น้อง ๆ คนไหนอยากฟิต PAT 2 ก่อนสอบต้องห้ามพลาด เพราะวันนี้พี่วีวี่ได้นำข้อสอบ PAT 2 พร้อมเฉลยแบบละเอียดในส่วนของวิชาฟิสิกส์ และวิชาชีววิทยา จากพี่ ๆ ทีม WE SCIENCES มาให้น้อง ๆ เพิ่มพูนประสบการณ์การทำโจทย์ อย่ารอช้า มาลุยไปด้วยกันเลยค่ะ
1. รถยนต์ 2 คันแล่นอยู่บนถนนตรงในทิศทางเดียวกัน ถ้าระยะห่างระหว่างรถสองคันนี้ เพิ่มขึ้นในอัตราคงที่ ข้อใดถูก (PAT2 มี.ค. 60)
- รถทั้งสองคันมีความเร็วคงตัวเท่ากัน
- รถคันหน้ามีความเร่งคงตัว แต่รถคันหลังมีความเร็วคงตัว
- รถทั้งสองคันมีความเร่งคงตัวเท่ากัน และมีความเร็วเริ่มต้นเท่ากัน
- รถคันหน้ามีความเร็วคงตัว แต่รถคันหลังมีความเร็วลดลงอย่างสม่ำเสมอ
- รถทั้งสองคันมีความเร่งคงตัวเท่ากัน แต่รถคันหน้ามีความเร็วเริ่มต้นมากกว่ารถคันหลัง
5.
2. วงจรไฟฟ้ามีตัวต้านทาน 1 kΩ ต่อกับแหล่งจ่ายไฟ 1 V ถ้าเรานำแอมิเตอร์ที่มีความต้านทานภายในรวมทั้งสิ้น 100 Ω วัดกระแสไฟฟ้าในวงจรนี้ แอมมิเตอร์จะอ่านกระแสไฟฟ้าได้กี่มิลลิแอมแปร์ (PAT2 มี.ค. 60)
- 0.5
- 0.9
- 1.0
- 1.1
- 2.0
2.
ดูเฉลยละเอียดการเคลื่อนที่แนวตรง และไฟฟ้ากระแสตรง คลิกเลย
1. คนตาบอดสีน้ำเงิน จะเห็นไฟสัญญาณจราจรสีใดเพี้ยน (PAT2 มี.ค. 60)
- สีแดงเท่านั้น
- สีเหลืองเท่านั้น
- สีเขียวเท่านั้น
- สีแดงและสีเหลือง
- ไม่มีสีใดเพี้ยน
5.
2. เมื่อเราเดินเข้าหากระจกโค้งเว้าครึ่งทรงกลมจากระยะไกลมาก เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของภาพเราเป็นลำดับอย่างไร (PAT2 มี.ค. 60)
ก. จุดภาพ
ข. ภาพขนาดใหญ่ หัวกลับ
ค. ภาพขนาดใหญ่ หัวตั้ง
ง. ภาพขนาดเล็ก หัวกลับ
จ. ภาพขนาดเล็ก หัวตั้ง
ฉ. ภาพขนาดเท่าตัวเรา หัวกลับ
ช. ภาพขนาดเท่าตัวเรา หัวตั้ง
- ก → ฉ → ข → ค → ช → ง
- ก → ข → ค → ช → ง → จ
- ก → ค → ช → ง → ฉ → ข
- ก → ช → ง → จ → ข → ค
- ก → ง → ฉ → ข → ค → ช
5.
3. พิจารณาการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ของวัตถุ ดังรูป
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับวัตถุที่ตำแหน่ง A (ไม่คิดแรงต้านอากาศ) (PAT2 มี.ค. 60)
- ความเร็วและความเร่งเท่ากับศูนย์
- มีความเร็วและความเร่งในแนวดิ่ง
- ความเร็วเท่ากับศูนย์ แต่ความเร่งไม่เท่ากับศูนย์
- มีความเร็วในแนวระดับ แต่ความเร่งเท่ากับศูนย์
- มีความเร็วในแนวระดับ แต่ความเร่งมีทิศชี้ลงในแนวดิ่ง
5.
ดูเฉลยละเอียด คลิกเลย
1. การศึกษาเนื้อเยื่อลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดหนึ่ง โดยการตัดตามขวาง พบกลุ่มเนื้อเยื่อที่อยู่ถัดจากเอพิเดอมิส มีเฉพาะผนังเซลล์ปฐมภูมิที่ค่อนข้างหนา และมีความหนาบางไม่สม่ำเสมอ ส่วนที่หนามักอยู่ตามมุมของเซลล์ เนื้อเยื่อดังกล่าวมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นเนื้อเยื่อในข้อใดมากที่สุด (PAT2 มี.ค. 60)
- โฟลเอ็ม
- แคมเบียม
- พาเรงคิมา
- คอลเลงคิมา
- สเกลอเรงคิมา
4.
2. เพราะเหตุใด น้ำจากดินที่แพร่เข้าสู่เซลล์ของรากซึ่งมีการลำเลียงแบบอโพพลาสต์ผ่านเซลล์ขนรากและเซลล์ต่าง ๆ ในชั้นคอร์เท็กซ์จนมาถึงชั้นเอนโดเดอมิส จึงถูกลำเลียงเข้าไปในเซลล์แบบซิมพลาสต์ เพื่อเข้าสู่เซลล์ชั้นในจนถึงเซลล์ของไซเล็ม (PAT2 มี.ค. 60)
- เนื่องจากการลำเลียงแบบซิมพลาสต์มีอัตราเร็วในการลำเลียงมากกว่าการลำเลียงแบบอโพพลาสต์
- เนื่องจากโมเลกุลของน้ำมีปริมาณมากขึ้นเมื่อถูกลำเลียงมาถึงเอนโดเดอมิสจึงต้องมีการเปลี่ยนเส้นทางในการลำเลียงเพื่อให้รองรับน้ำที่มีปริมาณมากขึ้น
- เนื่องจากการลำเลียงน้ำผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ซึ่งเป็นการลำเลียงแบบซิมพลาสต์ ทำให้น้ำสามารถลำเลียงผ่านไปยังไซเล็มได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
- เนื่องจากการลำเลียงแบบอโพพลาสต์เป็นการลำเลียงผ่านพลาสโมเดสมาตา เมื่อน้ำถูกลำเลียงมาสักระยะหนึ่ง พลาสโมเดสมาตามีประสิทธิภาพลดลง จึงต้องเปลี่ยนมาลำเลียงแบบซิมพลาสต์
- เนื่องจากผนังเซลล์ของเซลล์ในชั้นเอนโดเดอร์มิสมีสารซูเบอรินสะสมเป็นแถบเล็ก ๆ รอบเซลล์ทำให้น้ำไม่สามารถลำเลียงผ่านได้ พืชจึงต้องลำเลียงน้ำเข้าเซลล์แบบซิมพลาสต์ผ่านทางผนังเซลล์ด้านที่ไม่มีแถบแคสพาเรียน
5.
3. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเอ็มบริโอ 3 ชั้น และส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องที่สุด (PAT2 มี.ค. 60)
- ในสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ โนโทคอร์ดจะถูกแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง หรือกระดูกอ่อนเมื่อโตเต็มวัย
- เริ่มเกิดเนื้อเยื่อเอ็มบริโอ 3 ชั้น เมื่อเอ็มบริโอเข้าสู่ระยะมอรูลา
- เนื้อเยื่อเอ็มบริโอ 3 ชั้น ได้แก่ เอกโทเดิร์ม เมโซเดิร์ม และเอนโดมีเทรียม
- โนโทคอร์ดซึ่งเป็นโครงสร้างค้ำจุนร่างกาย มีการเจริญพร้อมกับไขสันหลัง
- ระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายเจริญมากจากเนื้อเยื่อเอ็มบริโอชั้นเมโซเดิร์ม
1.
4. ภายในหัวใจของสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดใด ที่ไม่พบการปนกันระหว่างเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ และเลือดที่มีออกซิเจนสูง (PAT2 มี.ค. 60)
- เต่านา
- ปลาดุก
- กบหนอง
- คางคกบ้าน
- งูสามเหลี่ยม
2.
5. โครงสร้างที่ประกอบด้วยสาย DNA พันรอบกลุ่มโปรตีนฮีสโตน ซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกปัด โดยมีฮีสโตนอีกชนิดหนึ่งเชื่อมต่อระหว่างลูกปัดแต่ละเม็ด โครงสร้างคล้ายลูกปัดมีชื่อเรียกว่าอะไร (PAT2 มี.ค. 60)
- gene
- genome
- chromatin
- nucleotide
- nucleosome
5.
6. พิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการถอดรหัส (transcription) ต่อไปนี้
ก. การถอดรหัสเป็นกระบวนการถอดลำดับเบสบนสานดีเอ็นเอไปเป็นลำดับเบสบนสายอาร์เอ็นเอ
ข. เอ็นไซม์ที่ทำงานในกระบวนการถอดรหัส คือ DNA polymerase
ค. เมื่อ polynucleotide 2 สายแยกออกจากกัน polynucleotide เพียงสายเดียวจะทำหน้าที่เป็นดีเอ็นเอแม่แบบ (DNA template)
ง. การถอดรหัสเกิดขึ้นบนดีเอ็นเอแม่แบบในทิศทาง 5’ ไปยัง 3’
จ. ไรโบนิวคลีโอไทด์อิสระที่อยู่ในเซลล์จะเข้ามาจับกับดีเอ็นเอแม่แบบโดย C เข้าคู่กับ G เข้าคู่กับ C U เข้าคู่กับ A และ A เข้าคู่กับ T
จากข้อความข้างต้นมีข้อถูกกี่ข้อ (PAT2 มี.ค. 60)
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
3.
ดูเฉลยละเอียด คลิกเลย
คอร์ส ตะลุยโจทย์ PAT 2 :
- สอนครบทุกสาระวิชา ใช้เวลาเพียง 41 ชม. เท่านั้น
- เก็งข้อสอบให้ ใกล้เคียงกับข้อสอบจริงที่สุด
- สอนโดยทีม WE TUTORS ผู้มีประสบการณ์