ฟิสิกส์ ม.4 – การเคลื่อนที่แนวตรง สรุปเนื้อหา + สูตร + ข้อสอบพร้อมเฉลย

สรุป ฟิสิกส์ ม.4 - การเคลื่อนที่แนวตรง ภาพรวมเนื้อหา + สูตรสำคัญ + ข้อสอบพร้อมเฉลยละเอียด

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

      น้อง ๆ รู้รึเปล่าว่า การเคลื่อนที่แนวตรง นับเป็นบทหลักบทใหญ่ของฟิสิกส์ ม.ปลาย ที่มีเนื้อหาสำคัญให้ได้เรียนรู้กันหลายส่วน แถมยังเป็นบทที่รุ่นพี่ทุกคนยอมรับโดยทั่วกันว่า ออกข้อสอบในทุกสนามสำคัญอีกด้วย

      การเคลื่อนที่แนวตรง ม.4 จึงเป็นอีกหนึ่งบทที่น้อง ๆ ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจเนื้อหา เพื่อปูพื้นฐานสำหรับต่อยอดในการเรียนฟิสิกส์ ม.ปลาย บทอื่น ๆ รวมทั้งเตรียมพร้อมสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ด้วยนั่นเอง

      แล้วในบทการเคลื่อนที่แนวตรงนี้ น้อง ม.ปลาย จะได้เรียนเรื่องอะไร? มีสูตรอะไรบ้าง? จุดไหนสำคัญ? หัวข้อไหนห้ามพลาด? แนวข้อสอบเป็นยังไง? “พี่ลูกตาล – ดร.ธนัชพร วงศ์เวียน” สรุปมาให้ครบทุกประเด็นแล้ว ตามไปดูพร้อมกันได้เลย!!

เนื้อหาฟิสิกส์ ม.4 (เทอม 1 - 2) ตามหลักสูตร สสวท.

ฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 และเทอม 2 หลักสูตร สสวท. เรียนอะไรบ้าง?

      พี่ลูกตาลขอชวนน้อง ๆ มาดู เนื้อหาฟิสิกส์ ม.ปลาย หลักสูตร สสวท. ว่าสำหรับฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 และเทอม 2 ในแต่ละเทอมจะได้เรียนเนื้อหากลุ่มไหนและมีหัวข้ออะไรบ้างก่อนเลยค่ะ

ฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 เรียนอะไรบ้าง?

      กลุ่มเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ปลาย ที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในเนื้อหาฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 คือ กลุ่มกลศาสตร์ 1 ที่เป็นเนื้อหาเริ่มต้นของกลศาสตร์พื้นฐาน แล้วยังถือเป็นเนื้อหากลุ่มใหญ่ของฟิสิกส์ ม.ปลาย อีกด้วย ซึ่งเนื้อหาในกลุ่มนี้ประกอบด้วย

  • บทที่ 1 ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
  • บทที่ 2 การเคลื่อนที่แนวตรง
  • บทที่ 3 แรงและกฎการเคลื่อนที่

ฟิสิกส์ ม.4 เทอม 2 เรียนอะไรบ้าง?

      สำหรับฟิสิกส์ ม.ปลาย ในส่วนของฟิสิกส์ ม.4 เทอม 2 น้อง ๆ ก็ยังคงได้เรียนเนื้อหากลุ่มกลศาสตร์ ที่ต่อเนื่องมาจากเนื้อหาที่ได้เรียนกันมาแล้วในเทอม 1 โดยเนื้อหาของ กลุ่มกลศาสตร์ 2 ประกอบด้วย

  • บทที่ 4 สมดุลกล
  • บทที่ 5 งานและพลังงาน
  • บทที่ 6 โมเมนตัมและการชน
  • บทที่ 7 การเคลื่อนที่แนวโค้ง

      พอดูภาพรวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.4 ที่พี่ลูกตาลสรุปมาดูให้ด้านบน น้อง ๆ ก็จะเห็นว่า การเคลื่อนที่แนวตรง เป็นเนื้อหาบทที่ 2 ในกลุ่มกลศาสตร์ 1 ของฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 นั่นเอง

ภาพรวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.4 บทการเคลื่อนที่แนวตรง

      หลังจากที่เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของเนื้อหาฟิสิกส์ ม.4 ทั้งเทอม 1 และเทอม 2 แล้ว คราวนี้ตามพี่ลูกตาลมาเจาะลึกเนื้อหา บทการเคลื่อนที่แนวตรง เลยดีกว่า

      สำหรับบทการเคลื่อนที่แนวตรง ในวิชาฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) ระดับชั้น ม.ปลาย ถือว่าเป็นบทหนักหน่วงของน้อง ๆ ม.ปลาย หลายคนเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นบทแรกที่เข้าเนื้อหาฟิสิกส์อย่างเป็นจริงเป็นจัง

      (บทแรกตามหลักสูตร สสวท. คือ บทธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ ที่เปรียบเสมือนการเกริ่นนำวิชาและเรียนรู้เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยมุ่งเน้นด้านการวัด การบันทึกผล และการรายงานผลจากการทดลอง)

      ก่อนอื่นพี่ลูกตาลอยากให้น้อง ๆ ได้มองภาพรวมขององค์ประกอบภายในบทการเคลื่อนที่แนวตรงผ่าน “แผนผังมโนทัศน์ (Mind Map) บทการเคลื่อนที่แนวตรง ฟิสิกส์ ม.ปลาย” ข้างล่างนี้ เพื่อที่น้อง ๆ จะได้ประเมินเนื้อหาโดยรวมว่า บทนี้ประกอบด้วยเนื้อหาที่สำคัญอะไรบ้าง? แต่ละหัวข้อมีความใหญ่โตมากแค่ไหน?

แผนผังมโนทัศน์ (Mind Map) แสดงภาพรวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.4 บทการเคลื่อนที่แนวตรง

เนื้อหาบทการเคลื่อนที่แนวตรง

1. ปริมาณพื้นฐานของการเคลื่อนที่

  • สเกลาร์ VS เวกเตอร์

    • สเกลาร์
      • ระยะทาง
      • อัตราเร็ว
      • อัตราเร่ง
    • เวกเตอร์
      • การกระจัด
      • ความเร็ว
      • ความเร่ง
  • ค่าเฉลี่ย VS ค่าขณะใดขณะหนึ่ง

2. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา

3. สมการการเคลื่อนที่

  • ความเร็วคงที่
  • ความเร่งคงที่

4. กราฟการเคลื่อนที่

  • กราฟเส้นตรง
  • กราฟเส้นโค้ง

5. การเคลื่อนที่แนวดิ่งแบบเสรี

  • ลักษณะสำคัญของการเคลื่อนที่
  • การคำนวณ
  • กราฟการเคลื่อนที่
  • การแปลงกราฟการเคลื่อนที่

6. ระยะทางในช่วงวินาทีใด ๆ

7. ความเร็วสัมพัทธ์ (Relative Velocity)

8. รูปแบบการเคลื่อนที่แนวตรงที่น่าสนใจ

  • การปล่อย / ขว้างวัตถุจากยานพาหนะที่กำลังเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
  • การเคลื่อนที่ของวัตถุหลายชิ้น
  • การเคลื่อนที่ของวัตถุเดียวแบบหลายตอน

      ถ้าดูจาก “แผนผังมโนทัศน์ (Mind Map) บทการเคลื่อนที่แนวตรง ฟิสิกส์ ม.ปลาย” น้อง ๆ จะเห็นว่า พี่ลูกตาลได้เพิ่มเติมหัวข้อสำคัญสำหรับน้อง ม.ปลาย ที่ห้ามพลาด (ขีดเส้นใต้ย้ำอีกครั้งว่า ห้ามพลาด!!!) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการสอบแข่งขันสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ปัจจุบันให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นไม่ต้องตกใจจนเกินไป (อนุญาตให้ตกใจได้เล็กน้อย 55+ 🤣) เพราะบางโรงเรียนอาจจะมีหัวข้อไม่มากเท่าในแผนผังมโนทัศน์ของพี่ลูกตาลค่ะ

สรุปเนื้อหาฟิสิกส์ ม.4 - การเคลื่อนที่แนวตรง

ปริมาณพื้นฐานของการเคลื่อนที่

      ในเนื้อหาฟิสิกส์ ม.4 บทการเคลื่อนที่แนวตรง หัวข้อที่ 1 ปริมาณพื้นฐานของการเคลื่อนที่ น้อง ๆ จะได้รู้จักปริมาณพื้นฐานของการเคลื่อนที่ซึ่งอยู่ในรูปแบบตัวแปร  s  v  a  ทั้งในรูปแบบ “สเกลาร์” และ “เวกเตอร์”

  • ปริมาณสเกลาร์ (Scalar) คือ ปริมาณที่มี ขนาด ซึ่งต้องการการบอก ขนาด ในการสื่อสารให้ตรงกัน
  • ปริมาณเวกเตอร์ (Vector) คือ ปริมาณที่มี ขนาดและทิศทาง ซึ่งต้องการการบอก ขนาดและทิศทาง ในการสื่อสารให้ตรงกัน

      ปริมาณเวกเตอร์จะมีสัญลักษณ์แสดงการเป็นเวกเตอร์  ⇀  หรือ  →  กำกับที่ด้านบนตัวแปร เช่น  \overrightarrow{s}  แทนปริมาณเวกเตอร์  s  ซึ่งในหัวข้อนี้  \overrightarrow{s}  หมายถึง การกระจัด ซึ่งเป็นปริมาณเวกเตอร์ ขนาดความยาวของลูกศร (หรือ ตัวเลขแทนความยาว) แสดงขนาดของเวกเตอร์ และทิศทางที่ลูกศรชี้ (หรือ ค่ามุมที่ทำกับแกนมาตรฐาน) แสดงทิศทางของเวกเตอร์ เป็นต้น

      เมื่อแยกพิจารณาตัวแปร  s  v  a  ทั้ง 2 รูปแบบปริมาณ จะสามารถสรุปใจความได้ดังนี้

จุดสำคัญของบท “การเคลื่อนที่แนวตรง” ที่น้อง ๆ ต้องรู้!

สรุปฟิสิกส์ ม.4 การเคลื่อนที่แนวตรง - จุดสำคัญที่น้อง ๆ ต้องรู้!

สมการการเคลื่อนที่

      หัวข้อต่อไปในบทการเคลื่อนที่แนวตรง ม.4 ที่พี่ลูกตาลจะพาไปดูกัน ก็คือ สมการการเคลื่อนที่ ค่ะ เมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่ของวัตถุใด ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง (t)  น้อง ๆ จะเห็นว่าในช่วงของการเคลื่อนที่นั้น มี ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ทั้งหมด 5 ปริมาณ คือ

1. ความเร็วของวัตถุ ณ ตำแหน่งเริ่มต้นของการพิจารณา : ความเร็วต้น (\overrightarrow{u})

2. ความเร็วของวัตถุ ณ ตำแหน่งสิ้นสุดของการพิจารณา : ความเร็วปลาย (\overrightarrow{v})

3. การกระจัดของวัตถุที่เคลื่อนที่ระหว่างจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด : การกระจัด (\overrightarrow{s})

4. ระยะเวลาที่ใช้ ในการเคลื่อนที่ระหว่างจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด : เวลา (t)

5. ความเร่งของวัตถุ ในการเคลื่อนที่ระหว่างจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด : ความเร่ง (\overrightarrow{a})

      โดยสามารถเขียนปริมาณต่าง ๆ เหล่านี้ ใน แผนภาพจำลองการเคลื่อนที่ ได้ดังภาพด้านล่างนี้เลย

      และเพื่อให้ง่ายต่อการเรียกใช้ตัวแปรต่าง ๆ เหล่านี้ น้อง ม.ปลาย อาจพบการเขียนสัญลักษณ์ตัวแปรปริมาณเวกเตอร์ โดยการละทิ้งเครื่องหมายเวกเตอร์ที่ด้านบนตัวแปร

      แต่พี่ลูกตาลอยากให้น้อง ๆ พึงระลึกไว้เสมอว่า ปริมาณใดที่เป็นปริมาณเวกเตอร์จะยังคงเป็นเวกเตอร์เช่นเดิม และเราสามารถเรียกใช้ความเป็นเวกเตอร์ของปริมาณเหล่านั้นได้ทุกเมื่อที่มีการพิจารณาคุณสมบัติความเป็นเวกเตอร์นั้นค่ะ

      การเคลื่อนที่แนวตรง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบพื้นฐาน โดยพิจารณาจากความเร็วต้นเทียบกับความเร็วปลายของวัตถุ นั่นคือ

รูปแบบที่ 1 ความเร็วต้น (u)  เท่ากับ ความเร็วปลาย (v)  =>  “ความเร็วคงที่” (ความเร่ง = 0)

รูปแบบที่ 2 ความเร็วต้น (u)  ไม่เท่ากับ ความเร็วปลาย (v)  แต่การเปลี่ยนแปลงของความเร็วต้นต่อเวลา เท่ากับ การเปลี่ยนแปลงของความเร็วปลายต่อเวลา  =>  ความเร็วไม่คงที่ แต่ “ความเร่งคงที่”

      (สำหรับกรณี ความเร็วต้น(u) ไม่เท่ากับ ความเร็วปลาย (v)  และ การเปลี่ยนแปลงของความเร็วต้นต่อเวลา ไม่เท่ากับ การเปลี่ยนแปลงของความเร็วปลายต่อเวลา ซึ่งก็คือกรณี ความเร็วไม่คงที่ และ ความเร่งไม่คงที่ ด้วย น้อง ๆ อาจได้เรียนในเนื้อหาฟิสิกส์ระดับสูงขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสาขาที่น้อง ๆ เรียนในระดับมหาวิทยาลัยค่ะ)

สรุปฟิสิกส์ ม.4 การเคลื่อนที่แนวตรง - สมการการเคลื่อนที่ รูปแบบที่ 1 ความเร็วคงที่ และรูปแบบที่ 2 ความเร่งคงที่

      สำหรับการเคลื่อนที่แนวตรง รูปแบบที่ 2 ความเร่งคงที่ มีสูตรที่สามารถเลือกใช้ในการคำนวณได้ทั้งหมด 5 สูตร ซึ่งพี่ลูกตาลพบว่าน้อง ๆ หลายคนมักเจอปัญหาในการเลือกสูตร ไม่รู้ว่าควรจะใช้สูตรใดในการหาคำตอบ รวมถึงมีการจำสลับสับเปลี่ยนสูตรไป-มา ทำให้เกิดการนึกวกวนแต่สูตรเดิม ๆ ซ้ำ ๆ จนไม่สามารถใช้สูตรในการหาคำตอบได้

เทคนิคการเรียบเรียงสูตร ตามหลักการ “Mr. suvat”

      แต่อย่ากังวลค่ะ! พี่ลูกตาลจะช่วยกำจัดปัญหาเหล่านี้ให้กับน้อง ๆ ด้วยการกำหนด เทคนิค (Trick) การเรียบเรียงสูตร ตามหลักการ “Mr. suvat” (มิสเตอร์สุวัฒน์) โดยมีหลักการนำไปใช้ดังนี้

      ตัวแปร  s   u   v   a   t   ถูกนำมาใช้เป็น Keyword ในการเรียกใช้สูตร 5 สูตรตามลำดับ 1 – 5 โดยตัวแปรแต่ละตัวนี้ จะเป็นตัวแปรที่ไม่มีข้อมูลจากโจทย์มาให้และไม่ได้ต้องการหาค่าจากคำถามของโจทย์ ซึ่งจะไม่มีตัวแปรนั้น ๆ ในสูตรที่มันกำกับอยู่นั่นเอง

💡 ยกตัวอย่างเช่น

ใน สูตรที่ 1  v = u + at   มีตัวแปรในสูตรทั้งหมด 4 ตัว คือ  v  u  a   และ  t   โจทย์อาจให้ค่าตัวแปร 3 ตัวใด ๆ ในนี้ และถามหาค่าตัวแปร 1 ตัวที่เหลือ โดยไม่มีการสนใจ / พิจารณา ตัวแปร  s   ซึ่งเป็นตัวแปรกำกับของสูตรที่ 1 นี้เลย

      การพิจารณาตัวแปรที่ขาดหายไป 1 ตัว จาก 5 ปริมาณในแต่ละช่วงของการเคลื่อนที่ (ตามที่พี่ลูกตาลได้พูดถึงไปแล้วในช่วงต้นบทความ) จะช่วยให้น้อง ๆ เลือกสูตรได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ลดระยะเวลาในการทำโจทย์ข้อสอบแข่งขันลงได้เยอะเลย

      อย่าลืมนะคะ ว่าในระบบ TCAS ปัจจุบัน ข้อสอบฟิสิกส์ A-Level มีทั้งหมด 30 ข้อ (ปรนัย 25 ข้อ + อัตนัย 5 ข้อ) และน้อง ๆ จะมีเวลาทำข้อสอบแค่ 90 นาทีเท่านั้น! เฉลี่ยข้อละ 3 นาที!! นี่ยังต้องหักลบกับการอ่านโจทย์และความตื่นเต้นในห้องสอบอีกด้วย!!!

สรุปฟิสิกส์ ม.4 การเคลื่อนที่แนวตรง - สมการการเคลื่อนที่ ที่มาของสูตร s u v a t

Checklist จุดสำคัญของบทการเคลื่อนที่แนวตรง ที่น้อง ๆ ห้ามพลาด

      นอกจากจะทำสรุปเนื้อหาและสูตรที่ต้องรู้ของบทการเคลื่อนที่แนวตรง ฟิสิกส์ ม.ปลาย มาฝากกันในบทความนี้แล้ว พี่ลูกตาลยังทำ Checklist เนื้อหาสำคัญของบทการเคลื่อนที่แนวตรง ม.4 มาแจกกันด้วย ซึ่งจุดสำคัญที่น้อง ๆ ห้ามพลาดเด็ดขาด ได้แก่

📌 Checklist จุดสำคัญที่น้อง ๆ ห้ามพลาด!

✔ กราฟการเคลื่อนที่

✔ การเคลื่อนที่แนวดิ่งแบบเสรี (การตกอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก)

✔ ระยะทางในช่วงวินาทีใด ๆ

✔ ความเร็วสัมพัทธ์

✔ รูปแบบการเคลื่อนที่แนวตรงที่น่าสนใจต่าง ๆ เช่น การปล่อย / ขว้างวัตถุจากยานพาหนะที่กำลังเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง, การเคลื่อนที่ของวัตถุหลายชิ้น และการเคลื่อนที่ของวัตถุเดียวแบบหลายตอน เป็นต้น

แนวข้อสอบฟิสิกส์ ม.ปลาย พร้อมเฉลย : บทการเคลื่อนที่แนวตรง

      หลังจากที่อ่านสรุปเนื้อหาฟิสิกส์ ม.4 บทการเคลื่อนที่แนวตรง และปักหมุดจุดสำคัญที่ห้ามพลาดของบทนี้แล้ว น้อง ๆ หลายคนคงอยากจะรู้ว่าข้อสอบเรื่องการเคลื่อนที่แนวตรง แนวโจทย์เป็นยังไง? ความยาก – ง่ายประมาณไหน?

      พี่ลูกตาลจึงนำ ตัวอย่างข้อสอบบทการเคลื่อนที่แนวตรง พร้อมเฉลยละเอียด ทั้งการแก้โจทย์ด้วยวิธีธรรมดา และการแก้โจทย์ด้วยวิธีกราฟ มาให้ได้ลองฝึกซ้อมมือและเรียนรู้วิธีแก้โจทย์กันค่ะ

โจทย์การเคลื่อนที่แนวตรง - ฟิสิกส์ ม.ปลาย

โจทย์การเคลื่อนที่แนวตรง พร้อมเฉลย - ฟิสิกส์ ม.ปลาย

เฉลยโจทย์การเคลื่อนที่แนวตรง วิธีที่ 1 : แก้โจทย์ด้วยวิธีธรรมดา

เฉลยโจทย์การเคลื่อนที่แนวตรง วิธีที่ 1 : แก้โจทย์ด้วยวิธีธรรมดา

      ถ้าน้อง ๆ ยังไม่ค่อยเข้าใจ ก็ตามมาดูพี่ลูกตาล สอนแก้โจทย์การเคลื่อนที่แนวตรงด้วยวิธีตรง (วิธีธรรมดา) ได้ในคลิปด้านล่างนี้เลย!

เฉลยโจทย์การเคลื่อนที่แนวตรง วิธีที่ 2 : แก้โจทย์ด้วยวิธีกราฟ

เฉลยโจทย์การเคลื่อนที่แนวตรง วิธีที่ 2 : แก้โจทย์ด้วยวิธีกราฟ

      น้อง ๆ ที่อยากรู้ วิธีแก้โจทย์การเคลื่อนที่แนวตรงด้วยวิธีลัด (วิธีกราฟ) แบบอธิบายละเอียดยิบทีละขั้นตอน กดดูคลิปสอนแก้โจทย์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ!

ติวฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 กับ WE BY THE BRAIN พร้อมพิชิตเกรด 4 และสนามสอบเข้ามหาวิทยาลัย

      พี่ลูกตาลหวังว่า ฟิสิกส์ ม.4 – บทการเคลื่อนที่แนวตรง ที่พี่ลูกตาลสรุปมาฝากกันในวันนี้ จะช่วยให้น้อง ๆ มองเห็นภาพรวมของเนื้อหา และเตรียมพร้อมรับมือกับวิชาฟิสิกส์ในระดับ ม.ปลาย ได้ดียิ่งขึ้นนะ

      แต่สำหรับใครที่ลองเรียนด้วยตัวเองแล้วคิดว่าไปต่อไม่ไหว หรืออยากได้ตัวช่วยติวฟิสิกส์ ม.ปลาย ให้พื้นฐานแน่นยิ่งขึ้น ก็มาเจอกับพี่ลูกตาลใน คอร์สฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 รวมทุกบท ที่ “เดอะเบรน” ได้เลย

สมัครคอร์สนี้ดียังไง?

✔ เนื้อหาครบ เข้มข้น ครอบคลุม ตรงตามหลักสูตร

✔ อธิบายอย่างละเอียดเป็นลำดับขั้น สร้างพื้นฐานกระบวนการคิดที่แข็งแกร่ง

✔ เน้นทุกจุดสำคัญของวิชาฟิสิกส์ พร้อมเรียนรู้เทคนิคการแก้โจทย์อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

✔ พาตะลุยโจทย์แบบฝึกหัดหลากหลายแนว ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ข้อสอบโรงเรียน ไปจนถึงข้อสอบแข่งขันต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

      ถ้าน้อง ๆ อยากจะได้ความรู้เกี่ยวกับฟิสิกส์ และไม่พลาดสาระดี ๆ จาก “พี่ลูกตาล” ไม่ว่าจะเป็นสรุปเนื้อหา เจาะลึกแนวข้อสอบสนามสำคัญ หรือแจกเคล็ดลับการเรียน ก็รีบกดติดตามได้ที่ช่องทางเหล่านี้เลย!!

Picture of ดร.ธนัชพร วงศ์เวียน (พี่ลูกตาล)

ดร.ธนัชพร วงศ์เวียน (พี่ลูกตาล)

ปริญญาเอก Engineering Management, SIIT, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประสบการณ์สอนวิชาฟิสิกส์ มากกว่า 12 ปี

บทความแนะนำ

Top
ทดลองเรียนทดลองเรียนโปรโมชันโปรโมชันรับคำแนะนำรับคำแนะนำ