สวัสดีค่าา 👋 วันนี้ “พี่ลูกตาล” จะพาไปเจาะเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น และ ฟิสิกส์ ม.ปลาย กัน
น้อง ๆ คงรู้อยู่แล้วว่าสำหรับการเรียนในทุก ๆ วิชา เมื่อเราต้องเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องเจอกับเนื้อหาที่มีระดับความเข้มข้น ซับซ้อน เจาะลึก และยากขึ้นกว่าเดิม รวมถึง วิชาฟิสิกส์ ด้วยเช่นกัน
หากอยากรู้ว่าเนื้อหาฟิสิกส์ในระดับชั้น ม.ต้น และ ม.ปลาย เรียนอะไรบ้าง? หัวข้อแตกต่างกันไหม? แนวข้อสอบเป็นอย่างไร? ในบทความนี้พี่ลูกตาล สรุปเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น และ ฟิสิกส์ ม.ปลาย มาให้ครบ พร้อมชี้จุดต่างของเนื้อหาฟิสิกส์ทั้งสองระดับชั้น รีบตามมาดูพร้อมกันเลย!!
เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจเลย!
สรุป ฟิสิกส์ ม.ต้น (ม.1, ม.2, ม.3) ตามหลักสูตร สสวท. เรียนอะไรบ้าง?
พี่ลูกตาลขอเริ่มต้นด้วย เนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น ก่อนเลยค่ะ สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น พาร์ตฟิสิกส์ ตามหลักสูตร สสวท. มีบทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนในระดับชั้น ม.1, ม.2, ม.3 ดังนี้
สรุป ฟิสิกส์ ม.1
- ฟิสิกส์ ม.1 เทอม 1 : ไม่มีเนื้อหาวิทยาศาสตร์ พาร์ตฟิสิกส์
- ฟิสิกส์ ม.1 เทอม 2 : พลังงานความร้อน ประกอบด้วย
บทที่ 1 ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสาร
บทที่ 2 การถ่ายโอนความร้อน
สรุป ฟิสิกส์ ม.2
- ฟิสิกส์ ม.2 เทอม 1 : การเคลื่อนที่และแรง ประกอบด้วย
บทที่ 1 การเคลื่อนที่
บทที่ 2 แรงในชีวิตประจำวัน - ฟิสิกส์ ม.2 เทอม 2 : งานและพลังงาน ประกอบด้วย
บทที่ 1 งาน กำลัง และเครื่องกลอย่างง่าย
บทที่ 2 พลังงานกลและกฎการอนุรักษ์พลังงาน
สรุป ฟิสิกส์ ม.3
- ฟิสิกส์ ม.3 เทอม 1 : คลื่นและแสง ประกอบด้วย
บทที่ 1 คลื่น
บทที่ 2 แสง - ฟิสิกส์ ม.3 เทอม 2 : ไฟฟ้า ประกอบด้วย
บทที่ 1 วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
บทที่ 2 ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
สรุป ฟิสิกส์ ม.ปลาย (ม.4, ม.5, ม.6) ตามหลักสูตร สสวท. เรียนอะไรบ้าง?
ตามพี่ลูกตาลมาดู เนื้อหาฟิสิกส์ ม.ปลาย ต่อเลยดีกว่า สำหรับน้อง ม.ปลาย ที่เรียนสายวิทย์ – คณิต จะได้เรียนเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้น ม.4, ม.5, ม.6 ทั้งเทอม 1 และเทอม 2 เลยนะ โดยเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ปลาย ตามหลักสูตร สสวท. มีดังนี้
สรุป ฟิสิกส์ ม.4
- ฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 : กลุ่มกลศาสตร์ 1 ประกอบด้วย
บทที่ 1 ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
บทที่ 2 การเคลื่อนที่แนวตรง
บทที่ 3 แรงและกฎการเคลื่อนที่ - ฟิสิกส์ ม.4 เทอม 2 : กลุ่มกลศาสตร์ 2 ประกอบด้วย
บทที่ 1 สมดุลกล
บทที่ 2 งานและพลังงาน
บทที่ 3 โมเมนตัมและการชน
บทที่ 4 การเคลื่อนที่แนวโค้ง
สรุป ฟิสิกส์ ม.5
- ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 1 : กลุ่มคลื่น ประกอบด้วย
บทที่ 1 การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
บทที่ 2 คลื่น
บทที่ 3 แสงเชิงคลื่น
บทที่ 4 แสงเชิงรังสี - ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 2 : กลุ่มคลื่น และ กลุ่มไฟฟ้า (บางส่วน) ประกอบด้วย
บทที่ 1 เสียง
บทที่ 2 ไฟฟ้าสถิต
บทที่ 3 ไฟฟ้ากระแส
สรุป ฟิสิกส์ ม.6
- ฟิสิกส์ ม.6 เทอม 1 : กลุ่มไฟฟ้า (บางส่วน) และ กลุ่มสมบัติสาร ประกอบด้วย
บทที่ 1 แม่เหล็กและไฟฟ้า
บทที่ 2 ความร้อนและแก๊ส
บทที่ 3 ของแข็งและของไหล - ฟิสิกส์ ม.6 เทอม 2 : กลุ่มฟิสิกส์แผนใหม่ ประกอบด้วย
บทที่ 1 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
บทที่ 2 ฟิสิกส์อะตอม
บทที่ 3 ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค
เนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น VS ฟิสิกส์ ม.ปลาย แตกต่างกันอย่างไร?
ความแตกต่างระหว่างเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น และฟิสิกส์ ม.ปลาย ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น พาร์ตฟิสิกส์ เป็นการปูพื้นฐานความรู้ในแต่ละหัวข้อ ให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจ ความคุ้นชินกับสิ่งที่เกี่ยวข้องที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน
การเรียนการสอนเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น จึงเน้นไปที่การนำไปใช้งานและการเปรียบเทียบกับของจริง รวมทั้งมีการยกตัวอย่างและการทดลองเพื่อพิสูจน์พฤติกรรมการเกิดขึ้นจริง น้อง ๆ จะได้เรียนสูตรการคำนวณและหลักการทางทฤษฎีเชิงลึก ที่ยังไม่มากเท่าเนื้อหาฟิสิกส์ของระดับชั้น ม.ปลาย ถึงแม้จะเรียนเนื้อหาในชื่อบทเดียวกันก็ตามค่ะ
เปรียบเทียบเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ต้น และ ฟิสิกส์ ม.ปลาย ในบทที่ชื่อคล้ายกัน
เมื่อน้อง ม.ต้น ได้เลื่อนระดับชั้นมาเรียนฟิสิกส์ ม.ปลาย อาจจะแอบยิ้มดีใจที่เจอชื่อบทเรียนซ้ำ ๆ เดิม ไม่ว่าจะเป็นบทความร้อน บทการเคลื่อนที่และแรง บทงานและพลังงาน บทคลื่นและแสง รวมทั้งบทไฟฟ้า จนน้อง ๆ บางคนเกิดความสงสัยว่า “เรียนเรื่องเหล่านี้ไปหมดแล้ว ยังจะต้องเรียนอะไรอีก…”
พี่ลูกตาลจะบอกว่า ฟิสิกส์ ม.ต้น ที่น้อง ๆ ได้เรียนมาหลาย ๆ เรื่องนั้น เป็นเพียงการปูพื้นฐานความรู้ให้น้อง ๆ ได้ทำความรู้จักกับหัวข้อต่าง ๆ เท่านั้น ส่วนหลักการสำคัญและรายละเอียดในแต่ละบทเรียน ยังมีให้น้องต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอีกมาก
หัวข้อเนื้อหาย่อยในแต่ละบทเรียนของฟิสิกส์ ม.ปลาย จะมีเพิ่มเติมมากกว่าในระดับชั้น ม.ต้น เช่น ในบทความร้อนของฟิสิกส์ ม.ต้น น้อง ๆ จะได้เรียนเรื่องของการถ่ายโอนพลังงานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือการเปลี่ยนแปลงสถานะ มีการแสดงแบบจำลองการถ่ายโอนพลังงานในรูปแบบการนำความร้อน การพาความร้อน รวมถึงการแผ่รังสีความร้อน
แต่สำหรับฟิสิกส์ ม.ปลาย ในการเปลี่ยนแปลงจากการได้รับ / คายความร้อนดังกล่าว จะไม่มีการเรียนทบทวนในส่วนของแบบจำลองการถ่ายโอนพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว เราจะถูกคาดหวังโดยอัตโนมัติว่าได้เรียนแบบจำลองนั้น ๆ ไปแล้วตั้งแต่ระดับ ม.ต้น และแน่นอนว่าจะถูกคาดหวังว่าเรายังคงจำได้ อิอิ 😅
เนื้อหาฟิสิกส์ ม.ปลาย ในหัวข้อนี้จะถูกเริ่มต้นขึ้นที่การทบทวนสูตรการคำนวณ พร้อมตัวอย่างโจทย์ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือการเปลี่ยนแปลงสถานะแบบต่อเนื่องหลายขั้น กล่าวคือ มีการให้ความร้อนอย่างต่อเนื่องแก่สสารซึ่งตอนเริ่มต้นอยู่ในสถานะของแข็ง ทำให้สสารดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงสถานะ จนหลอมละลายกลายเป็นของเหลวทั้งหมด แต่ทว่ายังมีความร้อนส่วนเกินที่เหลืออยู่ สสารดังกล่าวจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิต่อไปอีก หากความร้อนที่ได้รับมีค่ามากพอ สสารนั้น ๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะอีกครั้ง นั่นก็คือการกลายเป็นไอนั่นเอง
นั่นคือ Qให้ = Qรับ
= Qหลอมเหลว + Qเปลี่ยนอุณหภูมิ + Qกลายเป็นไอ
= mLหลอมเหลว + mc𝚫t + mLกลายเป็นไอ
= m ( Lหลอมเหลว + c𝚫t + Lกลายเป็นไอ )
นอกจากนี้ น้อง ๆ อาจได้เจอกับโจทย์ในระดับยากของฟิสิกส์ ม.ปลาย เช่น ในเรื่องของความร้อนที่พี่ลูกตาลพูดถึงด้านบนนี้ อาจเกิดการถ่ายโอนพลังงานไปจนกระทั่งสสาร “ส่วนหนึ่ง” กลายเป็นไอ แต่ความร้อนมีไม่พอที่จะทำให้กลายเป็นไอทั้งหมด ฉะนั้น มวล m ในส่วนที่กลายเป็นไอ จะเป็นคนละค่ากันกับมวล m ของการหลอมเหลวและการเปลี่ยนอุณหภูมิสองตัวหน้าในสมการ
ประเด็นสำคัญคือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะเกิดกรณีแบบนี้เมื่อไร อันนี้น้อง ๆ ก็ต้องอาศัยเทคนิคนิดหน่อยในการพิจารณา ซึ่งถ้าใครพอมีติดตัวหรือเคยพบเจอมาแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องหนักใจค่ะ
ตัวอย่างข้อสอบฟิสิกส์ พร้อมเฉลย by ดร.พี่ลูกตาล
นอกจากฟิสิกส์ ม.ต้น และ ฟิสิกส์ ม.ปลาย จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเนื้อหาที่น้อง ๆ จะได้เรียนในแต่ละบทแล้ว ข้อสอบฟิสิกส์ ม.ต้น และข้อสอบฟิสิกส์ ม.ปลาย ก็ยังมีระดับความยากและแนวโจทย์ที่ต่างกัน ด้วยนะ (แม้ว่าจะเป็นบทเรียนที่มีชื่อคล้ายกันมาก ๆ ก็ตาม)
แล้วเพื่อให้เห็นความแตกต่างของฟิสิกส์ ม.ต้น และ ม.ปลาย ชัดเจนมากขึ้น พี่ลูกตาลนำ ตัวอย่างข้อสอบฟิสิกส์ พร้อมเฉลยละเอียด มาให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้แนวโจทย์และวิธีการแก้โจทย์แต่ละแบบกัน ใครพร้อมแล้วก็ลุยได้เลย!!
แนวข้อสอบ ฟิสิกส์ ม.ต้น : พลังงานความร้อน
แนวข้อสอบ ฟิสิกส์ ม.ปลาย : ความร้อนและแก๊ส
ความรู้ฟิสิกส์ ม.ต้น ใช้ต่อยอดในการเรียนระดับสูงขึ้นอย่างไรบ้าง?
น้อง ๆ จะเห็นว่า ในเมื่อได้เรียนหัวข้อต่าง ๆ ในเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น โดยภาพรวมมาอย่างครบถ้วน พร้อมทั้งได้รับการปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจมาทั้งหมดแล้ว เมื่อเรียนฟิสิกส์ ม.ปลาย ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันในเชิงลึกลงไปมากขึ้น เก็บรายละเอียด และมีการประยุกต์การนำไปใช้มากยิ่งขึ้น
หากใครตั้งใจเรียนมาอย่างดีในระดับชั้น ม.ต้น ก็จะสามารถเรียนต่อในระดับชั้น ม.ปลาย ได้เลย อาศัยการทบทวนความจำเพียงเล็กน้อยก็สามารถต่อยอดความรู้ในส่วนเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ปลาย ได้แล้ว
แต่หากน้องคนไหนยังไม่ทันได้ตั้งตัว ก็ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ เรายังสามารถรื้อฟื้น หรือทำการปรับพื้นฐานความรู้ก่อนเรียนต่อระดับชั้น ม.ปลาย ได้ หรืออาจจะเรียนเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ปลาย ต่อไปเลย แล้วถ้าติด สงสัย หรือไม่เข้าใจจุดไหน ค่อยย้อนกลับไปเก็บเนื้อหาส่วนนั้นเป็นจุด ๆ ก็ได้ แต่ต้องยอมรับตัวเองเองก่อนนะ ว่าเราต้องเหนื่อยและต้องมีความพยายามมากกว่าเพื่อนบางคนที่เขามีความพร้อมอยู่แล้วแน่นอน
เคล็ดลับติวฟิสิกส์ให้เก่ง เรียนเข้าใจ คว้าคะแนนปังทุกสนามสอบ!
หากอยากเก่งฟิสิกส์ ม.ต้น และ ม.ปลาย เรียนเข้าใจ ทำข้อสอบได้ ส่วนตัวพี่ลูกตาลมีความเชื่ออยู่ว่าไม่ว่าน้อง ๆ จะมีพื้นฐานไม่ดีหรือแย่แค่ไหน ก็สามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนมันให้ดีขึ้นได้เสมอ ต่อให้พื้นฐานแย่มาก ๆ เราก็สามารถเริ่มต้นใหม่ได้ แค่ต้องยอมเหนื่อยมากกว่าคนอื่นสักหน่อย อดทนมากกว่าคนอื่นสักนิด ใส่ความพยายามเข้าไป ปัญหาต่าง ๆ ก็แก้ไขได้เสมอ เพียงแต่หลาย ๆ คนไม่ยอมที่จะเริ่มต้นแก้ไขสักทีเท่านั้นเอง
ถ้าน้อง ๆ ยังไม่มั่นใจว่าพื้นฐานฟิสิกส์ของตัวเองอยู่ระดับไหน พี่ลูกตาลแนะนำว่าให้ลองทำ “โจทย์ข้อสอบแต่ละสนามสอบ” ที่มีเผยแพร่มากมายอยู่ในสื่อออนไลน์สมัยนี้ อาจจะลองหาโจทย์ฟิสิกส์มาทำสัก 5 ข้อ แล้วตอบคำถามสำรวจตัวเองของพี่ลูกตาลข้างล่างนี้ดูซิว่าน้อง ๆ ได้กี่คะแนนกัน
เมื่อน้อง ๆ ได้ลองทบทวนและประเมินระดับความรู้ฟิสิกส์ของตัวเราเองแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะสามารถวางแผนการเรียนได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น แต่ทั้งนี้แผนการเรียนของเรานั้น ต้องมีความชัดเจนและสามารถปฏิบัติตามได้จริง อย่าวางแผนหย่อนไปและตึงจนเกินไปด้วยนะ วิธีนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกระดับชั้น ทั้งการเรียนฟิสิกส์ ม.ต้น และฟิสิกส์ ม.ปลาย เลยค่ะ
พี่ลูกตาลมั่นใจว่าหลังจากที่น้อง ๆ อ่านบทความนี้จบ คงได้รู้แล้วว่าฟิสิกส์ ม.ต้น และฟิสิกส์ ม.ปลาย เรียนอะไร? รวมทั้งเนื้อหาบทเรียนฟิสิกส์ ม.ต้น และ ม.ปลาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง?
สำหรับใครที่ชื่นชอบวิชาฟิสิกส์ และตั้งเป้าหมายไว้ว่าอยากเรียนต่อ ม.ปลาย สายวิทย์ – คณิต หรือสอบเข้ามหาวิทยาลัยคณะ / สาขาที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ แล้วอยากจะติวฟิสิกส์เพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ก็มาสมัครเรียน คอร์สฟิสิกส์ ม.ต้น รวมทุกบท, คอร์สฟิสิกส์ ม.ปลาย และ คอร์สฟิสิกส์ A-Level รวมทุกบท ได้เลย
เพราะ คอร์สเรียนฟิสิกส์ที่ WE BY THE BRAIN พี่ลูกตาล สรุปเนื้อหาครบ ครอบคลุม ด้วยวิธีการสอนให้เห็นภาพ ช่วยสร้างการจดจำและเข้าใจมากขึ้น พาน้อง ๆ ตะลุยโจทย์หลากหลาย ครอบคลุมทุกสนามสอบสำคัญ ทั้งข้อสอบจากในประเทศและต่างประเทศ พร้อมเสริม เทคนิคการแก้โจทย์อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาในการทำข้อสอบ เปลี่ยนวิชาปราบเซียนอย่างฟิสิกส์ให้เป็นเรื่องจิ๊บ ๆ ได้ไม่ยาก!!