กลับตัวก็ไม่ได้ ต้องเดินต่อไป…ต้องไปให้ถึง

ชีววิทยา ม.5 เทอม 2

ช่วงเวลาของ ม.5 เทอม 2 เป็นช่วงเวลาที่น้อง ๆ ส่วนใหญ่คงรู้ตัวแล้วว่าเราอยากไปเรียนต่อด้านไหน อยากทำอาชีพอะไร แม้ว่าทุกวันนี้โลกแห่งอาชีพการงานจะเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก มันมี “งาน” บางอย่างที่มันดูเหมือนไม่ใช่งาน แต่มันก็ใช้หาเงินได้ และสามารถใช้เลี้ยงชีพได้ เช่น การทำ content ลง YouTube, การวาดภาพไฟล์ภาพขาย (NFT ART), การเก็งค่าเงินดิจิตอล, การขายของออนไลน์, การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ หรือบางคนอาจฝันจะทำอาชีพที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เช่น หมอ, พยาบาล, ครู, ทหาร, ทนายความ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรเราก็ต้องจินตนาการให้ออกก่อนว่างานที่แต่ละอาชีพต้องทำนั้นประมาณไหน และถ้าเรามีความฝันที่อยากจะเป็นแบบนั้น เราต้องเรียนต่อด้านไหน ในช่วงเวลานี้เกรด ม.ปลายออกมา 3 เทอมแล้ว และเทอมที่ 4 นี้ก็กำลังจะออก เราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้สิ่งที่ผ่านมาแล้วได้ ทำได้เพียงทำวันนี้ให้ดีที่สุด และมุ่งมั่นเดินต่อไป ต้องไปให้ถึงความฝันตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้

หลับ

เอายังไงกับ ม.5 เทอม 2

.5 เทอม 2 เป็นช่วงที่ต้องเริ่มจัดตารางเวลาอ่านหนังสือเตรียมสอบแล้ว เพราะตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบ TGAT, TPAT และ A-level จะมาสอบช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ดังนั้นในเทอมนี้ถ้าแค่คิดถึงเฉพาะการสอบ midterm หรือ final เพียงอย่างเดียว อาจจะไปลำบากในอนาคต เนื้อหาของเทอมนี้ต้องอ่านล่วงหน้าไปเลยก่อนที่โรงเรียนจะสอนเพื่อเก็บเกรดด้วย และจัดตารางอ่านหนังสือแบบสม่ำเสมอต่อเนื่องเพื่อเก็บเนื้อหาทั้งหมดให้ครบก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย น้อง ๆ สามารถอ่านบทความในวิชาอื่น ๆ ได้ใน linked (คณิต ม. 5 เทอม 2 , ฟิสิกส์ ม. 5 เทอม 2 , เคมี ม. 5 เทอม 2) สำหรับ ชีววิทยา ม. 5 เทอม 2 น้อง ๆ จะเจอกับบทต่าง ๆ ในกลุ่มการรักษาดุลยภาพในร่างกายสัตว์ มีเนื้อหา 5 บท ได้แก่ (1) ระบบย่อยอาหาร, (2) ระบบหายใจ, (3) ระบบหมุนเวียนเลือด และน้ำเหลือง, (4) ระบบภูมิคุ้มกัน, (5) ระบบขับถ่าย

เอายังไงกับ ม.5 เทอม 2

ชีวะ ม.5 เทอม 2 เนื้อหาที่ดูเหมือนจะสนุกขึ้น

หลังจากที่เราเรียนเรื่องเซลล์ ตอน ม.4 เทอม 1, เรื่อง พันธุศาสตร์ ตอน ม.4 เทอม 2 และ เรื่องพืช ตอน ม. 5 เทอม 1 ไปแล้ว ดูเหมือนเราจะได้เรียนเรื่องพื้นฐาน กับเรื่องที่ไกลตัวเราไปก่อน พอมาเทอมนี้จะเริ่มได้เรียนเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกลไกในร่างกาย ทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้นว่า ทำไมช่วงจังหวะที่เรากลืนอาหารถึงต้องหยุดหายใจแป๊บหนึ่ง, ทำไมการฉีดวัคซีนถึงป้องกันโรคได้ และทำไมคนแก่บางคนชอบปวดฉี่บ่อย โดยจะได้เรียนรายละเอียดเนื้อหาที่เจาะลึก เรียกได้ว่าเตรียมตัวก่อนจะเป็นหมอเลยทีเดียว ดังนั้นน้อง ๆ ที่อยากสอบติดในคณะสายสาธารณสุข เช่น แพทยศาสตร์, ทันตแพทย์, เภสัชฯ, สัตวฯ, พยาบาล จะต้องตั้งใจเรียนชีวะเนื้อหาของ ม. 5 เทอม 2 และ ม.6 เทอม 1 ให้ดีเลย เพราะเนื้อหากลุ่มนี้เป็นกลุ่มพื้นฐานที่จะใช้เรียนคณะสายแพทย์ในอนาคตด้วย

จุดเน้นสำคัญที่ไม่ควรพลาดในชีวะ ม.5 เทอม 2

  • ระบบย่อยอาหาร : เนื้อหาในบทนี้ ได้แก่ การย่อยอาหารของสัตว์ และการย่อยอาหารของมนุษย์ บทนี้เป็นบทไม่ใหญ่ เนื้อหาไม่เยอะมาก แต่มีรายละเอียดเรื่องการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ที่เราต้องจำว่าเอนไซม์แต่ละชนิดนั้นผลิตจากอวัยวะส่วนไหน ย่อยสารอะไร ได้ผลิตภัณฑ์เป็นอะไร พี่บิ๊กแนะนำว่าให้วาดรูปภาพรวมของทางเดินอาหารมนุษย์ และชี้แต่ละจุดออกมาวาดรายละเอียดเป็นรูปโมเลกุลอาหารที่ถูกเอนไซม์แต่ละชนิดย่อย
  • ระบบหายใจ : บทนี้มี 4 เรื่องย่อย ได้แก่ การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์, อวัยวะและโครงสร้างในระบบหายใจของมนุษย์, การแลกเปลี่ยนแก๊สและการลำเลียงแก๊ส, การหายใจ ในบทนี้น้อง ๆ ต้องเข้าใจกลไกการหายใจที่แตกต่างกันของแมลง, ปลา, กบ, นก และ มนุษย์ ตัวไหนไม่มีปอด ตัวไหนใช้แรงดันอัดอากาศเข้าปอด ตัวไหนควบคุมกล้ามเนื้อให้แรงดันในช่องอกลดลงแล้วให้อากาศไหลเข้าไปในปอดเอง
  • ระบบหมุนเวียนเลือด และน้ำเหลือง : บทนี้มี 3 เรื่อง ได้แก่ การลำเลียงสารในร่างกายของสัตว์, การลำเลียงสารในร่างกายของมนุษย์, ระบบน้ำเหลือง จุดเน้นที่ต้องจำได้คือ ลำดับการหมุนเวียนเลือดในร่างกายมนุษย์ว่าผ่านลิ้นหัวใจอะไร ผ่านเส้นเลือดอะไรบ้าง องค์ประกอบในเลือด และความแตกต่างของเลือดกับน้ำเหลือง
  • ระบบภูมิคุ้มกัน : มี 3 เรื่อง คือ กลไกการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม, การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน สิ่งที่ต้องแม่นคือ กลไกการแพ้, การอักเสบ และความแตกต่างระหว่าง active กับ passive immunization
  • ระบบขับถ่าย : มี 5 เรื่อง ได้แก่ ระบบขับถ่ายของสัตว์, ระบบขับถ่ายของมนุษย์, การทำงานของหน่วยไต, ไตกับการรักษาดุลยภาพ, ความผิดปกติของระบบขับถ่าย ประเด็นสำคัญที่ชอบออกสอบ คือ เรื่อง Nitrogenous waste, กลไกการกรอง และการดูดกลับของหน่วยไต, การทำงานของฮอร์โมน ADH โดยข้อสอบอาจให้วิเคราะห์ความผิดปกติของหน่วยไตโดยให้เราพิจารณาจากสารองค์ประกอบในปัสสาวะ

จะไปให้ถึงความฝัน บางจังหวะก็ต้องรีบ

ในชีวิตของการเรียนรู้นั้น บางช่วงก็ต้องไปแบบช้า ๆ แต่บางช่วงก็ต้องเร่งรีบ สิ่งสำคัญสำหรับทำคะแนนในวิชาชีววิทยานั้นคือ ต้องเก็บเนื้อหาให้ครบ และแม่น ดังนั้นหากน้องคนไหนเรียนชีวะในเทอมที่ผ่านมาแบบพอผ่าน หรือลืมเนื้อหาไปหมดแล้ว พี่แนะนำเลยว่าต้องรีบรื้อฟื้นให้พอจำได้ก่อน และอาจต้องเรียนล่วงหน้าด้วย เพื่อเก็บเนื้อหาให้จบก่อนที่จะลองทำโจทย์ข้อสอบเสมือนจริง ในทุก ๆ บทนั้น เราควรทำสรุปแบบ short note ด้วยตัวเองแบบวาดภาพประกอบด้วย เพราะการจำเป็นภาพมันทำให้เราจำได้นานกว่า เช่น ในคอร์สชีวะของพี่บิ๊ก จะใช้วิธีบรรยายประกอบการวาดภาพที่พี่ตั้งชื่อว่าเทคนิค WE BIO CLEAR น้อง ๆ สามารถไปทดลองเรียนฟรีดูก่อนได้

น้อง ๆ ที่ชอบชีวะ ได้เกรดชีวะที่โรงเรียนดีอยู่แล้ว และมั่นใจว่าเราแม่นเนื้อหาพอที่จะทำข้อสอบได้ พี่ว่าแค่อ่านทบทวนนิดหน่อยก็น่าจะพอทำข้อสอบได้ แต่ถ้าใครยังไม่มั่นใจพี่แนะนำว่าลงคอร์สไปเหอะ คอร์ส Ultimate Bio เพราะในคอร์สนี้พี่ทั้งสอนปูพื้นฐานในแต่ละบทให้ด้วย และทั้งฝึกทำโจทย์ไปด้วยในแต่ละประเด็นที่ข้อสอบเคยออก เพราะฉะนั้นน้อง ๆ จะได้เห็นแนวโจทย์เก่า ๆ ครบทุกแนว เพื่อจะได้เป็นพื้นฐานสำคัญในการวิเคราะห์โจทย์รูปแบบใหม่ ๆ ได้ ไม่ว่าน้อง ๆ จะมีพื้นฐานชีวะเท่าไร เกรดที่ผ่านมาเป็นยังไง หรือจะได้ลงสมัครในคอร์สใหม พี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนก้าวเดินต่อไป ไปให้ถึงความฝันให้ได้ สู้ ๆ

คอร์สชีววิทยา ม.5 เทอม 2

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ