สรุปเนื้อหา จำนวนจริง ม.4 แจกฟรี! แนวข้อสอบ TCAS พร้อมเฉลยละเอียด

สรุป จำนวนจริง ม.4 พร้อมแนวข้อสอบ TCAS & เฉลยละเอียด แจกฟรี!



      วันนี้ “พี่เอ๋” จะมาแจกสรุปเนื้อหาบท จำนวนจริง ม.4 ครับ ซึ่งบทนี้น้อง ๆ จะได้เรียนกันมาบ้างแล้วในวิชา คณิตศาสตร์ ม.ต้น ไม่ว่าจะเป็นจำนวนนับ, จำนวนเต็ม, จำนวนตรรกยะ, จำนวนอตรรกยะ, การแก้สมการพหุนามต่าง ๆ, เรื่องค่าสัมบูรณ์ เป็นต้น

      ซึ่งในบทจำนวนจริง ม.4 จะเรียนเนื้อหาที่ละเอียดขึ้นและลึกลงไปมากกว่าตอน ม.ต้น โดยบทนี้จัดว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนต่อไปในบทอื่น ๆ ของ คณิตศาสตร์ ม.ปลาย เช่น บทความสัมพันธ์และฟังก์ชัน, ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม, ฟังก์ชันตรีโกณมิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย เพราะบทระบบจำนวนจริง ม.ปลาย จะสอนให้น้อง ๆ รู้จักจำนวนต่าง ๆ การแก้สมการและอสมการในรูปแบบต่าง ๆ มากมายนั่นเอง

      พี่เอ๋ได้สรุปและลิสต์จุดออกข้อสอบของบทนี้มาให้แล้ว นั่นคือ

  1. ทฤษฎีบทเศษเหลือ
  2. ตัวประกอบของพหุนาม
  3. การหารพหุนามด้วยขั้นตอนวิธีการหาร
  4. การแก้สมการพหุนามตัวแปรเดียว
  5. คำตอบของสมการพหุนาม
  6. อสมการ
  7. สมการค่าสมบูรณ์
  8. อสมการค่าสมบูรณ์
  9. โจทย์ปัญหาสมการเศษส่วนของพหุนาม

      แล้วถ้าเราพูดถึงสถิติการออกข้อสอบของบทจำนวนจริง ในข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย น้อง ๆ สามารถดูได้จากตารางนี้เลย

ตารางแสดงสถิติการออกข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย บทจำนวนจริง

      จากตารางด้านบน ในปี 64 และปี 65 จะเป็นสถิติข้อสอบของวิชาคณิตศาสตร์ 1 วิชาสามัญ และข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ PAT1 และสำหรับปี 66 และปี 67 จะเป็นสถิติข้อสอบของวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 A-Level ครับ

      เอาล่ะ! ถ้าอยากรู้ว่าในบทระบบจำนวนจริงจะได้เรียนเกี่ยวกับอะไร มีหัวข้อไหนน่าสนใจ และแนวข้อสอบมีความยาก – ง่ายประมาณไหน ก็ตามมาดู สรุปเนื้อหาจำนวนจริง ม.4 ที่พี่เอ๋นำมาฝากกันเลยครับ

สนใจหัวข้อไหน คลิกอ่านเลย!

จำนวนจริง ม.4 : โครงสร้างของระบบจำนวนจริง

      หัวข้อแรกของบทจำนวนจริง ม.4 ที่น้อง ๆ จะได้เรียนกัน ก็คือ โครงสร้างของระบบจำนวนจริง ตามแผนผังแสดงความสัมพันธ์ของจำนวนชนิดต่าง ๆ ด้านล่างนี้ครับ

สรุป จำนวนจริง ม.4 - โครงสร้างของระบบจำนวนจริง

จำนวนจริง ม.4 : สมบัติของระบบจำนวนจริง

      หัวข้อต่อมาน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ สมบัติของระบบจำนวนจริง โดยสมบัติสำคัญที่ควรจำให้ได้มีดังนี้

สมบัติปิด

  • สมบัติปิดการบวก
    ถ้า  a, b ∈ R  แล้ว  a + b ∈ R

  • สมบัติปิดการคูณ
    ถ้า  a, b ∈ R  แล้ว  a · b ∈ R

สมบัติการสลับที่

  • สมบัติการสลับที่การบวก
    a + b  =  b + a

  • สมบัติการสลับที่การคูณ
    a · b  =  b · a

สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม

  • สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการบวก
    (a + b) + c  =  a + (b +c)

  • สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการคูณ
    (ab)c  =  a(bc)

สมบัติการมีเอกลักษณ์

  • สมบัติการมีเอกลักษณ์การบวก
    0  เป็นเอกลักษณ์การบวก
    0 + a  =  a  =  a + 0

  • สมบัติการมีเอกลักษณ์การคูณ
    1  เป็นเอกลักษณ์การคูณ
    1 · a  =  a  =  a · 1

สมบัติการมีอินเวอร์ส

  • สมบัติการมีอินเวอร์สการบวก
    -a  เป็นอินเวอร์สการบวกของ  a
    (-a) + a  =  0  =  a + (-a)

  • สมบัติการมีอินเวอร์สการคูณ
    \frac{1}{a}   เป็นอินเวอร์สการคูณของ  a
    \frac{1}{a} · a  =  1  =  a · \frac{1}{a}  เมื่อ  a 0

สมบัติการแจกแจง

  • สมบัติการแจกแจงการบวกและการคูณ
    a(b + c)  =  ab + ac

สมบัติปิด

      เมื่อนำสมาชิกใด ๆ ในเซตมากระทำกันแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ยังคงเป็นสมาชิกในเซตนั้นเสมอ ถือว่ามีสมบัติปิด

      เช่น  เซตของจำนวนจริงมีสมบัติปิดการบวก และสมบัติปิดการคูณ
              เพราะจำนวนจริง 2 จำนวนใด ๆ มาบวกหรือคูณกัน ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนจริงเสมอ

              แต่เซตของจำนวนอตรรกยะไม่มีสมบัติปิดการบวก และไม่มีสมบัติปิดการคูณ
              เพราะมีจำนวนอตรรกยะบางคู่ที่บวก , คูณกันแล้วผลลัพธ์ไม่ใช่จำนวนอตรรกยะ เช่น

                      \sqrt{3} + (-\sqrt{3})  =  0  โดย  0  ไม่เป็นจำนวนอตรรกยะ
                      \sqrt{2}\sqrt{2}         =  2  โดย  2  ไม่เป็นจำนวนอตรรกยะ

เอกลักษณ์ “e * a = a = a * e”

      เอกลักษณ์ คือ จำนวนที่ไปกระทำกับจำนวนใด ๆ ก็ตามในเซต แล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับ  a  เดิม

              0 + a  =  a  =  a + 0  เมื่อ  a ∈ R  แสดงว่า เอกลักษณ์การบวกของจำนวนจริงใด ๆ คือ  0
              1 · a  =  a  =  a · 1    เมื่อ  a ∈ R  แสดงว่า เอกลักษณ์การคูณของจำนวนจริงใด ๆ คือ  1

อินเวอร์ส “เมื่ออินเวอร์สสำหรับ * ของ a คือ x แล้ว x * a = e = a * x”

      อินเวอร์สของ  a  กระทำกับ  a  จะได้ผลลัพธ์เป็นเอกลักษณ์

      เช่น  (-2) + 2  =  0  =  2 + (-2)
              จะพบว่า  -2  เป็นอินเวอร์สการบวกของ  2

              \frac{1}{3} · 3  =  1  =  3 · \frac{1}{3}
              จะพบว่า  \frac{1}{3}  เป็นอินเวอร์สการบวกของ  3

      เซตใดจะมีสมบัติอินเวอร์ส เซตนั้นต้องมีเอกลักษณ์ และสมาชิกทุกตัวในเซตต้องหาอินเวอร์สได้ อีกทั้งอินเวอร์สที่หาได้ต้องอยู่ในเซตเดิมเสมอ

จำนวนจริง ม.4 : ทฤษฎีบทเศษเหลือ

“ ตัวหารเป็นพหุนามดีกรี 1 และเศษเป็นตัวเลขเสมอ ”

      หารพหุนาม P(x) ด้วย  x – c  เศษตอบ  P(c)

สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 1

จำนวนจริง ม.4 : การหารพหุนามแบบขั้นตอนวิธีการหาร

“ นิยมใช้เมื่อเจอโจทย์ที่ตัวหารเป็นพหุนามดีกรีมากกว่า 1 ”

สรุป จำนวนจริง ม.4 - การหารพหุนามแบบขั้นตอนวิธีการหาร

      เศษ R(x)  จะมีดีกรีน้อยกว่า  ตัวหาร Q(x)  เสมอ

จำนวนจริง ม.4 : การหารสังเคราะห์

“ ตัวหารต้องเป็นพหุนามดีกรี 1 ที่มี ส.ป.ส หน้า  x  เป็น 1 ”

สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 2

      Note  ถ้าใช้หารสังเคราะห์ในกรณี ส.ป.ส หน้า  x  ของตัวหาร ไม่ใช่ 1 เศษตอบได้เลย แต่ผลหารให้นำไปหารด้วย ส.ป.ส. หน้า  x  ของตัวหารก่อน แล้วค่อยตอบ

สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 3

จำนวนจริง ม.4 : สมการกำลัง 2

      รูปแบบ  ax2 + b + c  =  0  โดย  a  ≠  0

วิธีที่ 1

      ถ้า  ax2 + b + c  แยกเป็น 2 วงเล็บได้ ก็ให้แยกเป็นสองวงเล็บ

      เช่น  จงแก้สมการ  3x2 + 5x – 2  =  0
                                  3x2 + 5x – 2  =  0
                                  (3x – 1)(x + 2)  =  0
                                  ∴  x  =  \frac{1}{3} , –2

วิธีที่ 2

      ใช้สูตร โดย  x  =  \frac{-b \pm \sqrt{b^2 -4ac}}{2a}

      ซึ่ง  1)  จะมี 2 คำตอบที่เป็นจำนวนจริงที่แตกต่างกัน เมื่อ  b2 – 4ac  >  0

            2)  จะมี 1 คำตอบ (มองว่ารากซ้ำกัน 2 ตัว) ที่เป็นจำนวนจริง เมื่อ  b2 – 4ac  =  0
            3)  จะมี 2 คำตอบแต่ไม่ใช่จำนวนจริง เมื่อ  b2 – 4ac  <  0

ทฤษฎีบทตัวประกอบ

      พหุนาม  P(x)  จะมี  x – c  เป็นตัวประกอบ ก็ต่อเมื่อ  P(c)  =  0

จำนวนจริง ม.4 : การแยกตัวประกอบ

      ให้  P(x)  =  anxn + an–1xn–1 + … + a1x + a0  เมื่อ  a0 , a1 , … , an ∈ Z

      แบบที่ 1 :  สัมประสิทธิ์ของพจน์ที่มีกำลังสูงสุดเป็น 1 (an = 1)

  1. หาตัวประกอบของ  a0  ทั้งหมด (ทั้งจำนวนบวกและลบ)

  2. ถ้า  c  เป็นตัวประกอบของ  a0  ซึ่งทำให้  P(c)  =  0  จะได้
    x – c  เป็นตัวประกอบของ  P(x)

  3. เข้าสู่กระบวนการหารสังเคราะห์
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 4

      แบบที่ 2 :  สัมประสิทธิ์ของพจน์ที่มีกำลังสูงสุดไม่เป็น  1  (an    1)

  1. หาตัวประกอบของ  an  แล้วให้เป็น  m
    หาตัวประกอบของ  a0  แล้วให้เป็น  k

  2. ถ้า  \frac{k}{m}  เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ ซึ่งทำให้  P(\frac{k}{m})  = 0  จะได้
    x – \frac{k}{m}  เป็นตัวประกอบของ  P(x)

  3. เข้าสู่กระบวนการหารสังเคราะห์
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 5

จำนวนจริง ม.4 : ผลบวกและผลคูณของคำตอบทั้งหมด (Viete)

สรุป จำนวนจริง ม.4 - ผลบวกและผลคูณของคำตอบทั้งหมด (Viete)
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 6
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 7

      เพิ่มเติม

          กรณี  n  =  3     P(x)  =  x3 + a2x2 + a1x + a0

          เราได้ว่า  ถ้าคำตอบทั้งหมด คือ  x1 , x2 , x3

          x1 + x2 + x3  =  -a2  และ  x1 · x2 · x3  =  -a0

          เรายังได้อีกว่า  x1 · x2 + x1 · x3 + x2 · x3  =  a1

จำนวนจริง ม.4 : สมการเศษส่วนของพหุนาม

เศษส่วนของพหุนาม

          ให้  p(x)  และ  q(x)  เป็นพหุนามโดยที่  q(x)  ≠  0

          จะเรียก  \frac{p(x)}{q(x)}  ว่าเศษส่วนของพหุนาม

          ที่มี  p(x)  เป็นตัวเศษ และ  q(x)  เป็นตัวส่วน

          เช่น  \frac{x^2 - 1}{x^3 - 1}        เมื่อ  x3 – 1  ≠  0

          หรือ  \frac{2x - 1}{x^2 + x - 6}   เมื่อ  x2 + x – 6  ≠  0

สรุป จำนวนจริง ม.4 - เศษส่วนของพหุนาม

การบวก, การลบ, การคูณและการหารเศษส่วนของพหุนาม

  1. \frac{p(x)}{q(x)} + \frac{r(x)}{q(x)}  =  \frac{p(x) + r(x)}{q(x)}     ,  q(x)    0

  2. \frac{p(x)}{q(x)}\frac{r(x)}{q(x)}  =  \frac{p(x) - r(x)}{q(x)}     ,  q(x)    0

  3. \frac{p(x)}{q(x)} · \frac{r(x)}{s(x)}    =  \frac{p(x) \dot\ r(x)}{q(x) \dot\ s(x)}      ,  q(x)    0  และ  s(x)  ≠  0

  4. \frac{p(x)}{q(x)} ÷ \frac{r(x)}{s(x)}  =  \frac{p(x)}{q(x)} × \frac{s(x)}{r(x)}    ,  q(x)    0  ,  s(x)  ≠  0  และ  r(x)  ≠  0

                       =  \frac{p(x) \dot\ s(x)}{q(x) \dot\ r(x)}

สมการเศษส่วนของพหุนาม

      สมการเศษส่วนของพหุนาม คือ สมการที่สามารถจัดอยู่ในรูป

            \frac{p(x)}{q(x)}  =  0  ,  q(x)    0

      โดยเซตคำตอบของ  \frac{p(x)}{q(x)}  =  0  คือ เซตของจำนวนจริง  x

      ซึ่ง  p(x)  =  0  และ  q(x)    0

จำนวนจริง ม.4 : เทคนิคการแก้อสมการตัวแปรเดียว

ขั้นที่ 1

      จัดอสมการให้อยู่ในรูป

สรุป จำนวนจริง ม.4 - เทคนิคการแก้อสมการตัวแปรเดียว

      ซ้ายมือ  เป็นวงเล็บของ  x  ดีกรี 1 คูณกัน
                    โดยสัมประสิทธิ์หน้า  x  ต้องเป็นบวก (A, B, C, …..  >  0)
      ขวามือ   ต้องเป็น 0

      หมายเหตุ  หากสัมประสิทธิ์หน้า  x  ติดลบ ให้คูณทั้งสองข้างของอสมการด้วย -1 และกลับเครื่องหมายอสมการเป็นตรงข้ามด้วย (ถ้ามีมากกว่า 1 วงเล็บ คู่วงเล็บเครื่องหมายสุดท้ายจะเหมือนเดิม คี่วงเล็บเครื่องหมายสุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นตรงข้าม)

ขั้นที่ 2

      จับแต่ละวงเล็บเท่ากับ 0 จะได้ค่า  x  ออกมา แล้วนำค่า  x  นั้นไปลงบนเส้นจำนวน จะพบว่า เส้นจำนวนถูกแบ่งเป็นช่วงสั้น ๆ

ขั้นที่ 3

      ให้ขวามือสุดเป็นบวก จากนั้นใส่  – , +  สลับไปเรื่อย ๆ

ขั้นที่ 4

      ถ้าอสมการในขั้นที่ 1 เป็น  ≥ 0  หรือ  > 0  ให้ตอบช่วงที่เป็นบวก
      แต่ถ้าเป็น  ≤ 0  หรือ  < 0  ให้ตอบช่วงที่เป็นลบ และสำหรับ  ≥ 0 , ≤ 0  (มีเครื่องหมาย  =  ร่วมด้วย) ให้ระบายจุด  x  จากขั้นที่ 2 (จุดปลายของช่วง) เป็นคำตอบด้วย

สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 8
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 9
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 10

      กรณีซ้ายมือมีวงเล็บด้านล่างด้วย ” วงเล็บหารกันทำเหมือนวงเล็บคูณกัน แต่เมื่อเป็นเศษส่วน ส่วนห้ามเป็นศูนย์ “

สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 11

จำนวนจริง ม.4 : ค่าสัมบูรณ์

นิยาม

สรุป จำนวนจริง ม.4 - นิยามค่าสัมบูรณ์

สมบัติสำคัญ

สรุป จำนวนจริง ม.4 - สมบัติสำคัญของค่าสัมบูรณ์ (1)
สรุป จำนวนจริง ม.4 - สมบัติสำคัญของค่าสัมบูรณ์ (2)
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 12
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 13
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 14
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 15

การแก้สมการที่ติดค่าสัมบูรณ์

      การแก้สมการที่ติดค่าสัมบูรณ์ มีรูปแบบหลัก 4 รูปแบบ ได้แก่

1.  |☐|  =  ตัวเลขบวก

      หลักการ แยก 2 กรณี

      “ เท่ากับตัวเดิม หรือ เท่ากับตัวติดลบ ”

สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 16

2.  |☐|  =  ∆

      หลักการ แยก 2 กรณี และต้องตรวจคำตอบด้วย โดย  ∆  ≥  0

      “ เท่ากับตัวเดิม หรือ เท่ากับตัวติดลบ และ ตรวจคำตอบด้วย ”

สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 17
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 17 (ตรวจคำตอบ)

3.  |☐|  =     ☐     อ้าง  ☐  ≥  0
     |☐|  =  – ☐     อ้าง  ☐  ≤  0

สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 18
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 19

4.  |☐|  =  |∆|

      หลักการ ยกกำลัง 2 ทั้งสองข้าง หรือใช้สูตร
                     ☐  =  ∆  หรือ  ☐  =  – ∆

      “ เท่ากับตัวเดิม หรือ เท่ากับตัวติดลบ ”

      สำหรับสมการที่ติดค่าสัมบูรณ์ที่นอกเหนือจาก 4 รูปแบบนี้ จะใช้การแบ่งกรณี หรือสมบัติต่าง ๆ ช่วยแก้

การแก้อสมการที่ติดค่าสัมบูรณ์

      การแก้อสมการที่ติดค่าสัมบูรณ์ มีรูปแบบหลัก 3 รูปแบบ ได้แก่

1.  |☐|  ≥  a
          จะได้  ☐  ≥  a  หรือ  ☐  ≤  -a

     |☐|  >  a
          จะได้  ☐  >  a  หรือ  ☐  <  -a

      “ ค่าสัมบูรณ์ต่อด้วยเครื่องหมายมากกว่าจะได้มากกว่าตัวเดิม หรือ น้อยกว่าตัวติดลบ ”

2.  |☐|  ≤  a
          จะได้  -a  ≤  ☐  ≤  a

     |☐|  <  a
          จะได้  -a  <  ☐  <  a

      “ ค่าสัมบูรณ์ต่อด้วยเครื่องหมายน้อยกว่า จะได้อยู่ระหว่างตัวติดลบกับตัวเดิม ”

สรุป จำนวนจริง ม.4 - การแก้อสมการที่ติดค่าสัมบูรณ์ (รูปแบบ 2)

3.  |☐|  ≥  |∆|  (หรือ  >  หรือ  ≤  หรือ  <)

      หลักการ ยกกำลัง 2 ทั้งสองข้าง หรือใช้สูตร
          (☐ – ∆)(☐ + ∆)  ≥  0

      “ หน้าลบหลัง คูณ หน้าบวกหลัง เครื่องหมายเดิม ตามด้วยศูนย์ ”

      สำหรับอสมการที่ติดค่าสัมบูรณ์ที่นอกเหนือจาก 3 รูปแบบนี้ จะใช้การแบ่งกรณี หรือสมบัติต่าง ๆ ช่วยแก้ครับ

เทคนิคการแบ่งกรณี

จำนวนจริง ม.4 : การแก้สมการและอสมการที่ติด ROOT

สมการติด ROOT

      หลักการ ยกกำลัง 2 และตรวจคำตอบเสมอ

อสมการติด ROOT

      หลักการ

      ขั้นที่ 1  สร้างเงื่อนไข  \sqrt{\square}  →  ☐  ≥  0
                  ถ้ามีมากกว่า 1 เงื่อนไข ให้นำมา  ∩  กัน

      ขั้นที่ 2  ยกกำลัง 2 โดย 2 ข้างต้อง  ≥  0

      ขั้นที่ 3  นำคำตอบ  ∩  เงื่อนไข

สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 28 (1)
สรุป จำนวนจริง ม.4 - ตัวอย่าง 28 (2)

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมเฉลย วิชาคณิตศาสตร์ - จำนวนจริง

      หลังจากที่น้อง ๆ ได้ทบทวนเนื้อหาและสูตรสำคัญของบทจำนวนจริง ม.4 จบไปแล้ว คราวนี้มาลองแก้โจทย์คณิตศาสตร์บทนี้บ้างดีกว่า โดยพี่เอ๋รวบรวม ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย บทจำนวนจริง พร้อมเฉลยละเอียด มาฝากกัน ถ้าพร้อมแล้วก็ลุยได้เลย!!

ข้อสอบจำนวนจริง พร้อมเฉลย ข้อที่ 1

ข้อสอบจำนวนจริง พร้อมเฉลย ข้อที่ 2

ข้อสอบจำนวนจริง พร้อมเฉลย ข้อที่ 2

ข้อสอบจำนวนจริง พร้อมเฉลย ข้อที่ 3

ข้อสอบจำนวนจริง พร้อมเฉลย ข้อที่ 3

ข้อสอบจำนวนจริง พร้อมเฉลย ข้อที่ 4

ข้อสอบจำนวนจริง พร้อมเฉลย ข้อที่ 5

ข้อสอบจำนวนจริง พร้อมเฉลย ข้อที่ 5 (1)
ข้อสอบจำนวนจริง พร้อมเฉลย ข้อที่ 5 (2)

      พี่เอ๋หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้น้อง ๆ ได้รับความรู้และมีความเข้าใจในเนื้อหา บทจำนวนจริง ม.4 มากขึ้นนะครับ แล้วสำหรับใครที่อยากจะติวคณิตศาสตร์ ม.ปลาย บทนี้ให้พื้นฐานแน่นยิ่งขึ้น ก็สมัคร คอร์สคณิตศาสตร์ ม.ปลาย บทย่อย – ระบบจำนวนจริง ได้เลย เพราะพี่สรุปเนื้อหาไว้แบบกระชับเข้าใจง่าย พร้อมพาตะลุยโจทย์หลากหลาย ไล่ระดับตั้งแต่ง่าย – ยาก และที่สำคัญน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เทคนิคทริกลัดที่ช่วยให้แก้โจทย์ไว ใช้ได้จริงในห้องสอบ พร้อมพิชิตข้อสอบคณิตศาสตร์อย่างมั่นใจ!!

      ใครอยากเก่งคณิต อยากได้โจทย์และเทคนิคดี ๆ จากพี่ ๆ ติวเตอร์ WE MATH รีบกดติดตามก่อนใครได้ที่ช่องทางด้านล่างนี้เลย!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ