สรุปเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น (ม.1-2-3) ตามหลักสูตร สสวท. เรียนอะไรบ้าง?

สรุปเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น (ม.1-2-3) ตามหลักสูตร สสวท. เรียนอะไรบ้าง?

      สวัสดีค่าา วันนี้ พี่ลูกตาล จะพามาเจาะเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น กัน 😍

      น้อง ๆ หลายคนพอได้ยินคำว่า ฟิสิกส์ ม.ต้น ก็ออกอาการมึนงงว่า “ระดับชั้น ม.ต้น มีเรียนฟิสิกส์ด้วยหรอ?!” พี่ลูกตาลตอบเลยว่า “มี!!” เพราะ วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ โลกและอวกาศ, ชีววิทยา, เคมี และฟิสิกส์ นั่นเอง

      อยากรู้กันแล้วละสิว่า ฟิสิกส์ ระดับชั้น ม.1 – ม.3 เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง? ยาก – ง่ายแค่ไหน? แนวข้อสอบเป็นอย่างไร? ถ้างั้นรีบตามพี่ลูกตาลมาดูสรุปเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น พร้อมกันได้เลยค่ะ

สนใจหัวข้อไหน คลิกเลย!

เนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับอะไร?

เนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น เรียนเกี่ยวกับอะไร?

      สำหรับ เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ในส่วนของพาร์ตฟิสิกส์ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ต่อเนื่องจากระดับประถมศึกษาในหลายๆ เรื่อง เช่น แสงและเสียง แรงในชีวิตประจำวัน และพลังงานความร้อน เป็นต้น

      แต่ฟิสิกส์ ม.ต้น จะมีการ ลงลึกเนื้อหามากยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมหัวข้อที่เกี่ยวข้องอันน่าสนใจ เช่น น้อง ๆ จะได้เรียนผลของแรงต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ งานและพลังงาน การขยับและการทำงานของเครื่องกลอย่างง่าย

      รวมถึงเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น จะมีการ นำความรู้ทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการคำนวณค่าความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในเชิงตัวเลข เพื่อความชัดเจนในการวัดผลอีกด้วย

      ในเนื้อหาฟิสิกส์ระดับ ม.ต้น นี้ น้อง ๆ จะได้เรียนสูตรทางคณิตศาสตร์ ซึ่งต้องจดจำและสามารถนำไปใช้ให้ได้ ดังนั้นใครไม่เก่งการคำนวณตัวเลข ก็ต้องรีบปรับพื้นฐานความรู้แล้วนะ

สรุปฟิสิกส์ ม.ต้น (ม.1, ม.2, ม.3) ตามหลักสูตร สสวท.

      น้อง ๆ วัยประถมที่กำลังจะขึ้น ม.ต้น หรือน้อง ม.ต้น เองที่อยากเตรียมพร้อมรับมือกับเนื้อหาฟิสิกส์ พี่ลูกตาลสรุปเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น ตามหลักสูตร สสวท. โดยแบ่งเนื้อหาฟิสิกส์ที่จะได้เรียนตามระดับชั้น ม.1, ม.2, ม.3 ดังนี้

เนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น : ฟิสิกส์ ม.1 เทอม 1 และเทอม 2

สรุปเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น : ฟิสิกส์ ม.1 เทอม 1 และ 2 ตามหลักสูตร สสวท.

ฟิสิกส์ ม.1 เทอม 1

  • ไม่มีเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น พาร์ตฟิสิกส์

ฟิสิกส์ ม.1 เทอม 2

  • “พลังงานความร้อน” ประกอบด้วย 2 บท ได้แก่
    – บทที่ 1 ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสาร
    – บทที่ 2 การถ่ายโอนความร้อน

เนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น : ฟิสิกส์ ม.2 เทอม 1 และเทอม 2

สรุปเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น : ฟิสิกส์ ม.2 เทอม 1 และ 2 ตามหลักสูตร สสวท.

ฟิสิกส์ ม.2 เทอม 1

  • “การเคลื่อนที่และแรง” ประกอบด้วย 2 บท ได้แก่
    – บทที่ 1 การเคลื่อนที่
    – บทที่ 2 แรงในชีวิตประจำวัน

ฟิสิกส์ ม.2 เทอม 2

  • “งานและพลังงาน” ประกอบด้วย 2 บท ได้แก่
    – บทที่ 1 งาน กำลัง และเครื่องกลอย่างง่าย
    – บทที่ 2 พลังงานกลและกฎการอนุรักษ์พลังงาน

เนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น : ฟิสิกส์ ม.3 เทอม 1 และเทอม 2

สรุปเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น : ฟิสิกส์ ม.3 เทอม 1 และ 2 ตามหลักสูตร สสวท.

ฟิสิกส์ ม.3 เทอม 1

  • “คลื่นและแสง” ประกอบด้วย 2 บท ได้แก่
    – บทที่ 1 คลื่น
    – บทที่ 2 แสง

ฟิสิกส์ ม.3 เทอม 2

  • “ไฟฟ้า” ประกอบด้วย 2 บท ได้แก่
    – บทที่ 1 วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
    – บทที่ 2 ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน

ฟิสิกส์ ม.ต้น บทไหนง่าย? บทไหนยาก?

      หลังจากที่ได้รู้แล้วว่าเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น ที่จะได้เรียนกันในระดับ ม.1 – ม.3 มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้างแล้ว พี่ลูกตาลเชื่อว่าหลายคนคงอยากจะรู้แน่ ๆ เลยว่า เนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น บทไหนง่าย บทไหนยาก เพื่อจะได้เตรียมตัวเตรียมใจทัน

      พี่ลูกตาลมองว่าน้อง ๆ ม.ต้น อาจเริ่มมีความเห็นที่แตกต่างกัน เรื่องความยาก – ง่าย ของเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น ในแต่ละบท นั่นก็เพราะแต่ละคนมีความถนัดในสไตล์การเรียนของเรื่องราวภายในบทแตกต่างกัน หรือพูดง่าย ๆ คือระดับความน่าสนใจของเรื่องราวที่เรียนในบทของเราไม่เท่ากัน

      บางคนได้เรียน ฟิสิกส์ ม.ต้น เรื่องการเคลื่อนที่ อาจจะบอกว่าบทนี้ง่าย เพราะสามารถเห็นได้จริงในชีวิตประจำวัน และเปรียบเทียบเรื่องราวได้ง่าย พอได้เรียนเนื้อหาแล้วก็อาจจะมีความรู้ความเข้าใจที่เยอะกว่าเรื่องไฟฟ้า สามารถทำคะแนนในเรื่องการเคลื่อนที่ได้มากกว่าเรื่องไฟฟ้า เป็นต้น

      ในขณะที่น้อง ๆ บางคนอาจบอกว่า ฟิสิกส์ ม.ต้น เรื่องไฟฟ้า ง่ายกว่านะ เพราะสูตรความสัมพันธ์มีนิดเดียว จะโจทย์ข้อไหน ๆ ก็ใช้อันเดิม ไม่ต้องจำสูตร หรือ เลือกสูตรให้ปวดหัว

      หรือบางคนอาจจะบอกว่า ฟิสิกส์ ม.ต้น เรื่องการเคลื่อนที่และเรื่องไฟฟ้า ยากทั้งสองกลุ่มเนื้อหาเลย เพราะชอบเรียน เรื่องคลื่นและแสง มากกว่าก็เป็นได้ ไม่มีใครถูกไม่มีใครผิด อันนี้แล้วแต่ความถนัดและชื่นชอบนะคะ

      แต่ถ้าถามพี่ลูกตาลจากประสบการณ์การสอนที่พบเจอน้อง ๆ มาหลากหลายรูปแบบ พบว่าโดยทั่วไปแล้วหลายคนมักมองว่า เนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น มีความง่าย – ยากไล่ตามลำดับของบทเรียน กล่าวคือน้อง ๆ ส่วนมากจะเรียงเนื้อหาจากง่ายไปยากดังนี้

เรียงลำดับ “บทง่าย” ไปหา “บทยาก” ของเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น

      ซึ่งพี่ลูกตาลมองว่า การเรียงลำดับความง่ายไปยากของเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น ไล่ตามลำดับของบทเรียนก็เหมาะสมดีนะ เพราะเรียนไป ๆ เราก็ต้องเก่งขึ้น ต้องเรียนเรื่องที่ยากขึ้นได้อีกสิ งั้นเอาบทง่าย ๆ ไปเรียนก่อนแล้วกัน อันยากค่อยเรียนทีหลัง เอ๊ะ… ใช่หรือเปล่าน้าา (โลกนี้จะสวยหรือไม่ อยู่ที่ใจเรามอง ท่องไว้ ๆ 😘)

เนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น ออกสอบบ่อยในสนามสอบไหนบ้าง?

      พี่ลูกตาลต้องบอกเลยว่าเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น มีความสำคัญไม่แพ้ ฟิสิกส์ระดับ ม.ปลาย เลยนะ เพราะ ข้อสอบสนามสำคัญหลาย ๆ สนาม ออกสอบเนื้อหาฟิสิกส์ระดับ ม.ต้น เช่น

เนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น ข้อสอบสนามไหน ออกสอบบ่อย?
  • สอบเข้าเรียนต่อในระดับชั้น ม.ปลาย ในโรงเรียนชั้นนำ
  • สอบเข้าเรียนต่อในระดับชั้น ม.ปลาย ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (TU)
  • สอบเข้าเรียนต่อในระดับชั้น ม.ปลาย ในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (MWIT), โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (PCSHS)
  • ค่ายโอลิมปิกวิชาการ สอวน. (POSN)
  • การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (IJSO)
  • การแข่งขันวิทยาศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ
  • การแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ สพฐ.
  • ทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.)
  • อื่น ๆ

ตัวอย่างข้อสอบ ฟิสิกส์ ม.ต้น พร้อมเฉลย by ดร.พี่ลูกตาล : บทการเคลื่อนที่และแรง

ข้อที่ 1

แนวข้อสอบ ฟิสิกส์ ม.ต้น บทการเคลื่อนที่และแรง - โจทย์

เฉลย

แนวข้อสอบ ฟิสิกส์ ม.ต้น บทการเคลื่อนที่และแรง - เฉลย

ตัวอย่างข้อสอบ ฟิสิกส์ ม.ต้น พร้อมเฉลย by ดร.พี่ลูกตาล : บทไฟฟ้า

ข้อที่ 2

แนวข้อสอบ ฟิสิกส์ ม.ต้น บทไฟฟ้า - โจทย์

เฉลย

แนวข้อสอบ ฟิสิกส์ ม.ต้น บทไฟฟ้า - เฉลย

อยากเรียนฟิสิกส์ ม.ต้น ให้เข้าใจ ต้องทำอย่างไร?

เคล็ดลับเรียนฟิสิกส์ ม.ต้น ให้เข้าใจ by ดร.พี่ลูกตาล

      แน่นอนว่าเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น ในส่วนที่น้อง ๆ ได้เรียนมาบ้างแล้วในระดับชั้นประถม หลายคนก็อาจจะเกิดความคุ้นชิน ทำให้มีความรู้สึกว่าเนื้อหาในบทเหล่านี้ไม่ยากนัก ถึงแม้ว่าจะถูกเพิ่มเติมรายละเอียด หรือแม้กระทั่งมีสูตร – ความสัมพันธ์ให้ต้องจดจำ น้อง ๆ ก็อาจจะรู้สึกว่าพอรับไหวกับเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น

      เช่น เนื้อหากลุ่มพลังงานความร้อน ที่มีการเรียนรู้เรื่องการถ่ายโอนความร้อนรูปแบบต่าง ๆ การนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน และมีสูตรในการคำนวณการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ Q = mcᐃt และการเปลี่ยนแปลงสถานะ Q = mL เป็นต้น

      แต่สำหรับน้อง ๆ บางคนที่พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไม่ค่อยแข็งแรง พอมาเจอเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น รวมกับการคำนวณ อาจจะบ่นว่าเจอเนื้อหากลุ่มแรกก็ยากซะแล้ว!! วิทยาศาสตร์ พาร์ตฟิสิกส์ สงสัยจะไม่ไหว

      พี่ลูกตาลขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งถอดใจไป เราแค่ต้องการ “การปรับตัว” สู่การเรียนรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับมันสมองของเราที่โตขึ้น ให้ใจเย็น ๆ แล้ว “เปิดใจ” ค่อย ๆ เรียนรู้และปรับตัวไป นะคะ

      ซึ่งในบทหลัง ๆ ของฟิสิกส์ ม.ต้น หลายคนพบว่า “ไม่ยากอย่างที่คิด!” หรือ “เราก็สามารถทำได้นี่นา!” นั่นอาจจะไม่ใช่เพราะเนื้อหาที่ง่ายขึ้น แต่เป็นเพราะน้อง ๆ เริ่ม “เรียนรู้แนวในการพิชิตวิทยาศาสตร์ ม.ต้น พาร์ตฟิสิกส์” นี้แล้วก็เป็นได้ ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ความสามารถในการจดจำและนำไปใช้ มันได้เพิ่มขึ้นถึงระดับแล้วนั่นเอง

      หลังจากที่ได้อ่าน สรุปฟิสิกส์ ม.ต้น เกี่ยวกับเนื้อหาตามหลักสูตร สสวท. บทง่าย – ยาก และแนวข้อสอบแล้ว น้อง ๆ คิดว่าพอไหวกันมั้ยเอ่ย??

      สำหรับน้องคนไหนที่มุ่งมั่นตั้งใจอยากเรียนต่อในระดับ ม.ปลาย สายวิทย์ – คณิต หรือวางแผนอยากสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะวิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สถาปัตยกรรมศาสตร์ ฯลฯ การปูพื้นฐานฟิสิกส์ให้แน่นตั้งแต่ระดับชั้น ม.ต้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เลยนะ

      แล้วถ้าน้อง ๆ อยากเรียนพิเศษฟิสิกส์เพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้า หรือเรียนฟิสิกส์ ม.ต้น แล้วคิดว่าไม่ไหวแน่ ๆ พี่ลูกตาลมีตัวช่วยมาแนะนำกัน นั่นคือ คอร์สฟิสิกส์ ม.ต้น รวมทุกบท ที่ WE BY THE BRAIN ค่ะ

      คอร์สนี้พี่ลูกตาลจะ สอนเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ พาร์ตฟิสิกส์ แบบครบถ้วน ด้วยเทคนิคการสอนที่ทำให้เห็นภาพ ช่วยสร้างการจดจำและเข้าใจ เปลี่ยนฟิสิกส์ให้เป็นเรื่องจิ๊บ ๆ นอกจากนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เทคนิคทริกลัดช่วยให้แก้โจทย์ไวขึ้้น และได้ลองฝึกทำโจทย์หลากหลายแนวแบบจุใจ ด้วยนะ ใครอยากเพิ่มเกรดฟิสิกส์ ม.ต้น หรือพิชิตสนามสอบแข่งขัน ห้ามพลาดคอร์สนี้เลย!!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ