ใกล้เข้ามาแล้วกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับ DEK66 ถ้าไม่เตรียมความพร้อมให้ดีก็อาจทำให้น้อง ๆ พลาดคะแนนสอบสำคัญไปได้ สำหรับใครที่วางแผนจะยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยผ่านระบบ TCAS พี่วีวี่จะพาไปทำความรู้จักกับ TGAT (Thai General Aptitude Test) หนึ่งในคะแนนสอบสำคัญที่ขาดไม่ได้!!
DEK66 ที่กำลังงง ๆ ว่าข้อสอบ TGAT คืออะไร จะเหมือนข้อสอบ GAT ของปีก่อน ๆ ไหม ด้วยความที่มีการเปลี่ยนแปลงใน TCAS66 เป็นปีแรก ก็ไม่แปลกที่น้อง ๆ จะกังวลใจเป็นพิเศษ ว่าปีนี้เราจะเอายังไงกันดี วันนี้พี่วีวี่จะมาตอบทุกข้อสงสัยให้ในบทความนี้ ใครอ่านจบได้แนวทางในการเตรียมตัวสอบ TGAT แน่นอน
TGAT คืออะไร?
TGAT (Thailand General Aptitude Test) คือ วิชาวัดความถนัดทั่วไป ไม่เน้นเนื้อหาความรู้เชิงวิชาการ โดยข้อสอบ TGAT จะมีทั้งหมด 3 ด้านด้วยกันคือ
- TGAT1 : การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication)
- TGAT2 : การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking)
- TGAT3 : สมรรถนะการทำงาน (Future Workforce Competency)
ทั้ง 3 ส่วนนี้จะถูกประกาศคะแนนแบบแยกส่วน วิชาละ 100 คะแนน ส่วนจะต้องเอาคะแนนไปใช้ยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS รอบไหนบางนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การคัดเลือกของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยอาจเลือกใช้ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเลือกทั้งหมดเลยก็ได้ และในปีนี้คะแนน TGAT สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกรอบ Portfolio ได้ด้วย ขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยจะกำหนด พี่วีวี่แนะนำให้น้อง ๆ อ่านข้อมูลรายละเอียดของทางมหาวิทยาลัยให้ดี จะได้เตรียมความพร้อมให้ทัน
ตอนนี้ได้มี TEST BLUEPRINT โครงสร้างและตัวอย่างข้อสอบของ TGAT 3 สมรรถนะการทำงานออกมาแล้ว น้อง ๆ สามารถดูได้ที่นี่เลย https://bit.ly/3wevcRb
โครงสร้างข้อสอบ TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ
ข้อสอบ TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication) เป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก ใช้ระยะเวลาการสอบ 60 นาที โดยจะมีข้อคำถามทั้งหมด 60 ข้อ แบ่งเป็น 2 บทใหญ่ ได้แก่ ทักษะการพูด 30 ข้อ 50 คะแนน และทักษะการอ่าน 30 ข้อ 50 คะแนน รวมเป็น 100 คะแนน โดยในแต่ละบทก็จะมีหัวข้อย่อย และระดับข้อสอบยาก-ง่าย แตกต่างกันไป ดังนี้
1. ทักษะการพูด (Speaking Skill) มี 30 ข้อ 50 คะแนน แบ่งเป็น 3 บทย่อยดังนี้
- การถาม–ตอบ (Question-Response) : มีจำนวนข้อคำถาม 10 ข้อ และระดับข้อสอบแบ่งเป็น ง่าย 2 ข้อ, กลาง 6 ข้อ และยาก 2 ข้อ
- เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversations) : มี 3 บทสนทนา โดยแต่ละบทสนทนาจะมีจำนวนข้อคำถาม 3 – 4 ข้อ รวมทั้งหมด 10 ข้อ และแบ่งระดับข้อสอบเป็น ง่าย 2 ข้อ, กลาง 6 ข้อ และยาก 2 ข้อ
- เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversations) : มี 2 บทสนทนา โดยแต่ละบทสนทนาจะมีจำนวนข้อคำถาม 5 ข้อ รวมทั้งหมด 10 ข้อ และแบ่งระดับข้อสอบเป็น ง่าย 2 ข้อ, กลาง 6 ข้อ และยาก 2 ข้อ
2. ทักษะการอ่าน (Reading Skill) มี 30 ข้อ 50 คะแนน แบ่งเป็น 2 บทย่อยดังนี้
- เติมข้อความในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (Text completion) : มี 2 บทความ โดยแต่ละบทความมีข้อคำถาม 7-8 ข้อ รวมทั้งหมด 15 ข้อ และแบ่งระดับข้อสอบเป็น ง่าย 3 ข้อ, กลาง 9 ข้อ และยาก 3 ข้อ
- อ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension) : จำนวน 3 บทความ โดยจะเป็นบทความทั่วไปที่ใช้ในการสื่อสาร มีจำนวนคำประมาณ 100 – 200 คำ และแต่ละบทความจะมีจำนวนข้อคำถาม 5 ข้อ รวมทั้งหมด 15 ข้อ และแบ่งระดับข้อสอบเป็น ง่าย 3 ข้อ, กลาง 9 ข้อ และยาก 3 ข้อ
โครงสร้างข้อสอบ TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล
ข้อสอบ TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking) จะเป็นข้อสอบปรนัย 5 ตัวเลือก ใช้ระยะเวลาการสอบ 60 นาที มีทั้งหมด 80 ข้อ 100 คะแนน โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 บทย่อยดังนี้
- ความสามารถทางภาษา 20 ข้อ
- ความสามารถทางตัวเลข 20 ข้อ
- ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ 20 ข้อ
- ความสามารถทางเหตุผล 20 ข้อ
โครงสร้างข้อสอบ TGAT3 สมรรถนะการทำงาน
ข้อสอบ TGAT3 สมรรถนะการทำงาน (Future Workforce Competency) เป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก โดยจะเป็นการสอบเพื่อวัดทัศนคติ 4 ระดับ ทุกคำตอบจะมีคะแนนอยู่ในช่วงระหว่าง 0-1 คะแนน โดยการตอบคำถามจะมี 2 แบบ ได้แก่ แบบเลือกตอบตัวเลือกเดียว และเลือกตอบหลายตัวเลือก ใช้ระยะเวลาการสอบ 60 นาที
ข้อสอบ TGAT3 สมรรถนะการทำงาน มีทั้งหมด 60 ข้อ 100 คะแนน โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 บทย่อยดังนี้
1. การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม 15 ข้อ รวมเนื้อหาต่อไปนี้
- การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking)
- การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ (Professional problem solving)
- ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking)
2. การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน 15 ข้อ รวมเนื้อหาต่อไปนี้
- การระบุปัญหา (Identifying problems)
- การแสวงหาทางออก (Generating and selecting solutions)
- การนำทางออกไปแก้ปัญหา (Implementation)
- การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (Evaluation)
3. การบริหารจัดการอารมณ์ 15 ข้อ รวมเนื้อหาต่อไปนี้
- ความตระหนักรู้ตนเอง (Self awareness)
- การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control)
- ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding)
4. การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม 15 ข้อ รวมเนื้อหาต่อไปนี้
- การมุ่งเน้นการบริการสังคม (Service orientation)
- จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental responsibility)
- การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (Creating local benefits)
TGAT VS GAT เหมือนกันไหม ต่างกันตรงไหน?
น้อง ๆ คนไหนที่กำลังสงสัยว่า TGAT เหมือนกับ GAT แบบเดิมไหม บอกไว้ตรงนี้เลยว่าไม่เหมือนกันเลย ตั้งแต่สัดส่วนข้อสอบที่ต่างกัน วิธีคิดคะแนนก็ต่างกัน แม้แต่ English Communication ก็ไม่เหมือนกับ GAT- ENG ของพี่ ๆ ปีก่อน เพราะข้อสอบ TGAT จะเน้นไปที่การใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น แถมยังต้องวัดสมรรถนะในการทำงานอีกด้วย
รูปแบบการสอบ TGAT เป็นอย่างไร?
ในปีนี้น้อง ๆ สามารถเลือกได้ว่าจะสอบแบบคอมพิวเตอร์ หรือแบบกระดาษ ค่าสมัครสอบราคาเท่ากันคือ 140 บาท ซึ่งปกติการสอบด้วยคอมพิวเตอร์จะราคา 200 บาท แต่ปีนี้เป็นปีแรกของการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ ทางทปอ.จึงลดราคาให้เท่ากับการสอบด้วยกระดาษเพื่อจูงใจให้น้อง ๆ มาสมัครสอบกัน การสอบด้วยคอมพิวเตอร์จะใช้ระบบเดียวกับการสอบ PISA น้อง ๆ สามารถทราบคะแนนสอบได้ภายในวัน 3 วันหลังการสอบ ใครที่อยากรู้คะแนนสอบของตัวเองเร็ว ๆ พี่วีวี่แนะนำให้เลือกสอบแบบคอมพิวเตอร์เลยหลังการสอบ
TGAT สมัครสอบที่ไหน?
การสมัครสอบ TGAT ทำได้ไม่ยากเลย แค่น้อง ๆ ไปลงทะเบียนกับ MyTCAS (https://student.mytcas.com) ให้เรียบร้อยก่อน หลังจากนั้นก็สามารถเลือกสมัครสอบ TGAT และวิชาที่ตนเองต้องสอบ แล้วพิมพ์ใบชำระเงินไปจ่ายค่าสมัครสอบตามช่องทางที่ตนเองสะดวกได้เลย มีทั้งชำระเงินผ่าน QR Code ทุกธนาคาร ไม่มีค่าธรรมเนียม และชำระกับเคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่นอีเลฟเว่น) ได้ทุกสาขา โดยจะมีค่าธรรมเนียม 10 บาทต่อรายการ
TGAT สนามสอบอยู่ที่ไหน?
หากน้อง ๆ สอบด้วยคอมพิวเตอร์ก็ต้องเลือกสนามสอบเป็นมหาวิทยาลัย หากสอบด้วยกระดาษก็เลือกสนามสอบเป็นโรงเรียน โดยน้อง ๆ สามารถเลือกสนามสอบได้ไม่เกิน 5 แห่ง แล้วระบบจะสุ่มให้ว่าใครได้สนามสอบไหน ซึ่งน้อง ๆ ที่สอบหลายวิชาสามารถเลือกสอบแบบคอมพิวเตอร์กับแบบกระดาษสลับกันได้ค่ะ
ส่วนจะเช็กสนามสอบ TGAT ของตัวเองได้ที่ไหนนั้น น้อง ๆ สามารถเข้าไปเช็กได้ที่เว็บไซต์ MyTCAS ได้เลย และก่อนที่จะไปสอบอย่าลืมพิมพ์บัตรประจำตัวผู้สอบให้เรียบร้อย เพื่อไว้ใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวก่อนเข้าสอบ ถ้าหากไม่มี อาจไม่สามารถเข้าห้องสอบได้นะ
TGAT ต้องสอบทุกคนไหม?
ถ้าน้อง ๆ ต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วยระบบ TCAS พี่วีวี่แนะนำว่าน้อง ๆ ควรสมัครสอบ TGAT และ TPAT เอาไว้นะ เนื่องจากคะแนนสอบ TGAT และ TPAT จะถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษาและยื่นในระบบ TCAS ได้ถึง 3 รอบ ส่วนจะต้องใช้คะแนนวิชาอะไรบ้างนั้น ก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย
คะแนน TGAT ใช้ยื่นอะไรได้บ้าง?
คะแนน TGAT สามารถใช้ยื่น TCAS ได้ถึง 3 รอบ ได้แก่ รอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio), รอบโควตา (Quota) และรอบแอดมิชชั่น (Admission)
TGAT สอบวันไหน?
โดยปกติแล้ว TGAT จะเปิดให้สมัครสอบในช่วงปลายเดือนตุลาคม – เดือนพฤศจิกายนของทุกปี และเริ่มจัดสอบในเดือนธันวาคมเป็นต้นไป
ติวสอบ TGAT กับ WE BY THE BRAIN พร้อมพิชิตทุกคะแนน!
เป็นยังไงกันบ้างกับข้อมูลการสอบ TGAT ที่พี่วีวี่รวบรวมมาให้ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจ TGAT และมีแนวทางในการเตรียมตัวมากขึ้น และถ้ามีข้อมูล หรือกำหนดการอะไรใหม่ ๆ ออกมา พี่วีวี่จะรีบมาอัปเดตน้อง ๆ แน่นอน จะได้เตรียมตัวสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนน้อง ๆ ที่กำลังมองหาคอร์สเรียน TGAT อยู่ แล้วไม่รู้จะไปติวสอบ TGAT ที่ไหนดี พี่วีวี่ขอแนะนำ คอร์สเรียน TGAT ความถนัดทั่วไป จาก WE BY THE BRIAN ที่รวมครบทั้ง 3 วิชาไว้ในคอร์สเดียว ไม่ว่าจะเป็น TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล และ TGAT3 สมรรถนะการทำงาน สอนโดยพี่ ๆ ติวเตอร์ชั้นนำระดับประเทศ สามารถทดลองเรียนฟรีก่อนได้ อัปเดตเนื้อหาใหม่ล่าสุด พร้อมทริกทำข้อสอบเพียบ รับรองว่าน้อง ๆ จะสามารถพิชิตคะแนนสอบ TGAT และเข้ามหาวิทยาลัยในฝันได้อย่างแน่นอน!
อัปเดตข่าวสารและสอบถามรายละเอียดคอร์สเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย จาก WE BY THE BRAIN ได้ที่
- WE CARE : 02-952-6767
- Line OA : @weplus_care
- Facebook Page : WE BY THE BRAIN
- Instagram : webythebrain
- Twitter : @WEBYTHEBRAIN
- Youtube : WE BY THE BRAIN
โรงเรียนกวดวิชา วี บาย เดอะเบรน เรียนสนุก เข้าใจง่าย ทำโจทย์ได้จริง!