ในระบบ TCAS ที่เป็นระบบกลางในการคัดเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีคะแนนส่วนสำคัญที่ใช้ยื่นเข้าคณะ / มหาวิทยาลัยที่ร่วมในระบบ TCAS นั่นคือ คะแนนสอบ A-Level ที่มีวิชาสอบทั้งหมด 10 วิชา เลือกสมัครสอบตามเกณฑ์คะแนนที่แต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด แล้วหนึ่งในรายวิชาสอบของสนาม A-Level ก็คือ A-Level ชีวะ นั่นเองครับ
ถ้าน้อง ๆ DEK68 ลองเช็กคณะ / มหาลัยที่สนใจอยากเข้าศึกษาต่อแล้วพบว่า คณะนั้น ๆ ต้องใช้คะแนน A-Level ชีววิทยา วันนี้ พี่บิ๊ก WE BY THE BRAIN จะพาน้องมา เจาะลึกข้อสอบ A-Level ชีวะ ทั้งโครงสร้างข้อสอบ เนื้อหาที่ออกสอบ วิเคราะห์แนวข้อสอบ พร้อมเก็งบทที่ห้ามพลาด อ่านบทความนี้จบแล้วน้อง ๆ จะมีความพร้อมลุยข้อสอบชีววิทยามากขึ้นแน่นอน!!
คลิกอ่านหัวข้อที่น่าสนใจ!
สรุปสิ่งที่ DEK68 ต้องรู้ เกี่ยวกับข้อสอบ A-Level ชีวะ
ก่อนที่จะเริ่มติวสอบสนามไหนก็ตาม สิ่งที่ต้องรู้คือแนวข้อสอบครับ อย่างน้อง ม.ปลาย ที่เตรียมตัวสอบ A-Level ชีวะ ต้องรู้ก่อนว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างที่เราจะต้องอ่าน และในแต่ละบทที่ออกสอบ ความยากจะประมาณไหน ส่วนไหนต้องจำ ส่วนไหนเน้นวิเคราะห์
DEK68 ที่กำลังเตรียมตัวสอบก่อนลงสนามสอบ A-Level ถ้าอยากจะรู้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อสอบแต่ละวิชา สามารถเข้าไปดูประกาศ โครงสร้างข้อสอบจาก MyTCAS ได้เลยครับ
อย่าง Test Blueprint ของข้อสอบ A-Level ชีวะ ก็จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อสอบที่น้อง ๆ ต้องรู้ ได้แก่
- รูปแบบข้อสอบ A-Level ชีววิทยา
– ข้อสอบปรนัย 5 ตัวเลือก 35 ข้อ 84 คะแนน (ข้อละ 2.4 คะแนน)
– เลือกตอบเชิงซ้อน 5 ข้อ 16 คะแนน (ข้อละ 3.2 คะแนน) - จำนวนข้อสอบ
40 ข้อ - คะแนนเต็ม
100 คะแนน - เวลาสอบ
90 นาที - บทที่ออกสอบ A-Level ชีวะ
– ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
– หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
– ระบบและการทำงานต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์
– โครงสร้างและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในพืช
– พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ
เนื้อหาชีววิทยาที่ออกข้อสอบ A-Level ชีวะ ตาม Test Blueprint
พอรู้โครงสร้างข้อสอบ A-Level 66 Bio ชีววิทยา กันไปแล้ว พี่บิ๊กขอพาน้อง ๆ DEK68 มาเจาะลึกข้อสอบ A-Level ชีวะ ในส่วนของเนื้อหาที่นำมาออกข้อสอบชีววิทยา ตาม Test Blueprint ว่ามีเนื้อหาบทไหนบ้าง และแต่ละบทออกสอบประมาณกี่ข้อ
ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
1. ระบบนิเวศและไบโอม
2. ประชากร
3. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและอนุกรมวิธาน
หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
5. เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
6. โครงสร้างและการทำงานของเซลล์
ระบบและการทำงานต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์
7. ระบบย่อยอาหาร
8. ระบบหมุนเวียนเลือด
9. ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
10. ระบบขับถ่าย
11. ระบบหายใจ
12. ระบบประสาทและการเคลื่อนที่
13. ระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
14. ระบบต่อมไร้ท่อ
15. พฤติกรรมของสัตว์
โครงสร้างและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในพืช
16. เนื้อเยื่อและโครงสร้างภายในของพืช
17. การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำของพืช และการลำเลียงของพืช
18. การสังเคราะห์ด้วยแสงและสารอินทรีย์ในพืช
19. การสืบพันธุ์ของพืชดอก
20. การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืชพันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ
พันธุศาสตร์ และวิวัฒนาการ
21. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
22. สมบัติของสารพันธุกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างยีน การสังเคราะห์โปรตีน และลักษณะทางพันธุกรรม
23. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
24. เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
25. วิวัฒนาการและพันธุศาสตร์ประชากร
น้อง ๆ บางคนพอดู Test Blueprint ข้อสอบ A-Level ชีวะ แล้วถึงกับปาดเหงื่อกันเลยทีเดียว เพราะว่าบทที่ออกสอบก็คือทุกบทที่เรียนในวิชาชีววิทยาของ ม.ปลาย นั่นเอง
ซึ่งสำหรับข้อสอบ A-Level ชีวะ บทไหนออกเยอะ บทไหนออกน้อย ก็คงฟันธงไปเลยไม่ได้ เพราะในแต่ละปีก็มีบทที่ออกเยอะ – น้อยต่างกัน แต่ก็จะมีบางบทที่เนื้อหาค่อนข้างเยอะ จึงมักจะออกข้อสอบในทุก ๆ ปี แต่อาจสับเปลี่ยนประเด็นที่ออกข้อสอบไปเพื่อไม่ให้ซ้ำกับข้อสอบปีเก่า ๆ ครับ
วิเคราะห์แนวโจทย์ A-Level ชีวะ
ข้อสอบ A-Level ชีวะ เพิ่งจะออกมาได้ไม่กี่ปี จึงอาจคาดเดาแนวทางการออกข้อสอบได้ไม่แม่นยำนัก แต่แนวโจทย์ที่พอจะวิเคราะห์ได้คือ ข้อสอบ A-Level ชีวะ จะมีส่วนที่ต้องวิเคราะห์จากข้อมูลที่โจทย์ให้มา โดยไม่ได้ถามจากความรู้เก่าที่เราจำได้โดยตรง แต่น้อง ๆ ต้องประยุกต์ใช้ความรู้ในตำราบวกกับการวิเคราะห์ตาราง กราฟ หรือบทความมาช่วยในการตอบคำถามครับ
ดังนั้นน้อง ๆ ที่ท่องจำเนื้อหาในตำราได้แล้ว ถ้าได้ฝึกโจทย์แนววิเคราะห์อีกสักหน่อย พี่บิ๊กคิดว่าน้องคงทำข้อสอบ A-Level ชีววิทยาได้ไม่ยาก
เก็งบทที่ (น่าจะ) ออกข้อสอบ A-Level ชีวะ เกือบทุกปี by ดร.พี่บิ๊ก
DEK68 ที่อยากจะได้แนวทางการติวสอบ A-Level ชีวะ พี่บิ๊กบอกเลยว่าในเนื้อหาชีววิทยา ม.ปลายนั้น จะมีบางบทที่ต้องถือว่าเป็น “บทใหญ่” ซึ่งมีเนื้อหาเยอะ รายละเอียดเยอะ ในบทเหล่านี้มักจะออกข้อสอบเกือบทุกปี จึงถือว่าเป็นบทที่ “ห้ามทิ้ง” เลยนะครับน้อง ๆ
ในการอ่านทบทวนเนื้อหาชีววิทยาบทเหล่านี้เพื่อเตรียมสอบ A-Level ชีวะ ถ้าจะท่องจำรายละเอียดทั้งหมดให้ได้ก็คงต้องใช้เวลานาน และบางครั้งอาจหลงประเด็นหรือจำสับสนได้ ดังนั้นน้อง ๆ จึงต้องเข้าใจภาพรวมของบท และทำสรุปเป็นแผนภาพด้วยตนเอง จึงจะทำให้เราจดจำได้อย่างไม่สับสน จากนั้นจึงมาฝึกทำโจทย์ในแต่ละประเด็น
ถ้าอยากรู้ว่าบทที่ถือเป็นบทใหญ่มีอะไรบ้าง และมักออกข้อสอบในประเด็นอะไรบ้าง เรามาดูพร้อมกันเลย
- บทระบบนิเวศ : การถ่ายทอดพลังงานและสารเคมีในห่วงโซ่อาหาร, การเปลี่ยนแปลงแทนที่
- บทเซลล์ : โครงสร้างเซลล์, การลำเลียงสารของเซลล์, การหายใจระดับเซลล์, การแบ่งเซลล์
- บทระบบหมุนเวียนเลือด : การหมุนเวียนเลือดของมนุษย์, หมู่เลือด
- บทระบบประสาท : การถ่ายทอดกระแสประสาท, ระบบประสาทส่วนกลาง, ระบบประสาทสั่งการ, อวัยวะรับรู้ความรู้สึก
- บทระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต : โครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์มนุษย์, การเปลี่ยนแปลงในรอบประจำเดือน, การเจริญของตัวอ่อน
- บทการสังเคราะห์ด้วยแสง : Light reaction, การตรึง CO2 ของพืช C3, C4 และ CAM
- บทการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม : กฏของเมนเดล, multiple alleles, sex-linked gene, linked genes
- บทสมบัติของสารพันธุกรรม : โครงสร้างของ DNA, DNA replication, Transcription, Translation
คอร์สแนะนำสำหรับ DEK68 เตรียมฟิตพิชิตคะแนน A-Level ชีวะ
สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบ A-Level ชีวะ พี่บิ๊กขอแนะนำว่าเราควรจะเตรียมตัวให้พร้อมในทุก ๆ บท เพราะว่าบทที่เคยออกข้อสอบมาแล้วในปีก่อน อาจจะไม่ได้ออกสอบอีกในปีที่เราสอบก็ได้ เรียกง่าย ๆ ว่าอาจารย์ที่ออกข้อสอบ A-Level ชีวะ อาจจะหยิบบทไหนมาออกสอบก็ได้ ตราบเท่าที่เนื้อหานั้นยังอยู่ใน Test Blueprint
ดังนั้นพี่จึงจัดทำ คอร์ส A-Level ชีววิทยา รวมทุกบท ที่มีเนื้อหาครบทุกบทแบบกระชับ โดยในคอร์สนี้จะมีทั้งการสอนเนื้อหา เผื่อว่าน้องบางคนอาจยังไม่เคยเรียนเนื้อหานั้นมาก่อน หรืออาจเคยเรียนมาแต่ตอนนี้ไม่เหลือความรู้แล้ว จะได้ทบทวนความรู้แบบกระชับ
และคอร์สติวสอบ A-Level ชีวะนี้ ยังเหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่เคยเรียนเนื้อหาผ่านมาแล้วและพอมีพื้นฐานที่ดีด้วย เพราะภายในคอร์สจะมีโจทย์แบบฝึกหัดที่พี่บิ๊กเฉลยให้ในแต่ละบท และโจทย์ข้อสอบเก่าที่จะให้น้องได้ลองฝึกทำเอง โดยมีเฉลยให้ทุกข้อทั้งที่เป็นไฟล์ VDO และไฟล์ PDF
น้อง ๆ ที่กำลังเตรียมสอบ A-Level ชีวะ ควรเผื่อเวลาไว้มากกว่า 6 เดือนเพื่อเรียนคอร์สนี้ เพราะต้องใช้เวลาเรียนเกือบ 200 ชั่วโมง และยังต้องฝึกทำโจทย์ด้วยตนเองอีก เพื่อให้พร้อมเต็มที่ก่อนลงสอบในสนามจริง
ใครต้องใช้คะแนน A-Level ชีวะ ในการยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยก็ลงสมัครคอร์สนี้ได้เลย และถ้าจะให้ดีพี่บิ๊กแนะนำว่าสามารถสมัครเรียนได้ตั้งแต่ตอนอยู่ ม.5 เทอม 2 เลยครับ
พี่บิ๊กเชื่อว่าน้อง ๆ ที่อ่านบทความมาจนถึงตรงนี้ คงได้ข้อมูลดี ๆ ที่ต้องรู้เกี่ยวกับการสอบ A-Level ชีวะ สำหรับนำไปใช้วางแผนติวเพื่อเตรียมตัวสอบกันได้ตรงจุดมากขึ้น พี่บิ๊กขออวยพรให้ DEK68 ทุกคนทำข้อสอบได้ คว้าคะแนนทะลุเป้า และพิชิตคณะ / มหาวิทยาลัยในฝันได้สำเร็จกันนะครับ