สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 พร้อมแนวข้อสอบ TCAS แจกฟรี!

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 พร้อมแนวข้อสอบ TCAS & เฉลยละเอียด แจกฟรี!

 

      น้อง ๆ หลายคนพอเห็นชื่อบท ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม อาจจะคิดว่าบทนี้ต้องยากแน่ ๆ เลย เพราะแค่ชื่อก็ดูน่ากลัวแล้ว แต่จริง ๆ แล้วบทนี้ไม่ยากมากอย่างที่หลาย ๆ คนกลัวกันเลยนะครับ ถ้าน้อง ๆ เรียนอย่างเข้าใจ จับหลักการสำคัญ จำสูตรและเทคนิคได้ บวกกับการฝึกทำโจทย์อย่างสม่ำเสมอ “พี่กอล์ฟ” บอกได้เลยว่าบทนี้จะเป็นบทเก็บคะแนนของน้อง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสอบที่โรงเรียน หรือข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่าง A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1

      โดยบทฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึมนี้ จะอยู่ในเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2 แต่ก็อาจจะมีบางโรงเรียนที่จัดไว้ในเนื้อหา ม.5 เทอม 1 ด้วย

      สำหรับพื้นฐานความรู้ที่น้อง ๆ จะต้องมีเพื่อให้เรียนบทฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึมได้ดีและมีประสิทธิภาพ คือ ความรู้เรื่องเลขยกกำลัง, ราก, กรณฑ์ ของคณิตศาสตร์ ม.ต้น และในเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของคณิตศาสตร์ ม.4

      เดี๋ยวเราไปดู เนื้อหา จุดเน้น รวมถึงแนวข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ของบทฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมกันเลยดีกว่าครับ 😊

สนใจหัวข้อไหน คลิกอ่านเลย!

เลขยกกำลัง

      เริ่มต้นหัวข้อแรกของบทฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึมนี้ จะเป็นการทบทวนเรื่อง เลขยกกำลัง ซึ่งน้อง ๆ ได้เรียนกันมาแล้วตอน ม.ต้น แต่ในช่วงต้นบทจะทบทวนอีกครั้ง เพราะเรื่องเลขยกกำลังเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก ๆ ในบทนี้ครับ

บทนิยาม

      ให้  a  เป็นจำนวนจริง และ  n  เป็นจำนวนเต็มบวก

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - เลขยกกำลัง (บทนิยาม)

           เรียก  an  ว่า เลขยกกำลัง
           เรียก  a    ว่า ฐานของเลขยกกำลัง
           เรียก  n    ว่า เลขชี้กำลัง

สมบัติของเลขยกกำลัง

      ให้ a, b เป็นจำนวนจริงที่ไม่เป็น 0,  m และ n เป็นจำนวนตรรกยะ

            1.  am ⋅ a=  am+n
            2.  \frac{a^m}{a^n}  =  am-n
            3.  (am)n  =  amn
            4.  (ab)n  =  anbn 
            5.  (\frac{a}{b})n  =  \frac{a^n}{b^n}
            6.  a=  1
            7.  a-n  =  \frac{1}{a^n}

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 1

รากที่สองในระบบจำนวนจริง และรากที่ n ในระบบจำนวนจริง

บทนิยาม

      ให้  x  และ  y  เป็นจำนวนจริง
      y  เป็นรากที่สองของ  x  ก็ต่อเมื่อ  y=  x

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 2

บทนิยาม

      ให้ x และ y เป็นจำนวนจริง และ n เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 1
      y เป็นรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ  yn  =  x

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 3

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ (ค่าหลักของรากที่ n)

บทนิยาม

      ให้ x และ y เป็นจำนวนจริง และ n เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 1
      y เป็นค่าหลักของรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ

          1.  y เป็นรากที่ n ของ x และ
          2.  xy  ≥  0

      แทนค่าหลักของรากที่ n ของ x ด้วย  \sqrt[n]{x}  อ่านว่า กรณฑ์ที่ n ของ x

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 4
สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 5

สมการที่มีเครื่องหมายกรณฑ์

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 6
สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 6 (ตรวจคำตอบ)

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

บทนิยาม

       ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล คือ ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป  {(x, y) ∈ R x R+ ∣ y = ax}  โดยที่ a เป็นจำนวนจริง ซึ่ง  a > 0  และ  a 1

      จากนิยาม พบว่า ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จะมีความสัมพันธ์แบบเลขยกกำลัง โดยมีเลขชี้กำลังเป็นตัวแปร และฐานเป็นจำนวนจริง

      เช่น  y = 2x ,   y = 5x ,   y = (\frac{2}{3})x  แต่ถ้าเป็น  y = x2 ,   y = x5  แบบนี้จะไม่ใช่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

กราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

      ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล สามารถแบ่งได้เป็น ฟังก์ชันเพิ่ม กับ ฟังก์ชันลด โดยดูจากฐาน (a) ของ  y = ax

          1.  ถ้า  a > 1  จะเป็นฟังก์ชันเพิ่ม เช่น  y = 5x , y = 3x
          2.  ถ้า  0 < a < 1  จะเป็นฟังก์ชันลด เช่น  y = (\frac{์1}{2})x , y = (\frac{์4}{7})x

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - กราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล
สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 7

สมการเอกซ์โพเนนเชียล

      สมการเอกซ์โพเนนเชียล คือ สมการเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังติดตัวแปร มีหลักการแก้ดังนี้

      1.  ทำฐานทั้ง 2 ข้างของสมการให้เท่ากัน

               ถ้า  am  =  an  แล้ว  m  =  n

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 8

    2.  ถ้าฐานไม่เท่ากัน แต่เลขชี้กำลังเท่ากัน ให้อ้างว่าเลขชี้กำลังเท่ากับศูนย์

               ถ้า  am  =  bm  แล้ว  m  =  0

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 9

อสมการเอกซ์โพเนนเชียล

      การแก้อสมการเอกซ์โพเนนเชียล จะใช้หลักการของฟังก์ชันเพิ่ม ฟังก์ชันลด

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - อสมการเอกซ์โพเนนเชียล

      Note  สำหรับเครื่องหมาย  < , ≤ , ≥  ก็ใช้หลักการเดียวกัน

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 10
สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 11

ฟังก์ชันลอการิทึม

บทนิยาม

      ฟังก์ชันลอการิทึม คือ ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป  {(x, y) ∈ R+ x R ∣  y = logax}  โดยที่  a  เป็นจำนวนจริง ซึ่ง  a > 0  และ  a 1

      ฟังก์ชันลอการิทึม คือ ฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล นั่นคือ

x = ay  ก็ต่อเมื่อ  y = logax

      จากนิยามด้านบน มีจุดที่น้อง ๆ ต้องระมัดระวัง คือ
          1.  เลขที่อยู่ด้านหลัง log ต้องมีค่ามากกว่าศูนย์เสมอ
          2.  ฐานของ log ต้องเป็นจำนวนจริงบวก และไม่เท่ากับหนึ่ง

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ฟังก์ชันลอการิทึม

กราฟของฟังก์ชันลอการิทึม

      กราฟของฟังก์ชันลอการิทึม จะคล้ายกับกราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล คือ แบ่งได้เป็นฟังก์ชันเพิ่มกับฟังก์ชันลด โดยดูจากฐาน (a) ของ  y = logax

          1.  ถ้า  a > 1  จะเป็นฟังก์ชันเพิ่ม เช่น  y = log2x , y = log7x
          2.  ถ้า  0 < a < 1  จะเป็นฟังก์ชันลด เช่น  y = log_\frac{์1}{2}x , y = log_\frac{์4}{9}x

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - กราฟของฟังก์ชันลอการิทึม
สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 12

ลอการิทึมสามัญ

      ลอการิทึมสามัญ คือ ลอการิทึมที่มีฐานเท่ากับสิบ และโดยทั่ว ๆ ไป ลอการิทึมฐาน 10 จะไม่นิยมเขียนฐาน เช่น  log x = log10x , log 15 = log1015

ลอการิทึมธรรมชาติ

      ลอการิทึมธรรมชาติ หรือ ลอการิทึมแบบเนเปียร์ คือ ลอการิทึมฐาน e  เมื่อ e เป็นสัญลักษณ์แทนจำนวนอตรรกยะจำนวนหนึ่งซึ่งมีค่าประมาณ 2.71828182846 นิยมเขียน  lnx  แทน  logex

สมบัติของฟังก์ชันลอการิทึม

      ในการเรียนบทฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 สมบัติต่าง ๆ ของฟังก์ชันลอการิทึม นับเป็นหัวใจสำคัญของบทนี้เลยครับ น้อง ๆ จะต้องจำสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ให้แม่นยำ เพราะจะถูกนำมาใช้ตลอดทั้งการคำนวณค่าตัวเลข จนถึงการแก้สมการและอสมการลอการิทึม

      ให้ a, b, c, M และ N เป็นจำนวนจริงบวกที่ a 1, b 1, c 1 และ k เป็นจำนวนจริง จะได้ว่า

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - สมบัติของฟังก์ชันลอการิทึม
สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 13
สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 14

สมการลอการิทึม

      หลักการแก้สมการลอการิทึม

      ให้  a > 0  และ  a 1  ถ้า  logam = logan  แล้ว  m = n

ข้อควรระวัง

      ทุกครั้งที่แก้สมการลอการิทึมเสร็จ น้อง ๆ จะต้องนำคำตอบที่ได้ไปตรวจสอบเสมอนะครับ โดยต้องตรวจสอบ 2 ที่ คือ

          1. เลขที่อยู่ด้านหลัง log ต้องมีค่ามากกว่าศูนย์เสมอ
          2. ฐานของ log ต้องเป็นจำนวนจริงบวก และไม่เท่ากับหนึ่ง

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - สมการลอการิทึม
สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 15
สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 15 (ตรวจคำตอบ)

อสมการลอการิทึม

      การแก้อสมการลอการิทึม จะใช้หลักการของฟังก์ชันเพิ่ม ฟังก์ชันลด

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - อสมการลอการิทึม

      Note  สำหรับเครื่องหมาย  <, ≤, ≥  ก็ใช้หลักการเดียวกัน

สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 16 (1)
สรุป ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 - ตัวอย่าง 16 (2)

การประยุกต์ของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม

      สำหรับความรู้ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์ด้านอื่น ๆ ได้มากมาย ทั้งฟิสิกส์, เคมี, เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น

1. ระดับเสียง

      ระดับเสียง (sound level) เป็นการเปรียบเทียบความเข้มเสียงนั้นกับความเข้มเสียงเบาที่สุดที่มนุษย์ได้ยิน เนื่องจากความเข้มเสียงที่มนุษย์ได้ยินอยู่ในช่วง 10-12 วัตต์ต่อตารางเมตร ถึง 1 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่กว้างมาก ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการจัดลำดับความเข้มเสียง จึงนิยมใช้ระดับเสียงเป็นตัวบอกความดังของเสียงแทนความเข้มของเสียง ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้

β  =  10log\frac{์I}{I_0}

          เมื่อ  β  แทน  ระดับเสียง มีหน่วยเป็นเดซิเบล
                  I   แทน  ความเข้มเสียงที่ต้องการวัด มีหน่วยเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร
                  I0  แทน  ความเข้มเสียงที่หูคนปกติเริ่มได้ยิน ซึ่งเท่ากับ 10-12 วัตต์ต่อตารางเมตร

2. ระดับความเป็นกรด - เบส

      ระดับความเป็นกรด – เบส (pH) ของสารละลาย สามารถคำนวณได้ดังนี้

pH = -log[H3O+]

      เมื่อ  pH           แทน  ระดับความเป็นกรด – เบสของสารละลาย
              [H3O+]   แทน  ความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน มีหน่วยเป็นโมลต่อลิตร

3. ดอกเบี้ยทบต้น

      การฝากเงินที่มีการคิด ดอกเบี้ยทบต้นต่อปี โดยคิดดอกเบี้ยทุกสิ้นปี สามารถคำนวณได้ดังนี้

B(n) = B0(1+r)n

      เมื่อ  B(n)  แทน  จำนวนเงินฝากในบัญชี เมื่อสิ้นสุดปีที่  n
              B0    แทน  จำนวนเงินฝากเริ่มต้น
              r       แทน  อัตราดอกเบี้ยทบต้นต่อปี

4. การเพิ่มจำนวนแบคทีเรีย

      การเพิ่มขึ้นของจำนวนแบคทีเรีย ซึ่งเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา สามารถคำนวณได้ดังนี้

n(t) = n0ert

      เมื่อ  n(t)  แทน  จำนวนแบคทีเรียเมื่อเวลาผ่านไป  t  ชั่วโมง
              n0    แทน  จำนวนแบคทีเรียเมื่อเวลาเริ่มต้น
              r      แทน  อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนแบคทีเรียต่อเวลา

      และนี่คือ เนื้อหาและสูตรที่สำคัญในบทฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ที่น้อง ๆ ควรรู้ก่อนเข้าห้องสอบนะครับ น้อง ๆ จะเห็นว่าบทนี้ไม่ได้ยากอย่างที่หลาย ๆ คนกลัวกันเลย

      ซึ่งจุดเน้นในบทนี้ที่ข้อสอบมักจะออกบ่อย ๆ ทั้งข้อสอบกลางภาค ข้อสอบปลายภาค ไปจนถึงข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย อย่างข้อสอบ A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ก็คือ

          1.  สมการ ทั้งสมการเอกซ์โพเนนเชียลและสมการลอการิทึม
          2.  อสมการ ทั้งอสมการเอกซ์โพเนนเชียลและอสมการลอการิทึม
          3.  การใช้สมบัติของลอการิทึมในการคำนวณเลข
          4.  กราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม
          5.  โจทย์ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม

      ถ้าน้อง ๆ ทบทวนตามหัวข้อเหล่านี้และฝึกฝนทำโจทย์ให้คล่อง พี่กอล์ฟมั่นใจว่าน้อง ๆ จะต้องเก็บคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์บทนี้ได้อย่างแน่นอนครับ

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมเฉลย วิชาคณิตศาสตร์ - ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม

      นอกจากจะมีสรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ บทฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม มาฝากน้อง ๆ แล้ว พี่ไม่ลืมที่จะนำ ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย วิชาคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลยละเอียด มาให้น้อง ๆ ได้ดูเป็นแนวทางไว้สำหรับเตรียมความพร้อมก่อนสอบด้วยครับ ตามไปดูเลย!

• ข้อสอบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมเฉลย ข้อที่ 1

ข้อสอบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมเฉลย ข้อที่ 1

• ข้อสอบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมเฉลย ข้อที่ 2

ข้อสอบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมเฉลย ข้อที่ 2

• ข้อสอบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมเฉลย ข้อที่ 3

ข้อสอบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมเฉลย ข้อที่ 3 (1)
ข้อสอบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมเฉลย ข้อที่ 3 (2)

• ข้อสอบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมเฉลย ข้อที่ 4

ข้อสอบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมเฉลย ข้อที่ 4

• ข้อสอบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมเฉลย ข้อที่ 5

ข้อสอบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม พร้อมเฉลย ข้อที่ 5

      สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังมองหาตัวช่วยติวคณิตศาสตร์ บทฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ความรู้แน่นขึ้น สามารถสมัครเรียน คอร์สคณิตศาสตร์ ม.ปลาย บทย่อย – ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม กับ WE BY THE BRAIN ได้เลย ในคอร์สนี้สรุปเนื้อหาครบถ้วน กระชับ เข้าใจง่าย พร้อมทั้งมีโจทย์หลายแนวให้น้อง ๆ ได้ฝึกฝน และยังได้เรียนรู้เทคนิคทริกลัดที่จะช่วยให้แก้โจทย์เร็วขึ้น พาน้อง ๆ คว้าเกรด 4 อย่างมั่นใจ และเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในอนาคต ✌️

      ใครอยากเก่งคณิต อยากได้โจทย์และเทคนิคดี ๆ จากพี่ ๆ ติวเตอร์ WE MATH รีบกดติดตามก่อนใครได้ที่ช่องทางด้านล่างนี้เลย!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ