงสอบปลายภาคในภาคเรียนที่ 2 หรือใกล้ช่วงปัจฉิมนิเทศของน้องๆ ม.6
การสอบ GAT ครั้งที่ 1 มีความสำคัญมาก และอาจสำคัญกว่าครั้งที่ 2
เพราะระบบรับตรงหลายคณะของหลายมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเงื่อนไขพิเศษที่จะพิจารณาคะแนนเฉพาะจากการสอบ GAT ครั้งที่ 1 เท่านั้น หมายความว่า น้องๆ ควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบ GAT ในครั้งแรกให้ดีที่สุด เพื่อให้พร้อมหากต้องยื่นคะแนนรับตรงตามเงื่อนไขพิเศษดังกล่าว ดังนั้น ช่วงที่ควรเตรียมพร้อมเรียนรู้ GAT ก็คือ ก่อนถึงเดือนตุลาคม ที่สอบครั้งแรกนั่นเอง
“ปี 2559 รับตรงปกติจุฬาฯ ทุกคณะ ใช้คะแนน GAT/PAT 1/2559 และ
คะแนน วิชาสามัญ ปี 2559 เท่านั้น คะแนนเก่าใช้ไม่ได้”
คนที่พร้อมก่อน ย่อมเป็นคนที่พร้อมกว่า และมีโอกาสมากกว่า ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนนะครับ..
ด้วยรักจากใจ พี่ยู WE TUTOR