สวัสดีค่ะ “พี่ลูกตาล” มีสรุปเนื้อหาฟิสิกส์มาแจกกันอีกแล้วว!!
สำหรับน้อง ๆ ที่เรียนอยู่ในระดับชั้น ม.ต้น จะต้องได้เจอกับเนื้อหาฟิสิกส์กันทุกคนเลยนะ เพราะว่าฟิสิกส์เป็น 1 ใน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของวิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น นั่นเอง (อีก 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ โลกและอวกาศ, ชีววิทยา, เคมี) ซึ่งวันนี้พี่ลูกตาลจะพาน้อง ๆ มาตะลุย เนื้อหาฟิสิกส์ บทไฟฟ้า ม.3 ที่หลายคนบ่นว่าเป็นฟิสิกส์บทยากของระดับชั้น ม.ต้น ⚡
ถ้าอยากรู้ว่า ฟิสิกส์ ม.ต้น บทไฟฟ้า มีเนื้อหาอะไรบ้าง? หัวข้อไหนสำคัญ? แนวข้อสอบเป็นยังไง? ตามพี่ลูกตาลมาดูพร้อมกันเลยค่ะ
เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจเลย!
น้อง ๆ จะได้เรียน “บทไฟฟ้า” ในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น พาร์ตฟิสิกส์ ระดับชั้นไหน?
ก่อนที่เราจะลงลึกบทไฟฟ้า ที่เป็นเนื้อหาของฟิสิกส์ ม.3 พี่ลูกตาลขอพาน้อง ๆ มาดูภาพรวมของวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้น ม.ต้น ตามหลักสูตร สสวท. กันสักนิดก่อนว่า ในส่วนของเนื้อหา วิทยาศาสตร์ ม.ต้น พาร์ตฟิสิกส์ น้อง ๆ จะได้เรียนเรื่องอะไรบ้าง โดยแบ่งเนื้อหาฟิสิกส์ตามระดับชั้น ม.1 – ม.2 – ม.3 และแบ่งเป็นเทอม 1 และเทอม 2 ได้ดังนี้
ฟิสิกส์ ม.1
- ฟิสิกส์ ม.1 เทอม 1 : ไม่มีเนื้อหาวิทยาศาสตร์ พาร์ตฟิสิกส์
- ฟิสิกส์ ม.1 เทอม 2 : พลังงานความร้อน
บทที่ 1 ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสาร
บทที่ 2 การถ่ายโอนความร้อน
ฟิสิกส์ ม.2
- ฟิสิกส์ ม.2 เทอม 1 : การเคลื่อนที่และแรง
บทที่ 1 การเคลื่อนที่
บทที่ 2 แรงในชีวิตประจำวัน - ฟิสิกส์ ม.2 เทอม 2 : งานและพลังงาน
บทที่ 1 งาน กำลัง และเครื่องกลอย่างง่าย
บทที่ 2 พลังงานกลและกฎการอนุรักษ์พลังงาน
ฟิสิกส์ ม.3
- ฟิสิกส์ ม.3 เทอม 1 : คลื่นและแสง
บทที่ 1 คลื่น
บทที่ 2 แสง - ฟิสิกส์ ม.3 เทอม 2 : ไฟฟ้า
บทที่ 1 วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
บทที่ 2 ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
ซึ่ง บทไฟฟ้า จะอยู่ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น พาร์ตฟิสิกส์ ที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันตอน ม.3 เทอม 2 นั่นเองค่ะ
สรุปเนื้อหาฟิสิกส์ ม.3 - บทไฟฟ้า
คราวนี้พี่ลูกตาลขอพาน้อง ๆ ม.3 มาเจาะเนื้อหาฟิสิกส์ บทไฟฟ้า กันเลยดีกว่า สำหรับน้อง ม.ต้น ที่เรียนเรื่องไฟฟ้าไม่ค่อยเข้าใจ หรืออยากได้สรุปฟิสิกส์ไว้อ่านก่อนสอบ พี่ลูกตาลสรุปหัวข้อที่น่าสนใจและประเด็นสำคัญของบทนี้ไว้ให้แล้ว ตามไปดูพร้อมกันเลย!!
▸ ไฟฟ้า ม.3 : พื้นฐานทางไฟฟ้า
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า เป็นแหล่งพลังงานที่ก่อให้เกิดความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าใน 2 บริเวณ (2 ขั้วไฟฟ้า คือ ขั้วบวกและขั้วลบ) ซึ่งแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่
- เซลล์ไฟฟ้า เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ เป็นต้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. เซลล์ไฟฟ้าปฐมภูมิ : ใช้แล้วความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหมดไป
2. เซลล์ไฟฟ้าทุติยภูมิ : เมื่อใช้จนกระทั่งความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหมดไปแล้ว สามารถนำมาอัดประจุ (Charge) ไฟ เพื่อให้เกิดความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วได้อีก - เซลล์สุริยะ (Solar Cell) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแปลง พลังงานแสง → พลังงานไฟฟ้า
- เครื่องกำเนิดไฟ (Generator) หรือ ไดนาโม (Dynamo) คือ อุปกรณ์ในการแปลง พลังงานกล → พลังงานไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้า
เมื่อประจุไฟฟ้าในลวดตัวนำมีการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องจากบริเวณหนึ่งไปยังบริเวณหนึ่ง จะเกิดการไหลของกระแสประจุ ที่เราเรียกกันว่า “กระแสอิเล็กตรอน” ซึ่งเป็นกระแสของประจุไฟฟ้าชนิดลบ เคลื่อนที่จากบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ → ศักย์ไฟฟ้าสูง
เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ จึงมีการสมมติทิศกระแสของประจุไฟฟ้าชนิดบวก ให้มีทิศสวนทางกับการไหลของกระแสอิเล็กตรอนดังกล่าว เรียกกระแสที่สมมตินี้ว่า “กระแสไฟฟ้า” มีทิศจากบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ → ศักย์ไฟฟ้าสูง
กระแสไฟฟ้า (I) สามารถพิจารณาได้จาก ปริมาณประจุไฟฟ้า (Q) ที่ผ่านพื้นที่หน้าตัดหนึ่ง ๆ ต่อหนึ่งหน่วยเวลา (t) แสดงดังสมการข้างล่างนี้
เมื่อ ประจุไฟฟ้า มีหน่วยเป็น คูลอมบ์ และ เวลา มีหน่วยเป็น วินาที ดังนั้น กระแสไฟฟ้า จึงมีหน่วยเป็น คูลอมบ์ต่อวินาที หรือ แอมแปร์ (A)
ความต้านทานไฟฟ้า
ความต้านทานไฟฟ้า คือ ปริมาณทางไฟฟ้าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า หากวัสดุใดมีความต้านทานไฟฟ้าสูง แสดงว่าวัสดุนั้น ๆ ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ต่ำ อันได้แก่ วัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ยาง ไม้ พลาสติก เป็นต้น หรือในทางกลับกัน หากวัสดุใดมีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ แสดงว่าวัสดุนั้น ๆ ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้สูง อันได้แก่ วัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น เงิน ทองแดง ทอง อลูมิเนียม เป็นต้น
ค่าความต้านทานไฟฟ้า นอกจากจะขึ้นอยู่กับ ชนิดของวัสดุ แล้ว ยังขึ้นอยู่กับ ลักษณะเชิงรูปร่าง และ อุณหภูมิ อีกด้วย โดยความต้านทานเชิงรูปร่างของกรณีลวดโลหะ สามารถคำนวณได้จากสูตรความสัมพันธ์ ดังนี้
▸ ไฟฟ้า ม.3 : กฎของโอห์ม
▸ ไฟฟ้า ม.3 : วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ
- เซลล์ไฟฟ้า (E) : แหล่งพลังงานไฟฟ้าซึ่งก่อให้เกิดความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าระหว่าง 2 ขั้วของแหล่งกำเนิด
- สายไฟฟ้า : โลหะ ลวดตัวนำ ซึ่งทำหน้าที่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า (I) ในวงจร
- ภาระทางไฟฟ้า (R) : เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าใด ๆ ที่จะนำพลังงานไปใช้ในการทำงาน
จาก กฎของโอห์ม สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง E, I และ R ได้ ดังนี้
ในการต่อวงจรไฟฟ้า ส่วนของ ภาระทางไฟฟ้า อาจจะมีมากกว่า 1 ภาระ จึงต้องมีการต่อวงจรของภาระทางไฟฟ้าที่มากกว่า 1 ชิ้นนั้น ๆ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหล รวมถึงเกิด ความต่างศักย์ (แรงดันไฟฟ้า) ในแต่ละอุปกรณ์ ซี่งการต่อวงจรของภาระทางไฟฟ้านี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบหลัก คือ การต่อวงจรแบบอนุกรม และ การต่อวงจรแบบขนาน
การต่อวงจรแบบอนุกรม
การต่อวงจรแบบขนาน
▸ ไฟฟ้า ม.3 : พลังงานไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้า คือ งานที่ใช้ในการเคลื่อนที่ประจุ Q ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้า คือ พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนที่ประจุ Q ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าในหนึ่งหน่วยเวลา
Checklist จุดสำคัญของฟิสิกส์ บทไฟฟ้า ม.3 ที่น้อง ๆ ต้องรู้! ออกสอบชัวร์!!
ถ้าน้อง ๆ อยากจะเก็บเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น บทไฟฟ้า เพื่อไปคว้าคะแนนสอบ พี่ลูกตาลไม่พลาดที่จะทำเช็กลิกส์ จุดสำคัญของบทไฟฟ้า ที่น้อง ๆ ม.3 ต้องรู้ เพราะมีแนวโน้มออกสอบชัวร์ ๆ มาฝากกันด้วยค่ะ
▢ ปริมาณพื้นฐานทางไฟฟ้า ได้แก่ กระแสไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า และความต่างศักย์ไฟฟ้า
▢ สัญลักษณ์แทนอุปกรณ์ไฟฟ้า
▢ การใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า เช่น แอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ มัลติมิเตอร์ เป็นต้น
▢ กฎของโอห์ม
▢ การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
– วงจรแบบอนุกรม
– วงจรแบบขนาน
▢ การคิดค่าไฟจากปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน
▢ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวต้านทาน ไดโอด ไดโอดเปล่งแสง (LED) ตัวเก็บประจุ ทรานซิสเตอร์ เป็นต้น
แนวข้อสอบฟิสิกส์ บทไฟฟ้า ม.ต้น พร้อมเฉลยละเอียด
นอกจากจะมีสรุปเนื้อหาและเช็กลิสต์จุดสำคัญของบทไฟฟ้า ม.3 มาแจกกันแล้ว พี่ลูกตาลเชื่อว่าน้อง ๆ คงอยากรู้แนวข้อสอบฟิสิกส์ ม.ต้น บทไฟฟ้า ว่าข้อสอบยากมั้ย? เพื่อจะได้นำมาเป็นแนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับข้อสอบฟิสิกส์บทนี้ ถ้าพร้อมแล้วเราไปลุยกันเลย!!
▸ แนวข้อสอบฟิสิกส์ พร้อมเฉลย : บทไฟฟ้า [ข้อที่ 1]
▸ แนวข้อสอบฟิสิกส์ พร้อมเฉลย : บทไฟฟ้า [ข้อที่ 2]
จบกันไปแล้วนะคะ กับ สรุปฟิสิกส์ บทไฟฟ้า ที่พี่ลูกตาลเน้นมาให้น้อง ม.3 แล้วว่า จุดไหนเป็นเนื้อหาสำคัญที่น้อง ๆ ต้องทำความเข้าใจให้ดี ๆ เพราะมีโอกาสพบเจอได้บ่อยในข้อสอบ แล้วยังมีตัวอย่างข้อสอบฟิสิกส์ พร้อมเฉลยละเอียด มาให้ได้เรียนรู้วิธีแก้โจทย์กันอีกด้วย
หรือน้องคนไหนอยากจะ ติวฟิสิกส์ บทไฟฟ้า ม.3 ให้พื้นฐานแน่นยิ่งขึ้น ก็มาสมัคร คอร์สฟิสิกส์ ม.ต้น บทย่อย – ไฟฟ้า ได้เลย คอร์สนี้พี่ลูกตาล สรุปเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ต้น ในหัวข้อเฉพาะกลุ่มไฟฟ้า (พื้นฐานทางไฟฟ้า, วงจรไฟฟ้า, การใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน) ไว้อย่างครบถ้วน เข้มข้น สอนด้วยเทคนิคที่ช่วยให้เห็นภาพ เข้าใจง่าย สร้างการจดจำได้นาน พร้อมพาฝึกทำโจทย์หลากหลายแนว สอนวิธีการทำโจทย์อย่างเป็นลำดับขั้น และเสริมด้วยเทคนิคแก้โจทย์ไว ใช้ได้จริงในห้องสอบ เพิ่มโอกาสคว้าเกรด 4 วิชาฟิสิกส์ และเตรียมความพร้อมสำหรับสนามสอบสำคัญในอนาคต 🥰
ถ้าอยากได้ความรู้เกี่ยวกับฟิสิกส์ และไม่พลาดสาระดี ๆ จาก “พี่ลูกตาล” ไม่ว่าจะเป็นการสรุปเนื้อหา เจาะลึกแนวข้อสอบสนามสำคัญ หรือแจกเคล็ดลับการเรียน ก็รีบกดติดตามได้ที่ช่องทางเหล่านี้เลย!!
- Facebook Page : WE BY THE BRAIN
- Instagram : webythebrain
- Youtube : WE BY THE BRAIN
- Tiktok : ฟิสิกส์ เดอะเบรน
- Lemon8 : ฟิสิกส์เดอะเบรน