PAT 3 : การเขียนแบบและหัวข้อทางวิศวกรรม ออกสอบทุกปี แต่ไม่มีสอนใน รร.

PAT 3 เรื่อง “การเขียนแบบและหัวข้อทางวิศวกรรม”
ออกสอบทุกปี แต่ไม่มีสอนในโรงเรียน

น้องที่ตั้งใจว่าอยากจะสอบเข้าคณะวิศวะ ไม่ว่าจะสอบด้วยระบบรับตรง หรือระบบแอดมิชชั่น วิชาที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับการสอบ ก็คือ PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรม
แหม แหม ชื่อวิชาก็บอกอยู่แล้วว่า “ความถนัดทางวิศวกรรม” ก็ต้องใช้วัดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์อย่างแน่นอน
น้องๆ รู้หรือไม่ว่า วิชา PAT3 สำคัญมากต่อการยื่นรับตรงในบางคณะ เช่น วิศวะ จุฬาฯ ใช้คะแนน PAT3 คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 60% ของการยื่นคะแนนทั้งหมด แล้วแบบนี้จะไม่ให้ ว่าที่นักศึกษาวิศวะอย่างเราตั้งใจทำคะแนนวิชานี้ได้อย่างไร

ทีนี้ เนื้อหาในการสอบ PAT3 หลายๆ คนอาจจะคิดว่า มีเพียงแค่ “ฟิสิกส์” “เคมี” และ “คณิตศาสตร์” เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเรียนเพิ่มเติมก็ได้ แค่หาโจทย์ข้อสอบเก่าๆมาทำก็เพียงพอ
แต่จริงๆแล้ว PAT3 ยังมีเนื้อหาอีกส่วนหนึ่งที่ “ข้อสอบออกทุกปี” ประมาณปีละ 5 ข้อ และที่สำคัญเนื้อหาดังกล่าว “ไม่มีสอนที่โรงเรียน” !!!! เนื้อหาส่วนนี้ ก็คือ “การเขียนแบบและหัวข้อทางวิศวกรรม” (DRAWING & ENGINEERING TOPICS)
วันนี้ พี่ๆ WE TUTORS (ทีมวิศวกร เกียรตินิยม) ก็เลยมาแชร์ข้อมูลให้น้องๆได้รู้กัน ว่าหัวข้อนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง มาเริ่มกันเลยดีกว่า

“การเขียนแบบ”

การเขียนแบบทางวิศวกรรมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับวิศวกร เนื่องจากวิศวกรในฐานะเป็นผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องนำสิ่งที่ตนเองคิดอยู่ในสมองสร้างออกมาเป็นภาพเพื่อใช้สื่อสารกับผู้อื่น
โดยปกติภาคที่สร้างออกมาครั้งแรกจากความคิดที่เกิดขึ้นในสมองนั้น จะเป็น “ภาพสเก็ตซ์” เสียก่อน จากนั้นเมื่อเกิดความมั่นใจจึงนำความรู้ในการเขียนแบบทางวิศวกรรมมาใช้ เพื่อใช้เขียนภาพออกมาให้ถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล พร้อมที่จะนำเข้าสู่การผลิตต่อไป

PAT3-การเขียนแบบและหัวข้อทางวิศวกรรม-1

ตัวอย่างโจทย์ข้อสอบ “การเขียนแบบ”
ข้อใดเป็นวัตถุที่สอดคล้องกับภาพฉายที่กำหนดให้ (PAT3 มีนา ‘55)

PAT3-การเขียนแบบและหัวข้อทางวิศวกรรม-2

“หัวข้อทางวิศวกรรม”

เป็นการวัดความรู้เฉพาะทางของวิศวะในแขนงต่างๆ เช่น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมอุตสาหการ, วิศวกรรมการสื่อสาร, วิศวกรรมระบบควบคุม เป็นต้น ตลอดจนการวัดพื้นฐานความรู้ด้านจรรยาบรรณ และการได้รับใบประกอบวิชาชีพ

PAT3-การเขียนแบบและหัวข้อทางวิศวกรรม-3

การมีความรู้เนื้อหาในส่วนนี้ จะเป็นประโยชน์ทั้งกับการสอบ PAT3 และยังเป็นพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นสำหรับการเรียนวิศวะในระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย

โหหหห แค่อ่านมาก็น่าสนใจแล้ว ทั้งเนื้อหาที่น่าสนใจ ทั้งต้องเตรียมตัวสอบ ทั้งเป็นพื้นฐานในการเรียนในมหาวิทยาลัย แต่เนื้อหา “การเขียนแบบ และหัวข้อทางวิศวกรรม” กลับไม่มีสอนในโรงเรียน แล้วพวกเราจะไปหาเรียนได้ที่ไหนหล่ะทีนี้
WE BY THE BRAIN เล็งเห็นถึงปัญหาในจุดนี้ ดังนั้น การเปิดคอร์ส PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรม จึงได้แบ่งหัวข้อย่อย เพื่อเปิดโอกาสให้น้องๆ มีโอกาสได้ลงในหัวข้อดังกล่าว เป็นการเพิ่มความมั่นใจในการสอบ และรับรองว่าถ้าได้เรียนหัวข้อนี้ จะทำได้ “ทำคะแนนใน PAT3 ได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน”
ใครสนใจเตรียมความพร้อมหัวข้อ “การเขียนแบบ และหัวข้อทางวิศวกรรม” ลองแวะมาสอบถามเพิ่มเติมที่ WE ได้ทุกสาขา แอบกระซิบว่า คอร์สนี้ เรียนเพียงแค่ 10 ชั่วโมงเท่านั้น แค่มาเรียนเพิ่มเติมความรู้ที่จำเป็นสำหรับการเป็นนักศึกษาวิศวะก็คุ้มแล้ว (พี่ๆ ใจดีแยกคอร์สย่อยออกมาให้ ที่นี่ที่เดียวเท่านั้น)

คอร์สเรียน-pat3

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.webythebrain.com/courses-admissions-pat3

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ