ชำแหละแนวข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ปักหมุดเรื่องออกบ่อย #TCAS68 ไม่ควรพลาด!

ชำแหละแนวข้อสอบ A-Level ภาษาไทย เรื่องออกบ่อย ห้ามพลาด #TCAS68

      ในสนามสอบ #ALEVEL ที่กำลังจะมาถึงนี้ มีใครต้องสอบ A-Level ภาษาไทย บ้าง?

      สำหรับน้อง ๆ ที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย คงรู้จักหรือเคยได้ยินเกี่ยวกับการสอบ A-Level กันมาแล้วแน่ ๆ เพราะ A-Level เป็นสนามสอบสำคัญในระบบ TCAS ที่ต้องสมัครสอบและนำผลคะแนนไปใช้ยื่นเข้าคณะ / มหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝัน

      โดย A-Level มีให้เลือกสอบทั้งหมด 10 วิชาด้วยกัน แล้วหนึ่งในนั้นก็คือ A-Level ภาษาไทย วันนี้ พี่ยู WE BY THE BRAIN อยากพามาชำแหละ แนวข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ไปพร้อมกัน ให้รู้ชัด ๆ เลยว่าข้อสอบออกเรื่องอะไร แนวข้อสอบ / ตัวอย่างข้อสอบจริงเป็นอย่างไร ยื่นคะแนนเข้าคณะไหนได้บ้าง พร้อมเทคนิคเตรียมตัวสอบสำหรับพิชิตคะแนนภาษาไทยให้ปัง!!

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ!

ข้อสอบภาษาไทย A-Level กับ วิชาสามัญ (ในอดีต) ต่างกันอย่างไร?

ข้อสอบวิชาสามัญ กับ A-Level ภาษาไทย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

      น้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยบางคน อาจรู้อยู่แล้วว่า ก่อนจะมาเป็นข้อสอบ A-Level ที่ใช้สอบกันในปัจจุบัน ในอดีตเคยเป็นวิชาสามัญมาก่อน แล้วข้อสอบ A-Level ภาษาไทย กับ วิชาสามัญ ภาษาไทย ต่างกันอย่างไร? พี่ยูมีคำตอบมาฝากกัน

      ความแตกต่างระหว่างข้อสอบภาษาไทยของทั้งสองสนาม ต่างกัน 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ 1) ผู้ออกข้อสอบ กับ 2) ลักษณะโจทย์บางหัวข้อ (โจทย์และตัวเลือก)

                1) ผู้ออกข้อสอบ A-Level ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกข้อสอบ เช่น มศว. เป็นผู้ออกข้อสอบ A-Level ปี 66 – 67 แต่ก่อนหน้านี้ สทศ. เป็นผู้ออกข้อสอบวิชาสามัญ ดังนั้น ควรหาข้อสอบเก่าฉบับที่ผู้ออกสอบเป็นหน่วยงานเดียวกันกับที่ออกในปีที่เราสอบ จะได้เห็นลักษณะเฉพาะและทิศทางหรือแนวโน้มข้อสอบที่สัมพันธ์กันหรือน่าจะคาดเดาได้ว่า ใกล้เคียงกันกับปีที่เราจะสอบมากที่สุด

                2) ลักษณะโจทย์บางหัวข้อ (โจทย์และตัวเลือก) บางประเด็นที่ออกสอบ แม้ส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นหลักเหมือนกันกับข้อสอบวิชาสามัญ แต่ลักษณะคำถามและตัวเลือกมีที่แตกต่างกัน อย่างเช่น มีบางเรื่องที่ออกสอบใน A-Level แต่ไม่ปรากฏในข้อสอบวิชาสามัญและไม่ตรงกะชื่อหัวข้อใน Test Blueprint

      ในความต่างก็ยังคงมีความเหมือนคล้ายกันอยู่ เพราะจะเห็นได้ว่า รูปแบบข้อสอบ A-Level ภาษาไทย จำนวนข้อ วิธีเลือกตอบ คะแนนต่อข้อ คะแนนเต็ม และเวลาที่ให้สอบ ยังคงเหมือนเดิมเมื่อเทียบกับสมัยที่เป็นข้อสอบวิชาสามัญ เช่น

  • ข้อสอบแบบปรนัย 5 ตัวเลือก เลือก 1 คำตอบ
  • จำนวน 50 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน
  • คะแนนเต็ม 100 คะแนน
  • เวลาทำข้อสอบ 90 นาที หรือ 1 ชั่วโมงครึ่ง

      ที่สำคัญ หัวข้อที่ออกสอบ (Test Blueprint) ของ A-Level ภาษาไทย เกือบจะเหมือนกันกับหัวข้อที่ออกในสนามวิชาสามัญ เรียกว่าพี่น้องฝาแฝดเลยก็ได้

      และเนื่องจาก A-Level ภาษาไทย มีการเปลี่ยนแปลงผู้ออกข้อสอบ จาก สทศ. มาเป็นมหาวิทยาลัย ดังนั้น หากน้อง ๆ จะเตรียมสอบ A-Level พี่ยูแนะนำให้หาข้อสอบฉบับที่ผู้ออกเป็นหน่วยงานเดียวกันกับที่ออกสอบปีเรา จะได้เห็นสไตล์การถาม ประเด็นข้อสอบ และลักษณะตัวเลือก ที่ใกล้เคียงกับฉบับปีเรามากที่สุด แล้วถ้ามีโอกาสค่อยหาข้อสอบฉบับอื่น ๆ มาทำเพิ่มเติม ยิ่งเป็นฉบับล่าสุดที่ใกล้ปีเราที่สุดได้ยิ่งดี

แนวข้อสอบ A-Level ภาษาไทย เป็นอย่างไร?

      หลังจากที่ได้รู้ความแตกต่างของข้อสอบภาษาไทย สนาม A-Level กับวิชาสามัญแล้ว คราวนี้พี่ยูจะพามา เจาะลึกแนวข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ว่ารูปแบบข้อสอบเป็นอย่างไร ออกสอบเรื่องอะไร หรือมีข้อมูลสำคัญอะไรที่ควรรู้บ้าง น้อง ๆ จะได้นำไปใช้เป็นแนวทางเตรียมตัวได้ดียิ่งขึ้น

รูปแบบข้อสอบ A-Level ภาษาไทย

สรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับข้อสอบ A-Level ภาษาไทย
  • หมวดที่ออกสอบ
    การอ่าน
    การเขียน
    การฟัง ดู พูด
    หลักการใช้ภาษา
    วรรณคดีและวรรณกรรม

  • รูปแบบข้อสอบ ปรนัย 5 เลือก 1

  • จำนวน 50 ข้อ / ข้อละ 2 คะแนน

  • คะแนนเต็ม 100 คะแนน

  • เวลาสอบ 90 นาที

  • เฉลี่ยเวลาต่อข้อ 1.48 นาที

ข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ออกเรื่องไหนบ้าง?

      ข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ออกครอบคลุมเนื้อหา 4 กลุ่ม (สาระ) ซึ่งสรุปจาก Test Blueprint และข้อสอบจริงบางประเด็นที่ไม่ระบุใน Test Blueprint คือ

1) การอ่าน

  • การจับใจความ / การสรุปสาระสำคัญจากบทอ่าน
  • ข้อคิด / แนวคิด จากเรื่องที่อ่าน
  • การตีความข้อมูลจากเรื่องที่อ่าน
  • การอนุมานข้อมูลจากเรื่องที่อ่าน
  • จุดประสงค์ / เจตนา / ท่าที / น้ำเสียง / อารมณ์ / ความรู้สึก / ความคิดเห็นของผู้เขียน

2) การเขียน

  • การเรียงลำดับข้อความ
  • ส่วนประกอบของเรียงความ
  • โวหารการเขียน (บรรยาย / พรรณนา / อธิบาย)
  • ภาษาแสดงเหตุผล
  • ภาษาแสดงทรรศนะ
  • ภาษาแสดงการโต้แย้ง
  • ภาษาโน้มน้าวใจ

3) การพูด การฟัง

  • การสรุปสาระสำคัญ / การจับใจความจากเรื่องที่ฟัง
  • จุดประสงค์ / เจตนา / น้ำเสียง / อารมณ์ / ความรู้สึก ของผู้พูด
  • การถามและการตอบที่สัมพันธ์กันในการสื่อสาร
  • ลักษณะการพูดที่มีประสิทธิภาพ
  • ลักษณะการฟังอย่างมีวิจารณญาณ
  • การพูดในสถานการณ์พิเศษต่าง ๆ

4) หลักการใช้ภาษา

  • การสะกดคำ
  • คำกับบริบท
  • คำที่มีความหมายตรง / อุปมา
  • คำยืมภาษาอังกฤษ
  • สำนวนไทย
  • โครงสร้างประโยคที่สมบูรณ์
  • เจตนาของประโยค
  • ภาษากำกวม / ภาษาบกพร่องแบบต่าง ๆ
  • ระดับภาษา
  • ราชาศัพท์

“พี่ยู” พาเล็งเก็งข้อสอบจริง A-Level ภาษาไทย พร้อมเฉลย

      น้อง ๆ ที่อยากเห็นข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ว่าแต่ละกลุ่มสาระหน้าตาข้อสอบเป็นอย่างไร พี่ยูก็ไม่พลาดที่จะนำ ข้อสอบจริง พร้อมเฉลย มาฝากกันครบทั้ง 4 กลุ่มสาระ ตามมาดูพร้อมกันเลย

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภาษาไทย : สาระการอ่าน

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภาษาไทย พร้อมเฉลย สาระการอ่าน

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภาษาไทย : สาระการเขียน

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภาษาไทย พร้อมเฉลย สาระการเขียน

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภาษาไทย : สาระการฟัง การพูด

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภาษาไทย พร้อมเฉลย สาระการฟัง การพูด

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภาษาไทย : สาระหลักการใช้ภาษาไทย

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภาษาไทย พร้อมเฉลย สาระหลักการใช้ภาษาไทย

“10 บท ออกเยอะอ่านคุ้ม” ใน A-Level ภาษาไทย (วิเคราะห์จากข้อสอบจริง)

      แนวข้อสอบก็รู้แล้ว ตัวอย่างข้อสอบก็เห็นแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นติวสอบ A-Level ภาษาไทยอย่างไร หรือต้องเก็บเนื้อหาบทไหนบ้าง…

      แนะนำให้น้อง ๆ เก็บเนื้อหา 10 บทต่อไปนี้ก่อนได้เลย เพราะพี่ยูวิเคราะห์แล้วว่าออกข้อสอบเยอะ ถ้าเตรียมตัวดี อ่านตรงจุดที่ออกสอบ จะอุ่นใจ มีโอกาสทำคะแนน A-Level ภาษาไทย ได้ถึง 70% ไม่ยาก

10 บทออกเยอะ ในข้อสอบ A-Level ภาษาไทย วิเคราะห์จากข้อสอบจริง

คะแนน A-Level ภาษาไทย ใช้ยื่นคณะไหนได้บ้าง?

คณะที่ใช้คะแนน A-Level ภาษาไทย ยื่นในระบบ TCAS รอบที่ 3 (Admission)

      ในระบบ TCAS เราจะพบว่า คะแนนจากการสอบสนาม A-Level และ TGAT, TPAT มักนำไปใช้ยื่นในรอบที่ 3 (Admission) และกลุ่มคณะที่จำเป็นต้องใช้คะแนนวิชา A-Level ภาษาไทย ยื่นในรอบที่ 3 มีหลายคณะเลยทีเดียว

      ซึ่งสัดส่วนคะแนนหรือ % ที่กลุ่มคณะต่าง ๆ กำหนดไว้พิจารณาจากคะแนนสอบ A-Level ภาษาไทย เริ่มตั้งแต่ 7% – 60% ทั้งกลุ่มคณะสายวิทย์และโดยเฉพาะกลุ่มคณะสายศิลป์ ส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้คะแนนสอบ A-Level ภาษาไทย ยื่นด้วย เช่น

กลุ่มคณะสายวิทย์ ที่ใช้คะแนน A-Level ภาษาไทย

สัดส่วนคะแนน A-Level ภาษาไทย ที่ใช้ยื่นรอบที่ 3 (Admission) กลุ่มคณะสายวิทย์

กลุ่มคณะสายศิลป์ ที่ใช้คะแนน A-Level ภาษาไทย

สัดส่วนคะแนน A-Level ภาษาไทย ที่ใช้ยื่นรอบที่ 3 (Admission) กลุ่มคณะสายศิลป์ 1
สัดส่วนคะแนน A-Level ภาษาไทย ที่ใช้ยื่นรอบที่ 3 (Admission) กลุ่มคณะสายศิลป์ 2

เทคนิคเตรียมตัวสอบ A-Level ภาษาไทย พิชิตคะแนนสุดปัง!!

      น้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบไม่ว่าจะ A-Level ภาษาไทย หรือสนามไหน ๆ แนะนำให้ใช้ เทคนิค รู้ 3 ทำ 2 By พี่ยู รับรองว่าจะช่วยให้เตรียมตัวตรงจุด ติวสอบอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมลุยข้อสอบและพิชิตคะแนนสุดปังได้ไม่ยาก!!

รู้ 3 มีอะไรบ้าง?

เทคนิค รู้ 3 ทำ 2 By พี่ยู พิชิตคะแนน A-Level ภาษาไทย - รู้ 3 มีอะไรบ้าง?

1. รู้ศักยภาพตัวเอง

  • วิชาภาษาไทย มั่นใจขนาดไหน? เคยทำข้อสอบจริงหรือยัง? ทำได้แค่ไหน?
  • คณะ / มหาวิทยาลัยที่จะสอบ ต้องใช้คะแนน A-Level ภาษาไทยมั้ย? ใช้เท่าไหร่?
  • จะใช้สัดส่วนกี่ % ถ้าต้องใช้ก็คือสำคัญ จะได้ไม่คิดทิ้งขว้าง จะได้ตั้งใจจริง
  • ต้องใช้คะแนนกี่ % ถ้ายิ่งใช้เยอะ = ต้องทุ่มเทให้มาก ให้พิเศษ
  • ถ้าได้ลองทำข้อสอบจริงแล้ว ต้องรู้ว่าบทไหนตัวเองพลาด บทไหนเป็นจุดแข็ง แก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ไม่หลอกตัวเองว่าเก่งหมดทุกบท ไม่ดูถูกตัวเองว่าไม่เก่งสักบท จับปัญหาได้แล้วรีบแก้จะดีสุด

2. รู้วิธีที่คนสอบติดใช้และ Timeline การสอบ

  • คนสอบติดเป็นแหล่งข้อมูลหรือโมเดลให้เราทำตามได้แบบมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ถ้ารู้ว่าเขาเหล่านั้นมีวิธีเตรียมตัวอย่างไรในแต่ละวิชา ในแต่ละช่วงเวลา เราจะไม่ต้องลองผิดลองถูกเองให้เสียเวลาเปล่า เราจะมี Short cut เป็นทางลัดที่มีคนเคยผ่านไปแล้วถึงที่หมายได้จริงแบบ Happy สุด ๆ เราแค่ต้องรู้ว่าทางนั้นต้องเดินยังไง
  • รู้ว่าจะเริ่มสอบช่วงไหน ต้องเริ่มตั้งแต่ตอนไหน (ขึ้นกะศักยภาพวิชาภาษาไทยของตัวเองจากการได้ลองทำข้อสอบจริง ไม่ดูเกรดของโรงเรียนที่ผ่านมา หลายครั้งที่เกรดไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าจะทำข้อสอบจริงได้หรือไม่ได้) รู้ข้อนี้จะได้วางแผนต่อได้

3. รู้แนวข้อสอบ (ข้อนี้สำคัญสุด)

  • ต้องรู้ Test Blueprint ที่เป็นปัจจุบัน หรืออย่างน้อยย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี ดีสุดคือข้อมูลปีที่เราจะสอบ & 1 ปีก่อนหน้า เทียบกันดูว่าบทไหนออกซ้ำ ออกบ่อย บทไหนไม่ออก
  • ทำข้อสอบจริงย้อนหลัง อย่างน้อย 1 – 3 ฉบับ ที่ใกล้ปีที่เราสอบที่สุด
  • สังเกตประเด็นที่ถามในบทนั้น จะได้ตามอ่านได้แบบล็อกเป้าหมาย ไม่ใช่อ่านแค่มีแรง แต่ต้องอ่านแล้วไม่เปลืองแรง อ่านเฉพาะที่ออกบ่อยก่อน ไม่ใช่อ่านหว่าน
  • บทไหนที่รู้ว่าออกชัวร์ ออกเยอะ ต้องเก็บบทนั้นก่อน บทอื่นที่ออกน้อยข้อ ไม่ใช่ทิ้งขว้าง แต่ต้องรู้จักที่หนักที่เบา ที่กว้างที่แคบ ถ้ามีเวลาก็เก็บให้ได้ทุกบททุกข้อเท่าที่จะทำได้สุดความสามารถ

ทำ 2 มีอะไรบ้าง?

เทคนิค รู้ 3 ทำ 2 By พี่ยู พิชิตคะแนน A-Level ภาษาไทย - ทำ 2 มีอะไรบ้าง?

1. ทำแผน (อย่างรอบคอบ & รอบด้าน)

แผนก่อนสอบ

  • คนสอบติดมักมีแผนการใช้เวลาก่อนสอบ ทั้งการอ่านหนังสือ การทำโจทย์ การทบทวน การลำดับความสำคัญ เช่น เดือนไหน / สัปดาห์ไหน จะทำอะไร แต่ละวันจะอ่านวิชาไหนบ้าง จะอ่านหนังสือเองหรือหาคอร์สเรียนเสริม คอร์สอะไร / ใช้เวลากี่ชั่วโมง / ดูรีวิวแล้วดีมั้ย / ทดลองเรียนเองแล้วหรือยัง ฯลฯ ทั้งหมดคือแผน

แผนวันสอบ

  • ถึงวันสอบจริง ลนได้ แต่ต้องนิ่งให้ไว สติต้องกลับมา การวางแผนวันสอบ เช่น ไม่จำเป็นต้องทำเรียงข้อ ข้อไหนทำได้ทำก่อน ข้อไหนสุดทางจริง ๆ ถ้าจะมั่วต้องมั่วหรือเดาอย่างคนรู้สถิติ รู้วิธีการออกข้อสอบ และการเฉลยข้อสอบปรนัยที่มีทฤษฎีรองรับ จะได้รู้แนวโน้มตัวเลือกที่น่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ไม่ใช่เอะอะก็ทิ้งดิ่ง ทิ้งดิ่ง แบบนั้นลิงที่ระบายคำตอบเป็นก็คงฝนได้ จะมั่วฝนข้อไหนต้องฉลาดคิดให้สุดจริง ๆ

2. ทำตามแผน (อย่างจริงจัง & อย่างสม่ำเสมอ)

  • แผนอ่านหนังสือ (เก็บเนื้อหาพื้นฐาน)
  • แผนทำโจทย์จริง (อย่างน้อย 3 – 5 ฉบับ ที่ผ่านมาต้องได้ลองทำเองจริงจัง)
  • แผนทบทวนบทที่เป็นปัญหา / พลาดบ่อย
  • แผนทุกอย่างที่วางไว้ หรือยังไม่ได้วางแต่มารู้ทีหลังว่าควรต้องวางแผนเพิ่ม ก็วางแผนไปแล้วทำให้ได้อย่างที่วางแผน ที่สำคัญต้องจริงจัง ต้องสม่ำเสมอ ถ้าคิดว่าความฝันยิ่งใหญ่มากพอที่จะทุ่มเทสุดฤทธิ์ ความสำเร็จก็กระเถิบเข้ามาชิดชีวิตเราเรื่อย ๆ แล้ว

      ทั้งหมดนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ที่พี่ยูนำมาชำแหละให้ได้อ่านกัน น้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าคะแนน A-Level ภาษาไทยใช้ยื่นในระบบ TCAS รอบที่ 3 (Admission) ได้หลายคณะ ทั้งกลุ่มคณะสายวิทย์และสายศิลป์

      สำหรับใครที่อยากเพิ่มความมั่นใจก่อนสอบ A-Level ภาษาไทย พี่ยูมี คอร์สภาษาไทย A-Level รวมทุกบท และ คอร์สติวเข้ม+ตะลุยโจทย์ ภาษาไทย A-Level มาแนะนำ ซึ่งพี่ยูสกัดเนื้อหาประเด็นออกสอบ รวมข้อสอบเก่าและข้อสอบเก็งให้ฝึกทำจุใจ พร้อมเทคนิค Harmonic Memo สรุปจำเป็นทำนอง สรุปท่องเป็นจังหวะ จำได้ง่าย จำได้ไว ใช้ได้จริง ช่วยพิชิตคะแนน A-Level ภาษาไทยให้ทะลุเป้า

      สุดท้ายนี้พี่ยูขออวยพรให้น้อง ๆ ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สอบติดคณะที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ทุกคนเลย 🥰

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ