สรุปทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับพหุนาม

สรุปเรื่องพหุนาม

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

      พหุนาม เป็นบทเรียนสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ที่น้อง ๆ ทุกคนจะต้องเจอใน ม.ต้น อย่างเลี่ยงไม่ได้ และเนื้อหายังใช้ต่อเนื่องไปจนถึงระดับ ม.ปลาย ซึ่งนั่นหมายความว่าถ้าน้อง ๆ คนไหนที่มีพื้นฐานและความเข้าใจเกี่ยวกับพหุนามไม่ดีพอ ก็อาจจะทำให้เกิดความสับสนเมื่อต้องนำความรู้ไปใช้ต่อในบทถัด ๆ ไป จนอาจทำให้รู้สึกไม่สนุกกับการเรียนในบทเรียนนั้น ๆ ได้

      ดังนั้น สำหรับบทความนี้จะพาน้อง ๆ มา ทำความรู้จักและทำความเข้าใจพื้นฐานพหุนาม ว่ามีอะไรบ้างที่น้องต้องรู้ นิพจน์ คืออะไร? เอกนาม คืออะไร ? พหุนามคืออะไร ? พหุนามต่างกับเอกนามยังไง ? การบวก ลบ คูณ หาร ต้องทำยังไงบ้าง? น้อง ๆ คนไหนที่อยากศึกษาเพิ่มเติม ในบทความนี้ พี่ภูมิ – อ.สิทธิเดช เลนุกูล ได้สรุปทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับพหุนามมาไว้ให้แล้ว!

นิพจน์ คืออะไร

      นิพจน์ (Expression) คือ การเขียนค่าคงที่ หรือตัวแปรในรูปการดำเนินการโดยใช้ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น 3x, x + 5, 4x – 7y เป็นต้น

      ความรู้เสริมในระดับชั้น ม.ต้น เราสามารถแยกนิพจน์ออกได้เป็น 2 ประเภท

  1. นิพจน์เลขคณิต (Numerical Expression) เป็นนิพจน์ที่ประกอบด้วยจำนวนที่เป็นค่าคงตัวเท่านั้น เช่น 5, -10, 12 + 8 เป็นต้น
  2. นิพจน์พีชคณิต (Algebraic Expression) เป็นนิพจน์ที่ประกอบไปด้วยค่าคงตัวและตัวแปร ซึ่งอยู่ในรูปการดำเนินการต่าง ๆ เช่น 3x + 5, 2x – 3y, xy เป็นต้น

เอกนาม คืออะไร

      เอกนาม (Monomial) คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัว (Constanat) กับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป และเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก

ตัวอย่างที่ 1
ตารางพหุนาม

สัมประสิทธ์ของเอกนาม

      จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า เอกนามจะประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นค่าคงตัว และส่วนที่อยู่ในรูปของตัวแปรหรือการคูณกันของตัวแปร  เรียกส่วนที่เป็นค่าคงตัวว่า สัมประสิทธิ์ (Coefficient) ของเอกนาม

เช่น 2x มีสัมประสิทธิ์เป็น 2

      -xy3 มีสัมประสิทธิ์เป็น -1

      8 มีสัมประสิทธิ์เป็น 8

      3yx2z มีสัมประสิทธิ์เป็น 3

ดีกรีของเอกนาม

      ดีกรี (Degree) ของเอกนาม คือ ผลบวกของเลขขี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวในเอกนามว่า

เช่น   2x   มีดีกรีเป็น 1 เพราะเลขชี้กำลังของ x คือ 1

         xy3 มีดีกรีเป็น 4 เพราะเลขชี้กำลังของ x คือ 1 และเลขชี้กำลังของ y คือ 3
               เมื่อนำมารวมกันจึงทำให้ ดีกรีของ xy3 = 4

         7    มีดีกรีเป็น 0 เพราะ สามารถเขียน 7 ให้อยู่ในรูป 7x0 (เรียกอีกอย่างว่า เอกนามค่าคงตัว)

เอกนามคล้าย

      เอกนามสองเอกนามคล้ายกันก็ต่อเมื่อ

  1. เอกนามทั้งสองมีตัวแปรชุดเดียวกัน
  2. เลขชี้กำลังของตัวแปรตัวเดียวกันในแต่ละเอกนามเท่ากัน และ

      สำหรับค่าคงตัวสองจำนวนใด ๆ ถือว่าเป็นเอกนามที่คล้ายกัน เช่น 2 กับ -365 เป็นเอกนามที่คล้ายกัน
เช่น

เปรียบเทียบพหุนาม

การบวกหรือลบกันของเอกนาม

      ผลบวกหรือผลลบของเอกนามที่คล้ายกัน = (ผลบวกหรือลบสัมประสิทธิ์ของเอกนาม) x (ส่วนที่เป็นตัวแปร) เช่น

ตัวอย่างพหุนาม 2

      และสำหรับการบวกหรือลบเอกนามที่ไม่คล้ายกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่เป็นเอกนาม

การคูณหรือหารกันของเอกนาม

      ในการหาผลคูณหรือผลหารระหว่างเอกนามกับเอกนามนั้น จะนำค่าคงตัวในแต่ละเอกนามมาคูณหรือหารกัน และนำตัวแปรในแต่ละเอกนามมาคูณหารกันโดยใช้สมบัติเลขยกกำลัง เช่น

ตัวอย่างพหุนาม 3

      เมื่อได้ผลหารเป็นเอกนาม จะกล่าวว่าการหารนั้นเป็นการหารลงตัว

พหุนามคืออะไร

      พหุนาม (Polynomial) คือ นิพจน์ที่อยู่ในรูปเอกนาม หรือเขียนอยู่ในรูปการบวกกันของเอกนามตั้งแต่สองเอกนามขึ้นไปได้

เช่น

      1     เป็นเอกนาม (และเป็นพหุนามด้วย)

      8x     เป็นเอกนาม (และเป็นพหุนามด้วย)

      x2 – 4     เป็นพหุนาม

      x2 – 2x + 1     เป็นพหุนาม

      4x3y – 10x2 – y     เป็นพหุนาม

      x3 + 3x2 + 3x + 1     เป็นพหุนาม

      เพื่อความสะดวก เราจะเรียกเอกนามที่ปรากฎในพหุนามว่า พจน์ (Term) และในกรณีที่พหุนามนั้นมีเอกนามคล้ายกัน เราจะเรียกเอกนามที่คล้ายกันว่า พจน์ที่คล้ายกัน (Like terms)

เช่น     -4x3 – 3x2 + 2x + 5x3 เป็นพหุนามที่มีพจน์ คือ -4x3, -3x2, 2x และ 5x3

          โดยมี -4x3 และ 5x3 เป็นพจน์ที่คล้ายกัน

          จะได้ว่า -4x3 + 3x2 – 2x + 5x3

                     = 5x3 – 4x3 + 3x2 – 2x

                     = x3 + 3x2 – 2x

      จะเห็นว่า พหุนามที่ได้เป็นพหุนามในรูปที่ไม่มีพจน์ที่คล้ายกันเลย ซึ่งเราจะเรียกพหุนามแบบนี้ว่า พหุนามในรูปผลสำเร็จ (Polynomial in the simplest form)

ดีกรีของพหุนาม

      ดีกรีของพหุนาม คือ ดีกรีสูงสุดของพจน์ของพหุนามในรูปผลสำเร็จ

เช่น

      1     เป็นพหุนาม ดีกรี 0

      8x     เป็นพหุนาม ดีกรี 1

      x2 – 4     เป็นพหุนาม ดีกรี 2 เพราะพจน์ x2 มีดีกรีเท่ากับ 2
                     และพจน์ – 4 มีดีกรีเท่ากับ 0 ดังนั้น ดีกรีดีกรีสูงสุดของพจน์ของพหุนาม
                     ในรูปผลสำเร็จเท่ากับ 2 จึงได้ว่าเป็นพหุนาม ดีกรี 2

      4x3y – 10x2 – y     เป็นพหุนาม ดีกรี 4 เพราะพจน์ 4x3y มีดีกรีเท่ากับ 3+1 = 4
                                     พจน์ -10x2 มีดีกรีเท่ากับ 2 และพจน์ -y มีดีกรีเท่ากับ 1
                                     ดังนั้น ดีกรีดีกรีสูงสุดของพจน์ของพหุนามในรูปผลสำเร็จเท่ากับ 4
                                     จึงได้ว่าเป็นพหุนาม ดีกรี 4

พหุนามตรงข้าม

      พหุนามตรงข้ามของพหุนามใดเท่ากับผลบวกของพจน์ตรงข้ามของแต่ละพจน์ของพหุนามนั้น

      สรุปภาษาคน : พหุนามตรงข้าม คือ ลบของพหุนามเดิม

เช่น     พหุนามตรงข้ามของ 4x3y – 10x2 – y คือ -(4x3y – 10x2 – y)

          จะได้ว่า พหุนามตรงข้ามของ 4x3y – 10x2 – y คือ -4x3y + 10x2 + y

          พหุนามตรงข้ามของ x2 – 2x + 1 คือ -x2 + 2x – 1

การบวกหรือลบพหุนามทำยังไง

      การหาผลบวกของพหุนาม ทำได้โดยนำพหุนามมาเขียนในรูปการบวก และถ้ามีพจน์ที่คล้ายกัน ให้บวกพจน์ที่คล้ายกันจนกลายเป็น พหุนามในรูปผลสำเร็จ

เช่น   (2x2 + x – 8) + (-8x2 – 3x + 6)

         = 2x2 + x – 8 – 8x2 – 3x + 6

         = -6x2 – 2x – 2

      หรืออาจเขียนเป็นการบวกในแนวตั้งโดยให้พจน์คล้ายกันอยู่ตรงกันก็ได้

ตัวอย่างพหุนาม 4

      และสำหรับการหาผลลบของพหุนาม ทำได้โดยนำพหุนามตัวตั้งมาบวกพหุนามตรงข้ามของพหุนามตัวลบจนกลายเป็น พหุนามในรูปผลสำเร็จ

เช่น   (7x2 – 9x – 12) – (2x2 + x – 8) =(7x2 – 9x – 12) + [-(2x2 + x – 8)]

        = (7x2 – 9x – 12) + (-2x2 – x + 8)

        = 5x2 – 10x – 4

      หรืออาจเขียนเป็นการลบในแนวตั้งโดยให้พจน์คล้ายกันอยู่ตรงกันก็ได้

ตัวอย่างพหุนาม 5

การคูณพหุนามด้วยพหุนามและการหารพหุนามด้วยเอกนาม

      การหาผลคูณของพหุนามกับพหุนาม ทำได้โดยใช้สมบัติการแจกแจง โดยนำแต่ละพจน์ของพหุนามหนึ่งมาคูณกับทุก ๆ พจน์ของอีกพหุนามหนึ่ง แล้วนำผลคูณเหล่านั้นมาบวกกัน

เช่น    (-3x)(2x3 – x + 6)

         = (-3x)(2x3) – (-3x)(x) + (-3x)(6)

         = -6x4 + 3x2 – 18x

         (x + 4)(3x2 – x)

        = x(3x2) – x(x) + 4(3x2) – 4x

        = 3x3 – x2 + 12x2 – 4x

        = 3x3 + 11x2 – 4x

        (x + y)(x2 – xy + y2)

        = x(x2) – x(xy) + x(y2) + y(x2) – y(xy) + y(y2)

        = x3 – x2 y + xy2 + x2y – xy2 + y3

        = x3 + y3

      การหารพหุนามด้วยเอกนาม ทำได้โดยใช้หลักเกณฑ์ของการบวกเศษส่วนและสมบัติของเลขยกกำลัง โดยจะหารแต่ละพจน์ของพหุนามด้วยเอกนาม แล้วนำผลหารเหล่านั้นมาบวกกัน เช่น

ตัวอย่างพหุนาม 9

ตัวอย่างพหุนาม 10

สรุปบทความ

      พหุนาม เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่มีความสำคัญในวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาดังนั้นการมีพื้นฐานที่ดีและเข้าใจพหุนามตั้งแต่ ม.ต้น จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้น้อง ๆ สามารถพัฒนาการเรียนรู้ ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลในหลาย ๆ บทของวิชาคณิตศาสตร์ ที่จะมีความซับซ้อนมากขึ้นได้ในอนาคต

      หากน้อง ๆ รู้สึกว่ามีบทเรียนไหนที่ยาก และยังมีความกังวลอยู่ สบายใจได้เลย เพราะการ ติวคณิตศาสตร์ ม.ต้น และ ติวคณิตศาสตร์ ม.3 จาก WE BY THE BRAIN จะช่วยปรับพื้นฐานให้น้อง ๆ พร้อมพาตะลุยทำโจทย์ และพิชิตเกรด 4 ให้เอง! สามารถมาเรียนที่ WE BY THE BRAIN ได้เลย พี่ ๆ ติวเตอร์ของเราพร้อมสอนความรู้เข้มข้น แชร์เทคนิคทำข้อสอบจัดเต็ม เรียนจบแล้ว พร้อมลุยทุกสนามสอบแน่นอน! 

      อัปเดตข่าวสารและสอบถามรายละเอียด ติวคณิตศาสตร์ ม.ต้น จาก WE BY THE BRAIN ก่อนใครได้ที่ 

      โรงเรียนกวดวิชา วี บาย เดอะเบรน เรียนสนุก เข้าใจง่าย ทำโจทย์ได้จริง!

Picture of อ.สิทธิเดช เลนุกูล (พี่ภูมิ)

อ.สิทธิเดช เลนุกูล (พี่ภูมิ)

มีความเชี่ยวชาญในการสอนโจทย์คณิตศาสตร์ระดับยาก
ที่คัดสรรจากสนามสอบชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

บทความแนะนำ

Top
ทดลองเรียนทดลองเรียนโปรโมชันโปรโมชันรับคำแนะนำรับคำแนะนำ